ข้อควรระวังกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช(ยารักษาโรคเชื้อรา)ตอนที่ 3

เพ็นไซคูรอน

(pencycuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  phenylurea  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูก  และ  ให้ผลในทางป้องกันมิให้เกิดโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Pellicularia  spp.  โรคเน่าคอดิน  โรคกาบใบไหม้และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ดอก  ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                                  – ถ้าใช้ตามคำแนะนำจะไม่เป็นพิษต่อต้นพืช

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่กำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp.  และ  Fusarium spp.

– ผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้เพื่อให้สามารถกำจัดโรคพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ฟีนาซิน – อ๊อกไซด์

(phenazin  oxide)

การออกฤทธิ์                          กำจัดเชื้อรา

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,310  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคใบไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  (bacteria)

พืชที่ใช้                                   ข้าว

สูตรผสม                                 10%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ในกรณีที่กินเข้าไป  ต้องทำให้อาเจียน แล้วรักษาตามอาการ  ในกรณีที่เกิดพิษเนื่องจากการสัมผัสที่ผิวหนังและดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  นานอย่างน้อย  15  นาที

 

ฟอสโฟรัส  แอซิค

(phosphorous  acid)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึม  (systemic)  และสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้อย่างดี

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  11,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  13,400  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคโคนเน่า  หรือรากเน่าที่เกิดจาก  Phytophthora  sp.

พืชที่ใช้                                   ส้มต่าง ๆ  สัปปะรด  และทุเรียน

สูตรผสม                                 40%  W/V  A5

อัตราการใช้                            ใช้โดยวิธีอัดฉีดเข้าต้นพืช  ใช้ผสมกับน้ำกลั่นในอัตรา  1:1  ถ้าใช้วิธีราดโคนต้นหรือฉีดพ่นใบ  ใช้อัตรา  100  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  แล้วฉีดที่ใบหรือราดโคนต้นในอัตราต้นละ  5  ลิตร  ทุกระยะ  30  วัน

อาการเกิดพิษ                          ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  สำหรับผู้แพ้  หากกลืนกินเข้าไป  อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  หัวใจเต้นเร็วและอาเจียน

การแก้พิษ                               รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีการใช้วัตถุมีพิษ  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  หากเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หากเข้าปากให้รีบล้างปากด้วยน้ำสะอาด  ถ้ากลืนกินและยังไม่หมดสติ  ทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  ถ้าหายใจติดขัดให้ช่วยผายปอดแล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  ควรพ่นก่อนหรือหลังฝนตก  4-6  ชั่วโมง

 

พีเอ็มเอ  หรือ  ซีรีแซน

(PMA  or  Ceresan)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อราที่มี  mercury  เป็นองค์ประกอบ  มีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคพืชที่เกิดตามใบและใช้คลุกเมล็ดป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          ชนิด  20%  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  100  มก./กก.  ชนิด Technical  grade  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  22-44  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเมล็ด  (seed  born)  โรค  dollar  spot  โรค  copper spot  โรค  brown  และ  pink  patch  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium spp.  และโรคอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ใช้คลุกเมล็ดฝ้าย  ข้าว  ข้าวฟ่าง  และข้าวสาลี

สูตรผสม                                 1-22%  ดับบลิวพี

ข้อควรรู้                                  ปัจจุบันไม่มียาชนิดนี้จำหน่ายในประเทศและถูกห้ามใช้ในอีกหลาย ๆ ประเทศ

 

โปลี่อ๊อกซิน

(polyoxins)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  antibiotic  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลัน  21,200  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคกาบใบไหม้ของข้าว  โรคจุดดำ  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Alternaria และ  Botrytis  โรคเน่า  Sclerotinia  โรคใบจุด  โรคราแป้ง  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  มะเขือเทศ  พืชตระกูลแตง  สตรอเบอร์รี่  แครอท  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 2.2%  ดับบลิวพี  10%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อมีโรคพืชปรากฏ  ฉีดพ่นซ้ำได้ทุก 10  วัน

