N70, SLS, SLES คืออะไร

N 70 สารปริศนา

N70 มาจาก Texapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีทำให้เกิดฟองได้เร็ว

Sodium Lauryl Ether Sulfate(SLES) ถ้าเรียกตาม INCI Name ก็ Sodium laureth sulfate ครับ เป็นสารคนละตัวกับ Sodium Lauryl Sulfate (SLS)นะ สังเกตง่ายๆ ตรงที่มี E ซึ่งหมายถึงผ่านการ Ethoxylation โดยนำสารตั้งต้น คือ SLS มาทำปฎิกิริยากับ ethylene oxide ภายใต้แรงดัน และความร้อนสูง + catalyst ผลที่ได้คือ ได้ surfactant ที่ระคายเคืองน้อยกว่า SLS จึงเอามาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายได้ดีกว่า ในขณะที่ SLS ที่มีความสามารถในการชะล้างไขมันสูงปรี๊ด จึงเอาไปใช้ในผลิตภัณฑ์ซักล้างซะมากกว่า แต่ก็ไม่ทั้งหมดทีเดียว เพราะเห็นกล่องยาสีฟันในบ้านเราก็ยังมีใช้ SLS อยู่นะ

สำหรับส่วนประกอบของ N-70 ของ cognis ก็มี SLES เป็น active ingredient ประมาณ 70% (ถึงเรียก N-70 ไง) ส่วนอีก 30 % ที่เหลือ ก็จะเป็นน้ำ กับ Impurities อื่นๆ เช่น Sodium Chloride (NaCl), Sodium Sulfate (Na2SO4) เป็นต้น
แต่ที่เป็นประเด็นในต่างประเทศกัน คือในเรื่องของการปนเปือน 1,4 dioxane กับ Ethylene Oxide นี่แหละ สารทุกตัวที่ทำผ่านกระบวนการ Ethoxylation มันหนีไม่พ้นโอกาสที่จะปนเปื้อนจาก สารทั้ง 2 ตัวดังกล่าวซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง สารที่ต้องผ่านกระบวนการนี้ที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ นอกจาก SLES แล้วก็มีสารตระกูล PEG เป็นต้น แต่ว่าในทางเทคนิค มันก็มีวิธีที่จะควบคุมหรือลดปริมาณสารปนเปื้อนที่ก่อมะเร็งพวกนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ผ่านตามกฎหมายอยู่ แต่ถ้ามีโอกาสเลี่ยงได้ ก็เลี่ยงจะดีกว่า เพราะยังมีอีกหลายตัวที่ยังต้องเจอในชีวิตประจำวันและเป็น carcinogen หรือสารก่อมะเร็ง อย่างสารตระกูล Ethanolamine เช่น Triethanolamine (TEA), Diethanolamine(DEA)และอีกจิปาถะที่ต้องเจอทั้งจากมลพิษในอากาศ, additive ในอาหาร

 

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม – Lug Dee

Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารทำความสะอาดยอดนิยมของผู้ผลิตมาช้านานด้วยหลายเหตุผล อย่างแรกเลยคือมันทำความสะอาดคราบมันได้ดี อย่างที่สองคือมันก่อฟองได้เยอะมากด้วย และที่สำคัญคือมันมีต้นทุนแสนถูก ทำให้ผลผลิตสุดท้ายออกมาทั้งทำความสะอาดดี มีฟองมาก (อันเป็นสิ่งผู้บริโภคชื่นชอบ) และตุ้นทุนต่ำ (กำไรมากขึ้น)

ประเด็นมีอยู่ว่า ความสามารถในการดึงน้ำมันและสิ่งสกปรกของ Sodium Lauryl Sulfate นั้นดี และอาจจะดีมากไปหน่อยจนดึงน้ำมันทั้งส่วนที่จำเป็นของผิวและเส้นผมออกมาด้วย มีข้อมูลบ่งชี้ว่า Sodium Lauryl Sulfate นั้นจะตกค้างอยู่ตามผิวหนังและรูขุมขนได้ (มันจับกับโปรตีนได้ดี ซึ่งผิวและผมของเราก็เป็นโปรตีนซะส่วนมาก) จึงมีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองทั้งกับผิวหนัง รูขุมขน รวมถึงเส้นผมด้วย โดยความเข้มข้นที่มากขึ้น และระยะเวลาที่สัมผัสกับ Sodium Lauryl Sulfate ที่เพิ่มขึ้น จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการ

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชื่อเสียงของ Sodium Lauryl Sulfate นั้นเลวร้ายลงมากเนื่องจากมีกลุ่มหัวอนุรักษ์โจมตีว่าสารตัวนี้ก่อมะเร็งได้ ข้อความนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านสื่อทั้งสมัยเก่าและสมัยใหม่ ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน (ในขณะที่เขียนบทความนี้) ว่า Sodium Lauryl Sulfate หรือ SLS จะก่อมะเร็งได้แน่นอน แต่การกอบกู้ชื่อเสียงของ Sodium Lauryl Sulfate ดูท่าจะเป็นไปได้ยากเสียแล้ว…

ตัวอย่าง Sulfate ที่ใช้กันในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

Sodium Lauryl Sulfate (SLS) ไม่ได้เป็นสารกลุ่ม Sulfate อย่างเดียวในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด แต่มีสารกลุ่ม Sulfate อีกมายมายที่ใช้อยู่ (และโดนหางเลขไปด้วย) ตัวอย่างที่ชัดเจนสุด ๆ (ว่าโดนหางเลขไปเต็ม ๆ ) คือสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกว่า แต่ดั๊นนนน มีชื่อคล้ายกันมากมายอย่าง Soudium Laureth Sulfateหรือมีตัวย่อว่า SLES

Soudium Laureth Sulfate (SLES) นั้นอ่อนโยนกว่า Sodium Lauryl Sulfate (SLS) แต่บางเวปไซท์ หรือบางบทความยังเขียนเลยว่า Soudium Laureth Sulfate คือ SLS หรือเป็นตัวเดียวกับ Sodium Lauryl Sulfate ทั้งที่มันเป็นคนละตัวกัน ทำให้ SLES ก็โดนตราหน้าตามไปด้วย สารทำความสะอาดกลุ่ม Sulfate อื่น ๆ ที่ใช้กันก็อย่างเช่น Ammonium Laureth Sulfate กับ Sodium Myreth Sulfate และ TEA Laureth Sulfate ซึ่งก็มีความอ่อนโยนกว่า Sodium Lauryl Sulfate (SLS) อีกเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้สารทำควาสะอาดกลุ่ม Sulfate ตัวอื่นจะอ่อนโยนกว่า Sodium Lauryl Sulfate (SLS) แต่ก็ยังมีโอกาสระคายเคืองได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาที่สัมผัสอีกเหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะใช้สารทำความสะอาดกลุ่มไหน ก็ควรจะล้างออกให้หมดจดจะเป็นดีที่สุด

 

เราจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ Sulfate-Free รึเปล่า?

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ว่าสารกลุ่ม Sulfate ไม่ได้แย่ไปซะทุกตัว ดังนั้นหากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Sulfate อยู่แล้วและไม่ได้มีปัญหาอะไรกับมัน ก็สามารถที่จะใช้ต่อไปได้ หรือหากว่าอยากจะลองเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ Sulfate-Free ก็ไม่เสียหายอะไร

คุณน่าจะลองเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Sulfate-Free ก็ต่อเมื่อ ผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้นั้นก่อปัญหาให้เกิดการระคายเคืองกับหนังศีรษะ ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน เกิดรังแค ผมร่วง อ่อนแอ เส้นผมแห้ง หรือฉีกขาดง่าย ในกรณีที่คุณมั่นว่าแพ้สารกลุ่ม Sulfate จริง ๆ ก็ควรที่จะเปลี่ยนเช่นกัน

