ข้อควรระวังกับสารกำจัดศัตรูพืช(ยาฆ่าแมลง) ตอนที่ 3

ไดฟลูเบ็นซูรอน

(diflubenzuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารระงับการเจริญเติบโตของแมลง  (insect  growth  regulator) (กำจัดได้ทั้งในระยะไข่  ตัวอ่อนหรือตัวหนอน  โดยการทำให้ไม่ลอกคราบ  ไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่และตายไปในที่สุด)

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4640  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     หนอนผีเสื้อกัดกินและชอนใบพืช  เช่น  หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้หอม  หนอนกระทู้ผัก  หนอนคืบ  หนอนหงอน  ด้วงเจาะสมอฝ้าย  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  ถั่วต่าง ๆ  พืชไร่และพืชสวนทั่วไป

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี  48%  เอสซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงศัตรูผัก  ใช้อัตรา  10-20  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  45  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำ  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้เมื่อพบเห็นว่ามีหนอนหรือแมลงในระยะตัวอ่อนทำลายพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียน  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  เหงื่อออกมาก  ถ้าอาการรุนแรงจะชักและหมดสติ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้รักษาผู้ป่วยตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– ใช้ไม่ได้ผลกับตัวเต็มวัยของแมลงและแมลงปากดูด

– เป็นพิษต่อกุ้งและปู

– อัตราการใช้และช่วงเวลาใช้  จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืชและแมลงศัตรูพืช  ก่อนใช้ทุกครั้งจึงควรดูรายละเอียดจากฉลาก

 

 

ไดเม็ทโธเอท

(dimetthoate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ได้ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  150  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 600-1,200  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  หนอนเจาะต้น  หนอนเจาะสมอ  บั่ว มวนเขียว  แมลงดำหนาม  แมลงหวี่ขาว  แมลงหวี่ดำ  และไรต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  และผักต่าง ๆ  ฝ้าย  องุ่น  แตง  มันฝรั่ง ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  กล้วย  อ้อย  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 32%  และ  40%  อีซี

อัตราการใช้                            ชนิด  40%  อีซี  กำจัดแมลงศัตรูพืชทั่วไป  ใช้  10-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำ  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช  ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการเซื่องซึม  ตาพร่า  ปวดเกร็งในช่องท้อง  แน่นหน้าอก  ปวดศีรษะ  หายใจขัด  ม่านตาหรี่  น้ำลายไหล  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมากและตัวสั่น

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์รักษาด้วยการใช้ยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1-2  มก.ฉีดแทน  IV  จนกระทั่งม่านตาขยาย  Toxogonin  PAM  และ  2-PAM  เป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้  ห้ามใช้มอร์ฟีนกับผู้ป่วย

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสถูกและเมื่อกลืนกินเข้าไป

– ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้เร็ว  มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้ถึง  14  วัน

– อย่าใช้ในสภาพที่มีอากาศร้อน  (เกินกว่า  30  องศาเซลเซียส) ควรใช้ในช่วงตอนเช้าหรือตอนเย็นเท่านั้น

– สามารถผสมเข้ากับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราที่ไม่มีสภาพเป็นด่าง

 

ไดอ๊อกซาคาร์บ

(dioxacarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  60-80  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) ประมาณ  3,000  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     แมลงเต่าทอง  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  มวนกาแฟ  แมลงสาบ  ยุง แมลงวันบ้านและอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  มันฝรั่ง  โกโก้  และใช้ปราบแมลงศัตรูในบ้านเรือน

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี  และ  40%  เอสซีดับบลิว

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษาจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

ยาแก้พิษ                                 อะโทรปินซัลเฟท  (ใช้ร่วมกับยาพวก  oxime  เช่น  PAM  หรือ Toxogonin)

ข้อควรรู้                                  – เป็นสารกำจัดแมลงที่พัฒนาขึ้นมาใช้กำจัดแมลงสาบแมลงศัตรูภายในบ้านเรือน

– ให้ผลในการน๊อคหนอนได้รวดเร็ว

– เมื่อใช้ฉีดพ่นฝาผนัง  จะคงทนอยู่ได้ประมาณ  6  สัปดาห์

 