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น

 

โปรคลอราซ

(prochloraz)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  imidazole  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและกำจัดโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,600  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 3,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราแป้ง  Fusarium , Septoria  spp.  โรคสแคป  Botrytis , Alternaria , Sclerotina , Cercospora , Rice  blast , Penicillium  spp.  และโรคอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

พืชที่ใช้                                   ข้าวและธัญพืชทั่วไป  เห็ดและผักต่าง ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ  ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืชได้ด้วย

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา  แต่ปลอดภัยสำหรับผึ้งและแมลงที่มีประโยชน์อื่น ๆ

– อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

 

โปรไซมิโดน

(procymidone)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dicarboximide  ประเภทดูดซึม  และออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  6,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,500  มก./กก.  (หนู)

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Botrytis , Sclerotinia , Helminthosporium  และ Monillinia  spp.

พืชที่ใช้                                   พืชผัก  ไม้ผลและพืชไร่  เช่น  ธัญพืช  ถั่ว  มันฝรั่ง  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อปรากฏว่ามีโรคพืช  ใช้ซ้ำได้ตามกำหนด

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา

– ให้ผลดีในการกำจัดเชื้อโรคพืชที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราโนมิลและธิโอฟาเนท  เม็ทธิล

– มีความคงตัวอยู่ได้นานมากกว่าหนึ่งอาทิตย์

 

โปรพาโมคาร์บ

(propamocarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  carbamate  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช  สามารถดูดซึมเข้าไปในต้นได้โดยทางรากและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  7,860  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง มากกว่า  3,600  มก./กก.  (กระต่าย)

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคเน่าคอดิน  โรค  Black  shank  โรคราน้ำค้าง  โรคราสนิม  และโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium , Phytophthora , Bremia , Aphanomyces , Peronospora , Pseudoperonospora  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ยาสูบ  พืชผักและพืชอย่างอื่น

สูตรผสม                                 72%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้ซ้ำได้ทุก  7-21  วัน

การแก้พิษ                               ยาอะโทรปิน

ข้อควรรู้                                  – ควรใช้เป็นสารป้องกันโรคพืช

– ควรใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นเพื่อเพิ่มขอบเขตการกำจัดโรคพืช

– ไม่เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ป่า

– ออกฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้  10-21  วัน

 

โปรฟิโคนาโซล

(propiconazole)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  triazole  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางบำบัดรักษาและป้องกันโรคพืช  ใช้กับโรคที่เป็นกับใบพืชโดยเฉพาะ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,517  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  4,000  มก./กก.  (หนู)  อาจทำให้ผิวหนัง  ดวงตาและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Erysiphe  spp.  โรค  dollar  spot  โรค  brown patch  โรคราน้ำค้าง  โรคราสนิม  โรคสมัท  (smut)  และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Puccinia  spp , Septoria  spp , Rhynochosporium  spp.  และเชื้อ Pseudocercosporella  spp.

พืชที่ใช้                                   ถั่วลิสง  ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ท  และธัญพืชอื่น ๆ  ดอกเบญจมาศ  ยางพารา  กาแฟ  อ้อย

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี  12.5%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อตรวจพบว่ามีโรคพืชเกิดขึ้น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  4-5  สัปดาห์

– ให้ผลในการควบคุมโรคพืชได้นาน  3-6  อาทิตย์

– เพื่อเพิ่มขอบเขตความสามารถในการกำจัดโรคพืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้

– ในทางปฏิบัติ  เป็นพิษต่อปลา

 

โปรพิเน็บ

(propineb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  carbamate  ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชที่เกิดตามใบ  สารตกค้างออกฤทธิ์อยู่ได้นานและกำจัดไรได้ด้วย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8,500  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  1,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Septoria  spp.  โรค  Sigatoka  โรคราน้ำค้าง โรค  Earty  and  late  blight  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Botrytis  spp , Cercospora spp , Phytophthora  spp , Alternaria  spp.  และโรคราแป้ง

