กลุ่มที่ 1 ยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase Inhibitors )
สารในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท (Nerve action) ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase: AChE) ก่อให้เกิดการสะสมสารสื่อกระแสประสาท Acetylcholine ที่จุดต่อระหว่างเซลล์ประสาท (Synaptic transmission) สารที่ออกฤทธิ์ในกลุ่มนี้มี 2 กลุ่มย่อยทางเคมีคือ
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท(Carbamates) ได้แก่ สารที่เป็นอนุพันธ์ที่สังเคราะห์เลียนแบบสารไฟโตสติกนิน (phytostignin) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ ที่มีในถั่วคาราบา (caraba bean, Phytostigma venonesum )แม้ว่า phytostignin สามารถฆ่าแมลงได้ แต่คุณสมบัติยังไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ละลายในไขมัน ทำให้ไม่สามารถละลายผนังลำตัวของแมลงได้ ต่อมาจึงมีการค้นพบ dimetan, pyrolan และisolan และมีการพัฒนาสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงได้ดีขึ้น
นอกจากนี้สารกำจัดแมลงในกลุ่มคาร์บาเมท ยังแบ่งกลุ่มย่อยตามองค์ประกอบทางเคมี เป็น 3 กลุ่มย่อยดังนี้
 กลุ่มย่อยเบนโซฟูรานิลเมทิลคาร์บาเมท ที่เคยขึ้นทะเบียนในบ้านเรา ได้แก่ เบนฟูราคาร์บ คาร์โบฟูแรน คาร์โบซัลแฟน
 กลุ่มย่อยออกไซม์คาร์บาเมท ได้แก่ อัลดิคาร์บ เมโทมิล ออกซามิล และไทโอไดคาร์บ
 กลุ่มย่อยฟีนิลเมทิลคาร์บาเมท ได้แก่ ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ และโพรโพซัวร์
 กลุ่มย่อยอื่นๆ เช่น คาร์บาริล ฟอร์มีทาเนต

Read More

กลุ่มสารเคมีที่มีกลไกออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ (Nerve & Muscle) ของแมลง
กลุ่มที่ 1 ยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase Inhibitors ) สารในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท (Nerve action) มี มีสารกลุ่มทางเคมี 2 กลุ่มย่อย คือ
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท(Carbamates) ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย ได้แก่ ไดมีแทน ไพโรแรน ไอโซแลน อะลานีคาร์บ เบนไดโอคาร์บ บูทอกซี่คาร์บอกซิม อีไทโอเฟนคาร์บ ฟูราไทโอคาร์บ เมไทโอคาร์บ เมโทลคาร์บ พิริมิคาร์บ ไทโอฟาน็อก ไตรอะซาเมท ไตรเมทาคาร์บ และไซลิลคาร์บ ที่มีขึ้นทะเบียนในไทย ได้แก่ เบนฟูราคาร์บ คาร์บาริล คาร์โบซัลแฟน ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ โพรพาซัวร์ ไทโอไดคาร์บ
สารที่เฝ้าระวัง(เนื่องจากมีพิษร้ายแรงถึงร้ายแรงมาก) ได้แก่ อัลดิคาร์บ คาร์โบฟูแรน ฟอร์มีทาเนต เมโทมิล ออกซามิล
สารที่ถูกห้ามใช้ (เนื่องจากมีพิษร้ายแรงมาก) คือ อะมิโนคาร์บ

Read More


สารกลุ่มขัดขวางช่องเปิดคลอไรด์ 

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงสารกลุ่มที่ 1 ซึ่งแยกเป็น 1A คาร์บาเมต และ 1B ออร์กาโนฟอสเฟต สาเหตุที่แยกเป็น 1A และ 1B เพราะองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์หรือจุดทำลายแมลงแตกต่างกัน ถ้าแมลงสร้างความต้านทานหรือดื้อยาในกลไกนี้ได้ จะดื้อต่อสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์นี้ทั้งหมด เรียกว่า การต้านทานข้าม (Cross resistance) ดังนั้น การที่มีหลายคนถามมาว่าจะใช้สารกลุ่ม 1A และ 1B สลับกันได้ไหม ? คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะยิ่งทำให้อัตราการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น หรือทวีความรุนแรงมากขึ้น ในที่สุด สารทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่นั้น ๆ วิธีการสลับสารเคมีต้องมีการหมุนเวียนตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน รายละเอียดจะกล่าวภายหลังที่ได้ให้ข้อมูลครบทุกกลุ่มก่อน คอยติดตามนะครับ ในฉบับนี้มาพบกับสารกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มต่อไป ซึ่งยังเป็นจุดทำลายตรงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

Read More