โรคตายพรายของกล้วยน้ำว้า

• ลักษณะทั่วไปของพืช
   – กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร
– ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะคือช่วง 15 – 35 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่ต่ำจะทำให้กล้วยแทงปลีช้า (การออกดอก)
– ควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60% ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม./เดือน
– ดินควรมีความสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และการหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่
ระหว่าง 4.5 – 7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่วๆไป ในพื้นที่แถบเอเชีย
– กล้วยน้ำว้าจะใช้ระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จำนวน 10 หวี/เครือ
ตั้งแต่ปลูก จนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะ เก็บเกี่ยว 110-120 วัน


• การปลูก
   – ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
– ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
– ผสมดินปุ๋ยคอกเล็กน้อย วางหน่อกล้วย ลงในหลุม และกลบดินที่เหลือลงในหลุม
– กดดินบริเวณโคนหน่อกล้วยให้แน่น
– ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกัน ลมโยก
– หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
– รดน้ำให้ชุ่ม
• ระยะปลูก
– 2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร
– จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น / ไร่ หรือ 250 ต้น/ไร่
• การใส่ปุ๋ย
     ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15- 15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้

• การให้น้ำ
   – ปริมาณของน้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลม ที่พัดผ่าน
จะทำให้การคายน้ำมาก
– ไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากราก จะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดินจะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต
• การปฏิบัติอื่นๆ
– การตัดแต่งหน่อ ให้ตัดหน่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 – 2 หน่อโดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
– การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 – 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
• การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
– โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซบ หรือเบนโนมิล
– ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่นโตฟอส
– หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส
– แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท

การจัดการก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว
• การเก็บเกี่ยว
   – ระยะการเก็บเกี่ยวกล้วย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกลๆ อาจตัดกล้วยเมื่อ
ความแก่ประมาณ 75 %
– การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย
หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลี
– การตัดกล้วย จะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา
โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร ก็ให้นำไปยังโรงเรือน
คัดบรรจุต่อไป

Image Image

• การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
– นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง
– ทำความสะอาดลูกผล หรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมด
– ชำแหละเครือกล้วยออกเป็นหวีๆ อย่างระมัดระวัง อย่าให้รอยตัดช้ำ
– คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก
– จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเบนดาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง
– บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่ง โดยมีใบตอง หรือ กระดาษรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ

Image  

สภาพการผลิตกล้วยน้ำว้า
1. พันธุ์กล้วย
– เป็นพันธุ์คละมีหลายพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกปะปนกัน
พันธุ์ต้นสูง
   – พันธุ์มะลิอ่อง
– กล้วยน้ำว้านวล
– กล้วยน้ำว้าเขียว
– กล้วยน้ำว้าดำ
พันธุ์ต้นเตี้ย : กล้วยน้ำว้าค่อม
สีของไส้กล้วย
   – สีเหลือง
– สีแดง
– สีขาว
ข้อแนะนำ : ควรปลูกพันธุ์เดียว ชนิดใดชนิดหนึ่ง
: พันธุ์ที่ตลาดต้องการ คือ กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองและไส้แดง
2. การเพาะปลูก
   – ปลูกตามหัวไร่ปลายนา ตามที่ว่างหลังบ้าน
– ปลูกเป็นแปลงขนาดเล็ก ไม่เป็นระเบียบ
– ไม่มีการดูแล ปฏิบัติรักษาตามวิธีการที่ถูกต้องเท่าที่ควรจะเป็น
– มีปัญหาโรคตายพรายระบาด
ข้อแนะนำ
– ควรปลูกเป็นแปลง ขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่
– ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนว ใช้ระยะปลูกที่ถูกต้องเหมาะสม
– ควรมีการดูแลปฏิบัติรักษาที่เหมาะสม
– ควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคตายพราย และวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง

  

การตัดแต่งใบ

 

3. วิธีการเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวเมื่อกล้วยยังไม่สุกแก่ได้ที่ กล้วยอายุอ่อนเกินไป
– เก็บเกี่ยวที่อายุแก่ไม่แน่นอน ทำให้มีอายุสุกแก่หลากหลายมีผลต่อคุณภาพเมื่อบ่มสุก
ข้อแนะนำ
   – ควรเก็บเกี่ยวกล้วยเมื่อสุกแก่ได้ที่ โดยพิจารณาจาก
– นับอายุ (วัน) หลังจากตัดปลี ประมาณ 100 – 120 วัน
– ผลกล้วยไม่มีเหลี่ยม (ผิวเรียบ) ผลกลมเรียบ
– อายุที่เก็บเกี่ยวได้ เริ่มจากแก่ได้ที่ 70% ขึ้นไป
4. สภาพปัญหาของกล้วยน้ำว้าที่จำหน่ายที่ตลาดขายส่ง
– ผลกล้วยมีอายุแก่ไม่สม่ำเสมอ
– การสุกของผลกล้วยไม่พร้อมกัน (สุกตามธรรมชาติ)
– คุณภาพเนื้อกล้วยที่บ่มสุกไม่สม่ำเสมอ
ข้อแนะนำ
   – ควรควบคุมหรือกำหนดอายุแก่ได้ที่ที่เก็บเกี่ยวได้เป็นข้อกำหนดเดียวกัน
– ควรใช้เทคนิคการบ่มโดยใช้แก๊สช่วยให้สุกพร้อมกัน
– ควรวางแผนการปลูก และการเก็บเกี่ยวให้พร้อมกัน หรือใกล้เคียงกันในแปลงปลูกเดียวกัน

การปลูกกล้วยน้ำว้าไว้กอ
การปลูก
   – ใช้ระยะปลูก 3 x 3 หรือ 4 x 4 หรือ 5 x 4 เมตร
– ไม่ต้องตัดหน่อทิ้ง

 

การปลูกกล้วยน้ำว้าระยะชิด
1. การเตรียมแปลง
   – ไถพรวน กำจัดวัชพืช/พลิกดินก่อนปลูก
2. การปลูก
– ขุดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 ซม. หรือ ขุดร่องให้ลึกแล้วปลูกที่ก้นร่อง
– ระยะปลูก 3 x 2 ม. (ระยะระหว่างแถว x ระยะต้น) หรือ 3 x 3 ม.
3. การกำจัดวัชพืช
– ใช้รถไถพรวนระหว่างแถว
– ใช้จอบถากบริเวณรอบ ๆ ต้น และระหว่างต้น

  
  
  

โรคกล้วยน้ำว้า
โรคตายพราย
สาเหตุโรค
 : เชื้อรา F. oxysporum f.sp. cubense

• เชื้อรา F. oxysporum schlect. f. sp. cubense (E. F. Smith) Snyder & Hansens เข้าสู่พืชทางรากและแพร่กระจายสูท่อลำเลียงน้ำ
• ทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมของกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบ โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบและใบหักพับภายใน 1-2 สัปดาห์ และในที่สุดลำต้นเทียมจะยืนต้นตายหรือล้มตายลงไป
• เมื่อผ่าลำต้นเทียมหรือกาบใบที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินตามยาว จะพบกลุ่มท่อลำเลียงที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง เมื่อผ่าเหง้า โคนต้น ลำต้นเทียม ก้านเครือ ก็จะพบอาการลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งต่างจากต้นปกติที่เนื้อเยื่อเหล่านี้มีสีขาว (Cook, 1975) พบเชื้อรานี้แพร่กระจายอยู่ในบริเวณเขตร้นและเขตกึ่งร้อน

อาการ
• มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป
• โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ
• ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน
• กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
• ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง

ลักษณะอาการของกล้วยน้ำว้าเป็นโรคตายพรายที่พบในแปลงปลูกกล้วยของเกษตรกร

ก. อาการระยะเริ่มแรกใบมีสีเหลือง 3-4 ใบและหักพับตรงโคนก้านใบ ทำให้ใบห้อยลู่ลงมา         ขนานกับลำต้นเทียม
ข. อาการระยะรุนแรงใบกล้วยมีสีเหลืองเหี่ยวหลายใบ และหักพับลงมาคลุมลำต้นเทียม
ค. อาการใบกล้วยเหี่ยวแห้งทั้งต้นและยืนต้นตาย

การพัฒนาการโรคตายพรายของกล้วยน้ำว้าค่อม

ก. อาการโรคเมื่อเริ่มปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อกล้วยอยู่ในระยะใกล้ออกเครือ
ข. อาการเมื่อ  15  วัน หลังเริ่มปรากฏอาการครั้งแรก
ค. อาการเมื่อ 30 วัน หลังเริ่มปรากฏอาการครั้งแรก
ง. อาการขั้นสุดท้าย เมื่อ 45 วันหลังปรากฏอาการครั้งแรก

แปลงกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยวที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

การวินิจฉัยโรคตายพราย

  
– ใบเริ่มมีสีเหลือง เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน หรือก่อนออกปลี หรือตัดเครือแล้ว
– ตัดกลางลำต้นที่ความสูงประมาณ 50 – 100 ซม.
– บริเวณกาบลำต้นจะมีสีน้ำตาลแดง, น้ำตาลเหลือง


การแพร่ระบาดของโรคตายพรายกล้วยในประเทศไทย

• ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปี 2546 พบว่ามีโรคตายพรายเกิดขึ้นในทุกๆพื้นที่เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย คือ พบโรคนี้ในพื้นที่ 60 จังหวัด จาก 76 จังหวัด สำหรับจังหวัดที่ยังไม่สามารถรายงานได้เนื่องจากยังไม่สามารถเดินทางไปสำรวจในพื้นที่โดยตรงได้ แต่คาดว่าจะต้องพบโรคนี้เกิดขึ้นกับกล้วยอย่างแน่นอน
• พันธุ์กล้วยที่สำรวจพบว่าเป็นโรคมี 2 พันธุ์ คือ กล้วยน้ำว้าต้นสูง ได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง น้ำว้านวล น้ำว้าเขียว เป็นต้น และกล้วยน้ำว้าค่อม ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย พบว่าเป็นโรคตายพรายเช่นเดียวกัน
การควบคุมโรคตายพราย
• ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดโรค
• ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค
• ห้ามขุดย้ายหน่อที่เป็นโรคไปปลูก
• ทำความสะอาดเครื่องมือ
• เมื่อขุดต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้ว ควรใส่ปูนขาว 1-2 กก./หลุม
• ก่อนปลูกควรแช่หน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม
• ฉีดสารเคมี คาร์เบนดาซิม เข้มข้น 2% จำนวน 3ม.ล./ต้น ทุก 5, 7 และ 9 เดือน
• ใช้สารเคมีราดบริเวณที่เป็นโรค
• ปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงปลูก
• จัดระบบน้ำที่เหมาะสม
• ใช้เชื้อรา Trichoderma
• ปลูกกล้วยอื่นแทนกล้วยน้ำว้า

ส่วนขยายพันธ์กล้วยปลอดโรคตายพราย

1. กล้วยปลอดโรคตายพราย
   • หมายถึง หน่อกล้วย หรือ กล้ากล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ไม่มีเชื้อราโรคตายพรายติดมา
2. การติดมาของเชื้อโรคตายพราย
   • ติดมากับหน่อกล้วย โดยเชื้อเข้าไปอยู่ในราก หรือเหง้ากล้วย
• ติดมากับดินที่ติดมากับหน่อกล้วย
3. ส่วนขยายพันธุ์กล้วยปลอดโรค
• หน่อที่ขุดจากกอเดิมที่ไม่เป็นโรค
• กล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