การเลือกซื้อไขควง และความลับที่ไม่ลับ ทำไมหัวน๊อตถูกไขจนพัง

ถ้าจะจัดประเภทเครื่องมือแล้ว ไขควงนับเป็นเครื่องมือที่ใกล้ชิดกับเราแทบจะที่สุดก็ว่าได้  ถ้าเรามองสิ่งรอบๆตัวเราจะพบว่ามีอุปกรณ์ที่มีน๊อต ที่ต้องใช้ไขควงไขอยู่รอบๆตัวเรา Note book , กุญแจรถ  , โทรศัพท์มือถือ นาฬิกา แว่นตา  หากอยากจะซ่อมแซม เปลี่ยนถ่าน หรือแกะออกมาทำอะไรก็ตามย่อมต้องใช้ไขควงมาไข 
ถ้าเราใช้ไขควงหลายคนต้องเคยเจอ อาการที่ไขแล้วมันไม่ยอมออก ไขจนหัวน๊อตมันเยินจนไขไม่ได้อีก อาการแบบนี้เราไม่ต้องการให้เกิดแต่มันก็เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพราะอะไร !!!!!!!  เพราะน๊อตมันแน่นเกินไป ใช่มั้ย  คำตอบคือไม่ใช่ครับ

 
ozlxidjxuaE87PeZFJD-o[7]
สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวน๊อตพังมีอยู่ 2 -3ประเด็น 
1.ใช้ไขควงผิดมาตรฐาน    อันนี้มักจะเกิดกับไขควงแฉกขนาดมันก็โอเคแต่น๊อตมันแน่นมากๆไขจนหัวเริ่มเยินกว่าจะไขออก อันนี้เจอบ่อยมากแต่มักจะ อาการออกหนักเมื่อไข รอบสอง รอบสาม    หารู้ไม่ว่าเราใช้ไขควงผิดมาตรฐานมาไข  !!!!!!!
2.ใช้ไขควงผิดเบอร์       มีไขควงอยู่ตัวเดียว น๊อตใหญ่น๊อตเล็ก พวกใช้อันเดียวกันหมด ^ ^ อันนี้เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
3.น๊อตไม่มีคุณภาพเอง   น๊อตไม่มีคุณภาพ อันนี้เราคงควบคุมลำบาก เนื่องจากเวลาเราใช้ของอะไรเราคงไม่สามารถดูน๊อตได้ทุกตัวว่าคุณภาพดีแค่ไหน ให้ดูก็ดูไม่รู้ ด้วยซ้ำ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการเข้าใจไขควง และน๊อตให้ถูกต้อง จะได้ไม่ใช้ผิดเบอร์และมาตรฐาน  เรามาเริ่มจากมาดูลักษณะน๊อตแบบต่างๆกันก่อนดีกว่าครับ 
รูปแสดง ลักษณะ หัวน๊อตแบบต่างๆ
ozlx718xuwSh09fYEit-o[4]
เราจะเห็นได้ว่าน๊อตมีรูปแบบหลากหลายมาก แต่ที่เราจะพบเจอบ่อยจะเป็น 3 แบบแรก คือ Slot  หรือแบบแบน  Phillip หรือแบบแฉก Pozidriv หรือแบบแฉก ( A : แฉกอีกแล้วเหรอ ?   B: ไขๆไปเหอะมันเหมือนกัน  555555   จขกท : ไม่เหมือนนนน   เสียงสูง  ) 
เรามาดูการจับคู่ระหว่างน๊อตกับไขควงแต่ละแบบ กัน
ozlx8f11e8LrhS2NizMe-o[4]
จะเห็นได้ว่าน๊อตแบบ Slot ถ้าเราใช้ไขควงแบนถูกเบอร์ไม่มี ปัญหา แต่ถ้าน๊อตมันเป็นแบบ Pozidriv ล่ะ เราเอา ไขควงแฉกธรรมดาไปไข จะเกิดอะไรขึ้น ?  คำตอบคือ ไข ได้ ครับ แต่ จะไขออกหัวก็เสียหาย จะไขเข้าก็ไม่แน่นตามสปก เพราะว่า น๊อตแบบ Prozidriv ถูกออกแบบให้ต้องใช้แรงขันสูงจึงเพิ่มแฉกเล็กๆเข้ามา ถ้าเอาไขควงธรรมดา แรงจะถูกกระทำแค่ 4 แฉก จาก 8 แฉก  ทำให้หัวน๊อตอาจเสียได้   เพราะฉะนั้นหากเจอน๊อตแบบนี้ เราต้องใช้ไขควงให้ถูกมาตรฐาน จึงจะไขได้ 100 % 
ozm7g523xwd87bQrXw8-o[4]
ยัง ยัง ไม่หมด !!!!!!!