ไดอ๊อกซาไธออน

(dioxathion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  40-45  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 63-235  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     ใช้กำจัดแมลงศัตรูภายนอกของสัตว์เลี้ยง  เช่น  เห็บ  เหา  เหลือบ และแมลงวัน  สำหรับแมลงศัตรูพืช  เช่น  ไร  เพลี้ยไฟ  หนอนแมลงวัน  และแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ

สัตว์และพืชไร่                       วัว  ควาย  แพะ  แกะ  หมู  ม้า  และสัตว์เลี้ยงอย่างอื่น  พืชทั่ว ๆ ไป  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 21%  อีซี  (ใช้ในทางปศุสัตว์)

อัตราการใช้                            กับสัตว์  โดยทั่วไปใช้  65-80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำ  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นหรืออาบให้ทั่วตัวสัตว์  หรือฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  น้ำลายไหล  ตาโปน  ม่านตาหรี่  พร่ามัว  มึนงง  วิงเวียน  ตัวสั่น  กระวนกระวาย  เบื่ออาหารและมีอาการกระตุก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ก่อนนำส่งแพทย์  ให้คนไข้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  รักษาคนไข้ด้วยการฉีดยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-5  มก.แทน  IV  ทุก  15  นาที จำนวน  3  ครั้ง  แล้วฉีดอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1-50  เกรน  แทน  IM  โดยเว้นระยะการฉีดให้นานกว่าช่วงแรก  จนกว่าจะเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้มอร์ฟีนกับคนไข้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร  7  วัน

– เป็นพิษต่อปลา  ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผึ้ง

– พิษตกค้างอยู่ได้นานหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน

– ออกฤทธิ์ช้า  ผลในการกำจัดเต็มที่จะเห็นภายใน  3-7  วัน

– สามารถผสมกับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราต่าง ๆ ได้ ยกเว้นสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

 

ไดซัลโฟตอน

(disulfoton)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทดูดซึม  ที่มีความเฉพาะเจาะจงในการกำจัดมาก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2.6-12.5  มก./กก.  ทางผิวหนัง (หนู)  41  มก./กก.(4  ชั่วโมง)

แมลงที่กำจัดได้                     ใช้กำจัดเพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  และแมลงปากดูดอื่น ๆ  รวมทั้งไรชนิดต่าง ๆ ด้วย

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ยาสูบ  ฝ้าย  ข้าวโพด  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  กาแฟ  ถั่วต่าง ๆ  อ้อย  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 5%  และ  10%  จี  และชนิดผงคลุกเมล็ด

อัตราการใช้                            ชนิด  10%  จี  เมื่อใช้กับพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  2-4  กก./ไร่  ฝ้าย  ใช้อัตรา  0.25-0.5  กรัม/หลุม  ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       กับพืชทั่วไปให้ใช้โรยตามแนวต้นพืชบริเวณโคนต้นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม สำหรับฝ้าย  ใช้โดยการหยอดก้นหลุมพร้อมกับปลูก

อาการเกิดพิษ                          มีอาการแน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  ม่านตาปิด  อาเจียน  และท้องเดิน

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ทันที  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  นานอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเข้าปาก  ต้องทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  1  แก้ว  จนกว่าจะอาเจียนออกมาเป็นน้ำใส  จึงนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  ถ้าอาการรุนแรงให้ใช้  2-PAM  ร่วมด้วย  ห้ามใช้มอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์

– ซึมผ่านผิวหนังได้  ซึ่งเกิดพิษเมื่อสัมผัสถูก

– เป็นอันตรายต่อปลาและผึ้ง

– เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง  อย่าปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าไปในพื้นที่ ๆ ใช้ยาอย่างน้อย  6  สัปดาห์

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น

– ดูดซึมเข้าลำต้นโดยผ่านทางราก

– ให้ผลในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชได้ถึง  7  สัปดาห์

 

เอ็นโดซัลแฟน

(endosulfan)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไร  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  80  มก./กก.  ทางผิวหนัง  360  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  หนอนดอกส้ม  หนอนแก้วส้ม หนอนกระทู้  ฝักข้าวโพด  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอ  ชนิดต่าง ๆ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนกอต่าง ๆ  แมลงดำหนาม  มวนเขียว  มวนแดง แมลงหวี่ขาว  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ฝ้าย  หอม  ถั่ว  แตง  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ข้าว  ข้าวโพด กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  คื่นฉ่าย  มะเขือ  คะน้า  ฟักทอง  ทานตะวัน  อ้อย  ชา และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 32%  อีซี  4% , 5%  จี  และ  25%  ยูแอลวี

