โรค : โรคเน่าดำ / โรคยอดเน่า /โรคเน่าเข้าไส้
สารป้องกัน กำจัดโรคพืช : ฟอสฟอรัส แอซิด / เมทาแลกซิล (25% ดับบลิวพี) / ฟอสอีทิลอะลูมิเนียม (80% ดับบลิวพี)
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร : ฟอสฟอรัส แอซิด 30-50 มิลลิลิตร / เมทาแลกซิล (25% ดับบลิวพี) 40กรัม / ฟอสอีทิลอะลูมิเนียม (80% ดับบลิวพี)25-50 กรัม
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง :
– ฟอสฟอรัส แอซิด ควรพ่นในช่วงที่แดดไม่จัด หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว(วัน) : –
– เมทาแลกซิล (25% ดับบลิวพี) ไม่ควรผสมกับปุ๋ยและสารเคมี อื่นๆ ควรพ่นสลับกับสารเคมีอื่น หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว(วัน) : 10
– ฟอสอีทิลอะลูมิเนียม (80% ดับบลิวพี) ไม่ควรผสมกับปุ๋ย หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว(วัน) : 10

Read More

ความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides toxicity) คือ คุณสมบัติของสารกำจัดศัตรูพืชในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรืออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อาจเกิดกับศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมาย และเกิดกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมายได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ เช่น แมลงผสมเกสร แมลงตัวห้ำ ไรตัวห้ำ แมลงเบียน สัตว์ขาปล้องต่างๆ สิ่งมีชีวิตในน้ำ การนำสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาใช้ประโยชน์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิธีการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งตัวเกษตรกรผู้ใช้ ผู้คน สัตว์เลี้ยง ดังนั้นข้างฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะต้องมีคำเตือน เช่น พิษต่อปลา พิษต่อผึ้ง รวมทั้งวิธีการรักษาหากได้รับพิษ อย่างไรก็ตามอันดับแรกที่จะต้องนำมาพิจารณา คือความเป็นพิษและความเป็นอันตรายต่อคนของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Read More

คำว่า “ยาร้อน” “ ยาเย็น” เป็นการตอบสนองของพืช ที่แสดงออกหลังจากที่มีการพ่นสารเคมี โดยเฉพาะสารกำจัดแมลง ไรศัตรูพืช สารกำจัดโรคพืช และสารกำจัดวัชพืช (แต่ในที่นี้ผู้เขียนเน้นไปที่สารกำจัดแมลง ไรศัตรูพืช สารกำจัดโรคพืช จะไม่รวมถึงสารกำจัดวัชพืช เนื่องจากสารกำจัดวัชพืชมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปกำจัดพืชที่ไม่ต้องการ ดังนั้นอาจมีผลกระทบต่อพืชหลัก หรือพืชประธานได้ ถ้าสารกำจัดวัชพืชนั้นไม่เลือกทำลาย หรือเลือกทำลาย แต่มีการใช้อัตราสูงมากกว่าคำแนะนำ หรือมีผลข้างเคียงต่อพืชประธาน หรือพืชที่นำมาปลูกต่อภายหลังเก็บเกี่ยวแล้ว) ดังนั้นจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับอาการที่พืชแสดงออกภายหลังจากพ่นสารกำจัดศัตรูพืชไปแล้ว คือ ความเป็นพิษต่อพืช (Phytotoxicity) และผลข้างเคียง (Side effect)

