สารละลายธาตุอาหาร


ในปัจจุบันพบว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ไมลิมดีนัม (Mo) โบรอน (B) คลอรีน (Cl) และนิเกิล (Ni) นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของธาตุอาหารแต่ละธาตุขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ระยะการเจริญเติบโต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโตต่างๆ ช่วงความเข้มข้นของสารละลายที่มีผู้รายงานว่าเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่างๆ จึงแปรปรวนอยู่ในช่วงกว้าง (ตารางที่ 5-1)

ตารางที่ 5-1 ช่วงความเข้มข้นที่เหมาะสมของธาตุอาหารพืช สำหรับพืชโดยทั่วไป
ธาตุอาหาร ความเข้มข้น
mg/L mmole/L หรือ micromole/L
NO3-N 50 – 200 4 – 15 mmole/L
NH4-N 0 – 150 0 – 10 mmole/L
P 15 – 190 0.5 – 6 mmole/L
K 60 – 350 1.5 – 9 mmole/L
Ca 80 – 200 2 – 5 mmole/L
Mg 24 – 60 1 – 2.5 mmole/L
S 50 – 220 1.5 – 7 mmole/L
Fe 1 – 5 18 – 90 micrommole/L
Mn 0.1 – 1.0 1.8 – 18.2 micrommole/L
Cu 0.02 – 0.8 0.3 – 12.6 micrommole/L
Zn 0.05 – 0.5 0.8 – 7.6 micrommole/L
Mo 0.01 – 0.1 0.1 – 1.0 micrommole/L
Cl 1 – 35 28 – 987 micrommole/L
B 0.1 – 1.0 9.2 – 92.5 micrommole/L

 

โดยทั่วไปพืชต้องการธาตุอาหารน้อยในระยะต้นอ่อน ต้องการมากที่สุดในระยะวัฒนภาค (vagetative growth) และต้องการน้อยลงในระยะเก็บเกี่ยว การปลูกพืชจึงมักมีการเปลี่ยนความเข้มข้นของสารละลายตามระยะการเจริญเติบโต ธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย เช่น Cu Zn Mo Cl และ B อาจไม่จำเป็นต้องเติมลงไปในสารละลายอีก หากน้ำที่ใช้เตรียมมีความเข้มข้นของธาตุเหล่านี้อยู่เพียงพอแล้ว

คลอรีน (Cl) มักได้จากการใช้ปุ๋ยธาตุอื่นในรูปของเกลือคลอไรด์ ส่วน Ni พืชต้องการน้อยมาก ปริมาณที่เจือปนอยู่ในน้ำเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมักไม่จำเป็นต้องเติมเกลือนิเกิลลงในสารละลายอีก อย่างไรก็ตาม Jones (1997) แนะนำว่า สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ควรมีความเข้มข้นของนิเกิลอย่างน้อย 0.057 mg/L สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เน้นไปที่มหธาตุ 6 ธาตุ คือ N P K Ca Mg และ S และจุลธาตุอีก 6 ธาตุ คือ Fe Mn Cu Zn B และ Mo ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีจนถึงระยะให้ผลผลิต

ธาตุบางธาตุถึงแม้ไม่จัดเป็นธาตุอาหารจำเป็นในปัจจุบัน แต่มีรายงานว่าช่วยให้การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการบางอย่างของพืชดีขึ้น ธาตุเหล่านั้นจึงจัดเป็นธาตุที่มีประโยชน์ (beneficial element) ได้แก่

โคบอลต์ (Co) : โคบอลต์ไม่ได้เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ Rhizobium ซึ่งช่วยตรึง N2 ในพืชตระกูลถั่ว (Jones, 1997; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)
ซิลิคอน (Si) : ซิลิคอนเป็นธาตุที่พบว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวและธํญพืชหลายชนิด หากพืชกลุ่มนี้ได้รับ Si ไม่เพียงพอจะทำให้ลำต้นไม่แข็งแรง และไม่สามารถตั้งตรงได้ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังมีรายงานในมะเขือเทศและแตงกวาว่า หากพืชได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้พืชไม่สมบูรณ์เต็มที่และอ่อนแอต่อเชื้อรา พืชทั้งสองชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อในสารละลายธาตุอาหารมี Si ประมาณ 75-100 mg-Si(OH)4/L (Jones, 1997; Mengel and Kirkby, 1987)
วาเนเดียม (V) : ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า V เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง แต่มีข้อมูลที่ระบุว่าพืชอาจสามารถใช้ V ทดแทน Mo ได้ และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ (Jones, 1997)
โซเดียม (Na) : Na เป็นธาตุที่มีมากบนผิวโลก จึงมักเจือปนอยู่ในน้ำและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เตรียมสารละลาย Na เป็นธาตุจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทนเค็ม (halophyte) พืชบางชนิดใช้ Na แทน K ได้ เช่น ผักกาดหวาน กะหล่ำ ผักกาดหัว ปวยเหล็ง มะเขือเทศ ข้าว และ มันฝรั่ง เป็นต้น (Mengel and Kirkby, 1987; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)

 


น้ำสำหรับเตรียมสารละลายไม่จำเป็นต้องมีความบริสุทธิ์สูง แต่ควรมีค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน 0.3 mS/cm น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำบ่อผิวดิน และน้ำจากแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น สามารถนำมาใช้ได้ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำสะอาดช่วยให้ง่ายต่อการจัดการสารละลาย น้ำธรรมชาติจากแหล่งน้ำบางแห่งอาจมีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหาร เช่น น้ำที่มีความกระด้างสูง หรือน้ำที่มีเกลือความเข้มสูง เป็นต้น ถึงแม้จะมีงานวิจัยที่ระบุว่าน้ำกร่อยสามารถใช้เตรียมสารละลายสำหรับการปลูกพืชไม่ใช้ดินได้ แต่การใช้น้ำกร่อยมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น เติมปุ๋ยลงไปได้น้อย ควรใช้กับพืชทนเค็ม และใช้กับพืชในระยะที่ทนเค็มได้แล้ว เป็นต้น น้ำประปาไม่เหมาะสมที่จะใช้เตรียมสารละลายเช่นกัน เนื่องจากมักมีคลอรีนละลายอยู่ในความเข้มข้นสูง พอที่จะเป็นอันตรายต่อพืช หากต้องการใช้น้ำประปา ควรเปิดใส่ถังพักน้ำให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน

น้ำที่มีธาตุอาหารพืช เช่น Ca Mg Fe Mn Cu หรือ Zn เป็นต้น เจือปนอยู่ไม่มีปัญหาใดๆ ถ้าธาตุอาหารเหล่านี้มีความเข้มข้นไม่สูงจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือทำให้ธาตุอาหารที่เติมลงไปเกิดตะกอน (มักเกิดกับน้ำที่มี Ca สูง) น้ำที่มีคาร์บอเนตและ/หรือไบคาร์บอเนตเจือปนอยู่มากเกินไป (ทราบได้จากค่า pH ของน้ำที่เป็นด่าง) สามารถแก้ไขได้โดยเติมกรด HNO3 หรือ H2SO4 ลงไป แต่ต้องคำนวณหักลบปริมาณส่วนที่เติมลงไปนี้ออกจากธาตุอาหารที่ต้องเติมเพิ่มลงไป ปริมาณกรดที่จำเป็นต้องเติมหาค่าได้จากการนำน้ำมาไทเทรตกับกรดที่ใช้ ค่าความเข้มข้นสูงสุดของธาตุบางชนิดทื่แนะนำให้มีได้ในน้ำที่นำมาเตรียมสารละลายแสดงในตารางที่ 5-2

