สารลดแรงตึงผิว คือสารที่มีคุณสมบัติในการรวมโมเลกุลให้มีน้ำหนักมากขึ้น เพื่อลดแรงเกาะหรือแรงตึงผิว (surface tension) ระหว่างกันของสสารนั้นๆ มีการนำไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นผลิตภัณฑ์น้ำทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สารลดแรงตึงผิวจัดเป็นสารพวก amphiphilic molecules ซึ่งในโมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

ภาพที่ 1 โครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว

Read More

เรียบเรียง จาก How to Formulate Industrial Detergent โดย David G. Urban

น้ำยาทำความสะอาด หรือ detergent มีคุณสมบัติหลัก คือ ขจัดคราบสกปรกออกจากพื้นผิว ด้วยการที่ มีความหลากหลาย ของชนิดคราบสกปรก และพื้นผิว จึงทำให้เรามีสูตรต่างๆ ของน้ำยาทำความสะอาดมากมาย

น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป ที่ดี ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ อย่างแรก คือ ต้องมีความสามารถในการทำให้คราบที่มีธรรมชาติเป็นกรดให้กลายเป็นกลาง ประการที่สอง ในการทำความสะอาด คราบน้ำมัน ไขมัน ออกจากพื้นผิวนั้นสามารถที่จะสลาย คราบให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ และกระจายตัวในน้ำได้ ประการที่สาม ต้องสามารถ สลายพันธะ หรือ แตกตัว คราบบางชนิด เช่น เขม่าคาร์บอน ฝุ่นดำ ดินเหนียว ให้เป็นอนุภาคเล็กๆ และ ประการที่สี่ เมื่อ ทำสามประการแรกสำเร็จแล้ว มันต้องมีความสามารถในการ ป้องการการย้อนคืนของคราบกลับไปสู่พื้นผิว ในขณะล้างฟองออกด้วยน้ำ

น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป อาศัยองค์ประกอบสองส่วน ในการทำหน้าที่ นั้นคือ สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) และ สารเสริมพลัง (Builders) สารลดแรงตึงผิวสามารถเป็นได้ ทั้ง ของเหลว หรือเป็นผง ส่วน สารเสริมพลัง  นั้น ส่วนมากเป็น สารประกอบอนินทรีย์  (Inorganic) โดยทั่วไป ในรูป ผงละเอียด เช่น พวก ฟอสเฟต ซิลิเกต คาร์บอเนต หรือ โอโธฟอสเฟต  การนำสองสิ่งนี้ ส่วนมาผสมกัน คือ ขั้นตอนพื้นฐานการทำน้ำยาทำความสะอาด

Read More