เป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า”จุลธาตุ” มีความสำคัญต่อพืชคล้ายๆ ธาตุเหล็ก กล่าวคือ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ หลายชนิด  ช่วยในขบวนการอ็อกซิเดชั่น – รีดั๊กชั่น ในขบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ (เป็นองค์ประกอบของคลอโรพลาสต์) (มีส่วนใน ขบวนการ Metabolism ของ Fe และ N)

Read More

เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า “จุลธาตุ”
ธาตุเหล็กจะพบในดินมาก แต่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชนต่อพืช ซึ่งปัญหาในการขาดธาตุเหล็กในพืชไม่ใช่เพราะธาตุเหล็กในดินมีปริมาณน้อย แต่เกิดจากการไม่ละลายและความไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็กในดิน เช่นดินที่มีความเป็นกรดด่างมากๆ ธาตุเหล็กจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลย แต่ในดินที่มีน้ำขังจะให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น ธาตุเหล็กพืชจะนำไปใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5-5.6 ถ้าต่ำกว่านี้จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะมะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลแตงต่างๆ เมื่อรับธาตุเหล็กมากเกินไป ใบจะด่างลาย (คล้ายกับอาการ Mosaic) หยุดการเจริญเติบโต ใบม้วนลงด้านล่าง ซีดเหลืองทั้งใบ (ดินที่มีธาตุเหล็กมากเกินจนเป็น อันตรายต่อพืชได้แก่ ดินทราย ดินลูกรังที่มีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม)

Read More

เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ขาดไม่ได้ หรือเรียกว่า “จุลธาตุ”
สังกะสีจะทำหน้าที่ร่วมในกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น ของเซลล์พืช ช่วยในการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท การควบคุมการใช้น้ำตาลของพืช เป็นตัวร่วมในการผลิตคลอโรฟิลล์ และเป็นส่วนประกอบของอ๊อกซิน และฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ธาตุสังกะสีจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
1.ขบวนการ การสังเคราะห์แสง และการสร้างน้ำตาล
2.การสังเคราะห์โปรตีน
3.การเจริญพันธุ์ และการเพาะเมล็ด
4.การเจริญเติบโตของพืช
5.การตัานทานต่อโรคพืช

Read More

เป็นจุลธาตุที่สำคัญต่อพืชธาตุหนึ่ง แม้ว่าพืชจะดูดดึงไปใช้น้อยกว่า ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี เนื่องจากธาตุทองแดงมีบทบาทสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ ระบบหายใจของพืช ระบบระเหยน้ำ ช่วยในการสืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์ หลายชนิด นอกจากนั้นยังพบว่าธาตุทองแดงยังเป็นตัวช่วยทำให้ธาตุอื่น บางชนิดเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วยธาตุทองแดงที่อยู่ในดินจะมีหลายสภาพ เช่น ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ (อยู่ที่ผิวของคอลลอยด์) บางส่วนอยู่ในสภาพสารประกอบอินทรีย์ (ซึ่งละลายได้ยาก พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้)) และอยูในสภาพไอออนละลายอยู่ในดิน (พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้)

Read More

เป็นจุลธาตุ ที่ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ (ทำให้การทำงานของไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น) และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ธาตุโมลิดินั่ม จะเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ซึ่งจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนไนเตรต ไปเป็น ไนไตรต์ (หน้าที่การควบคุมไนเตรตในพืช) เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอย่างยิ่งในพืชตระกูลถั่ว (การตรึงไนโตรเจน) และธาตุโมลิดินั่มยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผลไม้แก่เร็ว สุกเร็วขึ้น ในผลไม้ที่มีสารไนเตรตสูง จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไนเตรตให้เป็นกรดอะมิโน เป็นโปรตีน และเป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้มีรสหวาน

ดินที่มีปุ๋ยคอก (มูลสัตว์ต่างๆ) หรือดินที่มีการปลูกพืชคลุมอยู่หนามากๆ มักจะมีธาตุโมลิดินั่มอย่างพอเพียงและอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตได้ ความต้องการธาตุโมลิดินั่มในพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และพวกหญ้าต่างๆ เป็นพืชที่มีโมลิดินั่มประกอบอยู่สูง เมื่อเทียบกับพืชอย่างอื่นพวกวัชพืชต่างๆ จะมีปานกลาง ที่มีต่ำสุดได้แก่ พวกผักกาดต่างๆ (ในบรรดาผักทั้งหมด ปรากฎว่ากะหล่ำดอกเป็นผักที่ไวต่อการขาดธาตุโมลิดินั่ม มากที่สุด)

Read More

ธาตุคลอรีน จะมีทั่วๆไปในดิน เกลือ และในอากาศ ซึ่งจะละลานน้ำได้ดี พอๆ กับเกลือไนเตรต คลอรีนในอากาศจะอยู่ในรูปของก๊าซ เช่นเดียวกับ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน

หน้าที่ความสำคัญของธาตุคลอรีน
หน้าที่ที่แท้จริงของธาตุคลอรีนในพืชนั้น ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ลงความเห็นว่า ธาตุคลอรีนมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น (มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช)