ถึงแม้การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะใช้น้ำมีประสิทธิภาพสูงกว่าการปลูกโดยใช้ดิน แต่มักต้องการใช้น้ำในปริมาณที่สม่ำเสมอ ผู้ปลูกจึงจำเป็นต้องเตรียมน้ำให้เพียงพอเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพืชที่ปลูก ปริมาณน้ำที่ใช้ขึ้นอยู่กับอัตราการคายน้ำของพืช และการระเหยของน้ำ ดังนั้นปริมาณการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นตามอายุของพืช การปลูกพืชในช่วงที่มีแดดจัดและลมแรง ย่อมมีความต้องการน้ำมากตามไปด้วย การคายน้ำสูงสุดของพืชโดยทั่วไปประมาณวันละ 6 ลิตร/ตารางเมตร ดังนั้นหากมีพื้นที่ปลูกพืช 1 ไร่ ปริมาณความต้องการน้ำประมาณเดือนละ 250 ลูกบาศก์เมตร

มะเขือเทศระยะให้ผลผลิตต้องการน้ำวันละ 2 ลิตร/ต้น หรืออาจมากกว่านี้ ถ้าปลูกมะเขือเทศ 2400 ต้น/1000 ตารางเมตร ต้องใช้น้ำวันละประมาณ 4.8 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นควรเตรียมน้ำไว้ไม่น้อยกว่าวันละ 5 ลูกบาศก์เมตร/1000 ตารางเมตร ในพื้นที่ซึ่งมีฝนมากกว่า 10 มิลลิเมตร ตกมากกว่า 1 ครั้ง ในแต่ละสัปดาห์ หรือมีฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 100 มิลลิเมตร/เดือน ควรเตรียมถังเก็บน้ำฝนขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร/1000 ตารางเมตร จึงจะเพียงพอ

 

ตารางที่ 5-2 ความเข้มข้นสูงสุดของธาตุบางชนิดที่ยอมให้มีได้ในน้ำที่นำมาใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหาร ค่าการนำไฟฟ้าและความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสม (ที่มา: Nihonshisetsu engeikyokai, 2002)
ธาตุหรือไอออน ความเข้มข้นสูงสุด (mg/L)
NO3-N 60
P 30
K 80
Ca 80
Mg 40
Fe 10
Mn 1
Zn 1
B 0.7
Na 80
Cl 200

EC น้อยกว่า 0.3 mS/cm
pH 5 – 8

 

 


หน่วยความเข้มข้นที่นิยมใช้สำหรับเตรียมสารละลายเพื่อการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินมี 3 ระบบ คือ

3.1 ระบบนอร์มอลิตี (Normality)
หน่วยระบบนี้ระบุปริมาณสารที่เป็นตัวถูกละลายเป็นจำนวนสมมูลย์ (equivalent) หรืออนุพันธ์ของสมมูลย์ต่อปริมาตรของสารละลาย และระบุความเข้มข้นเป็น normal (N) โดยนิยามว่า ความเข้มข้น 1 N หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลาย 1 สมมูลย์ ในสารละลายทั้งหมด 1 ลิตร (eq/L) น้ำหนักสมมูลย์ของสารใดๆ ขึ้นอยู่กับการเกิดปฏิกริยาเคมีของสารนั้นเมื่อนำสารละลายไปใช้ ดังนั้นสารตัวเดียวกันอาจมีน้ำหนักสมมูลย์ได้มากกว่าหนึ่งค่า ในกรณีการเตรียมสารละลายเพื่อปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เมื่อนำสารเคมีมาละลายน้ำ สารนั้นๆ เพียงแต่แตกตัวเป็นไอออน ดังนั้น จำนวนสมมูลย์ต่อโมลของสารจึงเท่ากับจำนวนโมลประจุของแคทไอออน หรือแอนไอออนนั้น เช่น เมื่อนำ (NH4)2SO4 มาละลายสารนี้จะแตกตัวให้แคทไอออน (NH4+) 2 โมล และแอนไอออน (SO42-) 1 โมล จึงได้ไอออนที่มีประจุบวกและประจุลบอย่างละ 2 โมลประจุ ดังนั้นปริมาณ (NH4)2SO4 จึงมีค่าเท่ากับ 2 สมมูลย์/โมล เป็นต้น หน่วยนี้ช่วยให้การคำนวณทางเคมีสะดวกขึ้น เนื่องจากสารจะทำปฏิกริยาเคมีพอดีกันด้วยอัตราส่วน 1:1 โดยจำนวนสมมูลย์เสมอ แต่สร้างความสับสนให้ผู้ใช้ได้ง่าย เช่น ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย H3PO4 ความเข้มข้น 1 Normal (eq/L) ปริมาณสารนี้มีค่าเท่ากับ 3 สมมูลย์/โมล เมื่อนำไปใช้ทำปฏิกริยากับด่าง แต่ถ้านำไปใช้เป็นแหล่งฟอสเฟตในสารละลายธาตุอาหารพืช สารนี้อาจไม่แตกตัวเลย หรือแตกตัวเป็น H2PO4 , HPO42- และ/หรือ PO43- ก็ได้ขึ้นอยู่กับค่า pH ของสารละลาย จึงไม่สามารถกำหนดปริมาณสารได้ เป็นต้น International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) จึงได้สนับสนุนให้เลิกใช้ เนื่องจากสามารถใช้หน่วยอื่นแทนได้ หน่วยนี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษในกรณีการเตรียมสารละลาย แต่เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจเอกสารที่จัดทำขึ้นก่อนการเลิกใช้ ผู้เขียนจึงแนะนำให้แปลงหน่วยสมมูลย์เป็นหน่วยสัดส่วนหรือโมล แล้วทำการคำนวณโดยใช้หน่วยที่แปลงแล้ว

 

ตารางที่ 5-3 น้ำหนักต่อสมมูลย์และจำนวนสมมูลย์ต่อโมลของสารที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
สูตรเคมี กรัม/สมมูลย์ (g/eq) สมมูลย์/โมล (eq/mole)
Ca(NO3)2.4H2O 118.08 2
KNO3 101.11 1
(NH4)2SO4 66.07 2
NH4H2PO4 115.02 1
(NH4)2HPO4 66.03 2
KH2PO4 136.09 1
KCl 74.56 1
K2SO4 87.13 2
HNO3 63.01 1
H3PO4 1 หรือ 2 หรือ 3
H2SO4 49.04 2
CaCl2 55.49 2
MgSO4.7H2O 123.24 2
NO3 62.00 (14.01 N) 1
NH4+ 18.04 (14.01 N) 1
H2PO4 96.99 (30.97 P) 1
HPO42- 95.98 (30.97 P) 2
K+ 39.10 1
Ca2+ 20.04 2
Mg2+ 12.16 2
SO42- 48.03 (16.03 S) 2
Na+ 22.99 1
Cl 35.45 1

 

