คลอรีน

คลอรีน เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้ฆ่าเชื้อโรค ที่สามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆมากมาย ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข ไม่ว่าจะ เป็นการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในขบวนการผลิตน้ำดื่ม-น้ำใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ในตลาดสดหรือครัวเรือน ในสระว่ายน้ำ รวมทั้งใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นคลอรีนยังมีปลอดภัยสูง เพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก และสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็วในธรรมชาติ
คลอรีนที่ใช้โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ คลอรีนจะใช้ได้ที่ใดบ้าง
อยู่ในรูปก๊าซ ได้แก่
– ก๊าซ คลอรีน
อยู่ในรูปน้ำ ได้แก่
– โซเดี่ยมไฮโปคลอไรท์ ( คลอรีนน้ำ )
– คลอรีนเหลว ( Liquid Chlorine )
– น้ำยาฟอกขาว (Liquid Calcium Hypochlorite )
อยู่ในรูปของแข็ง ได้แก่
– แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์
– โซเดี่ยมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท ( DCCNa )
– ไตรคลอโร ไอโซไซยานูริคแอซิด สระว่ายน้ำ

การทำน้ำดื่ม-น้ำใช้
– การทำน้ำประปา , น้ำดื่ม
การเกษตร
– ปศุสัตว์ , ประมง
โรงงานอุตสาหกรรม
– ผลิตเครื่องดื่ม , อาหารกระป๋อง , แปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ,
โรงแช่แข็ง และอื่นๆ
การบำบัดน้ำเสีย
– โรงพยาบาล , ตลาดสด , น้ำทิ้งจากโรงงาน

