ธาตุโปแตสเซี่ยม K

เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิดในดิน พืชจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ต้องอยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือ “โปแตสเซี่ยม ไอออน” เท่านั้น อนุมูลโปแตสเซี่ยมในดินอาจจะอยู่ใน “น้ำในดิน” หรือถูกยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียว (เป็นส่วนใหญ่) ดังนั้นดินที่มีเนื้อละเอียด อย่างดินเหนียวจึงมีปริมาณธาตุอาหารโปแตสเซี่ยมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ อย่างดินทราย หรือดินร่วนปนทราย (แม้ว่าจะถูกดูดยึดจากอนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชก็สามารถดึงธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ พอๆ กับที่มันละลายอยู่ใน น้ำในดิน)

ความสำคัญ
ธาตุโปแตสเซี่ยม จะกระตุ้นการทำงานของเอมไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่างๆ ได้แก่ การสังเคราะห์แสง การหายใจ การสังเคราะห์แป้ง และการสังเคราะห์โปรตีน รวมทั้งควบคุมแรงดันภายในเซลล์ (การดูดน้ำ และการเปิดปิดของปากใบ) ยังช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชหนา ผลผลิตเก็บรักษาได้นานขึ้น
ประโยชน์ของธาตุโปแตสเซี่ยมต่อพืช

1.ใช้ในกระบวนการสร้างและสังเคาระห์ แป้งและน้ำตาล
2.เป็นธาตุที่ช่วยในเคลื่อนย้าย อาหารพวกแป้งและน้ำตาล (เพิ่มเท่าตัว) ไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเจริญเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงไว้ที่ราก หัว หรือลำต้น (ฉะนั้นพืชพวก อ้อย มะพร้าว มัน จึงต้องการธาตุโปแตสเซี่ยมสูงมาก)
3.หน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการหายใจ (ถ้าแสงน้อย เช่น หน้าฝน อากาศหนาว พืชจะต้องการธาตุนี้มาก)
4.ช่วยเพิ่มคุณภาพ พืชผักและผลไม้
5.ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด
อาการเมื่อพืชขาดธาตุอาหารโปแตสเซี่ยม
1.พืชหัว หัวจะลีบ (มะพร้าวไม่มัน อ้อยไม่มีน้ำตาล) เมล็ดลีบ น้ำหนักเบา หัวมีแป้งน้อย(น้ำมาก) ผลไม้เนื้อจะฟ่าม
2.พืชมักเหี่ยวง่าย (เมื่อความชื้นต่ำ) แคระแกร็น ใบพืชมีสีซีด ใบล่างๆ เหลืองและเกิดเป็นรอยไหม้ตามขอบใบ (เริ่มจากปลายใบมีสีน้ำตาลและลามเข้าหาโคนใบ ตามแนวขอบใบ)
ข้อสังเกตุ
พืชที่ปลูกในดินทรายที่เป็นกรดรุนแรง มักจะมีปัญหาขาด ธาตุโปแตสเซี่ยม แต่พืชที่ปลูกในดินเหนียวมักจะมี โปแตสเซี่ยมเพียงพอ และไม่ค่อยมีปัญหาที่จะต้องใส่ปุ๋ยนี้เท่าใดนัก