อาการของพืชเมื่อขาดธาตุคลอรีน
พืชมักจะไม่แสดงอาการ การขาดธาตุคลอรีนมากนัก เพราะในดินมีปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ปุ๋ย โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ (KCl) ที่เรานิยมใช้อยู่ก็มีองค์ประกอบของธาตุคลอรีนรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จากการทดลองพบว่าพืชที่ได้รับธาตุคลอรีนไม่เพียงพอ จะแสดงอาการ ใบเหี่ยวด่างลาย แผลจุด และมีสีบรอนซ์
– พบว่า ผักกาดหอมห่อ และซูการ์บีท จะมีความไวต่อการขากธาตุคลอรีนมากที่สุด (ตามลำดับ) โดยถ้าขาดจะแสดงอาการที่เนื้อใบอ่อนที่อยู่กลางๆ ของต้น สีจะซีดจางลงและด่างลายเป็นร่างแห

ธาตุโบรอน เป็นธาตุอาหารพืชที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็จำเป็นในพืชผักทุกชนิด ในการเจริญเติบโต พืชแต่ละชนิด ต้องการธาตุโบรอนในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แร่ที่มีธาตุโบรอนเป็นองค์ประกอบได้แก่ บอแรกซ์ ทัวร์มาลีน ซึงพบว่ามีธาตุโบรอนอยู่มาก และเป็นสารที่ละลายน้ำได้ยาก และทนต่อการกัดกร่อน จึงทำให้การปลดปล่อยธาตุโบรอนจากต้นกำเนิด ค่อนข้างยากและช้า ทำให้ดินขาดธาตุโบรอนมากขึ้น เมื่อมีการปลูกพืชอย่างต่อเนื่องโดยไม่ปล่อยให้ดินพักตัว

หน้าที่ความสำคัญของธาตุโบรอนในพืช
ธาตุโบรอนแม้ว่าพืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ธาตุอาหารหลักของพืช เนื่องจากโบรอน ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและลิกนิน ควบคุมการสร้างการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท และการแบ่งเซลล์ และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญในพืช  การยึดตัวของรากพืชบางชนิดและมีความสำคัญในการสร้างปมรากพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ธาตุโบรอนยังมีความเกี่ยวพันกับธาตุอาหารอย่างอื่นด้วย เช่น
– เมื่อขาดธาตุโบรอน จะทำให้พืชดูดซึมธาตุ โปแตสเซี่ยม ขึ้นมาจากดินมากเกิความต้องการของพืช จนอาจเกิดอันตรายหรือเป็นพิษต่อพืชได้
– เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของธาตุแคลเซี่ยม ให้เกิดอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (หากพืชพืชได้รับธาตุแคลเซี่ยมน้อยไม่สมดุลย์กับธาตุโบรอน ก็จะทำให้พืชแสดงอาการโบรอนเป็นพิษ)
– ช่วยลดการเป็นพิษ อันเกิดจากการที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป

Read More

นักวิชาการเกษตร ไขข้อสงสัย ✔️ พาราควอต ‼️

พาราควอตเป็นพิษ กัญชาเป็นพิษ ยาพาราเซตามอลเป็นพิษ น้ำเปล่าเป็นพิษ หากรับเข้าร่างกายเป็นปริมาณมากเกินไป จะเปลี่ยนสรรพคุณจากคุณเป็นโทษ ดังนั้น อันตรายจึงเกิดจากการทำงานกับสารเคมีเหล่านี้ แล้วรับเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ อย่างไร สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จึงขอนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ พาราควอต โดยศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมไทย

Read More

ขึ้นชื่อว่าสารเคมี โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดวัชพืช เมื่อนำมาใช้ในไร่นา พืชอาหาร หลายคนคงรู้สึกกลัวสารตกค้าง กลัวอันตราย พาราควอตเป็นหนึ่งในสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีการจำหน่ายและใช้งานมานานกว่า 50 ปี โดยนิยมใช้กำจัดวัชพืชในสวนผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชไร่ที่ปลูกเป็นแถว เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และพื้นที่นอกการเกษตร เช่น คันนา ทางส่งน้ำชลประทาน ปัจจุบันสิทธิบัตรสารพาราควอตหมดอายุสัญญา จึงมีหลายบริษัทนำเข้าพาราควอตเพื่อผลิตสารกำจัดวัชพืช ทำให้ช่วงนี้เรื่องราวของพาราควอตเป็นกระแสมากมาย พาราควอตจะอันตรายจริงหรือไม่ เราควรยกเลิกการใช้ พาราควอตหรือไม่ ศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา (รูปซ้ายมือ) อดีตอาจารย์จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคำตอบให้เรา

Read More

1. พาราควอต ไกลโฟเซต และกลูโฟสิเนต เป็นสารประเภทใช้พ่นทางใบหลังจากวัชพืชงอกแล้ว และกำจัดวัชพืชแบบไม่เลือกทำลายเหมือนกัน แต่การตายของวัชพืชมีรายละเอียดที่ต่างกัน

2. พาราควอต มีกลไกเข้าไปยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ทำลายเฉพาะส่วนลำต้นและใบที่มีสีเขียว แต่ส่วนลำต้นที่เป็นสีน้ำตาลจะปลอดภัย

ระยะปลอดฝนหลังพ่น 30-60 นาที

ไม่เคลื่อนย้ายในต้นพืช
เข้าใจง่ายๆ คือโดนตรงไหน ตายตรงนั้น พ่นไม่ทั่ววัชพืชก็ไม่ตาย

พืชแสดงอาการแห้งตายภายใน 1 วัน

ในบางประเทศ เช่นอเมริกา บราซิล ใช้พ่นให้พืชใบร่วงก่อนเก็บเกี่ยว เข่น ถั่วเหลือง และ ฝ้าย

Read More