1. ผักบุ้ง นำเมล็ดแช่น้ำก่อนประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง นำเฉพาะเมล็ดที่จมน้ำไปเพาะ
ผักบุ้งจะใช้เวลางอกประมาณ 5 – 14 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 18 – 25 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 – 25 วัน

2. คื่นช่าย นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วห่อด้วยผ้า หรือใส่กล่องพลาสติกถนอมอาหาร
ปิดฝาให้สนิทแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะตามปกติ จะทำให้
คื่นฉ่ายจะใช้เวลางอกประมาณ 5 – 7 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 15 – 20 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 80 วัน

Read More

ฮอร์โมนพืชเป็นสารเคมีภายในพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชไม่เพียงแต่การเจริญของพืชทั้งต้นเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชแต่ละส่วนด้วย     ในปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าฮอร์โมนพืชมีทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโต            ฮอร์โมนพืชที่พบในปัจจุบันคือออกซิน (Auxin)      จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)      ไซโตไคนิน(Cytokinins) กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA และ  เอทธิลีน (Ethylene) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซ

ฮอร์โมนพืชสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต  การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพและการพัฒนาของเนื้อเยื่อ และอวัยวะของพืชซึ่งได้รับฮอร์โมนนั้น ๆ คำว่า ฮอร์โมน นั้นเริ่มใช้โดยนักสรีรวิทยาของสัตว์ ซึ่งต่อมานักสรีรวิทยาของพืชได้นำมาใช้กับสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งสามารถมีผลกระทบในปริมาณที่น้อยมาก     โดยพืชจะสังเคราะห์ที่ส่วนหนึ่งแล้วเคลื่อนย้ายไปยังอีกส่วนหนึ่ง และมีผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นในการศึกษาทางด้านฮอร์โมนจึงมักศึกษาในแง่ของแหล่งและกระบวนการสังเคราะห์ การเคลื่อนที่และเคลื่อนย้าย และปฏิกิริยาของฮอร์โมนที่มีต่อพืช

Read More