สำหรับผู้ที่ทำสีผมหรือทำเคมี เส้นผมจะอ่อนแอกว่าปกติ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารทำความสะอาดที่อ่อนโยนก็จะช่วยรักษาเส้นผมไว้ได้ดีกว่า

Bloggang.com : weblog for you and your gang

เราก็มาทำความรู้จักกับเจ้าสารลดแรงตึงผิว หรือ Surfactant เป็นสารที่เมื่อละลายน้ำแล้วจะช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ คำว่า Surfactant มาจากคำว่า Surface active agent มีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัวที่เป็น Hydrophilic (ชอบน้ำ หรือ หัวสีเขียว) และ ส่วนหางที่เป็น Hydrophobic (ไม่ชอบน้ำแต่ชอบน้ำมัน หรือ หางสีส้ม)
หลักการทำงานของสารลดแรงตึงผิวคือ ส่วนที่ชอบน้ำจะทำการจับน้ำ และส่วนที่ชอบน้ำมันจะทำการจับสิ่งสกปรกพวกไขมัน (ก้อนสีเหลืองๆนั่นแหละ) ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแล้วแขวนลอยอยู่ในน้ำ

คราวนี้เรามาดูว่าการมีฟองคืออะไร เกี่ยวอะไรกับความสะอาด ก็จะมีหลายคำถามต่างๆที่เกิดขึ้นดังนี้

– การมีฟองของสารลดแรงตึงผิวเกิดจากอะไร….?
การ มีฟองนั้นเกิดจากการที่อากาศเกิดการแทรกตัวเข้าไปในน้ำ (หรือของเหลวอื่นก็ได้) โดยที่มีสารลดแรงตึงผิวหันส่วนที่ชอบน้ำเข้าหาน้ำ และหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำเข้าหาอากาศ
ดังนั้นถ้ามีปริมาณสารลดแรงตึงผิวมากก็จะทำให้เกิดฟองมากตามไปด้วยซึ่ง ฟองที่เกิดขึ้นนั้นจะคงตัวหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว และความสามารถในการละลายน้ำของสารลดแรงตึงผิวเอง ดังนั้นสารลดแรงตึงผิวตัวใดที่ละลายน้ำได้ดีก็จะทำให้เกิดฟองมากได้
ดังนั้นแนวโน้มการเกิดฟองของสารลดแรงตึงผิวประจุลบจึงมีสูงกว่าการเกิดฟองของ สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ เนื่องจากความสามารถในการละลายน้ำที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามสารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุที่มีความสามารถในการละลายน้ำได้ดีมากบางตัวก็ให้ฟองที่เยอะไม่แพ้กัน

– สารที่มีฟองจะทำความสะอาดได้ดีกว่า แต่รุนแรงกว่าหรือไม่…?
จากที่กล่าวมาแล้วว่าสารลดแรงตึงผิวยิ่งละลายน้ำได้ดีก็ยิ่งมีฟองมาก ดังนั้นความสามารถในการละลายน้ำมันก็จะลดลง
การที่ฟองซึ่งมักจะเป็นตัวชูโรงในการโฆษณาว่าทำความสะอาดดี แต่มีความรุนแรงจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
สาร ลดแรงตึงผิวบางตัวมีความสามารถในการละลายในน้ำมันดีมากก็จะทำให้หน้าเกิด อาการโดนกำจัดไขมันส่วนเกินมากเกินไปก็จะทำให้หน้าแห้งได้เช่นกัน
แต่ สารลดแรงตึงผิวที่ละลายในน้ำมันที่ดีก็มักจะมีการเติมน้ำมันหรือสารคล้าย ไขมัน (Fat like substance) ลงไปทดแทนน้ำมันที่สูญเสียไปได้ ในบางกรณีก็มีการผสมสารลดแรงตึงผิวลงไปมากกว่า 2 ชนิดผสมกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพเป็นไปตามความต้องการได้
ดังนั้นขอสรุปว่าสารที่ำมีฟองมากกว่าก็ไม่จำเป็นต้องมีความระคายเคืองมากกว่าครับ

– สารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุไม่มีฟองหรือ…?
สารลดแรงตึงผิวจะมีประจุหรือไม่ก็ตาม ถ้าละลายน้ำได้ดีมากก็จะมีฟองมากอยู่แล้วเป็นเงาตามตัว ดังนั้นสารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุถ้าละลายน้ำได้ดีก็จะมีฟองมากแน่นอน ส่วนสารลดแรงตึงผิวประจุลบที่ละลายน้ำได้น้อย ถึงมีประจุฟองก็น้อยครับ…

– ความอ่อนโยนขึ้นอยู่กับชนิดของสารลดแรงตึงผิวเท่านั้น จริงหรือไม่…?
สารลดแรงตึงผิวเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการรุนแรงของผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ในบางกรณีที่มีการกล่าวขานกันอย่างน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก Forward mail ว่าสารจาก SLS (Sodium Lauryl Sulfate) และ SLES (Sodium Laureth Sulfate) ซึ่งเป็นสารคนละตัวกันเนี่ย มีความรุนแรงก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหน้า และดวงตาได้นั้นเป็นจริงอยู่ถ้าเราใช้ความเข้มข้น 20% ขึ้นไป ซึ่งสารกลุ่มนี้คงไม่มีใครปรับสูตรให้มากกว่า 20% ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้าแน่นอน เนื่องจากฟองอันมหาศาล และความสามารถอันเป็นเยี่ยมยอดในการทำความสะอาด จึงเป็นจุดที่สารเหล่านี้โดนโจมตีโดยไม่มีเหตุผล
โดยมากการใช้สารตัวนี้ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้าใส่ไม่เกิน 5% ครับ ถ้าเกินก็โยนทิ้งมันเลยครับ
สารลดแรงตึงผิวประเภท Betaine ซึ่งเป็นกลุ่มสารลดแรงตึงผิว 2 ประจุ (มีบวก/ลบในตัวเดียวกัน) พวกนี้อ่อนโยนต่อตาและผิวหนังเช่นกันครับ แต่ส่วนใหญ่จะใส่กันไม่เกิน 5% ครับ เพราะแพงและฟองน้อย แต่จะเพิ่มฟองและความหนืดให้ SLES ได้ครับ
แต่สารลดแรงตึงผิวไม่มีประจุบางชนิด เช่น พวก Sorbitan, Tween เหล่านี้ไม่มีความระคายเคืองแน่นอน ถึงใช้ 100% เนื่องจากส่วนที่ชอบน้ำเป็นโมเลกุลของน้ำตาล หรือเป็นอนุพันธ์ของโมเลกุลของน้ำตาลทำให้เข้ากับผิวหนังได้ดีครับ แต่ราคาแพงมาก ขนาดผมซื้อ Lamesoft PO 65 ที่ฮ่งฮวด ราคาโลนึงตั้ง 209 บาทแน่ะ เทียบกับ SLES โลละ 70 บาทเอง 555
สารลดแรงตึงผิวชนิดที่ไม่ มีประจุอีกพวกหนึ่ง คือ พวก PEG (ตามด้วยตัวเลข เช่น 40, 60, 80 อะไรก็ตาม) แล้วลงท้ายด้วย Stearate, Laurate, Oleate ดังนี้ ถ้าเป็นเกรดเครื่องสำอางค์ก็เบาใจได้ แต่ถ้าเป็นเกรดอุตสาหกรรมก็อาจจะได้ dioxane เป็นสารปนเปื้อนที่มีความระคายเคืองอยู่บ้าง เป็นต้นเหตุของการแพ้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้)
ความระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ ล้างหน้านอกจากเกิดจากสารลดแรงตึงผิวแล้ว ยังเกิดจาก pH balance ที่ไม่สมดุล (คือ pH ห่างจาก 5.0-5.5 มากๆ ซึ่งเป็น pH ของผิวหน้าบุคคลปกติทั่วไป) อีกด้วย
อีกปัจจัยหนึ่งที่ควรระมัด ระวังคือ การตกค้างของสารลดแรงตึงผิวที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การล้างหน้าด้วยสบู่ในน้ำกระด้าง เพราะอาจจะทำให้เกิดคราบไคลสบู่ตกค้างในรูขุมขนเป็นเหตุทำให้เกิดสิวอุดตัน ได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นสบู่ที่เกิดจากการต้มไขมันด้วยโซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือด่างคลี (Potassium hydroxide) ก็ไม่ควรที่จะใช้ล้างหน้าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสบู่เด็กก็ตาม
เนื่องจากน้ำประปาเองก็มีค่าความกระด้างอยู่ประมาณ 100-150 ppm CaCO3 ดังนั้นสบู่จะดีหรือแพงแค่ไหน จะเป็นสบู่ใสหรือขุ่น ถ้าเป็นเบส Sodium หรือ Potassium ของ Stearate, Oleate, Laurate ก็ไม่ควรใช้ล้างหน้าด้วยประการใดๆทั้งปวง แต่ยกเว้นพวกสบู่ Sodium Sulfonate ของพวก Acne Aid นะครับ…
+ ดังนั้นฟันธงว่าสารลดแรงตึงผิวไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองครับ

– ควรจะเลือกแบบไหนดี…?
จริงๆแล้วจะให้ฟัน ธง ผมก็ไม่ใช่กูรูด้านเครื่องสำอางค์ครับ ดังนั้นการจะเลือกก็ควรจะพิจารณาตัดเอาตัวที่สงสัยว่าจะระคายเคืองออกก่อน เนื่องจากเป็นการเสี่ยงต่อการหน้าแหกมากครับ โดยการพิจารณาดังนี้…
1. มี SLES ไม่ควรเกิน 5% แต่ถ้าไม่มีสารตัวนี้ก็ไม่เป็นไร และควรจะมีสารลดแรงตึงผิวตัวอื่นผสมเพื่อลดโอกาสการระคายเคือง เช่น Cocamidopropyl Betaine, Sodium Methyl Cocoyl Taurate, PEG-7 Glyceryl Cocoate, Decyl Glucoside, Cetyl Alcohol, Stearyl Alcohol เป็นต้น แล้วควรจะมีส่วนผสมของกลีเซอรีนหรือ Sodium PCA เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นครับ
2. Sodium cocoyl isethionate, Sulfosuccinate แม้จะเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุเป็นลบก็มีความอ่อนโยนสูงครับ แต่ควรจะมีส่วนผสมของกลีเซอรีนหรือ Sodium PCA เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นครับ
3. สารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุส่วนใหญ่เหมาะสมกับการล้างหน้า ค่า HLB ไม่ควรต่ำกว่า 10 ครับ เพราะจะเกิดการล้างไขมันออกเกินความจำเป็น ถ้าสงสัยค่า HLB ของสารลดแรงตึงผิว ก็พิมพ์เข้า google เป็นชื่อสารตัวนั้นตามด้วย HLB ครับ อีกกลุ่มหนึ่งถึงแม้ว่าค่า HLB สูงกว่า 10 ก็ไม่ควรใช้ คือ กลุ่ม Nonyl หรือ Octyl phenol ethoxylate เพราะมีความระคายเคืองสูงมาก แต่อย่างไรก็ตามผมก็มีค่า HLB ของสารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุหลายๆตัว อาจจะเอาเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาได้ครับ
4. จากข้อ (3) กฏเกณฑ์นี้ใช้ไม่ได้กับ Oil cleansing lotion, Lotion หรือ Mosturizing cream นะครับ เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำมันสูงนั้นสามารถที่จะทดแทนปริมาณน้ำมันที่สูญ เสียไปอยู่แล้วนะครับ
5. น้ำหอมและสารกันบูดเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำผลิตภัณฑ์พวกนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็พยายามเลือกกลิ่นที่อ่อนที่สุด ส่วนสารกันบูดไม่ค่อยมีกรณีแพ้สักเท่าไรครับ