อัตราการใช้                            ชนิด  35%  อีซี  โดยทั่วไปใช้อัตรา  30-40  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร กำจัดแมลงศัตรูฝ้าย  ใช้อัตรา  40-80  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  5%  จี  ใช้อัตรา  2-6  กก./ไร่

วิธีใช้                                       ชนิด  35%  อีซี  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช สำหรับชนิด  5%  จี  ใช้หว่านหรือโรยระหว่างช่องให้ทั่วพื้นที่ปลูก  ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการปวดศีรษะ  กระวนกระวาย  คลื่นไส้  ท้องร่วง  เจ็บบริเวณปลายลิ้น  ริมฝีปากบนและคางมีอาการคล้ายกับถูกหนามแทง  กล้ามเนื้อมีอาการสั่น  หดเกร็ง  ขากรรไกรแข็งและปวด  ในกรณีที่เกิดอาการรุนแรงจะมีอาการชักและอาจหมดสติจนถึงตายได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  ห้ามทำให้คนไข้อาเจียนหรือให้อาหารประเภทนมหรือไขมัน  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ควรล้างท้องคนไข้ด้วยน้ำอุ่น  และให้  sodium  sulfate  ขนาด  15-30  กรัม  ผ่านทางท่อยาง  ถ้าคนไข้มีอาการเกร็ง  ให้ใช้ยา  Luminal  แต่ถ้ามีอาการเกร็งค้างให้ใช้ยา  farfiturate  ฉีดให้คนไข้  ถ้ามีอาการชักให้ใช้ยา diazepam  รักษา

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาสูงมาก

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  อย่าใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– เป็นพิษเมื่อกลืนกินเข้าไป  และเป็นอันตรายเมื่อสัมผัสถูก

– เป็นสารกัดกร่อนโลหะ

– ไม่เข้ากับ  calicum  assenate,  liver  และ  zine  sulfate

– สามารถผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

อีพีเอ็น

(EPN)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  14  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  230 มก./กก.  (กระต่าย)  420  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     หนอนกอข้าวชนิดต่าง ๆ  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนกระทู้ผัก  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หมัดผักกาด  ด้วงปีกแข็ง  มวนแดง  ไรแดง  ไรสนิมส้มและไรชนิดอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ฝ้าย  ข้าว  ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  องุ่น  มะเขือเทศ  และผักทั่วไป

สูตรผสม                                 45%  อีซี  และ  25%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  25%  ดับบลิวพี  กับข้าวใช้อัตรา  18-32  กรัม  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ถั่วเหลืองใช้  90  กรัม  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  45%  อีซี  กับข้าวใช้อัตรา 10-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ถั่วเหลืองใช้  50  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร สำหรับพืชอื่น  ให้ศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้ละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการเซื่องซึม  อ่อนเพลีย  ปวดท้อง  คลื่นไส้  เหงื่อออก  แขนและขา  หมดความรู้สึก  ถ้าอาการรุนแรงจะมีอาการเดินโซเซ  พูดลำบาก  ตาพร่า จิตใจสับสน  ชัก  กลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์  ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด และฉีดซ้ำตามขนาดของการใช้รักษา  อาจใช้  2-PAM  ร่วมรักษากับอะโทรปินได้ ห้ามใช้มอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– ห้ามใช้ผสมกับ  Bordeaux

– สามารถใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้

– ดูดซึมผ่านผิวหนังได้

 

อีไธออน

(ethion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทไม่ดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  208  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     ในประเทศไทย  ใช้กำจัดศัตรูสัตว์เลี้ยง  คือ  เห็บ  เหา  สำหรับในต่างประเทศใช้กำจัดศัตรูพืช  คือ  เพลี้ยอ่อน  ไรชนิดต่าง ๆ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น  หนอนม้วนใบ  หนอนชอนใบ  และอื่น ๆ