พืชที่ใช้                                   กล้วย  ส้ม  ฝ้าย  องุ่น  มันฝรั่ง  ข้าว  ชา  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  หอม  กระเทียม  หน่อไม้ฝรั่ง  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 70%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  โดยทั่วไปใช้อัตรา  30-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก  7-10  วัน

อาการเกิดพิษ                          ถ้าเข้าตา  จมูกหรือถูกผิวหนัง  จะมีอาการคัน  เป็นผื่นแดง  ถ้ากินเข้าไปจะปวดศีรษะ  เซื่องซึม  คลื่นเหียน  อาเจียน  ท้องร่วง  อ่อนเพลีย

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ล้างท้องคนไข้แล้วตามด้วยยา Lacative  salt  สูดดม  Camomile  แล้วรักษาตามอาการ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ห้ามให้ยา  หรืออาหารที่มีแอลกอฮอล์  ไขมัน  และน้ำมันผสมอยู่

ข้อควรรู้                                  – อย่าใช้ฉีดพ่นก่อนหรือหลังที่ใช้สารกำจัดเชื้อราที่มี  copper ประกอบอยู่

– เมื่อผสมกับสารที่มีสภาพเป็นด่าง  ให้รีบฉีดพ่นทันที  อย่าปล่อยทิ้งไว้

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

– ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

 

โปรธิโอคาร์บ

(prothiocarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อราและคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,300  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคพืชที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp , Peronospora  spp , Bremia spp , Phytophthora  spp.  และเชื้อ  Peronosporales

พืชที่ใช้                                   ใช้คลุกเมล็ด

สูตรผสม                                 70%  แอลซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้คลุกเมล็ด  หยอดตามร่องปลูกและร่องหว่านหรือฉีดพ่นทั้งก่อนและหลังงอก

 

ไพราคาร์โบลิด

(pyracarbolid)

การออกฤทธิ์                          กำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  15,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราสนิม  โรคสมัท  โรครากเน่าและโรคโคนเน่า

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ธัญพืช  ชา  กาแฟ  ไม้ประดับ  เมล็ดฝ้ายและธัญพืชต่าง ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

 

ไพราโซฟอส

(pyrazophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  organophosphate  pyrimidine  ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  415-778  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  2,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราแป้ง  และโรคที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium  spp.

พืชที่ใช้                                   องุ่น  พืชตระกูลแตง  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  ธัญพืช  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 30%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตรา  6-10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้ผสมกันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ทุก  7-14  วัน

อาการเกิดพิษ                          อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง  ถ้าเข้าปาก  จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  กระวนกระวาย  อาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ชีพจรเต้นช้า  กล้ามเนื้อเกร็ง  ในกรณีที่รับพิษเข้าไปมากระบบประสาทจะถูกทำลายและกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตา  ให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าปาก  ห้ามทำให้อาเจียน  สำหรับแพทย์  ให้คนไข้ด้วยยา  liquid  paraffin  ขนาด  200  มิลลิลิตร แล้วล้างท้องโดยใช้น้ำ  4  ลิตร  ระวังอย่าให้สารพิษหลงเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ  เมื่อล้างท้องเสร็จแล้วให้คนไข้รับประทานแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล  และ โซเดียมซัลเฟท  ให้  อะโทรปินซัลเฟท  2  มิลลิกรัม  ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำและฉีดซ้ำทุก  15  นาที  และให้  Toxogonin  250  มิลลิลิตร  หรือฉีด  2-0.5-1  กรัม ทางเส้นเลือดดำช้า ๆ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นอันตรายกับผึ้ง  ไม่ควรใช้ในระยะที่พืชกำลังออกดอก

– เป็นอันตรายต่อปลา

– ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสารคลุกเมล็ดหรือราดดิน

– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้

 

ไพโรควิลอน

(pyroquilon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  pyrroloquinoline  ประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  320  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 3,100  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  กำจัดเชื้อ  Pyricularia  oryzae  ของข้าว

