คาร์บาเมต (carbamates) เป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มหนึ่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน สารเคมีในกลุ่มนี้ตัวแรกที่มีประวัติในการใช้ ก็คือ อีเซอรีน (eserine) หรือ ฟัยโสสติกมีน (physostigmine) สารนี้เป็นสารพิษที่พบในเมล็ดถั่วคาลาบาร์ (Calabar beans) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เลกูมิโนเซ (Leguminosae) จากอาฟริกาตะวันตก เมล็ดถั่วคาลาบาร์นี้จะใช้กระบวนการทางกฎหมาย โดยผู้ที่ตกเป็นต้องสงสัยในคดีต่างๆต้องรับประทานยาที่ปรุงจากเมล็ดถั่วนี้ ถ้าสามารถรอดชีวิตได้จะถือว่าไม่มีความผิด การทดสอบนี้ทำเพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ มากกว่าเป็นการลงโทษ

อีเซอรีน เป็นสารยับยั้งอะเซทิลโคลิเนสเทอเรส (acetylcholinesterase inhibitor) ตัวแรกที่เป็นที่รู้จัก โดยในหนู มีขนาดที่ทำให้ประชากร 50% ตาย หรือที่เรียกว่า แอลดี50 (LD50) เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยการกิน และ 0.64 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง

Read More

ศัตรูตัวร้ายของการเพาะปลูก  ในช่วงปีที่ผ่านมาอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ  ทำให้การระบาดของเพลี้ยไฟ ตลอดทั้งปี   สร้างความเสียหายมากมาย  การตรวจพบการระบาดตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันกำจัด

หลักในการจัดการก็คือ  เราต้องเดินตรวจสวนเองทุกวัน  ถ้าตัดไม้เอง  กำไม้เองก็ยิ่งดีใหญ่   เพราะเราจะได้พบเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่ม  การป้องกันกำจัดสามารถทำได้ทันทีทันเหตุการณ์  โดยปกติ เพลี้ยไฟ จะเกิดระบาดทำลาย ด้านใดด้านหนึ่งของสวนก่อนจะขยายตัวระบาดไปทั่วทั้งสวน

เราจะพบ เพลี้ยไฟ บริเวณยอดช่อดอกและในดอกบาน  ปลายยอดช่อดอกจะบิดงอ  สีดอกจะซีดจาง  ชาวสวนบางคนเรียก เพลี้ยไฟ ว่า ตัวกินสี  ตามอาการที่เกิดกับกลีบดอก  เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กราวๆปลายเข็ม  วัยแรกจะมีสีลำตัวขาวขุ่น  วัยสองมีสีขาวใส  วัยสามสีจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใส ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองเข้ม ขนาดลำตัวยาว 0.8 – 1.0 มิลลิเมตร บริเวณส่วนหลังจะเห็นปีกชัดเจน

Read More

แมลงศัตรูพืช : เพลี้ยไฟ
ชีวินทรีย์/สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช : อิมิดาคลอพริด (10% เอสดี) / อะบาเมคทริน (1.8% อีซี) / ฟิโบรนิล (5% เอสดี) / ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน
(28.75% อีซี)
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร : อิมิดาคลอพริด (10% เอสดี) 10-20 มล.ล. / อะบาเมคทริน (1.8% อีซี) 10-20 มล.ล. / ฟิโบรนิล (5% เอสดี) 20 มล.ล. / ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน(28.75% อีซี)40 มล.ล.
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง :
– อิมิดาคลอพริด (10% เอสดี) พ่น 5-7 วัน ในฤดูร้อนหรือ7-10วันในฤดูฝน เมื่อพบเพลี้ยไฟมากกว่า 10ตัว/40 ช่อดอก หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว (วัน) : 14
– อะบาเมคทริน (1.8% อีซี) พ่น 5-7 วัน ในฤดูร้อนหรือ7-10วันในฤดูฝน เมื่อพบเพลี้ยไฟมากกว่า 10ตัว/40 ช่อดอก หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว (วัน) : 7
– ฟิโบรนิล (5% เอสดี) พ่น 5-7 วัน ในฤดูร้อนหรือ7-10วันในฤดูฝน เมื่อพบเพลี้ยไฟมากกว่า 10ตัว/40 ช่อดอก หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว (วัน) : 7
– ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน(28.75% อีซี) พ่น 5-7 วัน ในฤดูร้อนหรือ7-10วันในฤดูฝน เมื่อพบเพลี้ยไฟมากกว่า 10ตัว/40 ช่อดอก หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว (วัน) : 5

Read More

ความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides toxicity) คือ คุณสมบัติของสารกำจัดศัตรูพืชในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรืออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อาจเกิดกับศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมาย และเกิดกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมายได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ เช่น แมลงผสมเกสร แมลงตัวห้ำ ไรตัวห้ำ แมลงเบียน สัตว์ขาปล้องต่างๆ สิ่งมีชีวิตในน้ำ การนำสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาใช้ประโยชน์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิธีการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งตัวเกษตรกรผู้ใช้ ผู้คน สัตว์เลี้ยง ดังนั้นข้างฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะต้องมีคำเตือน เช่น พิษต่อปลา พิษต่อผึ้ง รวมทั้งวิธีการรักษาหากได้รับพิษ อย่างไรก็ตามอันดับแรกที่จะต้องนำมาพิจารณา คือความเป็นพิษและความเป็นอันตรายต่อคนของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Read More

การผสมสารเคมี มากกว่า 2 ชนิด จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