พืชและสัตว์ที่ใช้                    ได้แก่  วัว  ควาย  ม้า  พืชได้แก่  ส้ม  ถั่วต่าง ๆ  ฝ้าย  แตง  มะเขือ กระเทียม  องุ่น  หอม  สตรอเบอร์รี่  มะเขือเทศ  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 52.8%  อีซี  ,  4  อีซี  ,  25%  ดับบลิวพี  และรูปอื่น ๆ

อัตราการใช้                            สำหรับชนิด  52.8%  อีซี  ใช้  1  ส่วน  ผสมกับน้ำ  1  ส่วน  กวนให้เข้ากันดี  และนำไปผสมกับน้ำอีก  1,000  ส่วน

วิธีใช้                                       กวนน้ำยาผสมให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นบนตัวสัตว์หรืออาบบนตัวสัตว์ 7-21  วัน/ครั้ง  ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร  คลื่นไส้  อ่อนเพลีย  มึนงง  ม่านตาหรี่  ตาพร่ามัว  ปวดเกร็งในช่องท้อง  ท้องเดิน  น้ำลายและน้ำตาไหล  เหงื่อออกมากหายใจหอบถี่  แน่นหน้าอก  ชีพจรเต้นช้า  ปลายมือและเท้ากระตุก  กล้ามเนื้อรัดเกร็ง  ชักและหมดสติ  และอาจตายเนื่องจากหัวใจไม่ทำงาน

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ ควรทำการล้างท้องคนไข้และถ่ายท้องด้วยยา  saline  eatharic  ยาแก้พิษ ได้แก่  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  หรือ  IM  ควรฉีดซ้ำทุก ๆ  10  นาที  จนกว่าจะเกิดอาการ  atropinization  อาจให้  pralidorxine chloride  ขนาด  1  กรัม  ฉีดแบบ  IM  ร่วมในการรักษาก็ได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2  วัน

– เป็นพิษต่อปลา

 

อีโธเฟนพร๊อกซ์

(ethofenprox)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  40,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมอ  หนอนกัดตา  หนอนคืบกะหล่ำปลี  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนชอนใบ  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  ด้วงงวงมันฝรั่ง  เพลี้ยอ่อน มวน  แมลงหวี่ขาว  บั่ว  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 10-30%  ดับบลิวพี  และ  อีซี  5%  dust  1.5%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ชนิดดับบลิวพีและอีซี  ใช้ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – ค่อนข้างเป็นพิษต่อปลา

– พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้นาน

 

อีโธโปรฟอส

(ethoprophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอยในกลุ่ม  organic  phosphate  ที่ออกฤทธิ์ฆ่าโดยการสัมผัส

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  62  มก./กก.  สามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้ทั้งหมด

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  แมลงเต่าทอง  มวนต่าง ๆ  หนอนแมลงวันเจาะรากข้าวโพด  ไส้เดือนฝอยและแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ยาสูบ  เห็ด  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  สับปะรด  กล้วย  กะหล่ำปลี  แตงกวา  มันฝรั่ง  ต้นกล้าส้ม  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 10%  จี  และ  10%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้ด้วยการคลุกเคล้าให้เข้ากับดินลึก  4-8  นิ้ว

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ป่า

– มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานประมาณ  8  สัปดาห์

– มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงในดินและไส้เดือนฝอย

 

เอ็ทธิลลีน  ไดโบรไมด์

(ethylene  dibromide)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารรมควันพิษ  กำจัดแมลงในโรงเก็บ  ในดิน  และไส้เดือนฝอย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  146  มก./กก.  เมื่อมีไอผสมอยู่ในบรรยากาศ  1000  ส่วนในล้านส่วนจะเป็นพิษ

แมลงที่กำจัดได้                     แมลงศัตรูในโรงเก็บ  ยุ้งฉาง  และไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้                                   ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บในโรงเก็บ

ข้อควรรู้                                  ปัจจุบัน  ไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ

 

อีทริมฟอส

(etrimfos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  2,000  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอยส้ม  หนอนเจาะฝักข้าวโพด  ด้วงมันฝรั่ง  หนอนผีเสื้อยาสูบ  หนอนเจาะต้นข้าว  แมลงเต่าทอง  บั่ว  และมวน  สำหรับในโกดังเก็บใช้กำจัดด้วงปีกแข็ง  ไรและเหา

