1. เครื่องวัด EC

มักพบว่าเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือถ่านมีกำลังไฟอ่อนทำให้ค่า EC ขึ้นช้าหรือ ต่ำกว่าค่าจริงของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกเช่นวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เป็นปร…ะจำได้ค่า EC เท่ากับ 1.3 แต่ผักที่ปลูกอยู่แสดงอาการเกร็งโตช้าเหมือนกับอาการผักที่ปลูกด้วย EC สูง ๆ แต่พอผู้เขียนใช้เครื่องวัด EC ของผู้เขียนวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารก็พบว่า EC ขึ้นไปสูงถึง 3.5 ซึ่งเป็น EC ที่สูงเกินไปสำหรับการปลูกผักสลัด EC ขนาดนี้จะทำให้ผักสลัดโตช้ามีรสขมและผักจะเเข็ง ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ทำฟาร์มคือ ทำน้ำผสมปุ๋ยไว้เช็คเครื่องวัด EC ก่อนใช้งานทุกวันโดยที่เราสมมุติผู้ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้น้ำประปาในการปลูกผักน้ำประปาในกรุงเทพฯ มีEC ประมาณ 0.2 เมื่อเราได้เครื่องวัด EC มาใหม่ให้เราเอาน้ำประปาประมาณ 1 ลิตร แล้วใส่ปุ๋ย A กับ B โดยปรับ EC ให้ได้ประมาณ 3.5 จากนั้นใส่ขวดเก็บไว้เราอาจเรียกน้ำผสมปุ๋ยนี้ว่าน้ำเทสท์เครื่องวัด EC โดยก่อนใช้เครื่องวัด EC ทุกเช้าเราจะต้องนำเครื่องวัด EC มาวัดน้ำประปาก่อน EC ที่ได้ต้องได้0.2+0.1 หลังจากนั้นเราก็นำเครื่องวัด EC ไปวัดน้ำเทสท์เครื่องวัด EC ค่าที่ได้จะต้องอยู่ที่ 3.5+0.1 หรือ 0.2 (เป็นค่าที่ยอมรับได้) จากการเช็คเครื่องวัด EC ที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาที่พบคือ ค่าน้ำประปา EC ขึ้นตรงคือ 0.2 แต่EC ของน้ำเทสท์เครื่องวัด EC จะขึ้นต่ำกว่า 3.5 ก็ให้ทำการ คาลิเบรทเครื่องวัด EC ใหม่แต่ถ้าคาลิเบรทแล้วอาการไม่หายอาจเกิดจาก 3 สาเหตุคือ ถ่านมีกำลังไฟฟ้าอ่อนแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่าน หรือ ขั้วเครื่องวัด EC สกปรก แก้ไขโดยให้ใช้แปรงใส่ยาสีฟัน แปรงลงไปที่ขั้ว และข้อสุดท้าย เครื่องเสีย ผู้ปลูกควรมีเครื่องวัด EC ไว้2 ตัว เวลาไม่แน่ใจว่าตัวที่ใช้อยู่ยังดีอยู่หรือไม่ก็สามารถนำอีกตัวมาเทียบค่าได้ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผักอาจมีมูลค่ามากกว่าเครื่องวัด EC หลายเท่า โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่

Read More