Read More

โรคราแป้ง Powdery mildew

อาการโรค

เชื้อราจะเข้าทำลายและเจริญเติบโตได้บนทุกส่วนของต้นแตงที่อยู่เหนือดินโดยจะเกิดอาการเป็นผงหรือฝุ่นแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตรงจุดที่เกิดโรค ในระยะแรกเนื้อเยื่อตรงที่เกิดอาการขึ้นนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งเป็นมากเชื้อราขึ้นคลุมไปหมด สีของต้นเถาหรือใบจะค่อยๆ ซีดเหลืองแล้วแห้งในเวลาต่อมา โดยเฉพาะถ้าเป็นส่วนที่ยังอ่อนอยู่อาจจะตายได้ สำหรับลูกหรือผลแตงอาการโรคจะเกิดขึ้นน้อยกว่าบนต้นและใบนอกจากพวกที่ติดโรคง่าย เช่น แตงโม แคนทาลูป และแตงร้าน ในรายที่เกิดโรครุนแรง และสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ก็จะเกิดโรคขึ้นที่ลูกได้เช่นกัน และอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลูกยังเล็ก หรืออ่อนอยู่โดยจะทำให้เกิดอาการแกร็น บิดเบี้ยว เสียรูปทรงผิวขรุขระ เป็นตุ่มหรือแผลขึ้นที่เปลือก ส่วนในลูกที่เจริญเติบโตเต็มที่ เมื่อเป็นโรคก็จะทำให้เกิดความไม่น่าดู ขายไม่ได้ราคา

Read More

…..สาเหตุเกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกมักจะเป็นมากบนใบแก่ เริ่มแรกจะเกิดปื้นสีเหลืองอ่อนที่ใบ จากนั้นกลางแผลเนื้อเยื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน
หากไม่มีการควบคุมการระบาดของโรค เนื้อใบที่เกิดเป็นปื้นสีเหลืองอ่อนจะไหม้แห้งไปเป็นสีน้ำตาลทั้งใบ และถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
ขนาดแผลจะขยายกว้างขึ้น และแผลอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ทำให้เกิดอาการใบแห้งครับ

…..โรคใบไหม้นี้ทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของผลผลิตต่ำลง เพราะเมื่อเกิดโรคแล้วใบที่แสดงอาการโรคไม่สามารถส่งจัดจำหน่ายได้ โรคนี้เกิดได้ทั้งใบแก่ และใบที่ขยายขนาดเต็มที่แล้ว แต่ไม่พบในใบอ่อนครับ

<<< การป้องกัน >>>

…..หว่านเมล็ดให้พอเหมาะ เมื่อพืชเจริญขึ้นมาแล้ว ไม่แน่นหรืออัดกันมากเกินไป
…..แนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วย ดูมาร์ค (เตตระโคนาโซล) ในอัตรา 30-40ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

1 สารคลอโรทาโลนิลจัดเป็นสารควบคุมโรคราน้ำค้าง ราแป้ง หรือใบจุด ในกุหลาบ โดยสารชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง
2. ฟอสอิทิลอะลูมิเนียม จัดเป็นสารควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า หรือโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราในใบ ข้อจำกัดคือห้ามพ่นในช่วงระยะออกดอก และผลอ่อน
3. สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และแบคทีเรีย เช่นโรคแคงเกอร์ ข้อจำกัดคือ ห้ามนำสารชนิดนี้ไปผสมกับสารอื่น
4. สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ สามารถควบคุมโรคได้กว้าง คุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติโตของเชื้อรา ข้อดีคือสามารถผสมเข้ากับสารตัวอื่นๆได้ และเมื่อละลายน้ำแล้วจะไม่มีตะกอน ขอแนะนำให้ฉีดพ่นเชิงป้องกันจะดีกว่าให้พืชแสดงอาการ
5. โรคใบจุดตากบในใบยาสูบ ขอแนะนำให้ใช้ คาเบนดาซิม สลับกับเบโนมิลหรือแมนโคเซบ จะดีกว่า ไม่ควรใช้สารคลอโรทาโลนิล เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของคลอไรด์ในใบขณะเก็บเกี่ยว
6. สารคาร์บอกซิม จัดเป็นสารควบคุมโรคในท่อนพันธุ์ ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าได้ดี ถ้าเป็นโรคราไยแมงมุมในแตงโม ขอแนะนำให้ใช้คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือคาร์เบนดาซิมจะดีกว่าครับ
7. สำหรับไรแดงนั้นแนะนำให้ใช้ อามีทราซ หรืออาบาเมกติน ก็พอเนื่องจากยังมีประสิทธิภาพดี ราคาถูก และหาซื้อได้งาย อีกทั้งไม่มีอาการเป็นพิษกับพืช ข้อสำคัญคือ อามีทราซยังสามารถเป็นสารคุมไข่ (Ovicide) ของไรได้อีกด้วย