พืชที่ใช้                                   ส้ม  องุ่น  ข้าว  มันฝรั่ง  ยาสูบ  ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  กาแฟ  โกโก้ ผักต่าง ๆ  และไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลาก

การแก้พิษ                               ใช้อะโทรปิน  ร่วมกับ  PAM  หรือ  อะโทรปิน  ร่วมกับ  obidoxime chloride  ในทุกกรณีที่สงสัยว่าได้รับพิษจากอีทรัมฟอส  ควรรีบปรึกษาแพทย์

ข้อควรรู้                                  – ไม่อนุญาตให้จำหน่ายในอเมริกา

– เป็นพิษต่อปลา

– ออกฤทธิ์ได้นาน  7-11  วัน

 

ฟีนามิฟอส  หรือ  เนมาเคอร์

(fenamiphos  or  nemacur)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไส้เดือนฝอยและแมลง  ประเภทดูดซึมและมีพิษในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ                          ชนิด  Techn.Grade  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8.1-9.6  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  178-225  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไส้เดือนฝอย  และแมลงบางชนิด  เช่น  ด้วงงวง  ไร  ด้วงหมัด  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   แอปเปิ้ล  แอสพารากัส  กล้วย  กะหล่ำปลี  เชอร์รี่  ส้ม  โกโก้  ฝ้าย หอม  องุ่น  ถั่วลิสง  สับปะรด  ถั่วเหลือง  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  รวมทั้งไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 มีทั้งชนิดอีซีและชนิดเม็ด  (granule)  (3%  อีซี  , 5 , 10 . 15%  จี)

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามที่ได้แนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  รักษา  2-PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– เป็นพิษต่อปลา

– ดูดซึมได้ทางราก

 

เฟไนโตรไธออน

(fenitrothion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  503  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  1,300  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  เช่น  หนอนหนาม  หนอนเจาะสมอ  หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ  หนอนเจาะลำต้นข้าว  หนอนกอ  หนอนเจาะฝักถั่วเหลือง  หนอนกะหล่ำ  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย  แมลงหวี่ขาว  แมลงนูน  เต่าแตง  ยุง  แมลงวัน  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ยาสูบ  ข้าว  อ้อย  ส้ม  กาแฟ  ชา  องุ่น  หัวหอม  กล้วย  ถั่ว กะหล่ำปลี  แตงกวา  มะเขือยาว  สตรอเบอร์รี่  และไม้ประดับทั่วไป  สามารถใช้เป็นสารกำจัดแมลงในทางสาธารณสุขได้

สูตรผสม                                 50%  อีซี , 83%  ยูแอลวี  และ  40%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  50%  อีซี  เมื่อใช้กับพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  12-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับฝ้ายใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำ  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          เมื่อได้รับพิษเข้าไป  ตอนต้นจะมีอาการ  เหงื่อและน้ำลายออกมา ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดกระเพาะอาหาร  กล้ามเนื้อและข้อเป็นตะคริว  พูดไม่ชัด  ตาพร่า  และม่านตาหรี่  ในบางรายจะพบอาการขั้นรุนแรง  คือ  หมดสติ  ขาดออกซิเจน  การทำงานของกล้ามเนื้อและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของร่างกายขาดการควบคุม

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำยา isotonic  ถ้าเข้าปากต้องรีบล้างท้องคนไข้  โดยใช้  sodium  bicarbonate  5% และทำให้คนไข้อาเจียนก่อนนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดเข้าเส้นอย่างช้า ๆ  และให้ยา  bralidoxime chloride  ขนาด  1000-2000  มก.หรือ  Toxoginin  ขนาด  250  มก.  รักษาร่วมกับอะโทรปิน  ห้ามใช้ยา  พวกมอร์ฟีน  barbiturates , phenothiazine  ยากล่อมประสาท  และยากระตุ้นประสาทส่วนกลางทุกชนิด

 

ฟีโนไธโอคาร์บ

(fenothiocarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไรคาร์บาเมท

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,150  มก./กก.  (หนู)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรชนิดต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ฝ้าย  ถั่ว  พืชผัก  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 35%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  และใช้เมื่อพบเห็นว่าพืชกำลังถูกไรทำลาย  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ไม่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง

– กำจัดไรได้ทุกระยะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เป็นไข่

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

– พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้ยาวนาน

 

เฟนโปรพาธริน

(fenpropathrin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารประกอบไพรีทรอยด์สังเคราะห์ที่ใช้กำจัดแมลงและไร  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและขับไล่แมลงได้

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  54  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรแมงมุม  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบ  หนอนกระทู้  หนอนคืบ  เพลี้ยอ่อน  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ไม้ผล  ผักต่าง ๆ  ดอกไม้  และพืชไร่

สูตรผสม                                 10%  อีซี , 20%  อีซี  และ  5%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อมีแมลงศัตรูพืชปรากฏให้เห็น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – ไม่เป็นพิษต่อพืชเมื่อใช้ตามคำแนะนำ

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดไรสนิมเหล็ก  (rust  miter)

– จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ถ้าใช้ในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำ

– ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสกับตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  พร้อมกับมีฤทธิ์ในการกำจัดไข่แมลงได้ด้วย

– ฤทธิ์ตกค้างจะมีผลในทางขับไล่แมลง

 

เฟนไธออน

(fenthion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  มีพิษในทางหายใจ  พิษตกค้างออกฤทธิ์อยู่ได้นานวัน cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  330  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  345  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  แมลงวันทอง  แมลงหล่า  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกระทู้  หนอนเจาะสมอสีชมพู  มวนแดง  หนอนกอชนิดต่าง ๆ  เพลี้ยไฟ  ไร  มด  ยุงและแมลงสาบ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ส้ม  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  องุ่น  ชา  มะเขือเทศ  ไม้ผล  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี , 25% , 40%  ดับบลิวพี  และ  3%  ผง

อัตราการใช้                            ชนิด  50%  อีซี  โดยทั่วไปใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้ผสมกันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการเวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งช่องท้อง  ท้องร่วง ม่านตาหด  หายใจหอบ  เหงื่อออกมาก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตา  ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปาก  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าเส้น  ในรายที่มีอาการรุนแรงให้เริ่มด้วยขนาด 2-4  มก.แล้วฉีดซ้ำด้วยขนาด  2  มก.  ทุก ๆ  10-15  นาที  จนกว่าอาการจะดีขึ้น 2-PAM  เป็นยาแก้พิษที่อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อสัตว์ปีกมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

– เป็นพิษต่อสัตว์น้ำและผึ้ง  อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก

– ไม่เข้ากับสารกำจัดโรคศัตรูพืชที่มีสภาพเป็นด่างมาก

– เมื่อใช้กำจัดศัตรูปศุสัตว์  ใช้ชื่อว่า  Tiguvon

 

เฟนวาเลอเรท

(fenvalerate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  450  มก./กก.  ทางผิวหนัง  2,500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนผีเสื้อชนิดต่าง ๆ  คือ  หนอนใยผัก  หนอนกัดตายาสูบ  หนอนกระทู้  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  ด้วงหมัดผักกาด เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน

พืชที่ใช้                                   กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  และผักอื่น ๆ  ยาสูบ  ฝ้าย  ถั่วลิสง  มันฝรั่ง แตง  ฟักทอง มะเขือเทศ  ข้าวโพด  ถั่วต่าง ๆ  มะเขือ  องุ่น  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 20% , 35%  อีซี , 20%  ดับบลิวพี  และ  25%  ยูแอลวี

อัตราการใช้                            ชนิด  20%  อีซี  ใช้อัตรา  5-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด 20%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  5-10  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้ผสมกันดี  และฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ถ้าเข้าสู่ร่างกายโดยการซึมผ่านผิวหนัง  จะมีอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย  น้ำลายไหล  ตัวสั่นและชัก  ถ้าถูกผิวหนังหรือถูกตา  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเกิดอาการเป็นพิษ  ต้องรีบนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป  ให้ล้างท้องคนไข้  แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้เร็ว  และมีผลอยู่ได้นาน

 

ฟิโปรนิล

(fipronil)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและเพลี้ยไฟ  ประเภทดูดซึมและถูกตัวตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  100  มก./กก.  (Techn.)  ทางผิวหนัง (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     หนอนกอข้าว  หนอนม้วนใบข้าว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยไฟ  และหนอนใยผัก

