ผงธาตุอาหารสำหรับเตรียม STOCK ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B สูตร KMITL3 สำหรับ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว สลัด ผักบุ้ง ฯลฯ เตรียมได้ 8,000 ลิตร

ผงธาตุอาหารสำหรับเตรียม STOCK ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B สูตร KMITL3

สำหรับ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว สลัด ผักบุ้ง ฯลฯ เตรียมได้ 8,000 ลิตร (เตรียมสต็อค 1:200 ได้ถังละ 40L)

สูตรสารละลาย(ปุ๋ย) ที่ใช้จะเป็นสูตรKMITL3 ที่สามารถเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่าได้จำนวน 40 ลิตร มีองค์ประกอบดังนี้

ถัง A

Ca(NO3)2.4H2O แคลเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(12-0-0) = 8.5 kg

Fe-EDTA เหล็กคีเลต (12 % Fe) = 0.3 kg

ถัง B

KNO3 โปแตสเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(13-0-46) = 6.0 kg KH2PO4

โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(0-52-34) = 1.0 kg

NH4H2PO4 โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(12-60-0) = 1.0 kg

MgSO4 แมกนีเซี่ยมซัลเฟต = 3.8 kg Nicspray

นิคสเปรย์ (ธาตุอาหารรอง) = 0.2 kg

วิธีการเตรียมสารละลายเข้มข้น เหตุที่ต้องเตรียมสารละลายเข้มข้นเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษา ในที่นี้จะเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่า จำนวนอย่างละ 40 ลิตร (สารละลาย A 40 ลิตร และ สารละลาย B 40 ลิตร) จากสารละลายอย่างละ 40 ลิตรนี้ สามารถนำไปละลายน้ำเพื่อใช้ปลูกผักได้ = 40×200 = 8000 ลิตร โดยมีขั้นตอนการผสมดังนี้ http://www.weloveshopping.com/template/e1/s_showdata.php?shopid=145117&qid=6139829

การผสมสารละลายในถัง A

1.ทำขีดบอกปริมาตรที่ถังผสมปุ๋ย 40 ลิตร โดยใช้กระบอกตวงหรือภาชนะที่รู้ปริมาตรที่แน่นอนตวงน้ำใส่ในถังจนครบ 40 ลิตร และทำเครื่องหมายที่ขอบถังด้านในหรือทำเครื่องหมายที่ท่อ PVC ที่ใช้คนสารละลาย หลังจากนั้นเทน้ำออกให้เหลือน้ำในถังประมาณ 30 ลิตร

2.เทแคลเซียมไนเตรท 8.5 กก.ใส่ในถัง คนจนละลายหมด

3.เทเหล็กคีเลต (ผงสีเหลือง) 0.3 กก.ใส่ลงในถัง คนจนละลายหมด

4.เติมน้ำให้ครบ 40 ลิตร (จนถึงขีดที่ทำเครื่องหมายไว้ในข้อ 1) สารละลายในถังนี้จะเป็นสีเหลืองเข้ม

การผสมารละลายในถัง B

1.ทำปริมาตรที่ถังผสมปุ๋ย 40 ลิตร โดยใช้กระบอกตวงหรือภาชนะที่รู้ปริมาตรที่แน่นอนตวงน้ำใส่ในถังจนครบ 40 ลิตร และทำเครื่องหมายที่ขอบถังด้านในหรือทำเครื่องหมายที่ท่อ PVC ที่ใช้คนสารละลาย หลังจาดนั้นเทน้ำออกให้เหลือน้ำในถังประมาณ 30 ลิตร

2.เทโปแตสเซี่ยมไนเตรท 6 กก เทใส่ในถัง คนจนละลายหมด

3.เทโมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต 1 กก. คนจนละลายหมด

4.เทโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต 1 กก. คนจนละลายหมด

5.เทแมกนีเซี่ยมซัลเฟต 3.8 กก. คนจนละลายหมด

6.เทนิคสเปรย์ (ผงสีเขียว) 0.2 กก.ใส่ลงในถัง คนจนละลายหมด

7.เติมน้ำให้ครบ 40 ลิตร (จนถึงขีดที่ทำเครื่องหมายไว้ในข้อ 1) สารละลายในถังนี้จะเป็นสีเขียว

สารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้น 200 เท่าเมื่อต้องการใช้ก็จะนำมาเจือจางให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ เหตุที่ต้องเตรียมสารละลายแยกเป็น 2 ถัง เนื่องจากปุ๋ยบางชนิดไม่สามารถผสมกันโดยตรงที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ ดังนั้นต้องแยกปุ๋ยเหล่านี้ออกจากกันเพื่อไม่ให้ตกตะกอน สารละลายทั้งสองถังนี้เมื่อจะนำไปใช้ จะทำการเจือจางในอัตราส่วน 1:200 เช่น ถ้าต้องการใช้สารละลายธาตุอาหารพืช 200 ลิตร ต้องใช้สารละลายเข้มข้น ถัง A และถัง B ถังละ 1 ลิตร และปรับปริมาตรโดยเติมน้ำ ให้ครบ 200 ลิตร แต่ทั้งนี้ พืชแต่ละชนิดจะต้องการปุ๋ยไม่เท่ากัน บางชนิดต้องการธาตุอาหารมาก บางชนิดต้องการน้อย

ตัวอย่างเช่น ในการเตรียมสารละลาย 200 ลิตร สำหรับปลูก คะน้า,กวางตุ้ง,ผักกาดขาว EC=3.0-3.5 ใช้สต็อค A = 1.4 ลิตร สต้อค B = 1.4 ลิตร ในการเตรียมสารละลาย 200 ลิตร ผักบุ้ง, ผักสลด,ผักโขม EC=1.5 1.8 ใช้สต็อค A = 0.8 ลิตร สต้อค B = 0.8 ลิตร ดังนั้น ควรตรวจวัดด้วยเครื่องวัด EC อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีเครื่องวัด EC สามารถใช้ค่านี้ได้ และต้องคอยสังเกตอาการของพืชด้วย เช่น ถ้าพืชโตช้าใบเหลือง โดยเฉพาะผักคะน้าต้องการปุ๋ยเข้มข้นกว่าผักชนิดอื่นต้องเพิ่มปริมาณ สารละลาย A และ B อย่างละเท่าๆกัน เช่น เพิ่ม A = 1 ลิตร และ B = 1 ลิตร เมื่อละลายแล้ว pH ควรมีค่าประมาณ 6 ซึ่งหาก pH สูงเกินไป ปรับโดยใช้กรดไนตริกหรือฟอสฟอริก แต่ถ้าpH ต่ำเกินไป (น้อยกว่า 5.5) ให้ปรับโดยใช้ โซเดียมคาร์บอเนต หรือโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์)

ที่มา: รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