พืชที่ใช้                                   ข้าว

สูตรผสม                                 2.7%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

 

ควินโตซีน  หรือ  พีซีเอ็นบี

(quintozene  or  PCNB)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  organochlorine  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกัน โรคพืชที่อยู่ในดินและใช้คลุกเมล็ด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  15,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคเน่าดำของกะหล่ำปลี  โรครากเน่าของฝ้าย  โรคสแคปของกะหล่ำปม  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Sclerotinia  spp.  โรคต้นเน่าและรากเน่าของถั่วเหลือง  โรคใบไหม้ของมะเขือเทศและพริกไทย  โรคเน่าของกระเทียมและโรคอื่น ๆ อีกมาก

พืชที่ใช้                                   กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  กะหล่ำปม  ถั่วต่าง ๆ  ข้าว  ข้าวโพด  ฝ้าย กระเทียม  พริกไทย  มันฝรั่ง  ข้าวฟ่าง  มะเขือเทศ  ข้าวสาลี  กล้วย  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 75%  ดับบลิวพี  24%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ชนิด  75%  ใช้คลุกเมล็ดหรือคลุกดินตามอัตราที่กำหนดบนฉลาก  หรืออาจจะใช้อัตราที่กำหนดผสมกับน้ำ  แล้วราดบริเวณโคนต้นก็ได้

อาการเกิดพิษ                          ถ้าถูกผิวหนังจะเกิดอาการระคายเคือง  หรือมีอาการแพ้  ถ้าเข้าตาจะทำให้ดวงตาอักเสบ  ถ้าสูดดมจะทำให้ทางเดินหายใจระคายเคืองและอักเสบ  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  มีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ  กล้ามเนื้อเรียบ  ตับและไต

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องนำคนไข้ส่งแพทย์ทันที  ห้ามทำให้อาเจียน รักษาตามอาการไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

ข้อควรรู้                                  – ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ  Fusarium  และ  Pythium  spp.

– ห้ามนำเมล็ดที่คลุกด้วยสารชนิดนี้ไปเป็นอาหารคนและสัตว์

– ผสมได้กับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น  ยกเว้นพวกที่จะมีปฏิกริยาออกฤทธิ์เป็นด่าง

 

ซัลเฟอร์

(sulphur)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  inorganic  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช กำจัดไรและแมลงบางชนิดได้

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  3,000  มก./กก.  ไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์  แต่อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคสแคป  โรคใบจุด  โรคเน่าสีน้ำตาล  โรคราแป้งและราน้ำค้าง  โรคราสนิม  รวมทั้งกำจัดไร  เพลี้ยหอยและเพลี้ยไฟได้

พืชที่ใช้                                   กล้วย  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  ส้ม  ฝ้าย  ถั่วต่าง ๆ  มะม่วง  แอสพารากัส ผักต่าง ๆ  มะเขือ  หอม  กระเทียม  พริกไทย  มันฝรั่ง  ฟักทอง  มะเขือเทศ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 80%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วอย่างสม่ำเสมอ

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – อย่าใช้ในขณะที่อากาศร้อนเกินกว่า  32  องศาเซลเซียส

– ห้ามใช้ร่วมกับสารที่เป็นน้ำมัน  หรือภายหลังจากฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นน้ำมันทันที

– เข้ากับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้

– ไม่มีอันตรายต่อผึ้ง

 

ทีซีเอ็มทีบี

(TCMTB)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  benzothiazole  ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดเพื่อป้องกันและรักษาโรคพืชที่อยู่ตามดินและที่อยู่ในเมล็ด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,590  มก./กก.  เป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนัง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคเน่าคอดิน  โรคแส้ดำ  โรคกลิ่นสัปปะรด  โรคใบจุดสีน้ำตาล  โรคใบไหม้  โรคเมล็ดด่าง  และโรคอื่น ๆ  ที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium , Rhizoctonia , Phythium , Pyricularia , Curvularia , Fusarium & Cercospora  spp.