ตารางเปรียบเทียบ ข้อดี – ข้อเสีย ของคลอรีนชนิดต่างๆ

ชนิด
ข้อดี
ข้อเสีย
โซเดี่ยม ไฮโปคลอไรท์
NaOCl
– เป็นคลอรีนชนิดน้ำ ทำให้เตรียมสารละลายคลอรีน
ได้ง่าย และสะดวก
– มีความคงตัวที่ต่ำมาก ต้องใช้ให้หมดภายใน 2 วัน
หาก เกินแล้วความเข้มข้นของคลอรีนจะลดลง จนไม่มี
ประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ ทำให้ต้องมีการ
จัดซื้อทุกๆ 2 วัน และเพื่อให้ได้คลอรีนมีคุณภาพ ควร
จัดซื้อจากผู้ผลิต ที่อยู่ในรัศมีไม่ไกลจนเกินไป
– เนื่องจากเป็นคลอรีนน้ำ ทำให้ต้องมีการจัดหาภาชนะ
บรรจุ โดยเฉพาะ
– เนื่องจากเป็นคลอรีนที่มี pH มากกว่า 9 ดังนั้นเพื่อให้
ได้ผลดี ต้องปรับ pH ของน้ำให้เป็นกรดเล็กน้อย
ก่อนใช้ ด้วยกรดเกลือ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง
แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์
Ca(OCl)2
– เป็นคลอรีนชนิดผง และเกล็ด ทำให้สะดวกในการ
เก็บรักษา และมีความคงตัวดีทำให้จัดการง่าย และ
สะดวกต่อการใช้
– ละลายน้ำพอใช้ได้ แต่จะมีบางส่วนเป็นตะกอน
แคลเซี่ยม ทำให้ต้องพักทิ้งไว้ให้ตกตะกอนก่อน
สารละลายคลอรีน ที่นำไปใช้ต้องระวังไม่ให้มีตะกอน
เพราะจะทำให้เครื่องจ่ายคลอรีนอุดตัน และต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการกำจัด กากตะกอนที่หลงเหลือ
– การใช้ค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมนาน
– มีหลากหลายความเข้มข้น ทำให้ต้องมีการคำนวน
การใช้ ให้เหมาะสม
– มี pH มากกว่า 9 ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับ pH ของ
น้ำ ให้เป็นกรดเล็กน้อยก่อนด้วยกรดเกลือ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง
ก๊าซคลอรีน
Cl2 Gas
– ให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อสูง
– ต้องใช้ถังบรรจุโดยเฉพาะ ทำให้ยุ่งยากในการเก็บ
รักษา และค่อนข้างอันตราย หากมีการรั่วของถังเก็บ
– ต้องมีอุปกรณ์การจ่ายคลอรีนลงน้ำโดยเฉพาะ และ
ต้องมีการบำรุงรักษา เป็นประจำเพื่อป้องกันการรั่ว
ของก๊าซคลอรีน
– การหาซื้อค่อนข้างยาก
โซเดี่ยมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท
C3Cl2N3NaO3
– มีความเข้มข้นที่เหมาะสม และมีหลากหลายรูปแบบ
ทั้งแบบผง ,เกล็ด และเม็ด ทำให้เลือกใช้ได้ง่าย
– ละลายน้ำได้ง่ายมาก และไม่มีกากตะกอนหลงเหลือ
จึงตัดปัญหาเรื่องเครื่องจ่ายคลอรีนอุดตัน ทำให้ไม่
ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ในการกำจัดกากตะกอน
ที่หลงเหลือ
– มี pH 6.4-6.8 ทำให้ออกฤทธิ์ได้ดีในน้ำทุกสภาวะ
และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าคลอรีนชนิด ไฮโปคลอไรท์
2-10 เท่า อัตราการใช้จึงน้อย ประหยัด และไม่จำ
เป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการปรับ pH ของน้ำก่อน
– การเก็บรักษา และการจัดการง่าย มีอัตราการสลาย
ตัวต่ำมากจึงเก็บได้นาน
– ม๊ฤทธิ์กัดกร่อนน้อยมาก และมีขนาดบรรจุที่หลาก
หลาย ทำให้มีข้อจำกัดการใช้น้อย
– มีราคาสูงกว่า คลอรีนชนิดไฮโปคลอไรท์
ไตรคลอโร ไอโซไซยานูริค แอซิด
C3Cl3N3O3
– มีประสิทธิภาพสูง เข้มข้นสูงถึง 90% จึงใช้น้อย
– ละลายน้ำได้หมดไม่มีตะกอน
– ออกฤทธิ์ได้ดีกว่า คลอรีนชนิดไฮโปคลอไรท์มาก
กว่าถึง 8-10 เท่า
– การเก็บรักษา และการจัดการค่อนข้างง่าย
– การใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใช้กรดเกลือปรับ pH
ของน้ำก่อน
– ถึงละลายน้ำได้หมด แต่ละลายยากมาก ทำให้ใช้เวลา
ในการเตรียมนาน
– มี pH ต่ำมากเพียง 2-3 เท่านั้น ทำให้ต้องระมัดระวัง
ในการนำไปใช้สูง
– เนื่องจากละลายน้ำช้ามาก ในการใช้ ที่ไม่ต้องการให้
มีคลอรีนหลงเหลือ หลังจากใช้แล้ว จำเป็นต้องมีการ
ตรวจสอบคลอรีนที่หลงเหลือก่อน เพื่อความปลอดภัย
โดยเฉพาะการใช้ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ
– มีราคาที่สูงกว่าคลอรีนชนิดอื่นๆ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง

 

ปฏิกิริยาและการออกฤทธิ์ของ คลอรีน
คลอรีน มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรง เมื่อละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำแตกตัวให้คลอรีน ซึ่งจะไปทำลายสารอินทรีย์ ที่ทำให้เกิดสีและกลิ่นในน้ำ ช่วยตกตะกอน ลดการเกิด
ฟอง และทำลายเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆในน้ำ
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เมื่อสารประกอบคลอรีนละลายน้ำ

– คลอรีนชนิด ก๊าซคลอรีน

formula-1

– คลอรีนชนิด แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์

formula-2

ความสามารถในการออกฤทธิ์ ของคลอรีนจะขึ้นอยู่กับ
– ปริมาณของ Free คลอรีน ซึ่งได้แก่
OCl- ( Hypochlorite Ion ) และ HOCl ( Hypochlorus Acid ) ซึ่ง HOCl จะออกฤทธิ์ได้รุนแรงกว่า OCl- 80-200 เท่า การเปลี่ยนจาก OCl- เป็น HOCl จะขึ้นกับ pH ของน้ำ
โดยที่ pH ของน้ำยิ่งต่ำ(มีฤทธิ์เป็นกรด) OCl- ก็จะเปลี่ยนไปเป็น HOCl มากขึ้น และจะเปลี่ยนหมดที่ pH ต่ำกว่า 5 ลงมา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคลอรีนจึงออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
เมื่อ pH ของน้ำต่ำลง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคลอรีน จะออกฤทธิ์ได้ดีในช่วง pH 6-7
– ปริมาณของคลอรีนที่ใช้
คลอรีนจะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดี จะต้องใช้ให้ได้ปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสม
– อินทรีย์วัตถุ และอนินทรีย์วัตถุในน้ำ
ได้แก่พวกตะกอนแขวนลอยในน้ำ ถ้ามีมากจะต้องใช้คลอรีนในปริมาณที่มากตามไปด้วย