1. ฤทธิ์เพิ่มขึ้น (Synergistic effect) ความหมายคือ หลังจากที่สารเคมี 2 ชนิด ผสมกันแล้วเกิดปฏิกิริยาเคมีในทางที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น หรือทำให้เพิ่มฤทธิ์ในการฆ่าศัตรูพืชมากขึ้น เกิดจากการเพิ่มฤทธิ์ทางเคมี (ซึ่งแตกต่างจากการใช้สารเสริมฤทธิ์ (Adjuvants) ที่เสริมคุณสมบัติทางกายภาพทำให้สารเคมีแทรกซึมใบพืช หรือเข้าตัวแมลงได้ดี ซึ่งจะนำเสนอเรื่อง สาร Adjuvants ในโอกาสหน้า) การที่สารเคมีที่เพิ่มฤทธิ์กันได้นั้น ที่จริงแล้วต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นพิษโดยการทำการทดสอบ Bio-assay กับแมลงศัตรูพืชของสารเดี่ยวแต่ละตัวก่อน โดยหาอัตราหรือความเข้มข้นที่ทำให้แมลงตาย 50% (LD50 หรือ LC50) หลังจากนั้นนำสารเคมี 2 ชนิดนั้น มาผสมกัน (การผสมจะมีอัตราส่วนของสารออกฤทธิ์ เช่น 1:1 1:2 2:1 1:10 ฯลฯ) แล้วคำนวณค่าความเป็นพิษ ซึ่งการหาค่าระดับความเป็นพิษจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตรา(หรือความเข้มข้น)ของสารกับอัตราการตายของแมลง (Dosage-mortality) คำนวณตามวิธีการของ Finney (1971) ที่เรียกว่า Probit Analysis แล้วคำนวณให้ได้ค่า Co-toxicity Coefficient (CTC) ตามวิธีของ Sun และคณะ (1960) ซึ่งเป็นรายละเอียดเชิงลึก จะไม่ขอกล่าวในที่นี้

Read More

คำว่า “ยาร้อน” “ ยาเย็น” เป็นการตอบสนองของพืช ที่แสดงออกหลังจากที่มีการพ่นสารเคมี โดยเฉพาะสารกำจัดแมลง ไรศัตรูพืช สารกำจัดโรคพืช และสารกำจัดวัชพืช (แต่ในที่นี้ผู้เขียนเน้นไปที่สารกำจัดแมลง ไรศัตรูพืช สารกำจัดโรคพืช จะไม่รวมถึงสารกำจัดวัชพืช เนื่องจากสารกำจัดวัชพืชมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปกำจัดพืชที่ไม่ต้องการ ดังนั้นอาจมีผลกระทบต่อพืชหลัก หรือพืชประธานได้ ถ้าสารกำจัดวัชพืชนั้นไม่เลือกทำลาย หรือเลือกทำลาย แต่มีการใช้อัตราสูงมากกว่าคำแนะนำ หรือมีผลข้างเคียงต่อพืชประธาน หรือพืชที่นำมาปลูกต่อภายหลังเก็บเกี่ยวแล้ว) ดังนั้นจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับอาการที่พืชแสดงออกภายหลังจากพ่นสารกำจัดศัตรูพืชไปแล้ว คือ ความเป็นพิษต่อพืช (Phytotoxicity) และผลข้างเคียง (Side effect)

Read More

ควรจะโหลด “สารกำจัดศัตรูพืช” มาดูประกอบจะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท 1B ออแกโนฟอสฟอรัส 2A ออแกโนคลอรีน
กลุุ่ม 1A ออกฤทธิ์สัมผัส — กินตาย (Contact — Stomach)
คาร์บาริล (LD50 = 850 mg/kg…..MRLs = 0.01 ppm.) พระเอกตลอดกาล
ฟีโนบูคาร์บ (LD50 = 700 mg/kg) — ไอโซโพรคาร์บ (LD50 = 400 mg/kg) กำจัดเพลี้ยในนาข้าว มีหลากหลายทั้งความเข้มข้นและสูตรผสม (concentration & combination)
เบนฟูราคาร์บ (LD50 = 138 mg/kg….MRLs = 0.02 ppm.) เป็นตัวสลับสำหรับเพลี้ยไฟ และตัวเลือกสำหรับไส้เดือนฝอย
อะลานีคาร์บ (LD50 = 440 mg/kg) ไม่มีข้อมูลครับ รู้แต่ว่าเอามาขายพ่วงกับ ฮาชิ-ฮาชิ
ฟอร์มีทาเนท LD50 = 15 mg/kg… MRLs = 0.05 ppm.) ได้ทั้งเพลี้ยไฟและไรแดง แต่หาซื้อยากหน่อย
เมทธิโอคาร์บ (LD50 = 100 mg/kg…MRLs = 0.2 ppm.) พระเอกของเพลี้ยไฟในอดีต ชาวสวนแตงโมรู้จักดีทุกคน มีฤทธิ์ข้างเคียงกับไร ไล่นก หอยทาก
ออกซามิล (LD50 = 50 mg/kg…MRLs = 0.05 ppm.) ดูปองค์ขึ้นทะเบียนใหม่ในรูป 5%G มาใช้กับไส้เดือนฝอย
โพรโพเซอร์ ทำตลาดน้อยมาก เน้นขายให้ใช้กับแมลงในบ้านเรือน

กลุ่ม 4A อิมิดาคลอพริด — ไทอามีโทแซม (สลับในกลุ่มเดียวกัน อะเซทามิพริด — ไทอะคลอพริด)……กลุ่ม 9 ไพมีโทรซิน — ฟลอนิคามิด…….กลุ่ม 16 บูโพรเฟซิน……ใช้กลุ่ม 1B คลอไพรีฟอส — อะซีเฟท + กลุ่ม 3A ไซฟลูทริน — ไซฮาโลทริน อื่นๆ เข้ามาสลับบ้าง จะได้มีสารฯเอาไว้ใช้ได้นานๆ