นอกจากนั้น น๊อต แฉก ธรรมดา  ยังแบ่งมาตรฐานได้ 2 แบบอีก คือ มาตรฐาน PH  กับมาตรฐาน JIS   ดังนี้
ozlx9szlnMSDqpG98kF-o[4]
สังเกตุง่าย น๊อต Phillip จะไม่มีสัญลักษณ์อะไร  ส่วนน๊อต JIS จะมีจุดอยู่ที่หัวน๊อต
และจะเห็นได้ว่า ขนาด ความลึกจะแตกต่างกัน เพราะ น๊อต PH  จะออกแบบให้ ไขควงหลุดออกมาจากน๊อตเมื่อแรงไขเกินค่าที่กำหนด  จึงออกแบบให้ลึกกว่า และมุมกากบาทจะป้านกว่าแบบ JIS  ทำให้ถ้าเราเอาไขควง PH  ไขน๊อต JIS ผลที่เกิดขึ้นคือ หัวพังครับ  !!!!!!!!    นี่เป็นเพราะความแตกต่างของมาตรฐานฝั่งฝรั่งกับ ญี่ปุ่น 
ozlz4eqvhVD7fLoFyIB-o[4]
เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นบ่อยๆ ทางฝั่ง Phillip จึงได้พยายาม ปรับมาตรฐาน  โดยใช้มาตรฐาน DIN 5260   และ ISO 8764-1  ทำให้ไขน๊อต JIS  ได้ดี
ประกอบกับ JIS ได้ยกเลิกการรับรองมาตรฐานไขควงแล้ว  ตั้งแต่ปี 2008 ไขควงค่ายญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องมาอ้างอิง มาตรฐาน DIN 5260 กับ ISO 8746แทน   ทำให้มาตรฐานไขควง พศ. นี้ เสมือนถูกยุบมาเป็น Phillip เพียงอย่างเดียว  หากแต่ในทางปฎิบัติ ถ้าเจอน๊อตมีจุด ผมจะใช้ไขควงสัญชาติญี่ปุ่นไขครับ เพราะมีความรู้สึกว่ามันเกิดมาเพื่อกันและกันมากกว่า ^ ^
ตัวอย่างการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้ผลิต ไขควง
ozlxcz1bgNsi54uqcAx-o[4]
ต่อมาเรามาพูดเรื่อง ขนาดต่างๆของไขควงกันดีกว่า
ไขควงแฉก
จะบอกขนาดหัวเป็นเบอร์  ตามนี้  PH 000 , PH 00 , PH 0 ,PH1 ,PH 2 ,PH 3 ,PH 4    เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ 
มักจะบอกความยาว พ่วงด้วยเช่น   PH 2 x 100    แปลว่าหัวแฉก PH เบอร์ 2 ยาว 100 mm 
ถ้าเป็น แบบ Prozidriv  จะเป็นPZ แทน PH
ozlxx3fnotpJUX89jxS-o[4]
ไขควงแบน
จะบอกเป็นความหนา  x ความกว้าง ของปลายไขควง และ บอกความยาว  เช่น  0.5 x 3 x  80   , 0.6 x3.5 x 100 , 0.8x4x100 , 1×5.5×125 ,1.2×6.5×150 ,1.2x8x175 , 1.6×10 x 200 
ozlxt64np8geAlBZqFx-o[4]
ลักษณะต่างๆ ของไขควง
ไขควงจะมีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งในที่นี้จะนำเสนอไขควงรูปแบบต่างๆดังนี้ครับ
1.ไขควง Stubby 
เป็นไขควงสั้น ใช้งานในที่แคบด้านบน หัวจะมีลักษณคล้ายไขควงปกติ แต่ด้าม กับความยาวก้านไขควงจะสั้น 
ozly2d9uqgmgO0jzxEv-o[4]
2. ไขควง ออฟเซต
เป็นไขควงที่เหมาะสำหรับงานที่แคบต้องเข้าไปไขน๊อตด้านข้าง    มีลักษณะดังรูป
ozly4xopht5JHlxy9Hu-o[4]