3.2 ระบบโมลาริตี (Molarity)
หน่วยระบบนี้ระบุปริมาณสารที่เป็นตัวถูกละลายเป็นโมล (mole) หรืออนุพันธ์ของโมลต่อปริมาตรของสารละลาย และระบุความเข้มข้นเป็น molar (M) โดยนิยามว่า ความเข้มข้น 1 M หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลาย 1 โมล ในสารละลายทั้งหมด 1 ลิตร (mole/L) ปริมาณสาร 1 โมล หนักเท่ากับน้ำหนักอะตอมหรือน้ำหนักโมเลกุลของสารนั้น กรณีของสารประกอบไอออนิค ซึ่งเป็นสารประกอบที่ไม่มีโมเลกุล อนุโลมให้ใช้น้ำหนักสูตร (formula weight) แทนน้ำหนักโมเลกุล การเตรียมสารละลายโดยใช้หน่วยในระบบนี้อาจสับสนได้บ้าง เนื่องจากจำนวนโมลของสารและจำนวนโมลของไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของสารไม่เท่ากัน เช่น เมื่อนำสาร Ca(NO3)2.4H2O 1 โมล มาละลายน้ำและปรับปริมาตรของสารละลายเป็น 1 ลิตร จะได้สารละลายซึ่งมีความเข้มข้นของ Ca2+ 1 M และ NO3 2 M เป็นต้น ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องระวังว่า สิ่งที่กล่าวถึงเป็นสารก่อนนำมาละลาย หรือไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของสารนั้น ในกรณีของสารที่ละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไอออนหลายชนิด การระบุความเข้มข้นที่แน่นอนของไอออนที่เกิดจากการแตกตัวค่อนข้างยุ่งยาก เช่น เมื่อนำสาร KH2PO4 1 โมล มาละลายน้ำและปรับปริมาตรของสารละลายเป็น 1 ลิตร สารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้นของ K+ 1 M แต่ H2PO4 สามารถแตกตัวเป็น H3PO4 , H2PO4 , HPO42- และ/หรือ PO43-ก็ได้ขึ้นอยู่กับค่า pH ของสารละลาย กรณีนี้มักระบุความเข้มข้นรวมของฟอสเฟตไอออนแทนการระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นชนิดใด เป็นต้น ความเข้มข้นในระบบนี้สร้างความสับสนให้ผู้ใช้น้อยที่สุด International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) จึงสนับสนุนให้ใช้ระบบนี้

3.3 ระบบสัดส่วนของตัวถูกละลายต่อสารละลายทั้งหมด
หน่วยในระบบนี้มีหน่วยย่อยหลายหน่วย เช่น ร้อยละ (%), ppt, ppm, และ ppb เป็นต้น หน่วยในระบบนี้สร้างความสับสนให้ผู้ใช้ได้บ่อยครั้งเช่นกัน เนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นสัดส่วนโดยปริมาตรหรือโดยน้ำหนัก เช่น เมื่อระบุว่า K+ มีความเข้มข้น 10 ppm อาจหมายถึงความเข้มข้น 10 g/1000L หรือ 10 g/ton ก็ได้ เป็นต้น กรณี ppb สร้างความสับสนอย่างมาก เนื่องจากความหมายของ ppb แบบอังกฤษและอเมริกาไม่ตรงกัน ดังนั้น เมื่อต้องการใช้หน่วยนี้ควรระบุให้ชัดเจนดังตารางที่ 5-4

ในกรณีการเตรียมสารละลายเพื่อการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน อาจระบุปริมาณตัวถูกละลายเป็นปริมาณสารหรือปริมาณธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้นก็ได้ เช่น ถ้าระบุความเข้มข้นของ Ca(NO3)2.4H2O เท่ากับ 150 mg/L หมายถึงนำสารนี้มา 150 mg ละลายในน้ำให้ได้สารละลาย 1 L แต่ถ้าระบุความเข้มข้นเท่ากับ 150 mg-N/L หมายถึงต้องสารนี้มา 1264.5 mg ละลายในน้ำให้ได้สารละลาย 1 L จึงจะได้ความเข้มข้นตามที่ต้องการ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้หน่วยจึงควรระวังไม่ให้เกิดปัญหาในการระบุความเข้มข้น

 

ตารางที่ 5-4 หน่วยความเข้มข้นในระบบสัดส่วนที่ควรใช้เพื่อป้องกันความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน
หน่วยเดิม หน่วยที่ควรใช้แทน
% % (w/v)
% % (w/w)
% % (v/v)
ppt g/L หรือ g.dm-3
ppt g/kg หรือ g.kg-1
ppm mg/L หรือ mg.dm-3
ppm mg/kg หรือ mg.kg-1
ppm g/1000L หรือ g.m-3
ppm g/ton
ppb mg/1000L หรือ mg.m-3
ppb mg/ton

 

 

ปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. ปุ๋ยละลายช้าที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ปุ๋ยประเภทนี้ใช้กับการปลูกระบบรากยึด (aggregate culture) ถึงแม้จะเป็นปุ๋ยที่มีราคาแพง แต่ช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบจ่ายสารละลาย และง่ายต่อการจัดการ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการปลูกกล้วยไม้ และหน้าวัว
  2. ปุ๋ยสำหรับเตรียมสารละลาย ปุ๋ยประเภทนี้จะต้องเป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ดี ดังนั้นเราไม่สามารถใช้ปุ๋ยผสม (mixed fertilizer หรือ compound fertilizer) สำหรับใช้ทางดินแทนได้ เนื่องจากปุ๋ยผสมมักมีการเติมสารเติมแต่ง ซึ่งไม่ละลายน้ำลงไปด้วย และผู้ผลิตมักไม่ระบุชนิดของสารที่ใช้ผสม ทำให้ไม่สามารถคำนวณได้ว่าควรต้องผสมธาตุอาหารอื่นลงไปอีกในปริมาณเท่าใด ดังนั้นปุ๋ยที่นำมาเตรียมสารละลายธาตุอาหารจะต้องเป็นปุ๋ยที่รู้สูตรเคมีแน่นอน และรู้ความเข้มข้นของธาตุอาหารที่ต้องการ ตัวอย่างปุ๋ยที่นิยมใช้แสดงในตารางที่ 5-5
  3. ปุ๋ยเกล็ดผสม ปุ๋ยประเภทนี้เกิดจากการนำสารเคมีหลายชนิดมาผสมกัน ตามสูตรที่ผู้ผลิตพัฒนาขึ้น ผู้ผลิตมักขายปุ๋ยเกล็ดผสมพร้อมกับเทคโนโลยีสำเร็จรูปทั้งระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในแก่ผู้ซื้อ เช่น เมื่อผู้ซื้อตัดสินใจซื้อระบบปลูกแตงกวาสำเร็จรูปของผู้ผลิตเทคโนโลยีรายหนึ่ง ผู้ผลิตจะดำเนินการออกแบบและติดตั้งระบบปลูกให้แก่ผู้ซื้อ พร้อมทั้งจำหน่ายวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ รวมทั้งปุ๋ยเกล็ดผสมให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเพียงแต่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ปุ๋ยเกล็ดผสมอาจมีสูตร (สัดส่วนและความเข้มข้นของธาตุอาหาร) แตกต่างกันตามชนิดพืช และระยะการเจริญเติบโต
  4. ปุ๋ยสารละลายเข้มข้น ปุ๋ยประเภทนี้เกิดจากการนำปุ๋ยสำหรับการเตรียมสารละลาย มาละลายน้ำตามสูตรต่างๆ (ตารางที่ 5-6 ถึง 5-32 หรือสูตรที่ผู้ผลิตพัฒนาขึ้น) ให้มีความเข้มข้นมากกว่าที่ต้องการใช้งานจริงประมาณ 50 – 300 เท่า ผู้ซื้อเพียงแต่นำมาผสมน้ำตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตระบุ ก็สามารถใช้ปลูกพืชได้ ช่วยให้ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องซื้อปุ๋ยและสารเคมีหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องคำนวณและชั่งน้ำหนักสารเคมีหลายชนิด ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ปุ๋ยสารละลายเข้มข้นเหมาะกับผู้ที่ต้องการปลูกพืชจำนวนน้อยเพื่องานอดิเรก ปุ๋ยประเภทนี้มักไม่เหมาะสำหรับผู้ปลูกเพื่อการค้า เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงเกินไป

 

ตัวอย่างปุ๋ยที่ใช้ในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช ภาพซ้ายคือปุ๋ยมหธาตุ นิยมใช้ชนิดบรรจุกระสอบเนื่องจากต้องใช้ในปริมาณมาก ส่วนภาพขวาคือปุ๋ยจุลธาตุ (ยกเว้นปุ๋ยบรรจุกระสอบ) อาจใช้สารเคมีสำหรับห้องปฏิบัติการ หรือสารที่ผลิตเพื่อใช้เป็นปุ๋ยโดยเฉพาะ (ในภาพคือ Fe-DTPA)

 

 

ตัวอย่างปุ๋ยสารละลายเข้มข้น มีหลายขนาดบรรจุเพื่อตอนสนองต่อความต้องการใช้ที่แตกต่างกันของผู้ปลูก ผูผลิตมักผลิตเป็นชุด (สารละลาย AB หรือ ABC) ซึ่งผู้ใช้จะต้องซื้อทั้งชุดแล้วนำมาผสมกันตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตกำหนด นอกจากธาตุอาหารพืชแล้ว ผู้ผลิตอาจเติมสารมีสีลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สับสน และอาจช่วยยืดอายุการเก็บรักษา

 

 

ตารางที่ 5-5 สารเคมีที่นิยมมาใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหารและความเข้มข้นของธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบ
สูตรเคมี ความเข้มข้นของธาตุอาหาร
Ca(NO3)2.4H2O 11.8% N 16.9% Ca
5Ca(NO3)2.NH4NO3.10H2O 15.5% N 18.5% Ca
KNO3 38.6% K 13.8% N
(NH4)SO4 21.2% N 24.2% S
NH4H2PO4 12.2% N 26.9% P
KH2PO4 28.7% K 22.8% P
KCl 52.4% K 47.5% Cl
K2SO4 44.9% K 18.4% S
HNO3 22.2% N
H3PO4 31.6% P
CaCl2 36.1% Ca 63.9% Cl
MgSO4.7H2O 9.8% Mg 13.0% S
Mg(NO3)2.6H2O 9.5% Mg  10.9% N
Fe-EDTA ประมาณ 15% Fe
Fe-DTPA ประมาณ 11% Fe
FeSO4.7H2O 11.5% Fe 20.0% S
MnCl2.4H2O 27.7% Mn 35.8% Cl
MnSO4.4H2O 24.6% Mn 14.4% S
CuSO4.5H2O 25.4% Cu 12.8% S
ZnSO4.7H2O 22.7% Zn 11.1% S
H3BO3 17.4% B
NaB4O7.10H2O 11.3% B
(NH4)6Mo7O2.4H2O 54.3% Mo 6.8% N

 

 

ขั้นตอนในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารโดยสังเขปมีดังนี้

  1. กำหนดความเข้มข้นของธาตุอาหารแต่ละธาตุในสารละลายที่ต้องการ ความเข้มข้นของธาตุอาหารแต่ละธาตุขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก ระบบหรือเทคนิคในการปลูก และระยะการเจริญเติบโตของพืช ผู้ปลูกสามารถศึกษาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ถ้าไม่พบข้อมูลของพืชชนิดที่ต้องการให้ใช้ข้อมูลของพืชในกลุ่มเดียวกัน หรือใช้ข้อมูลสำหรับพืชทั่วไปดังตารางที่ 5-6 ถึง ตารางที่ 5-25 ในกรณีที่ไม่ทราบความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับพืชที่ปลูก ผู้ปลูกควรทดลองหาค่าที่เหมาะสมในภายหลัง
  2. วิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารแต่ละชนิดและความเป็นกรดเป็นค่างของน้ำที่ใช้เตรียมสารละลาย น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายควรนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการก่อน เพื่อให้ทราบสมบัติและองค์ประกอบ ถึงแม้ค่าที่วิเคราะห์ได้มิได้บ่งชี้ว่าน้ำจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ทั้งนี้เพราะสมบัติและองค์ประกอบของน้ำอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเวลาที่นำตัวอย่างไปวิเคราะห์ น้ำจากแหล่งน้ำที่มีความแปรปรวนสูง อาจต้องวิเคราะห์บ่อยครั้ง หรือหลีกเลี่ยงการนำมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดกับพืช
  3. ปุ๋ยและสารเคมีที่ใช้ เลือกใช้จากตารางที่ 5-5 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคา ความสะดวกในการจัดหา และคุณภาพของน้ำที่ใช้ เป็นต้น น้ำที่มีคลอไรด์สูงควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ หรือน้ำที่มีซัลเฟตสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่มีซัลเฟต เป็นต้น
  4. คำนวณสัดส่วน ความเข้มข้น และปริมาณของปุ๋ย ขั้นตอนนี้อาจเป็นเรื่องยุ่งยากเกินไป ผู้ปลูกอาจเลือกใช้วิธีเตรียมสารละลายธาตุอาหารโดยใช้สูตรสำเร็จที่มีผู้คำนวณไว้ให้แล้ว หรือใช้ “ตารางคำนวณ” ช่วยคำนวณชนิด และสัดส่วนของปุ๋ยที่ต้องใช้
  5. ละลายปุ๋ยในน้ำ ในกรณีที่ต้องการเตรียมในปริมาณไม่มากนัก เช่น เตรียมเพื่อใช้เพาะต้นกล้า หรือปลูกพืชจำนวนน้อยเกษตรกรสามารถเตรียมโดยนำปุ๋ยมาละลายน้ำให้มีความเข้มข้นเหมาะสมได้ทันที ในกรณีที่เตรียมสารละลายเพื่อปลูกพืชปริมาณมาก นิยมเตรียมให้มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ต้องการใช้จริง 10 – 200 เท่า จากนั้นจึงค่อยเจือจางให้มีความเข้มข้นที่เหมาะสมในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และไม่ต้องใช้ถังเก็บสารละลายที่มีขนาดใหญ่ กรณีที่เตรียมสารละลายความเข้มข้นสูง จำเป็นต้องแยกสารละลายเป็น 2 ถัง เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการตกตะกอน โดยแต่ละถังบรรจุสารประกอบ ดังนี้

 

ถังที่ 1 (ถัง A) : บรรจุสารประกอบแคลเซียมและสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก (Fe-chelate)
ถังที่ 2 (ถัง B) : บรรจุสารประกอบซัลเฟต ฟอสเฟต แมงกานีส ทองแดง และสังกะสี
ถังที่ 3 (ถัง C) : บรรจุสารละลายกรดหรือด่าง สำหรับปรับ pH ของน้ำหรือสารละลาย

 

 

ตารางที่ 5-6 สูตรสารละลายธาตุอาหารของ Hoagland and Arnon สูตรที่ 1 ไม่ผสมแอมโมเนียม (Hoagland and Arnon, 1938) สารละลายนี้มีปัญหาจากการตกตะกอนของเหล็ก ในปัจจุบันจึงไม่นิยมใช้สูตรดั้งเดิม แต่สามารถดัดแปลงให้มีสมบัติดีขึ้นโดยใช้สารประกอบ Fe-EDTA, Fe-DTPA หรือ Fe-EDDHA แทน FeC4H4O6.nH2O Hoagland and Arnon พัฒนาสูตรสารละลายขึ้นโดยใช้มะเขือเทศเป็นพืชทดสอบ แต่มีผู้นำไปทดลองปลูกพืชชนิดอื่นหลายชนิด พบว่าสามารถใช้ปลูกได้ดี
ชื่อสาร สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 5 mmole/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 5 mmole/L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 1 mmole/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 2 mmole/L
ไอรอนทาร์เทรต FeC4H4O6 . nH2O 1 – 5 mg-Fe/L
กรดโบริค H3BO3 0.5 mg-B/L
แมงกานีสคลอไรด์ MnCl2 .4H2O 0.5 mg-Mn/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.05 mg-Zn/L
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.02 mg-Cu/L
กรดโมลิบดิค H2MoO4.H2O 0.01 mg-Mo/L