พืชที่ใช้                                   เมล็ดพันธุ์ถั่ว  ข้าว  ข้าวโพด  ฝ้าย  ข้าวสาลี  ผักกาด  มันฝรั่ง  ข้าวฟ่าง  และท่อนพันธุ์อ้อย

สูตรผสม                                 31.5%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  สำหรับคลุกเมล็ดใช้อัตรา  10  ซีซี  เมล็ดพันธุ์  1  กก.  คลุกเมล็ดให้ทั่วในภาชนะที่ปิดมิดชิด  ชุบท่อนพันธุ์  ใช้อัตรา  86  ซีซี  ผสมน้ำ  100  ลิตร  ชุบท่อนพันธุ์นาน  1-2  นาที  แล้วนำไปปลูก

อาการเกิดพิษ                          ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและดวงตา

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปห้ามทำให้อาเจียน  ล้างท้องคนไข้  แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  30-50  กรัมต่อน้ำ  1  แก้ว  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– อย่าใช้เมล็ดที่คลุกด้วยสารกำจัดเชื้อราชนิดนี้เป็นอาหารคนและสัตว์

 

ไธอะเบ็นดาโซล

(thiabendazole)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  benzimidazole  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  3,100  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  กำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อ  Aspergillus , Botrytis , Cercospora , Fusarium , Rhizoctonia  spp.  เช่น  โรคแอนแทรคโนส  โรค  Dollar  spot โรค  Brown  patch  โรคใบจุด  โรค  Blue  mold  โรคยอดเน่าและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  มะม่วง  องุ่น  มะละกอ  กล้วย  ข้าวสาลี  ข้าว  ถั่วเหลือง  ส้ม ยาสูบ  ข้าวโพด  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 40%  ดับบลิวพี , 80%  เอสพี , 90%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราและวิธีการตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – สำหรับมันฝรั่ง  ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน

– ไม่เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นจำนวนมาก

– อย่าผสมกับน้ำที่มีสภาพความเป็นด่างสูง

– อย่าผสมกับสารกำจัดเชื้อราพวก  copper

– ใช้กำจัดพยาธิตัวกลมของคนและสัตว์ได้  โดยการกินสารนี้เข้าไป

 

ไธโอฟาเนท

(thiophanate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  benzimidazole , carbamate ; MBC  ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  15,000  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  10,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคใบจุด  Cercospora  โรค  Fusarium  blight  โรคสมัท  (Smut) Dollar  spot , Copper  spot , โรค  Brown  patch  โรคราน้ำค้าง  โรคราแป้ง โรค  Sclerotinia  rot  โรคบลาสข้าว  โรคต้นกล้าเฉา  Verticillium

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก    ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วใบพืชทุก  1-4 อาทิตย์

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ห้ามผสมกับ  Bordeaux  mixture  หรือ  Lime  sulfur

– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้  ยกเว้นพวกที่มีสาร  copper เป็นองค์ประกอบ

 

ไธโอฟาเนท  เมทธิล

(thiophanate  methyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  benzimidazole  , carbammate ; MBC ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางบำบัดและรักษาป้องกันโรคพืช  มีฤทธิ์ในการกำจัดไรได้ด้วย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  7,500  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  10,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคสมัท  (Smut)  โรคราแป้ง  โรคแอนแทรคโนส  โรค  Dollar  spot โรคราสีเทา  โรค  Brown  patch  โรค  botrytis  โรคใบจุด  Cercospora  โรคจุดดำ  โรค  Fusarium  blight  โรคเน่า  Penicillium    โรคต้นเน่า  โรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  โรคเน่า  Sclerotinia  โรค  Sigatoka  โรคบลาสของข้าว  และโรคอื่น ๆ  ที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  และ  Fusarium  spp.