พืชที่ใช้                                   ข้าว  มะม่วง  แตงโม  ผัก  ส้ม  ไม้ผลอื่น

สูตรผสม                                 5%  เอสซี , 0.2%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ชนิด  5%  เอสซี  ใช้อัตรา  20-40  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  พ่นให้ทั่วแปลงนาหรือทั่วต้นพืช  เมื่อพบแมลงระบาดและพ่นซ้ำทุก  15  วัน  สำหรับชนิด 2%  อีซี  ใช้อัตรา  2-4  กก./ไร่  หว่านให้ทั่วแปลงนาหลังปักดำหรือหลังหว่านข้าว  20  และ  40  วัน

อาการเกิดพิษ                          ถ้าได้รับพิษ  จะมีอาการหายใจติดขัด  เฉื่อยชา  ง่วงเหงาหาวนอน เซื่องซึม  สั่นกระตุก  และกรณีที่ได้รับพิษรุนแรง  อาจเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและชัก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก  หากเข้าตาให้เปิดเปลือกตาและล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากนาน  20  นาที  หากกลืนกินเข้าไปและผู้ป่วยยังมีสติ  ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสะอาด  2-3  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอ  หากผู้ป่วยหมดสติ  ห้ามให้สิ่งใดแก่ผู้ป่วย  และห้ามทำให้อาเจียน  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  พร้อมด้วยฉลากวัตถุมีพิษ  สำหรับแพทย์  ให้รักษาตามอาการ  ยาแก้พิษโดยเฉพาะไม่มี

ข้อควรรู้                                  – มีความเป็นพิษต่อปลาต่ำ

 

ฟลูไซธริเนท

(flucythrinate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  มีฤทธิ์ฆ่าไรและฤทธิ์ตกค้าง

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  67  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย) มากกว่า  1,000  มก./กก.(Techn.grade)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนผีเสื้อชนิดต่าง ๆ  เช่น  หนอนเจาะสมอ  หนอนเจาะต้นข้าวโพด หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนเจาะยอด  หนอนชอนใบ  เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาว

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ส้ม  ข้าวโพด  ยาสูบ  ถั่วเหลือง  กะหล่ำ  ผักกาดหอม  มะเขือเทศ  ไม้ผลและไม้ประดับ

อัตราการใช้                            ชนิด  3%  อีซี  กำจัดแมลงทั่วไปใช้  20-35  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ชนิด  10%  อีซี  ใช้อัตราส่วนลดลงมาผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคัดจมูก  น้ำมูกไหล  คอเจ็บ  เวียนศีรษะ  อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดอาการที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน  15  นาที  ถ้าเข้าปากอย่าทำให้คนไข้อาเจียน  ควรให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ชาร์โคล  หรือดินสอพอง  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์ สำหรับแพทย์  ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarborate  5%  แล้วให้ยาบาร์บิทูเรท  เช่น  phenobarbitone  แก่คนไข้  แล้วรักษาตามอาการต่อไป  ห้ามให้อาหารที่มีไขมันหรือนมแก่คนไข้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ  และเป็นพิษต่อผึ้ง

– ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

 

ฟลูวาลิเนท

(fluvalinate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดไรได้  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          ชนิด  Techn.grade  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  261-282  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนูและกระต่าย)  มากกว่า  20,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมอ  หนอนกัดตา  ด้วงงวงสมอฝ้าย  เพลี้ยไฟ  ไร  แมลงหวี่ขาว  มวน  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  เพลี้ยอ่อน  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  กะหล่ำปลี  ยาสูบ  ผักตระกูลคื่นฉ่าย มันฝรั่ง  องุ่น  และพืชอื่นๆ

สูตรผสม                                 2%  อีซี , 24%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก  และใช้เมื่อตรวจพบว่า  มีแมลงศัตรูพืชกำลังทำลายพืชเพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ                               ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องทำให้คนไข้อาเจียน  นำคนไข้ส่งแพทย์  เพื่อทำการล้างท้อง  ในกรณีที่เข้าตา  ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที  ในกรณีสัมผัสที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมากๆ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ใช้ในการปราบเพื่อลดจำนวนประชากรของไร