 

 

ตารางที่ 5-7 สูตรสารละลายธาตุอาหารของ Hoagland and Arnon สูตรที่ 2 ผสมแอมโมเนียม สารละลายนี้มีปัญหาจากการตกตะกอนของเหล็กเช่นเดียวกับสูตรที่ 1 หากต้องการใช้นิยมดัดแปลงโดยวิธีเดียวกัน
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 6 mmole/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 4 mmole/L
แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต NH4H2PO4 1 mmole/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 2 mmole/L
ไอรอนทาร์เทรต FeC4H4O6 . nH2O 1 – 5 mg-Fe/L
กรดโบริค H3BO3 0.5 mg-B/L
แมงกานีสคลอไรด์ MnCl2 .4H2O 0.5 mg-Mn/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.05 mg-Zn/L
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.02 mg-Cu/L
กรดโมลิบดิค H2MoO4.H2O 0.01 mg-Mo/L

 

 

ตารางที่ 5-8 สูตรสารละลายของ Dr. Alan Cooper สูตรสารละลายนี้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้กับการปลูกพืชด้วยวิธี NFT โดยกำหนดเป็นปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ต่อสารละลายพร้อมปลูก (culture solution) 1000 ลิตร กรณีที่ต้องการเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่า เพียงแต่ลดปริมาตรของถังสารละลายเป็น 5 ลิตร จากนั้นเมื่อต้องการใช้ เพียงแต่นำสารละลายเข้มข้นมาเจือจางเป็น 1000 ลิตร ก็สามารถใช้ได้ทันที สูตรของ Cooper ใช้ความเข้มข้นของจุลธาตุค่อนข้างสูง เข้าใจว่าเพื่อต้องการชดเชยจุลธาตุที่ตกตะกอน โดยทั่วไปพบว่าสูตรนี้ใช้ได้ดี แต่พบปัญหาโรคปลายใบไหม้ในบางครั้ง (โรคที่เกิดจากการขาดแคลเซียม)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 583
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 1003
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 263
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 513
เหล็ก-EDTA Fe-EDTA 79
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 6.1
กรดโบริค H3BO3 1.7
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.44
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.39
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.37

 

 

ตารางที่ 5-9 สูตรสารละลายธาตุอาหารของเนเธอร์แลนด์
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมฟอสเฟต KH2PO4 0.136 g/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 1.062 g/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 0.492 g/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 0.293 g/L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 0.252 g/L
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ KOH 22.4 mg/L
สารเชิงซ้อนเหล็กอีดีทีเอ Fe-EDTA 5.13 mg/L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.73 mg/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.06 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 0.06 mg/L
กรดโบริค H3BO3 0.59 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-10 สูตรสารละลายธาตุอาหารของคูเวต (ที่มา : Douglas, 1976; Jones, 1997; นพดล เรียมเลิศหิรัญ, 2538)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 0.34 g/L
แคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต CaHPO4 0.13 g/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 2.00 g/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 0.26 g/L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 0.02 g/L
โซเดียมคลอไรด์ NaCl 0.15 g/L
เฟอริคแอมโมเนียชิเทรต 1.0 mg/L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.5 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 0.05 mg/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.05 mg/L
กรดโบริค H3BO3 0.5 g/L
กรดโมลิบดิค H2MoO4.H2O 0.01 mg/L
กรดไนตริคเข้มข้น HNO3 13 mL
กรดไฮโดรคลอริคเข้มข้น HCl 20 mL

 

 

ตารางที่ 5-11 สูตรสารละลายธาตุอาหารของ Wroclaw โปแลนด์ (ที่มา : Douglas, 1976; Jones, 1997; นพดล เลียมหิรัญ, 2538)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 0.60 g/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 0.70 g/L
แอมโมเนียมไนเตรต NH4NO3 0.10 g/L
ชุปเปอร์ฟอสเฟต CaHPO4 0.50 g/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 0.25 g/L
ไอรอนซัลเฟต FeSO4.7H2O 0.12 g/L
กรดโบริค H3BO3 0.60 mg/L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.60 mg/L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.06 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 0.30 mg/L
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.06 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-12 สูตรสารละลายธาตุอาหารแนะนำของสถาบันวิจัยพืชสวนประเทศญี่ปุ่น สูตรนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพืชหลายชนิด โดยทดสอบกับวิธีปลูกในทราย (sand culture) มีผู้นำสูตรนี้ไปใช้ปลูกโดยวิธีอื่นก็พบว่าได้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่มีรายงานพบปัญหาโรคก้นเน่าในมะเขือเทศ (โรคที่เกิดจากการขาดแคลเซียม) (ที่มา : Namiki, 1986; Nihonshisetu engeikyokai, 2002)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 944 mg/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 808 mg/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 492 mg/L
แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต NH4H2PO4 152 mg/L
เหล็ก อีดีทีเอ NaFe-EDTA 15 – 25 mg/L
กรดโบริค H3BO4 2.86 mg/L
แมงกานีนซัลเฟต MnSO4.4H2O 2.13 mg/L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.22 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 0.08 mg/L
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.025 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-13 สูตรสารละลายธาตุอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชทั่วไปของญี่ปุ่น (สูตร 2) (ที่มา : Zusuki, 1986)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 606 mg/L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 826 mg/L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 511 mg/L
แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต NH4H2PO4 153 mg/L
เหล็ก อีดีทีเอ Fe-EDTA 24 mg/L
โซเดียมเทตระบอเรต Na2B4O7-10H2O 4.5 mg/L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 2.0 mg/L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.22 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 0.05 mg/L
โซเดียมโมลิบเดท Na2MoO4.2H2O 0.02 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-14 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับปลูกพืชทั่วไปด้วยเทคนิค NFT พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับน้ำอ่อน (น้ำที่มี Ca และ Mg ต่ำ) สารละลายนี้จะต้องเจือจางประมาณ 100 เท่า เพื่อให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช (ที่มา : Papadopoulos, 1991 อ้างโดย Jones, 1997)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 90 kg/1000L
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 7.5 kg/1000L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 60 kg/1000L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 30 kg/1000L
สารประกอบเชิงซ้อนเหล็ก Fe-EDTA (15% Fe) 3 kg/1000L
กรดโบริค H3BO4 0.24 kg/1000L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.4 kg/1000L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 40 g/1000L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 80 g/1000L
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 10 g/1000L
กรดไนตริกเข้มข้น HNO3 (67 %) 7.9 L

 

 

ตารางที่ 5-15 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับปลูกพืชทั่วไปด้วยเทคนิค NFT พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับน้ำกระด้างชั่วคราว (น้ำที่มี Ca Mg และ HCO3/CO3 สูง) สารละลายนี้จะต้องเจือจางประมาณ 100 เท่า เพื่อให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช (ที่มา : Papadopoulos, 1991 อ้างโดย Jones, 1997)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรท KNO3 80 kg/1000L
แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2.4H2O 50 kg/1000L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 60 kg/1000L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 40 kg/1000L
แอมโมเนียมไนเตรท NH4NO3 0.6 kg/1000L
สารประกอบเชิงซ้อนเหล็ก Fe-EDTA (15% Fe) 3 kg/1000L
กรดโบริค H3BO4 0.2 kg/1000L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.4 kg/1000L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 40 g/1000L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 80 g/1000L
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 10 g/1000L
กรดไนตริกเข้มข้น HNO3 (67 %) 54 L/1000L
กรดฟอสฟอริคเข้มข้น H3PO4 (85 %) 24 L/1000L