สูตรผสม                                 70%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วก่อนที่โรคจะปรากฏ  ปกติจะใช้  4  วันต่อครั้ง

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง  หรือกับพวกที่มีผสมอยู่

– มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน

– มีฤทธิ์กำจัดไรและไส้เดือนฝอย

 

ไธแรม

(thiram)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dithiocarbamate  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืชและเป็นสารขับไล่สัตว์บางชนิด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  780  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 1,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตา  ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคเน่าคอดิน  โรคเมล็ดเน่า  โรค  Seedling  blights  โรค  Brown patch  Dollar  spot  โรคสะแคป  โรคราสนิม  โรคเน่าดำ  โรค  Sooth  blotch โรค  Rhizocpus  rot , Botrytisfruit  rot  โรคใบจุด  มะเขือเทศ  โรค  Late blight  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   กล้วย  แอปเปิล  คื่นฉ่าย  มะเขือเทศ  สตรอเบอร์รี่  ฝ้าย  หอม  มันฝรั่ง  พืชหัวต่าง ๆ  ใช้คลุกเมล็ด  ถั่วต่าง ๆ  คะน้า  มะเขือ  พริกไทย  ฟักทอง แตงโม  กะหล่ำปลี  แคนตาลูป  กะหล่ำดอก  ฝ้าย  ข้าว  มะเขือเทศและข้าวสาลี

สูตรผสม                                 75%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ถ้าคลุกเมล็ด  ใช้อัตรา  2.5-5  กรัมต่อเมล็ด  1  กก.  ถ้าฉีดพ่น  ใช้อัตรา  30-50  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการแพ้  จะมีอาการคัน  เป็นผื่นแดง  ถ้าสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการไอ  หายใจไม่สะดวก  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน  ปวดท้อง  ท้องร่วง  เหงื่อออก  ถ้าพิษรุนแรงจะมีอาการชักและหมดสติ

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ  10-15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ถ้าผู้ป่วยมีสติดีอยู่  ช่วยทำให้คนไข้อาเจียนโดยใช้ยา  syrup  of  ipecac  แล้วตามด้วยน้ำ  1-2  ถ้วย  ถ้าไม่อาเจียน  ทำให้ท้องว่างด้วย  Intubation , Aspiration  และ Lavage  แล้วรักษาตามอาการ  ห้ามมิให้คนไข้ดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่เป็นเวลา  3  สัปดาห์

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  1-2  อาทิตย์

– อย่าจับต้องเมล็ดที่คลุกสารชนิดนี้ด้วยมือเปล่า

– เข้ากับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราทั่ว ๆ ไปได้

 

โทลโคลฟอส  เม็ทธิล

(tolclofos  methyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  organophosphate  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูกและให้ผลในทางป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  5,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดโรคพืชที่เกิดอยู่ในดิน  เชื้อ  Rhizoctonia , Sclerotinium และ  Typhula  spp.  ซึ่งทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน  โรคลำต้นเน่าและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  ฝ้าย  ถั่วลิสง  พืชตระกูลแตง  ข้าวสาลี  ผักกาดหอม  และต้นกล้าของไม้ดอก  ไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี  20%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ได้หลายวิธีคือ  คลุกเมล็ด  ใช้จุ่มพืชหัว  ใช้ราดโคนต้น  และใช้ฉีดพ่นที่ใบ  โดยมีอัตราการใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ห้ามผสมกับสารอื่นที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– มีความคงตัวเมื่ออยู่ในดิน

 

ไตรอะไดมีฟอน

(triadimefon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  triazole  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกัน  และบำบัดรักษาโรคพืช  ดูดซึมเข้าลำต้นได้ทั้งทางใบและราก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  602  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราสนิม  โรคราแป้ง  โรคกลิ่นสัปปะรด  โรคแส้ดำ  Cercospora โรคเน่าสีน้ำตาล  Fusarium , Puccinia , Ustilago , Uromyces , Cladosporium , Venturia  โรคสแคป  โรคสมัทและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   อ้อย  กาแฟ  ถั่วเหลือง  เงาะ  ข้าวสาลี  องุ่น  สัปปะรด  แอปเปิล  พืชตระกูลแตง  กุหลาบ  ไม้ผลและอื่น ๆ