ตารางแสดง อัตราการใช้คลอรีนที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์
ความเข้มข้นที่ใช้
ระยะเวลาที่ใช้
ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย
100 – 125 ppm.
10 นาที
ฆ่าเชื้อ รา
100 ppm.
1 ชั่วโงมง
ฆ่าเชื้อ ไวรัส
500 ppm.
10 นาที
ทำความสะอาด โรงเรือนเลี้ยงปศุสัตว์
10,000 ppm.
10 นาที แล้วล้างออก
ทำความสะอาด โรงเลี้ยง เป็ด-ไก่
5,000 ppm.
3 – 5 นาที แล้วล้างออก
ฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงกุ้ง และบ่อเพาะลูกกุ้ง
20 – 30 ppm.
5 – 7 วัน จนคลอรีนสลายตัวหมด
ฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลา และบ่อเพาะลูกปลา
20 – 30 ppm.
5 – 7 วัน จนคลอรีนสลายตัวหมด
ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
200 – 300 ppm.
5 – 10 นาที แล้วล้างออก
ฆ่าเชื้อและดับกลิ่น ในตลาดสด
5,000 – 10,000 ppm.
10 นาที แล้วล้างออก
ในสระว่ายน้ำ
0.6 – 1 ppm.
รักษาระดับ pH ของน้ำที่ 7.2 – 7.8 และความเข้มข้นของคลอรีนให้คงที่
ในโรงงานบรรจุอาหารกระป๋อง
2 ppm.
รักษาระดับให้คงที่ ในน้ำที่ใช้ลดความร้อน ของอาหารกระป๋องหลังบรรจุ
ใช้ในการทำน้ำประปา
0.5 ppm.
30 นาที ก่อนจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบ
ใช้ฆ่าเชื้อ ในขบวนการบำบัดน้ำทิ้ง
20 – 30 ppm.
ยังไม่ถึงขั้น Sterilization ขบวนการย่อยสลาย ยังคงอยู่ได้
ใช้ลดค่า BOD ในน้ำเสีย
0.5 ppm.
15 นาที สามารถค่า BOD ได้ 15 – 30%
ใช้ลดการพองของตะกอน ในน้ำทิ้ง
0.1 ppm.
1 นาที
ลดการเกิดฟอง และตกตะกอนในน้ำเสีย
10 – 15 ppm.

คลอรีนชนิดต่างๆที่ใช้กันโดยทั่วไป
คลอรีนที่ใช้กันโดยทั่วไป ในธุรกิจต่างๆ มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้คลอรีนให้ได้ผลจำเป็นต้อง กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ แล้วทำการเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของ
คลอรีนชนิดต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้คลอรีนได้ถูกต้องได้ผลสูงสุดตามที่ต้องการ