 

 

ตารางที่ 5-16 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับปลูกพืชทั่วไปด้วยเทคนิค NFT พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับน้ำกระด้างถาวร (น้ำที่มี Ca Mg และ SO4 สูง) สารละลายนี้จะต้องเจือจางประมาณ 100 เท่า เพื่อให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ปริมาตรของกรดในตารางใช้ตามความจำเป็นในการปรับ pH (ที่มา : Papadopoulos, 1991 อ้างโดย Jones, 1997)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โพแทสเซียมไนเตรท KNO3 80 kg/1000L
แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2.4H2O 50 kg/1000L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 60 kg/1000L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 30 kg/1000L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 15 kg/1000L
แอมโมเนียมไนเตรท NH4NO3 0.6 kg/1000L
สารประกอบเชิงซ้อนเหล็ก Fe-EDTA (15% Fe) 3 kg/1000L
กรดโบริค H3BO4 0.2 kg/1000L
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 0.4 kg/1000L
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 40 g/1000L
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 80 g/1000L
แอมโมเนียมโบลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 10 g/1000L
กรดไนตริกเข้มข้น HNO3 (67 %) 54 L/1000L
กรดฟอสฟอริคเข้มข้น H3PO4 (85 %) 24 L/1000L

 

 

ตารางที่ 5-17 สูตรสารละลายธาตุอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชทั่วไป ซึ่งพัฒนาขึ้นที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย สูตรสารละลายนี้ไม่แนะนำให้เตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น เนื่องจากใช้สารเคมีที่ละลายน้ำได้น้อย และใช้ปุ๋ยที่มีความบริสุทธิ์ต่ำเป็นองค์ประกอบ (Bengal method เป็นวิธีปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากยึดที่พัฒนาขึ้นโดย James Sholto Douglas ในปี ค.ศ. 1946 โดยเน้นการใช้วัสดุที่สามารถจัดหาได้ง่ายในท้องถิ่น) (ที่มา : Jones, 1997; Mason, 1990)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
โซเดียมไนเตรท NaNO3 170 g/1000L
แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 85 g/1000L
แคลเซียมซัลเฟต CaSO4.2H2O 43 g/1000L
ซิลเกิลซูปเปอร์ฟอสเฟต เป็นของผสมของ CaSO4.2H2O, Ca(H2PO4).H2O, CaHPO4.H2O, Ca3 (PO4)2 และมีสารอื่นอีกประมาณ 18 % มี P ประมาณ 20%P2O5 100 g/1000L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 114 g/1000L
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 70 g/1000L
จุลธาตุผสม (ตามส่วนประกอบข้างล่าง) 0.5 g/1000L
จุลธาตุผสมประกอบด้วย
กรดโบริค H3BO4 13 g
แมงกานีสซัลเฟต MnSO4.4H2O 15 g
ชิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 5 g
คอปเปอร์ซัลเฟต CuSO4.5H2O 5 g
เหล็กซัลเฟต (ที่มาไม่ระบุรูปที่แน่ชัด) น่าจะเป็น FeSO4.7H2O 19 g

 

 

ตารางที่ 5-18 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับพืชทั่วไประยะเจริญเติบโตทางด้านลำต้น (vegetative growth) สูตรนี้พัฒนาขึ้นโดย Keith Roberto เมื่อต้องการใช้สารละลายนี้จะต้องเจือจางให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช (ที่มา : Roberto, 2003)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2.4H2O 6.00 g/gallon
โพแทสเซียมไนเตรท KNO3 2.09 g/gallon
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 0.46 g/gallon
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 1.39 g/gallon
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 2.42 g/gallon
สารประกอบเชิงซ้อนจุลธาตุผสม (Chelated trace element mix) 0.40 g/gallon
จุลธาตุผสมประกอบด้วย
เหล็ก Fe 7.00 %
แมงกานีส Mn 2.00 %
สังกะสี Zn 0.40 %
ทองแดง Cu 0.10 %
โบรอน B 1.30 %
โมลิบดีนัม Mo 0.06 %

 

 

ตารางที่ 5-19 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับพืชทั่วไประยะติดผล สูตรนี้พัฒนาขึ้นโดย Keith Roberto เมื่อต้องการใช้สารละลายนี้จะต้องเจือจางให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช (ที่มา : Roberto, 2003)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2.4H2O 8.00 g/gallon
โพแทสเซียมไนเตรท KNO3 2.80 g/gallon
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 1.70 g/gallon
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 1.39 g/gallon
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 2.40 g/gallon
สารประกอบเชิงซ้อนจุลธาตุผสม (Chelated trace element mix) 0.40 g/gallon
จุลธาตุผสมประกอบด้วย
เหล็ก Fe 7.00 %
แมงกานีส Mn 2.00 %
สังกะสี Zn 0.40 %
ทองแดง Cu 0.10 %
โบรอน B 1.30 %
โมลิบดีนัม Mo 0.06 %

 

 

ตารางที่ 5-20 สูตรสารละลายเข้มข้นสำหรับพืชทั่วไประยะออกดอก สูตรนี้พัฒนาขึ้นโดย Keith Roberto เมื่อต้องการใช้สารละลายนี้จะต้องเจือจางให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช (ที่มา : Roberto, 2003)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2.4H2O 4.10 g/gallon
โพแทสเซียมไนเตรท KNO3 2.80 g/gallon
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 0.46 g/gallon
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 1.39 g/gallon
แมกนีเซียมซัลเฟต MgSO4.7H2O 2.40 g/gallon
สารประกอบเชิงซ้อนจุลธาตุผสม (Chelated trace element mix) 0.40 g/gallon
จุลธาตุผสมประกอบด้วย
เหล็ก Fe 7.00 %
แมงกานีส Mn 2.00 %
สังกะสี Zn 0.40 %
ทองแดง Cu 0.10 %
โบรอน B 1.30 %
โมลิบดีนัม Mo 0.06 %

 

 