 

โฟโนฟอส

(fonofos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟทที่ใช้กำจัดแมลงในดิน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  8  มก./กก.  ทางผิวหนัง  147 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  บั่ว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหลังขาว  เพลี้ยจักจั่น  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนกัดรากข้าวโพด  และแมลงในดิน

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ข้าวโพด  อ้อย  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  ข้าวฟ่าง  หอม  ถั่วลิสง  มันฝรั่ง  ยาสูบ  และแอสพารากัส

สูตรผสม                                 3%  และ  5%  จี  (เม็ด)

อัตราการใช้                            ในนาข้าว  โดยทั่วไป  ใช้อัตรา  3  กก./ไร่  พืชอื่น ๆ  ให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ในนาข้าว  ใช้หว่านให้ทั่วพื้นที่

อาการเกิดพิษ                          จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง  ดวงตา  จมูกและคอ  เมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยทางปากหรือซึมผ่านผิวหนัง  จะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมากผิดปกติ  ท้องเดิน  ปวดเกร็งกล้ามเนื้อท้อง  และแน่นหน้าอก

การแก้พิษ                               เมื่อถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากรีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2 มก.  ฉีดแบบ  IV  ฉีดซ้ำได้ทุก ๆ  15-30  นาที  หรือจะใช้  2-PAM  รักษาร่วมด้วยก็ได้  ต่อไปให้รักษาตามอาการ  ห้ามใช้มอร์ฟีนกับคนไข้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์

– เป็นอันตรายเมื่อถูกผิวหนัง  หายใจหรือกลืนกินเข้าไป

– เป็นอันตรายต่อปลา

– ห้ามนำภาชนะบรรจุเก่ามาใช้ใหม่

 

ฟอร์มีทาเนท

(formetanate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไรและแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  21  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย) มากกว่า  10,200  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรสองจุด  ไรแดง  ไรสนิมส้ม  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ส้ม  แตง  แตงโม  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  หอม  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 25%  เอสพี  และ  25%  อีซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงศัตรูพืชผัก  ใช้อัตรา  25-60  กรัม  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  5-25  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง  อาการเกิดพิษอย่างอื่น  คือ เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งช่องท้อง  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่ หายใจหอบ

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  สำหรับแพทย์  อะโทรปินซัลเฟท  เป็นยาแก้พิษ  ห้ามใช้ 2-PAM

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– อย่าใช้กับน้ำที่มี  pH  เกินกว่า  8

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– อย่าผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีสภาพเป็นด่าง

– เมื่อผสมกับน้ำแล้วต้องใช้ภายใน  4  ชั่วโมง

– ไม่กำจัดเพลี้ยอ่อน

 

ฟอร์โมไธออน

(formothion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  365  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  400  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ  และแมลงอื่นๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  อ้อย  ส้ม  องุ่น  ยาสูบ  แตงโม  ไม้ดอก  ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 25%  และ  33%  อีซี

อัตราการใช้                            โดยทั่วไปใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          เมื่อได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะและเจ็บหน้าอก

การแก้พิษ                               ถ้าพิษเกิดที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปต้องรีบนำส่งแพทย์ ห้ามมิให้คนไข้กินยาแก้พิษก่อนเกิดอาการเป็นพิษ  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท  กับ  PAM  หรือ  อะโทรปิน  กับobidoxime  chloride

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้งและปลา

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

– พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้นานวัน  จึงให้ผลในทางควบคุมศัตรูพืชได้ 10-12  วัน

 

ฟูราธิโอคาร์บ

(furathiocarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  137  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกัดรากข้าวโพด  เพลี้ยหอย  เพลี้ยอ่อน  ไร  แมลงที่อาศัยอยู่ในดิน

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ผักต่าง ๆ  ทานตะวัน  และพืชน้ำมันอื่น ๆ

สูตรผสม                                 40%  อีซี , 5% , 10%  จี  และชนิดคลุกเมล็ด

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

ข้อควรรู้                                  – สารกำจัดแมลงชนิดนี้อยู่ในระหว่างการทดลองเท่านั้น

– มีความคงตัวอยู่ในดินได้นาน  6-12  สัปดาห์