ตารางเปรียบเทียบ ข้อดี – ข้อเสีย ของคลอรีนชนิดต่างๆ

ชนิด
ข้อดี
ข้อเสีย
โซเดี่ยม ไฮโปคลอไรท์
NaOCl
– เป็นคลอรีนชนิดน้ำ ทำให้เตรียมสารละลายคลอรีน
ได้ง่าย และสะดวก
– มีความคงตัวที่ต่ำมาก ต้องใช้ให้หมดภายใน 2 วัน
หาก เกินแล้วความเข้มข้นของคลอรีนจะลดลง จนไม่มี
ประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ ทำให้ต้องมีการ
จัดซื้อทุกๆ 2 วัน และเพื่อให้ได้คลอรีนมีคุณภาพ ควร
จัดซื้อจากผู้ผลิต ที่อยู่ในรัศมีไม่ไกลจนเกินไป
– เนื่องจากเป็นคลอรีนน้ำ ทำให้ต้องมีการจัดหาภาชนะ
บรรจุ โดยเฉพาะ
– เนื่องจากเป็นคลอรีนที่มี pH มากกว่า 9 ดังนั้นเพื่อให้
ได้ผลดี ต้องปรับ pH ของน้ำให้เป็นกรดเล็กน้อย
ก่อนใช้ ด้วยกรดเกลือ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง
แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์
Ca(OCl)2
– เป็นคลอรีนชนิดผง และเกล็ด ทำให้สะดวกในการ
เก็บรักษา และมีความคงตัวดีทำให้จัดการง่าย และ
สะดวกต่อการใช้
– ละลายน้ำพอใช้ได้ แต่จะมีบางส่วนเป็นตะกอน
แคลเซี่ยม ทำให้ต้องพักทิ้งไว้ให้ตกตะกอนก่อน
สารละลายคลอรีน ที่นำไปใช้ต้องระวังไม่ให้มีตะกอน
เพราะจะทำให้เครื่องจ่ายคลอรีนอุดตัน และต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการกำจัด กากตะกอนที่หลงเหลือ
– การใช้ค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมนาน
– มีหลากหลายความเข้มข้น ทำให้ต้องมีการคำนวน
การใช้ ให้เหมาะสม
– มี pH มากกว่า 9 ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับ pH ของ
น้ำ ให้เป็นกรดเล็กน้อยก่อนด้วยกรดเกลือ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง
ก๊าซคลอรีน
Cl2 Gas
– ให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อสูง
– ต้องใช้ถังบรรจุโดยเฉพาะ ทำให้ยุ่งยากในการเก็บ
รักษา และค่อนข้างอันตราย หากมีการรั่วของถังเก็บ
– ต้องมีอุปกรณ์การจ่ายคลอรีนลงน้ำโดยเฉพาะ และ
ต้องมีการบำรุงรักษา เป็นประจำเพื่อป้องกันการรั่ว
ของก๊าซคลอรีน
– การหาซื้อค่อนข้างยาก
โซเดี่ยมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท
C3Cl2N3NaO3
– มีความเข้มข้นที่เหมาะสม และมีหลากหลายรูปแบบ
ทั้งแบบผง ,เกล็ด และเม็ด ทำให้เลือกใช้ได้ง่าย
– ละลายน้ำได้ง่ายมาก และไม่มีกากตะกอนหลงเหลือ
จึงตัดปัญหาเรื่องเครื่องจ่ายคลอรีนอุดตัน ทำให้ไม่
ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ในการกำจัดกากตะกอน
ที่หลงเหลือ
– มี pH 6.4-6.8 ทำให้ออกฤทธิ์ได้ดีในน้ำทุกสภาวะ
และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าคลอรีนชนิด ไฮโปคลอไรท์
2-10 เท่า อัตราการใช้จึงน้อย ประหยัด และไม่จำ
เป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการปรับ pH ของน้ำก่อน
– การเก็บรักษา และการจัดการง่าย มีอัตราการสลาย
ตัวต่ำมากจึงเก็บได้นาน
– ม๊ฤทธิ์กัดกร่อนน้อยมาก และมีขนาดบรรจุที่หลาก
หลาย ทำให้มีข้อจำกัดการใช้น้อย
– มีราคาสูงกว่า คลอรีนชนิดไฮโปคลอไรท์
ไตรคลอโร ไอโซไซยานูริค แอซิด
C3Cl3N3O3
– มีประสิทธิภาพสูง เข้มข้นสูงถึง 90% จึงใช้น้อย
– ละลายน้ำได้หมดไม่มีตะกอน
– ออกฤทธิ์ได้ดีกว่า คลอรีนชนิดไฮโปคลอไรท์มาก
กว่าถึง 8-10 เท่า
– การเก็บรักษา และการจัดการค่อนข้างง่าย
– การใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใช้กรดเกลือปรับ pH
ของน้ำก่อน
– ถึงละลายน้ำได้หมด แต่ละลายยากมาก ทำให้ใช้เวลา
ในการเตรียมนาน
– มี pH ต่ำมากเพียง 2-3 เท่านั้น ทำให้ต้องระมัดระวัง
ในการนำไปใช้สูง
– เนื่องจากละลายน้ำช้ามาก ในการใช้ ที่ไม่ต้องการให้
มีคลอรีนหลงเหลือ หลังจากใช้แล้ว จำเป็นต้องมีการ
ตรวจสอบคลอรีนที่หลงเหลือก่อน เพื่อความปลอดภัย
โดยเฉพาะการใช้ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ
– มีราคาที่สูงกว่าคลอรีนชนิดอื่นๆ
– มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง

sokon-65
แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์ ( Calcium Hypochlorite )
เป็นคลอรีนที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด มีหลายความเข้นข้นให้เลือกใช้ตั้งแต่ 35-70% หาได้ง่ายและมีหลายระดับราคา เนื่องจากมีหินปูนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นเวลาละลายน้ำจะมีตะกอนที่ไม่ละลายน้ำค่อนข้างมาก จึงมีความจำเป็นต้องวาง ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนก่อน แล้วนำเฉพาะส่วนที่ใสไปใช้ เพื่อป้องกันการอุดตันของถังจ่ายคลอรีน
หลังละลายน้ำคลอรีนจะแตกตัวให้ Hypochlorite ion ( OCl- ) ซึ่งมีประจุลบ ทำให้มีบางส่วนไปจับกับตะกอนแขวน ลอยในน้ำก่อน และมีส่วนน้อยเปลี่ยนรูปเป็น HOCl ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รุนแรงกว่า ทำให้การใช้ในน้ำที่มีตะกอนมากจะได้ ผลลดลง
เนื่องจากเป็นคลอรีนที่มี pH มากกว่า 9 จึงมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และเพื่อให้ใช้ได้ผลดี จำเป็นต้องกำจัดตะกอนในน้ำ ก่อนและควรปรับค่า pH ของน้ำให้เป็นกรดเล็กน้อยที่ 6-6.8 โดยใช้กรดเกลือจะทำให้คลอรีนออกฤทธิ์ดีขึ้น

โซเดี่ยม ไฮโปคลอไรท์ ( Sodium Hypochlorite )
เป็นคลอรีนชนิดน้ำ ความเข้มข้นของ Available Chlorine 10% ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้ แต่เนื่องจากอยู่ในรูปน้ำ ทำให้มีความคงตัวต่ำมาก ต้องใช้ให้หมดภายใน 2 วัน เพราะหลังจากนั้น Available Chlorine จะลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการฆ่าเชื้อโรค
ถึงแม้จะเป็นคลอรีนรูปน้ำ เป็น Free Chlorine ทั้งหมด แต่เนื่องจากตัวคลอรีนมี pH มากกว่า 9 ทำให้ Free Chlorine อยู่ในรูป OCl- ซึ่งจะไปจับกับตะกอนในน้ำก่อน และมีส่วนน้อยที่เปลี่ยนรูปเป็น HOCl จึงมีประสิทธิภาพต่ำในการใช้งานทั่วๆไป ยกเว้นจะมีการกำจัดตะกอนต่างๆในน้ำก่อน และปรับ pH ของน้ำให้ไม่เกิน 7 จึงจะใช้ได้ผลดี แต่ก็ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง

คลอรีนชนิด DCCNa ( Sodiumdichloro Isocyanurate )
เป็นสารประกอบคลอรีนที่พัฒนาล่าสุด ให้มีความคงตัวสูงเก็บรักษาได้นาน สามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีตะกอนหลงเหลือ มี pH ที่เหมาะสมที่ 6.4-6.8 สามารถผลิตได้ทั้งในรูป ผง ,เกล็ด และเม็ด ( Tablet ) ทำให้นำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย และเหมาะสมต่อสภาพการใช้งาน
DCCNa หลังจากละลายน้ำแล้ว จะแตกตัวให้ HOCl ( Hypochlorous acid ) และ Cyanuric Acid ( ที่ช่วยทำให้ HOCl มีความคงตัวในน้ำเพิ่มมากขึ้น ) ไม่มีผลกระทบต่อค่า pH ของน้ำ สามารถออกฤทธิ์ได้ดีแม้แต่ในน้ำที่มี pH 8-9 โดยมีผลทำให้ประสิทธิภาพลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
DCCNa สามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่า คลอรีนชนิด Hypochlorite 2-10 เท่า จึงใช้น้อยแต่สามารถฆ่าเชื้อได้ดี ไม่ทำให้หัวจ่ายคลอรีนอุดตัน สามารถสลายตัวได้เร็ว และมีฤทธิ์กัดกร่อนน้อยกว่าคลอรีนชนิดอื่นๆ
chloro-100