ตารางที่ 5-21 สูตรสารละลายที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเรียนการสอน ณ มหวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (รหัสสูตร WU_NS01) สูตรนี้ต้องการให้สามารถใช้ปลูกพืชได้หลายชนิดและหลายเทคนิคการปลูก พบว่าใช้ได้ดีกับแตงกวา มะเขือเทศ และแตงแคนตาลูป ที่ปลูกในทรายผสมขุยมะพร้าว ทดลองปลูกโดยใช้น้ำที่มีค่า EC ประมาณ 0.05 mS/cm
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 1.1808 g/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 0.3033 g/L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 0.2041 g/L
โพแทสเซียมคลอไรด์ KCl 0.1118 g/L
แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) MgSO4.7H2O 0.4930 g/L
แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 0.0330 g/L
เหล็ก อีดีทีเอ Fe-EDTA 11.0115 mg/L
กรดโบริค H3BO4 1.2367 mg/L
แมงกานีนซัลเฟต MnSO4. H2O 0.8450 mg/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 1.1502 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.2497 mg/L
แอมโมเนียมโมลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.0883 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-22 สูตรสารละลายที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเรียนการสอน ณ มหวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (รหัสสูตร WU_NS03) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ปลูกพืชทั่วไป ทดสอบปลูกผักกาดหอม (ผักกาดแก้ว) ผักกาดหอมเรดไฟร์ ผักกวางตุ้ง และผักฮ่องเต้ ด้วยเทคนิคการปลูกแบบ DFT พ่นอากาศ
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรต Ca(NO3)2.4H2O 1,063 mg/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 455 mg/L
แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 66 mg/L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 204 mg/L
โพแทสเซียมคลอไรด์ KCl 75 mg/L
แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) MgSO4.7H2O 493 mg/L
เหล็ก-อีดีทีเอ FeNa-EDTA (15.2%Fe) 16.517 mg/L
แมงกานีนซัลเฟต MnSO4.H2O 1.690 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.187 mg/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.518 mg/L
กรดโบริค H3BO3 1.546 mg/L
แอมโมเนียมโมลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.044 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-23 สูตรสารละลายที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเรียนการสอน ณ มหวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (รหัสสูตร WU_NS04) ความเข้มข้นของธาตุอาหารเหมือนสูตร WU_NS03 แต่ใช้ปุ๋ยแคลเซียมสูตร 15.5-0-0 และ Fe-DTPA แทน ทดสอบปลูกผักกาดหอม (ผักกาดแก้ว) ผักกาดหอมเรดไฟร์ ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ และมะเขือเทศด้วยเทคนิคการปลูกแบบ DFT พ่นอากาศ และปลูกแตงแคนตาลูปในทรายผสมขุยมะพร้าว (1:2)
ชื่อสารเคมี สูตรเคมี ความเข้มข้น
แคลเซียมไนเตรต (15.5-0-0) 5Ca(NO3)2.NH4NO3. 1OH2O 973 mg/L
โพแทสเซียมไนเตรต KNO3 364 mg/L
โพแทสเซียมซัลเฟต K2SO4 87 mg/L
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต KH2PO4 204 mg/L
โพแทสเซียมคลอไรด์ KCl 67 mg/L
แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) MgSO4.7H2O 493 mg/L
เหล็ก-ดีทีพีเอ Fe-DTPA (11.3 % Fe) 22.24 mg/L
แมงกานีนซัลเฟต MnSO4.H2O 1.690 mg/L
คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) CuSO4.5H2O 0.187 mg/L
ซิงค์ซัลเฟต ZnSO4.7H2O 0.518 mg/L
กรดโบริค H3BO3 1.546 mg/L
แอมโมเนียมโมลิบเดท (NH4)6Mo7O24.4H2O 0.044 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-24 สูตรที่พัฒนาขึ้นโดย รศ. ดิเรก ทองอร่าม สำหรับพืชกินใบที่ปลูกโดยระบบรากแช่ (ดิเรก ทองอร่าม, 2546)
ธาตุอาหารพืชหรือไอออน ความเข้มข้น หน่วย
NO3- 17.25 mmole/L
H2PO4- 2.25 mmole/L
K 11.00 mmole/L
Ca 5.50 mmole/L
Mg 1.50 mmole/L
SO42- 2.75 mmole/L
Fe 125 micromole/L
Mn 43.75 micromole/L
Cu 0.625 micromole/L
Zn 1.875 micromole/L
B 31.25 micromole/L
Mo 0.625 micromole/L

 

 

ตารางที่ 5-25 สูตรสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกผักหลายชนิดด้วยระบบรากแช่ (NFT) ของบริษัท Accent Hydroponics ประเทศออสเตรเลีย (ดิเรก ทองอร่าม, 2546; อารักษ์ ธีรอำพน, 2544)
ธาตุอาหารพืชหรือไอออน ความเข้มข้น หน่วย
NO3- 208 mg-N/L
H2PO4- 62 mg-P/L
K 332 mg/L
Ca 68 mg/L
Mg 49 mg/L
SO42- 65 mg-S/L
Fe 5.6 mg/L
Mn 2.2 mg/L
Cu 0.06 mg/L
Zn 0.06 mg/L
B 0.30 mg/L
Mo 0.07 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-26 สูตรสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชหลายชนิดด้วยระบบรากแช่ (DFT) ของมหาวิทยาลัยสุรนารี (รหัสสูตร SUT-NS 5)(อารักษ์ ธีรอำพน, 2544)
ธาตุอาหารพืชหรือไอออน ความเข้มข้น หน่วย
NO3- 237.84 mg-N/L
NH4+ 30.75 mg-N/L
H2PO4- 30.04 mg-P/L
K 290.0 mg/L
Ca 113.56 mg/L
Mg 30.0 mg/L
SO42- 40.0 mg-S/L
Fe 2.4 mg/L
Mn 1.63 mg/L
Cu 0.125 mg/L
Zn 0.44 mg/L
B 0.51 mg/L
Mo 0.0225 mg/L

 

 

ตารางที่ 5-27 สูตรสารละลายของ Steiner พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ปลูกพืชทั่วไป (Steiner, 1961 อ้างโดย De Rijck and Schrevens, 2004)
ธาตุอาหารพืชหรือไอออน ความเข้มข้น หน่วย
NO3- 11.98 mmole/L
H2PO4- 0.99 mmole/L
K 6.69 mmole/L
Ca 4.61 mmole/L
Mg 2.02 mmole/L
SO42- 3.48 mmole/L
Na 0.02 mmole/L
Fe 24 micromole/L
Mn 11.2 micromole/L
Cu 0.2 micromole/L
Zn 1.7 micromole/L
B 40 micromole/L
Mo 0.5 micromole/L

 

 

ตารางที่ 5-28 สูตรสารละลายของ Research Center for Soilless Culture, Belgium พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ปลูกพืชทั่วไป (De Rijck and Schrevens, 2004)
ธาตุอาหารพืชหรือไอออน ความเข้มข้น หน่วย
NO3- 17.25 mmole/L
NH4+ 0.5 mmole/L
H2PO4- 2.25 mmole/L
K 11.0 mmole/L
Ca 5.5 mmole/L
Mg 1.5 mmole/L
SO42- 2.72 mmole/L
Na 0.38 mmole/L
Cl 0.38 mmole/L
Fe 127.2 micromole/L
Mn 43.7 micromole/L
Cu 0.6 micromole/L
Zn 1.9 micromole/L
B 31.3 micromole/L
Mo 0.6 micromole/L

 

 

ตารางที่ 5-29 สูตรสารละลาย Yamazaki พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพืชเฉพาะชนิดตามที่ระบุ  โดยคำนวณจากสัดส่วนธาตุอาหารที่พืชใช้ต่อปริมาณการคายระเหยน้ำ (Nihonshisetu engeikyokai, 2002)
ชนิดพืช ความเข้มข้น (mmole/L) หมายเหตุ
NO3/NH4 H2PO4 K Ca Mg SO4
มะเขือเทศ 7.0/0.67 0.67 4.0 1.5 1.0 1.0 เพิ่มความเข้มข้นเป็น 120 – 140 % ในฤดูหนาว
มะเขือ 10.0/1.00 1.00 7.0 1.5 1.0 1.0 เพิ่มความเข้มข้นเป็น 120 – 140 % ในฤดูหนาว
พริกยักษ์/พริกหวาน 9.0/0.83 0.83 6.0 1.5 1.5 1.5 เพิ่มความเข้มข้นเป็น 120 – 140 % ในฤดูหนาว
แตงกวา 13.0/1.00 1.00 6.0 3.5 2.0 2.0 ใช้ความเข้มข้นเท่ากันทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว
แตงแคนตาลูป 13.0/1.33 1.33 6.0 3.5 1.5 1.5 เพิ่มความเข้มข้นเป็น 120 – 140 % ในฤดูหนาว
ลดความเข้มข้นเหลือ 70 – 80 % สำหรับพันธุ์นอกโรงเรือน
สตรอเบอร์รี 5.0/0.50 0.50 3.0 1.0 0.5 0.5 เพิ่มความเข้มข้นเป็น 150 % หลังออกดอก
ผักสลัด 6.0/0.50 0.50 4.0 1.0 0.5 0.5
Mitsuba 8.0/1.67 0.67 4.0 2.0 1.0 1.0
Shugiku 12.0/1.33 1.33 8.0 2.0 2.0 2.0 ลดความเข้มข้นเหลือ 70 % ในฤดูร้อน
ปวยเหล็ง (Horensou) 12.0/1.33 1.33 8.0 2.0 2.0 2.0
Menegi 9.0/2.00 2.00 7.0 1.0 1.0 1.0
Kureson 4.5/1.00 1.00 3.5 0.5 0.5 0.5
Kokabu 7.0/0.50 0.50 5.0 1.0

