น้ำอ่อน

“น้ำอ่อน” เป็นน้ำที่มีค่า EC ต่ำกว่า 0.2 ลงไปน้ำที่จัดอยู่ ในกลุ่มน้ำอ่อนมี ดังนี้
1.น้ำฝนมีค่า EC ประมาณ 0.1
1.1 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วไหลเป็นน้ำตกมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.2 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วซึมลงใต้ดินหรือบาดาล ซึ่งเรียก ว่า “น้ำบาดาล” ที่เราดูดขึ้นมาใช้มีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.3 น้ำฝนที่เรารองเก็บไว้ตามบ่อเก็บน้ำมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
2.น้ำ  RO  มีค่า  EC ประมาณ  0
น้ำชนิดนี้เป็นน้ำอ่อนมีแร่ธาตุเจือปนอยู่น้อยเวลาเราปรับ
ค่า pH เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่มี EC สูง เช่น น้ำบาดาล                   จะมีค่า EC ประมาณ 0.6 มีแร่ธาตุเจือปนอยู่มากการปรับ pH จะให้ผลที่แตกต่างกัน สมมุติเรานำน้ำอ่อนมา10 ลิตรวัด pH ได้ 7.5 แล้วเราใส่กรดในตริกลงไป 1 ซีซี และเราวัด pH ได้ 6 หลังจากนั้นเรานำน้ำบา ดาลของฟาร์มผมมา10 ลิตรวัด pH ได้ 7.5 เหมือนกัน
ถ้าผมบอกว่าผมต้องการปรับ pH ให้ได้ pH 6 ผมจะใส่กรด    ไนตริกเท่าไหรบางคนอาจจะคิดว่าก็ใส่ไป 1 ซีซี pH ก็น่าจะ    ลงมาที่ pH6 เหมือนกับน้ำอ่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วจะ ต้องใส่มากกว่า1ซีซี อาจจะเป็น 3-5 ซีซี ก็ได้เพราะน้ำอ่อน pH จะขึ้นลงง่ายมากใส่กรดลงไปนิดหนึ่ง pH ก็เปลี่ยนเป็น กรดทำให้รากเน่าได้ ก่อนที่รากจะเน่ามันจะเเสดงอาการที่ใบ ก่อน คือ ปลายใบจะดำแต่ถ้าเราใส่ด่างลงไปนิดหนึ่ง pH ก็ จะเปลี่ยนเป็นด่างแต่น้ำที่ไม่ใช่น้ำอ่อน pH จะเปลี่ยนได้ยาก กว่า
การปลูกด้วยน้ำอ่อนต้องระวังในการปรับ pH โดยเฉพาะ
ช่วงอากาศร้อนหรือร้อนชื้น แต่ในหน้าหนาวหรือพื้นที่ที่มี อากาศเย็นจะไม่มีปัญหา ถ้าเราใช้น้ำอ่อนร่วมกับปุ๋ยที่มีแอม โมเนี่ยมมักเกิดปัญหาตามมากับผักสลัดใบเขียวทั้งบัตเตอร์
เฮด กรีนคอส ฟินเลซ์ กรีนโอ๊ค ใบจะมีสีออกดำๆ คล้ายกับ อาการ tip  burn แต่จะไม่เป็นที่ยอดกลับเป็นที่ใบกลาง ตรงปลายใบถ้ามีอาการมากรากจะเน่าตามมาเวลาเกิดปัญหานี้เรามักพบปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน คือ
1.ใช้น้ำอ่อน
2. ใช้ปุ๋ยมีแอมโมเนียม
3.อากาศร้อนชื้น
4.ปรับ pH ไม่ดี

วิธีแก้ปัญหา
1.ในช่วงอากาศร้อนควรใช้ปุ๋ยที่ไม่มีแอมโมเนี่ยม
2.ถ้าใช้น้ำอ่อนควรปรับ pH ด้วยความระมัดระวัง
3.ควรปลูกที่ pH ค่อนข้างสูงเวลาอากาศร้อนประมาณ 6.5 – 7
4.หาวิธีลดอุณหภูมิและความชื้น

ที่มา : อาจารย์อรรถพร สุบุญสันต์