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ถ้าใช้ฉีดพ่น  ใช้อัตรา  10-20  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ถ้าใช้แช่ท่อนพันธุ์  ใช้อัตรา  40-50  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  แช่ท่อนพันธุ์นาน  30  นาที  จึงนำไปปลูก

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  เซื่องซึมและตี่นเต้น

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา  ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน

– ผสมได้เฉพาะกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นที่อยู่ในรูปดับบลิวพี  (WP)

– เป็นพิษต่อปลา  ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

– ใช้ผสมในขณะฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

ไตรไซคลาโซล

(tricyclazole)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  triazolobenzothiazole  ประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูอัลปิโน)  250  มก./กก.  (หนู)  305 มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคใบไหม้  ที่เกิดจากเชื้อ  Pyricularia  oryzae  และโรคจุดสีน้ำตาล ที่เกิดจากเชื้อ  Drechslera  spp.

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ข้าวบาร์เลย์

สูตรผสม                                 75%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ถ้าฉีดพ่นใช้อัตรา  10-16  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ถ้าคลุกเมล็ด  ใช้อัตรา  2  กรัม  ต่อเมล็ดหนัก  1  กก.  คลุกเมล็ดก่อนปลูก

อาการเกิดพิษ                          ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้คนไข้ดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ในขณะฉีดพ่น  ให้เขย่าถังฉีดอยู่เสมอ

– ดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

– อาจใช้ผสมในขณะฉีดพ่นกับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ ได้

 

ไตรดีมอร์ฟ

(tridemorph)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  morpholine  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและปราบโรคพืชให้หมดไป  ดูดซึมได้ทั้งทางใบและราก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  650  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 4,000  มก./กก.  (หนู)  อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราแป้ง  โรคซิกาโตก้า  โรค  Eye  Spot  ของกาแฟและโรคสีชมพูของชาและกาแฟ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ข้าวสาลี  ธัญพืชอื่น ๆ  กาแฟ  กล้วย  พืชตระกูลแตง  ต้นยางพารา  มะม่วง  ไม้ผล  และผักทั่วไป

สูตรผสม                                 75%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำฉีดพ่นทุก  14-21  วัน  ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนใช้

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-4  อาทิตย์

– เป็นพิษต่อปลา

– ใช้กับธัญพืชจะมีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน  3-4  อาทิตย์

– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ ได้

 

ไตรฟลูมาโซล

(triflumazole)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารป้องกันและกำจัดโรคพืช

ความเป็นพิษ

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  โรคใบจุดของสตรอเบอร์รี่  ที่เกิดจากเชื้อ  Ramularia  tulasnei  และโรคพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 30%  WP

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตรา  6  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีอาการของโรคระบาดและควรพ่นทุก  7  วัน

อาการเกิดพิษ                          อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ถ้าเข้าปากจำนวนมาก จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  เวียนศีรษะ

การแก้พิษ                               ถ้าเป็นพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าปากรีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้ยังมีสติดีทำให้อาเจียน  ถ้าผู้ป่วยหมดสติ  ให้ดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  แล้วใช้น้ำล้างคอ เพื่อทำให้อาเจียน  แล้วรักษาตามอาการ

 

ไตรโฟรีน

(triforine)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  piperazine  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช  ดูดซึมได้ทั้งทางใบและราก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  16,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  10,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราแป้ง  โรคใบไหม้  โรคเน่าคอดิน  โรคราสนิม  โรคแอนแทรคโนส โรคเน่าดำ  โรคใบจุดและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ธัญพืช  องุ่น  กุหลาบ  แอปเปิล  พืชตระกูลแตง  ถั่วเหลือง บวบ  ฝ้าย  ยาสูบ  ผักบางชนิดและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 19%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  อัตราการใช้แตกต่างกันไปตามชนิดของพืช  โดยทั่ว ๆ ไปใช้  15-20 ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นใบ  ใช้ซ้ำได้ทุก  1-2  อาทิตย์ต่อครั้ง  ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา  อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้  ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้หายใจไม่ออกและชัก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา  ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน  นำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ล้างท้องคนไข้  แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– ห้ามผสมกับ  wetting  agent , spreader , sticker  or adjuvants

