สารเร่ง พด.7

สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่ง พด.7 เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการย่อยสลายพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้ของเหลวสีน้ำตาลใส ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิดในปริมาณสูง รวมทั้งสารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ และสารไล่แมลงที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูพืช

สารเร่ง พด.7
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

 

 
 
 
 
ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.7
 
ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์
แบคทีเรียผลิตเอนไซม์เซลลูเลสย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส
แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก
 
 
 วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
 
1.
พืชสมุนไพร
30
กิโลกรัม
2.
น้ำตาล
10
กิโลกรัม
3.
น้ำ
50
ลิตร
4.
สารเร่ง พด.7
1
ซอง (25 กรัม)
 
ชนิดพืชสมุนไพร
 
สมุนไพรที่ใช้ป้องกันพวกเพลี้ย ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล สาบเสือ หนอนตายหยาก บอระเพ็ด กระทกรก และข่า เป็นต้น
สมุนไพรป้องกันหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หางไหล ตะไคร้หอม เปลือกแค สาบเสือ หนอนตายหยาก สะเดา ว่านเศรษฐี และว่านน้ำ เป็นต้น
สมุนไพรที่ป้องกันและเป็นพิษต่อแมลงวันทอง ได้แก่ หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดเงาะ ยาสูบ พริกไทยดำ ขิง และพญาไร้ใบ
สมุนไพรที่ใช้ไล่แมลงไม่ให้วางไข่ ได้แก่ คำแสด มะกรูด ตะไคร้ เมล็ดละหุ่ง มะนาว พริก และพริกไทย เป็นต้น
 
 วิธีทำ
 
1.
สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก ทุบหรือตำให้แตก
2.
นำพืชสมุนไพรและน้ำตาลใส่ลงในถังหมักผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.
ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 50 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
4.
เทสารละลายสารเร่ง พด.7 ใส่ลงในถังหมักคลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง
5.
ปิดฝาไม่ต้องสนิท และตั้งไว้ในที่ร่มใช้ระยะเวลาในการหมัก 20 วัน
 
 การพิจารณาลักษณะที่ดีทางกายภาพในระหว่างการหมักเพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
 
การเจริญของจุลินทรีย์
เกิดฝ้าของเชื้อจุลินทรีย์เจริญเต็มผิวหน้า หลังจากการหมัก 1-3 วัน
การเกิดฟองก๊าซ CO2
มีฟองก๊าซเกิดขึ้นบนผิวและใต้ผิววัสดุหมัก
การเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์
ได้กลิ่นแอลกอฮอล์ฉุนมาก
ความใสของสารละลาย
เป็นของเหลวใสและมีสีเข้ม
 
การพิจารณาสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่สมบูรณ์แล้ว
 
การเจริญของจุลินทรีย์ลดลง
กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง
กลิ่นเปรี้ยวเพิ่มสูงขึ้น
ไม่ปรากฎฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ความเป็นกรดเป็นด่างของสารป้องกันแมลงศัตรูพืชมี pH ต่ำกว่า 4
 
คุณสมบัติของสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
 
1.
มีสารออกฤทธิ์ที่สกัดได้จากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น สารอะซาดิแรคตินA , สารโรติโนน , pinene , neptha , quinone , geraniol citronellal , limonene และ phellandrene เป็นต้น
2.
มีสารพวก repellant สามารถไล่แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น alkaloid , glycoside , saponin , gum , essential oil , tannin และ steroid เป็นต้น
3.
มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติก กรดฟอร์มิก และกรดอะมิโน เป็นต้น
4.
มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตไคนิน โดยเฉพาะจิบเบอร์เรลลิน
5.
มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 3 – 4
 
 อัตราการใช้
 
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สำหรับพืชไร่ และไม้ผล
:
น้ำเท่ากับ 1:200
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สำหรับพืชผัก และไม้ดอก
:
น้ำเท่ากับ 1:500
 
 วิธีการใช้
 
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 50 ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 100 ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในไม้ผล
โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง
 
 ประโยชน์ของสารเร่ง พด.7
           ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น