acuchlor
คลอรีน 90% ( Trichloroisocyanuric Acid )
เป็นคลอรีนที่มีความเข้มข้นสูงถึง 90% สามารถละลายน้ำได้หมด ไม่มีตะกอนหลงเหลือ แต่ละลายได้ช้ามากใช้เวลาในการละลายน้ำนาน เมื่อละลายน้ำแล้วจะแตกตัวให้ HOCl และ Cyanuric Acid ทำให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อสูงมาก สามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่า คลอรีนชนิด Hypochlorite 8-10 เท่า
แต่เนื่องจากเป็นสารประกอบคลอรีน ที่มีฤทธิ์เป็นกรดแก่ pH 2-3 ทำให้ค่อนข้างอันตรายในการใช้ และยังทำให้ pH ของน้ำลดลง และมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง

การคำนวนหาอัตราการใช้คลอรีน และวิธีการใช้คลอรีนที่ถูกต้อง

              การหาปริมาณคลอรีนที่ใช้

                                              

                     ตัวอย่างการคำนวน
                         – ต้องการใช้คลอรีน 60% ที่ความเข้มข้น 20 ในน้ำจำนวน 100 ลิตร

 

                                                

                                     ต้องใช้คลอรีน 60% จำนวนทั้งสิ้น 3.33 กรัม

วิธีการใช้คลอรีนที่ถูกต้อง
– คลอรีนน้ำ
เตรียมสารละลายคลอรีนเข้มข้น ในปริมาณที่ต้องการ จากน้ำนำไปใส่ในน้ำที่ต้องการโดยตรง หรือจ่ายผ่านเครื่องจ่ายคลอรีนในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำมี
คลอรีน ตาม ppm. ที่กำหนด
– คลอรีนผง หรือเกล็ด
ละลายคลอรีนผงจำนวนตามที่ต้องการ ในน้ำสะอาดปราศจากตะกอน ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ดูดตะกอนไปทิ้งในที่ที่ปลอดภัย นำสารละลายคลอรีนที่ใสไม่มี
ตะกอนไปใช้ โดยใส่ในน้ำโดยตรง หรือจ่ายผ่านเครื่องจ่ายคลอรีน ระวังอย่าให้มีตะกอนติดไปด้วย เพราะจะทำให้เครื่องจ่ายคลอรีนอุดตัน
– เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คลอรีนเข้มข้นที่เตรียมไว้ต้องใช้ให้หมดภายในเวลา 2 วัน และต้องใช้คลอรีน ให้ได้ความเข้มข้นเป็น ppm. ที่เหมาะสมและต้องมีระยะ
เวลาสัมผัสเชื้อที่นานเพียงพอ

การใช้คลอรีน ในกิจการชนิดต่างๆ

คลอรีนที่ใช้กันโดยทั่วไปในกิจการต่างๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจและใช้ให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลสูงสุด

การใช้คลอรีนในการเลี้ยงกุ้ง
ใช้ในบ่อเพาะลูกกุ้ง
– ใช้ในขั้นตอนการเตรียมน้ำ ใช้คลอรีนในระดับความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 200 ppm. และต้องพักน้ำไว้ไม่ควรต่ำกว่า 7 วัน ก่อนนำน้ำไปใช้
ใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้ง
– ใช้เตรียมบ่อ ใช้คลอรีนในระดับความเข้มข้น 20 – 30 ppm. และพักน้ำ ไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน ก่อนทำสีน้ำและลงลูกกุ้ง
– ใช้ควบคุมปริมาณแพลงค์ตอน ใช้คลอรีนในระดับความเข้มข้น 0.1 – 0.2 ppm. ในระหว่างการเลี้ยงกุ้ง
การตรวจสอบปริมาณคลอรีนที่หลงเหลือ
เพื่อความปลอดภัยต่อลูกกุ้ง ช่วงพักน้ำต้องเปิดเครื่องตีน้ำไว้ตลอด หลังจากครบ 7 วัน ให้ตรวจสอบปริมาณคลอรีนที่หลงเหลือ โดยใช้สารโปตัสเซี่ยม ไอโอได ( KI ) หรือสาร
Ortholidine ด้วยวิธีการไตเตรท หรือดูจากสีน้ำตาลของไอโอดีนที่เกิดขึ้น ถ้ามีสีน้ำตาลแสดงว่ายังมีคลอรีนหลงเหลือ