– ไม่มีความคงตัวเมื่ออยู่ในดิน  มีอายุอยู่ได้ประมาณ  3  อาทิตย์

– ไม่เป็นพิษกับปลา

– ใช้ปราบไรแมงมุมได้

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

 

วาลิดามัยซิน

(validamycin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อราปฏิชีวนะ  (antibiotic)  ประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  20,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคใบไหม้ของข้าว  โรคโคนเน่า  รากเน่า  ที่เกิดจากเชื้อ Basidiomyceres  spp.  และ  Rhizotonia  spp.  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ส้ม  มันฝรั่ง  กาแฟ  โกโก้  พืชผักตระกูลต่าง ๆ  และพืชไร่

สูตรผสม                                 3%  อีซี  5%  เอสพี  0.3%  ฝุ่น

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ฉีดพ่นที่ใบ  ราดโคนต้น  คลุกดินและใช้เป็นสารคลุกเมล็ด  โดยใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ถ้าฉีดพ่นที่ใบ  ใช้ซ้ำได้ทุก  7-10  วัน

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เข้าได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

– ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดโรคที่เกิดจากดิน

 

วินโคลโซลิน

(vinclozolin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dicarboximide  หรือ  oxazolidine  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืชและทำให้สปอร์ไม่งอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  10,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  2,500  มก./กก.  (หนู)

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อ  Altermaria  และ  Botrytis  โรคเน่าสีน้ำตาล  โรค  Dollar  spot  โรคFusarium  patch  โรคใบจุด  และโรคที่เกิดจากเชื้อ  Sclerotinia  และ  Monillia  spp.

พืชที่ใช้                                   ผักกาดขาว  องุ่น  ถั่วแขก  และถั่วอื่น ๆ  คื่นฉ่าย  หอม  มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่  พริกไทย  แตงกวา  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี  และ  เอสซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำฉีดพ่นที่ใบพืช  ทุก  7-14 วัน  ให้ใช้ก่อนที่พืชจะเป็นโรค

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นอันตรายเมื่อถูกผิวหนังและอาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

– ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

 

ไซเน็บ

(zineb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dithiocarbamate  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,200  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  6,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราน้ำค้าง  โรคใบไหม้  โรคราสนิม  โรคแอนแทรคโนส  โรคใบจุด โรคราดำ  โรคกุ้งแห้งและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   องุ่น  ถั่ว  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  หอม  กระเทียม  พริก  ผักต่าง ๆ  แอสพารากัส  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  แครอท  คื่นฉ่าย  ส้ม  ข้าวโพด  ฝ้าย  แตงกวา มะเขือ  คะน้า  ผักกาดหอม  แตงโม  พริกไทย  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  ยาสูบ  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 70%  และ  80%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  โดยทั่วไปใช้อัตรา  40-80  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ทุก  1-2  อาทิตย์ต่อครั้ง

อาการเกิดพิษ                          ถ้ากลืนกินเข้าไป  จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสียและเซื่องซึม ถ้าถูกผิวหนัง  เยื่อบุดวงตาและจมูก  อาจทำให้เกิดอาการอักเสบ  บวมแดง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากินเข้าไปต้องรีบทำให้อาเจียน  แล้วล้างท้องด้วย  laxative salt  แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  1-2  อาทิตย์

– ไม่เข้ากับสารอื่นที่มีสภาพเป็นด่างหรือมีสารปรอทเป็นองค์ประกอบ

– ใช้ฉีดพ่นก่อนที่พืชจะเป็นโรค

– เข้ากับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้