3.ไขควงด้ามทะลุ กับ ด้ามไม่ทะลุ
ไขควงด้ามทะลุสามารถใช้ค้อนตอกได้ ส่วนไขควงด้ามไม่ทะลุจะช่วยในเรื่องกันไฟฟ้าดูด ได้ แต่ไม่ถึงขั้น 1000 V  แบบรุ่น VDE
ด้ามไม่ทะลุ
ozlyc9vtx0FVK57eW2c-o[4]
ด้ามทะลุ
ozlydnebhWaFPwMGz9K-o[4]
4. ไขควง VDE 
จะเป็นไขควงกันไฟฟ้าได้เป็นพิเศษถึง 1000 Volt  ตามมาตรฐาน VDE 
ozlyjznr82XXGR17Yre-o[4]
5. ไขควง ESD
ไขควงงาน อิเล็คทรอนิค กันไฟฟ้าสถิตได้
ozlymmxk8H6D571GtIg-o[4]
6.ไขควง SL/PH   SL/PZ
อันนี้เป็นไขควงที่เรามักเห็นบ่อยในงานไฟฟ้า  ช่างส่วนใหญ่จะคิดว่า ใช้ไขควง ปากแบนไข หรือ ไขควงแฉกไขก็ได้  หากแต่น๊อตแบบนี้มีไขควงเฉพาะอยู่ 
ตัวอย่างน๊อต
ozm0s99g08jnQztr82C-o[4]
ไขควงเฉพาะ
ozlz153f6PTfsP1Sd1s-o[4]
ozotzmov7AW6M36Wqg0-o[4]
ozou0qcsjmPp11bWVn1-o[4]
แบรนด์ต่างๆที่ทำตลาดในไทย 

หากจะจัดอันดับตามแบรนด์ แบบมีระดับ อย่าง Snap on , Hazet ,Stahlwille  Facom  Proto  คงต้องติดอันดับอย่างแน่นอนบางยี่ห้อผมเข้าใจว่าเค้าจ้างผลิต ไม่ได้ทำด้วยตัวเอง ดังนั้นที่ผมเลือกเอามาแนะนำ  จะเป็นแบรนด์ที่เน้นทำไขควงโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งผมว่ามันน่าใช้กว่าเพราะเค้าเกิดมาเพื่อสิ่งนี้   เราไปดูกันเลยครับ 
1.    PB Swiss Tool 
ถ้าถามช่างว่าไขควงยี่ห้อไหนดี เกือบทุกคนต้องตอบว่า PB  ด้วยเนื้อเหล็กคุณภาพสูงจาก Swiss มียิง เลเซอร์ ซีรี่ส์ นัมเบอร์ ไว้เช็คได้ทุกตัวว่าของแท้มั้ย  ต้องยอมรับว่าเป้นไขควงอันดับต้นๆในวงการ
ozlzepk4hHkO5qv01B2-o[4]
2.    WERA
ไขควงเยอรมัน Design สวย  มีการออกแบบอย่างดีทุกอย่างแม้แต่กระทั้งกล่องใส่  เป็นไขควงที่น่าใช้มาก มีเอกลักษณ์ คือ Laser tip ที่ปลายไขควง ช่วยเรื่องการจับหัวน๊อต  ตอนนี้ได้ข่าวว่าย้ายการผลิตไปที่ เช็ค รีพับบลิก
ozn3yh5r6Wy5QuU9DWi-o[4]
3.    Vessel 
ไขควงจากแดนปลาดิบ ส่งเข้าประกวด  มีรุ่นที่ผมชอบใช้มากคือรุ่น Megadora  ดีไชน์ด้ามที่เพิ่มแรงไข เพิ่มความกระชับของมือขณะจับด้าม ปลายไขควงมีเทคโนโลยี JawsFit  ช่วยจับหัวน๊อตเวลาไข ได้ข่าวว่าผลิตในประเทศไทยด้วย ข้อเสียคือหาซื้อยาก 
ozlzfn8vqU7tmMnuMbK-o[4]
4.    Felo
ไขควงเยอรมัน คุณภาพสูง มีรุ่นเด่นคือ รุ่น Ergonic
ozlzg2tuq7pw35suvz0-o[4]
5.    WIHA
ไขควงเยอรมัน อีกยี่ห้อที่นิยมกันมาก คุณภาพสูง การออกแบบ ค่อนข้าง เรียบๆ 
ozlzgjufdl8VDpNTIfD-o[4]
6.    Champion
ไขควงในตำนานจากญี่ปุ่น  ราคาไม่แพง แต่ของปลอมเยอะมาก
ozlzgvk1cPChTwjMbz6-o[4]