การใช้คลอรีนในฟาร์มปศุสัตว์
ใช้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่มของสัตว์
เติมคลอรีนในถังพักน้ำดื่มสำหรับสัตว์ ให้ได้ความเข้มข้น 20 ppm. พักทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำน้ำไปให้สัตว์ดื่ม และต้องตรวจสอบปริมาณคลอรีนคงเหลือก่อนใช้
ค่าที่ปลอดภัยไม่ควรเกิน 14 ppm. หากใช้น้ำประปาให้ใช้ในระดับความเข้มข้น 0.5-1 ppm. พักน้ำไว้ 3-4 ชั่วโมง ก่อนนำน้ำไปให้สัตว์ดื่ม
ใช้ล้างอุปกรณ์เครื่องมือ
ใช้สารละลายคลอรีนเข้มข้น 200 ppm. แช่อุปกรณ์ไว้ 15-30 นาที แล้วล้างให้สะอาดตั้งทิ้งไว้ให้หมดกลิ่นคลอรีน ล้างซ้ำด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปใช้
ใช้ล้างฆ่าเชื้อบริเวณโรงเรือน
พ่นด้วยสารละลายคลอรีนเข้มข้น 5,000 ppm. ให้ทั่วทั้งพื้นและผนัง ทิ้งไว้ 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ก่อนนำสัตว์เข้าเลี้ยง

การใช้คลอรีนในโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง
ในขบวนการผลิตอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง จะต้องมีการฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ Sterilize ซึ่งอาหารกระป๋องจะมีความร้อนสูง นำมาผ่านขบวนการลดอุณหภูมิโดยการจุ่มในน้ำเย็น ซึ่ง
จะทำให้เกิดภาวะสูญญากาศภายในกระป๋อง มีผลทำให้น้ำที่ใช้ลดอุณหภูมิสามารถซึมผ่านเข้าไปในกระป๋องได้ทางรอยตะเข็บข้างกระป๋อง ดังนั้นถ้าน้ำที่ใช้มีการปนเปื้อนของเชื้อ
จุลินทรีย์ จะทำให้อาหารที่บรรจุเกิดการเน่าเสีย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายและอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ดังนั้นน้ำที่นำมาใช้ จึงต้องมีการฆ่าเชื้อก่อนด้วยคลอรีน โดยการเติมคลอรีนให้มีความเข้มข้น 2 ppm. และรักษาระดับให้คงที่ตลอดทั้งระบบ จะทำให้น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ
ปนเปื้อน ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

การใช้คลอรีนในโรงงานน้ำอัดลม
น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ทำความสะอาด โดยการเตรียมสารละลายคลอรีนเข้มข้น 10,000 ppm. จ่ายลงในน้ำโดยใช้เครื่องจ่ายคลอรีน (Chlorinator) โดยปรับการจ่ายให้น้ำมีความเข้มข้นของคลอรีน
0.1-0.2 ppm. ตลอดเวลา และเมื่อนำน้ำไปใช้ ต้องกำจัดคลอรีนให้หมดก่อน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการบรรจุเครื่องดื่มลงภาชนะ ควรส่งสารละลายคลอรีนเข้มข้น 300 ppm. ผ่านปั๊ม ท่อ เครื่องบรรจุให้ทั่ว เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ผ่านด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
เพื่อล้างคลอรีนออกก่อนเริ่มบบรจุ และภายหลังบรรจุเครื่องดื่มแต่ละครั้ง ฉีดพ่นทำความสะอาดถังบรรจุด้วยสารละลายคลอรีนเข้มข้น 300 ppm. ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออก
ด้วยน้ำสะอาด

