เหล็กคีเลต Fe-EDTA Fe-DTPA และ SP-EDDHA

ปุ๋ยที่ใช้ในระบบผักไฮโดรโปนิกส์หลักๆจะมี A และ B สำหรับบางสูตรที่มี C D E ที่เห็นจะปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ผักสลัด
ผมขอกล่าวถึงปุ๋ยที่มี A และ B เท่านั้นครับ ปุ๋ยจะมี 2 สีคือ สีแดง และสี เขียว
ซึ่งสีที่เราเห็นโดดเด่นของปุ๋ยจะมาจากคีเลตที่ใส่ลงไปเป็นส่วนผสม ซึ่งส่วนผสมอื่นก็มีสีบ้างเล็กน้อยพออย่างสีขุ่น สีเหลืองจางๆ แต่พอไปรวมกับสีที่มาจากคีเลตแล้วก็จะเห็นเพียงสีของคีเลตที่โดดเด่นออกมาเท่านั้น

ปุ๋ยสีเขียว ได้จากจุลธาตุที่เป็นคีเลต คือ นิค-สเปรย์
ปุ๋ยสีแดง (บางที่เป็นสีเหลือง) ได้จากเหล็กคีเลต ได้แก่ Fe-EDTA Fe-DTPA SP-EDDHA (Fe-HEDTA ไม่นิยมใช้เนื่องจากเสื่อมสภาพง่าย)

ความแตกต่างของเหล็กทั้ง 3 ตัวคือ
Fe-EDTA 13.2% จะเริ่มตกตะกอนที่ค่า pH ประมาณ 6.2 ขึ้นไป และตกตกกอนหมด 100% ที่ค่า pH ประมาณ 9.4
Fe-DTPA 7% จะเริ่มตกตะกอนที่ค่า pH ประมาณ 7 ขึ้นไป
SP-EDDHA 6% จะเริ่มตกตะกอนที่ค่า pH ประมาณ 10 ขึ้นไป

*EDTA DTPA EDDHA คือ คีเลตติ้งเอเจนต์
**เปอร์เซนต์(%) บอกถึงปริมาณความหนาแน่นของเหล็ก เช่น เหล็ก EDTA 6% จะมีเหล็ก 0.6 กรัม/ลูกบาศก์เมตร(ธาตุอาหาร)

——-ลองสังเกตนะครับว่าปุ๋ยที่ใช้เป็นสีอะไรกันบ้าง——-

การคิดปริมาณคีเลตยกตัวอย่าง
ต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 5 ลูกบาศก์เมตร ใช้อัตราส่วนผสมปุ๋ย 1:100 จะต้องเตียมธาตุอาหาร 50 ลิตร
อัตราเหล็กที่ใช้จะมีส่วนผสมของเหล็กช่วง 0.6-2 กรัม/ลูกบาศก์เมตร
ถ้าต้องการใช้เหล็ก SP-EDDHA 6% ให้มีส่วนผสมของเหล็ก 0.6 กรัม/ลูกบาศก์เมตรต้องใส่จำนวน
100×0.6×5/6 = 50 กรัม

ต้องใส่เหล็ก SP-EDDHA จำนวน 50 กรัม ในถังสารละลายเข้มข้น 50 ลิตร

โปรก้อง ไฮโดรฟาร์ม – ProKong Hydrofarm by Kong Jakkrit