 

 

ตารางที่ 5-30 สูตรสารละลาย Taizuka Kagaku (บริษัทเอกชนของญี่ปุ่น) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพืชเฉพาะชนิดตามที่ระบุ (Nihonshisetu engeikyokai, 2002)
ชนิดพืช ความเข้มข้น (mmole/L) หมายเหตุ
NO3/NH4 H2PO4 K Ca Mg SO4
Mitsuba และหอม 18.5/1.70 1.70 7.60 4.10 1.85 1.85 ควบคุมความเข้มข้น 2.5 – 3.5 mS/cm
ผักสลัดญี่ปุ่น (Saradana) 18.6/1.67 1.67 10.40 3.20 1.45 1.45 ควบคุมความเข้มข้น 1.5 – 2.5 mS/cm
ปวยเหล็ง (Horensou) 17.5/1.47 1.47 10.20 4.10 1.50 1.50 ควบคุมความเข้มข้น 2.5 – 3.5 mS/cm
สตรอเบอร์รี 10.8/1.2 1.20 3.00 1.85 0.85 0.85 ควบคุมความเข้มข้น 0.6 – 1.5 mS/cm
มะเขือเทศ (ระยะแรก) 11.2/1.07 1.07 6.70 2.25 1.05 1.05 ใช้ถึงระยะออกดอกถึงข้อที่ 3 ควบคุมความเข้มข้น 1.2 – 1.6 mS/cm
มะเขือเทศ (ระยะกลางเป็นต้นไป) 13.9/1.30 1.30 8.90 2.85 1.30 1.30 ใช้ถึงระยะออกดอกถึงข้อที่ 3 เป็นต้นไป ควบคุมความเข้มข้น 1.6 – 2.4 mS/cm
กุหลาบ (ฤดูหนาว) 10.2/1.10 1.10 4.20 2.50 0.75 0.75 ควบคุมความเข้มข้น 1.4 – 1.8 mS/cm
กุหลาบ (ฤดูร้อน) 10.2/0.97 0.97 4.70 2.85 0.70 0.70 ควบคุมความเข้มข้น 1.1 – 1.5 mS/cm
เยอบีรา (ปีที่ 1) 11.1/0.83 0.83 5.80 2.90 0.85 0.85  ควบคุมความเข้มข้น 1.4 – 1.8 mS/cm
เยอบีรา (ปีที่ 2 เป็นต้นไป) 11.1/1.00 1.00 5.20 2.45 0.90 0.90 ควบคุมความเข้มข้น 1.4 – 1.9 mS/cm
สูตร ความเข้มข้นจุลธาตุ (mg/L) หมายเหตุ
Fe Mn Cu Zn B Mo
สูตรทั่วไปหมายเลข 5 ชนิดผง 2.85 0.77 0.020 0.040 0.32 0.020 ใช้ร่วมกับสารละลายสูตรต่างๆ ข้างต้น
สูตรทั่วไปหมายเลข 5 ชนิดสารละลาย 2.80 0.62 0.040 0.080 0.51 0.040 ใช้ร่วมกับสารละลายสูตรต่างๆ ข้างต้น
สูตรมะเขือเทศ 2.25 0.58 0.030 0.090 0.33 0.030 ใช้ร่วมกับสารละลายสูตรมะเขือเทศ
สูตรกุหลาบ 2.11 0.57 0.015 0.044 0.23 0.150 ใช้ร่วมกับสารละลายสูตรกุหลาบ

 

 

ตารางที่ 5-31 สูตรสารละลาย Takikagaku (บริษัทเอกชนของญี่ปุ่น) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพืชเฉพาะชนิดตามที่ระบุ  (Nihonshisetu engeikyokai, 2002)
ชนิดพืช ความเข้มข้น (mmole/L) หมายเหตุ
NO3/NH4 H2PO4 K Ca Mg SO4
มะเขือเทศ 6.90/1.00 1.00 3.20 1.45 0.95 0.95 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า
แตงกวา  13.10/1.47 1.47 5.30 2.85 1.50 1.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า และลดความเข้มข้นเหลือ 80% ระยะเก็บเกี่ยว
แตงแคนตาลูป 18.8/1.47 1.47 6.40 4.30 1.50 1.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า และลดความเข้มข้นเหลือ 50% หลังผลแก่
Shugiku  13.1/1.47 1.47 5.30 1.45 0.95 0.95 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า เพิ่มความเข้มข้นเป็น 100% หลังมีใบแท้ 2-3 ใบ
Mitsuba 10.3/1.47 1.47 6.70 1.35 1.50 1.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า เพิ่มความเข้มข้นเป็น 100% หลังมีใบแท้ 2-3 ใบ
ผักสลัด (lettuce)  6.3/0.50 0.50 3.40 0.90 0.50 0.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า เพิ่มความเข้มข้นเป็น 100% หลังมีใบแท้
Kureson 10.3/1.47 1.47 6.70 1.35 1.50 1.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า
พริกยักษ์/พริกหวาน  9.7/1.00 1.00 5.60 1.35 1.00 1.00 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า ใช้ความเข้มข้น 100% หลังย้ายปลูก
มะเขือ 12.6/1.00 1.00 6.80 1.80 1.00 1.00 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า ใช้ความเข้มข้น 100% หลังย้ายปลูก
Kokabu  8.6/0.50 0.50 4.60 1.35 0.50 0.50 ใช้ความเข้มข้น 50% ในระยะต้นกล้า
สตรอเบอร์รี 3.4/0.50 0.50 2.20 0.45 0.50 0.50 ใช้ความเข้มข้น 100% ในระยะต้นกล้า เพิ่มความเข้มข้นเป็น 200% เมื่อเริ่มออกดอก

 

 

ตารางที่ 5-32 สูตรสารละลาย Katakura Chikkarin (บริษัทเอกชนของญี่ปุ่น) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพืชเฉพาะชนิดตามที่ระบุ (Nihonshisetu engeikyokai, 2002)
ชนิดพืช ความเข้มข้น (mmole/L) หมายเหตุ
NO3/NH4 H2PO4 K Ca Mg SO4
แตงกวา แตงแคนตาลูป  13.0/1.17  1.17 5.70  3.50 2.30 2.30
มะเขือเทศ 7.0/0.80 0.80 3.90 1.50 0.90 0.90
สตรอเบอร์รี 5.0/0.60 0.60 2.90 1.00 0.65 0.65
พริกยักษ์/พริกหวาน  9.0/1.23 1.23 6.00 1.50 1.35 1.35
ผักสลัด (lettuce) 6.0/0.80  0.80 3.90 1.00 1.40 1.40
Shugiku  12.0/1.63 1.63 7.90 2.00 1.80 1.80
มะเขือ 10.0/1.43 1.43 7.00 1.50 1.60 1.60
Kabu 7.0/1.00 1.00 5.00 1.00 1.10 1.10