การใช้คลอรีนในระบบประปา
ใช้สารละลายคลอรีนเข้มข้น 2,500 ppm. จ่ายเข้าตามระบบเส้นท่อ โดยให้มีความเข้มข้นของคลอรีนในระบบ 0.5 ppm. เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที และให้มีความเข้มข้น
ของคลอรีนปลายทาง 0.3 ppm.
ปริมาณการจ่ายสารละลายคลอรีนเข้มข้นเข้าสู่ระบบประปา จะขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต และกำลังการผลิตของแต่ละวิธี
สารละลายคลอรีนเข้มข้น 2,500 ppm. เตรียมได้จากคลอรีนรูปแบบต่างๆ และต้องให้เพียงพอต่อการใช้ไม่เกิน 2 วัน เนื่องจากหากเกิน 2 วันแล้ว ปริมาณของ Free Chlorine
ในสารละลายจะลดต่ำลง จนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ
ตารางแสดง อัตราส่วนการใช้คลอรีนในระบบประปา

การใช้คลอรีนในสระว่ายน้ำ
ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และสาหร่าย ที่เกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ
ใช้เพื่อบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำให้สะอาดถูกสุขอนามัย จะต้องรักษาระดับความเข้มข้นของคลอรีนในระดับ 0.6-1 ppm. ที่ pH ของน้ำในสระที่ 7.2-7.6 ซึ่งจะสามารถควบคุมและ
ป้องกันไม่ให้เกิดสาหร่ายขึ้นในสระว่ายน้ำ
ถ้าหากเกิดสาหร่ายขึ้นแล้วซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำเปลี่ยนสี ให้หยุดใช้สระชั่วคราวแล้วทำการบำบัด โดยใช้คลอรีนเติมในสระให้ได้ความเข้มข้น 5-10 ppm. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จะกำจัด
สาหร่ายได้ พักสระไว้ 2-3 วัน จึงเปิดให้บริการตามปกติ
ถ้าใช้คลอรีนชนิดไฮโปคลอไรท์ จะมีผลทำให้ pH ของน้ำในสระสูงขึ้น จำเป็นต้องใช้กรดเกลือ (HCl) เพื่อลด pH ของน้ำให้อยู่ในระดับเหมาะสมที่ 7.2 -7.6 (ยกเว้นถ้าใช้คลอรีน
ชนิด โซเดี่ยมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท ไม่จำเป็นต้องใช้กรดเกลือ เพราะไม่มีผลต่อค่า pH ของน้ำ)
ตารางแสดง อัตราส่วนการเติมคลอรีนในสระว่ายน้ำ

การใช้คลอรีนในตลาดสด
ใช้สาละลายคลอรีนเข้มข้น 5,000 – 10,000 ppm. เทราดให้ทั่วทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะเป็นการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และดับกลิ่นในตลาดได้เป็นอย่างดี

ข้อแนะนำการใช้คลอรีนให้ปลอดภัย

การเก็บรักษา
– เก็บในภาชนะทีปิดสนิทมิดชิด และห่างจากสารที่ลุกไหม้ได้
– เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ไม่โดนแสงแดด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การใช้งาน
– ก่อนใช้ต้องอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุ และปฎิบัติตามวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด
– ห้ามกลิ้งหรือโยนภาชนะบรรจุโดยเด็ดขาด
– การตักคลอรีนจากภาชนะบรรจุ ต้องใช้พลั่วพลาสติกที่แห้งและสะอาด
– ระวังอย่าให้คลอรีนสัมผัสกับกรดหรือด่าง วัตถุไวไฟ และเคมีภัณฑ์อื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง
– ห้ามทำการละลายคลอรีน โดยการเทน้ำใส่เพราะอาจเกิดการระเบิดได้
– ขณะใช้ควรสวมแว่นตา ถุงมือ และชุดป้องกันอย่างรัดกุม
– กรณีถูกไฟไหม้ คลอรีนจะปล่อยก๊าซออกซิเจน ดังนั้นต้องใช้เครื่องดับเพลิงที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงเคมีในการดับเท่านั้น
การปฐมพยาบาลหากได้รับอันตราย
– ถ้าสารเข้าตาหรือสัมผัสผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที กำจัดเสื้อผ้าที่เปื้อนสาร แล้วนำส่งแพทย์
– กรณีสูกดมสาร ให้รีบนำตัวสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ แล้วนำส่งแพทย์โดยทันที
– กรณีกลืนกินสาร ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ดื่มน้ำมากๆแล้วตามด้วยน้ำมันพืช หากมีการอาเจียนให้ดื่มน้ำมากๆ แล้วนำส่งแพทย์ทันที ถ้าผู้ป่วยหมดสติ อย่าให้รับประทานสิ่งใดและห้าม
ทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาด ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด