ยาคุมไข่ จริงๆมันคือคำที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากง่ายๆ ซึ่งมันมาจากคุณสมบัติของกลุ่มสารเคมีที่มีผลต่อไข่ที่อยู่ในตัวเต็มวัยของตัวแม่ที่กำลังตั้งท้อง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า
(Transovarial Effect) อ่านว่า ทรานส์-โอ-วา-เรียล เอฟ-เฟค ส่งผลให้อัตราการวางไข่ การฟัก การโตเป็นตัวเต็มวัย น้อยลง

ซึ่งสารแต่ตัว ส่วนตัวพี่ควายจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามชนิดของแมลงศรัตรูพืชเอาที่เรารู้จักกันหลักๆคือ

1.ไร

2. หนอน

3.เพลี้ย

4.เพลี้ยไฟ

Read More

สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ยาฆ่าหญ้า” ในประเทศไทยมีใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแรงงานในภาค เกษตรกรรมมีลดลง จึงจำเป็นต้องนำสารเคมีเข้ามาทดแทนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาสารเคมีกลุ่มนี้ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพใน การกำจัดวัชพืชที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มของสารเคมีกำจัดวัชพืชหลายแบบ เช่น การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกพืช (pre-planting), สารเคมีที่ใช้หลังหว่านพืช (pre-emer gence) และสารเคมีที่ใช้หลังจากพืชงอกพ้นดินแล้ว (post-emer gence) หรือการแบ่งตามกลไกการเกิดพิษต่อพืช ได้แก่ สารเคมีที่มีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในการทำลายพืชบางชนิด (selective), สารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อสัมผัสถูกใบ (contact) และสารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช (translocated) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตามโครงสร้างของสารเคมี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพของสารเคมีแต่ละชนิดที่มีผลต่อการทำงานของพืช บทความนี้จึงขอแบ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชออก เป็นประเภทต่างๆตามกลไกการออกฤทธิ์ในพืช และแบ่งย่อยตามโครงสร้างทางเคมี พร้อมทั้งตัวอย่างของสารเคมีกำจัดวัชพืชในแต่ละประเภทที่มีจำหน่ายในประเทศไทย รวมทั้งความเป็นพิษต่อมนุษย์ ที่เกิดจากสารเคมีกลุ่มนี้ด้วย

Read More

กะเพราจัดเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) ใช้ทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ
กะเพรา
 Ocimum tenuiflorum L.
ชื่อพ้อง Ocimum sanctum
ชื่ออื่น (ไทย) กอมก้อดง, กอมก้อ, กะเพราขาว, กะเพราแดง, ห่อกวอชู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ
ชื่ออื่น (เทศ) Holy basil, Sacred basil, Tulsi (สันสกฤต), Tulasi (ฮินดู)

กะเพราเป็นพืชวงศ์ Lamiaceae หรือ Labiatae เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสี่เหลี่ยม (ลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์นี้) ลำต้นมีขน มีก้านสาขามาก สูง 12-24 นิ้ว

ใบรูปไข่ขอบหยักมีก้านใบ เรียงตัวแบบตรงข้าม มีสีเขียวหรือสีอมม่วง และมีกลิ่นหอมแรง
ดอกช่อยาวสีม่วงเป็นชั้นถี่ๆ ดอกย่อยมีสีชมพูแกมม่วง ดอกสั้นบานจากโคนช่อสู่ปลาย

กะเพราเป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า คือบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา ทั้งที่จงใจปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ การเพาะปลูกกะเพราเป็นไปเพื่อใช้งาน ทั้งด้านศาสนาและการแพทย์

Read More

น้ำมันหอมระเหยใบกะเพรา ผลิตจากใบกะเพราสายพันธ์ุ Ocimum tenuiflorum ด้วยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นของใบกะเพราสด ให้ความหอมสดชื่น ผ่อนคลาย น้ำมันหอมระเหยใบกะเพรามีความหนืดน้อย มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำ ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด โดยสัดส่วนของสารสำคัญแต่ละชนิดมากน้อยไปตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว แหล่งเพาะปลูก, สภาพอากาศ และสายพันธ์ุ

Read More

ปกติจะมีอยู่ในอากาศจำนวนมาก ในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ (ยกเว้นพืชตระถั่วเท่านั้นที่สามารถแปรรูปก๊าซไนโตเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมาก เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต สร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และวิตามินในพืช แหล่งของธาตุไนโตรเจนในดินคือ อินทรีย์วัตถุ

Read More

มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของรากพืช (จะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี) ควบคุมการออกดอกออกผล (ได้อย่างรวดเร็วขึ้น) และการสร้างเมล็ด ธาตุฟอสฟอรัสในดิน จะเกิดจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดใน และการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุในดินก็สามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ซึ่งการใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้ว ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย
การนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ของพืช

Read More

เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิดในดิน พืชจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ต้องอยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือ “โปแตสเซี่ยม ไอออน” เท่านั้น อนุมูลโปแตสเซี่ยมในดินอาจจะอยู่ใน “น้ำในดิน” หรือถูกยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียว (เป็นส่วนใหญ่) ดังนั้นดินที่มีเนื้อละเอียด อย่างดินเหนียวจึงมีปริมาณธาตุอาหารโปแตสเซี่ยมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ อย่างดินทราย หรือดินร่วนปนทราย (แม้ว่าจะถูกดูดยึดจากอนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชก็สามารถดึงธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ พอๆ กับที่มันละลายอยู่ใน น้ำในดิน)

Read More

เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K ซึ่งมาจากองค์ประกอบหลายชนิด ที่เรารู้จักกันมากในกลุ่มของเกลือแคลเซี่ยมอิสระ พวกปูนต่างๆ ได้แก่ หินปูน โดโลไมท์ ยิปซั่ม ฯลฯ ธาตุแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ อยู่ในรูปของของ แคลเซี่ยมเพคเตต ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยในการสร้างโปรตีน และช่วยในการทำงานของเอมไซม์
ธาตุแคลเซี่ยมที่อยู่ในดิน มี 2 รูป คือ อินทรีย์แคลเซี่ยม พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไพติน และแคลเซี่ยมเพคเนต พืชจะนำไปใช้ได้จะต้องถูกจุลทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แคลเซี่ยมไปเป็น อนินทรีย์แคลเซี่ยมก่อน จะอยู่ในรูป “แคลเซี่ยม ไอออน”

Read More

ธาตุแมกนีเซี่ยม คือธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K พืชที่มีสีเขียวทุกชนิดต้องการเพื่อการเจริญเติบโต เนื่องจากแมกนีเซี่ยมมีส่วนร่วมในการสร้างเม็ดสีเขียว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ การทำงานของระบบเอมไซม์ และยังช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส (จากส่วนที่แก่ไปยังส่วนอื่นๆ ที่อ่อนกว่าของต้น) ช่วยในการสร้างไขมันในพืช  รวมทั้งช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อบางชนิด นอกจากนี้แล้วแมกนีเซี่ยมยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์โดยอยู่ในรูปของ แมกนีเซี่ยม เพคเตท

Read More

เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K  พืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน และโปรตีน และวิตามินบางชนิด และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารระเหยในพืช (ทำให่พืชมีกลิ่นเฉพาะตัว) เช่น กระเทียม หัวหอม ทุเรียน ฯลฯ

Read More