ส่วนมากการสอนของอาจารย์ทั่วๆ ไปจะพูดว่าปรับ EC ปรับ pH แต่เวลาทำจริงๆ แล้วเรานิยมปรับ pH ก่อนปรับ EC เพราะเมื่อก่อนน้ำที่ใช้ปลูกกำหนดให้เป็นน้ำ RO น้ำปะปา และน้ำฝนเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าน้ำอย่างอื่นจะไม่สามารถ ปลูกผักได้ดีแต่ปัจุบันเรามีความรู้มากขึ้นทำให้เราปลูกด้วยน้ำอื่นๆ ได้แต่น้ำบางที่มี pH ที่สูงมากๆ เมื่อเราใส่ปุ๋ยไปก่อน เพื่อปรับ EC ก็จะทำให้ปุ๋ยตกตะกอน อย่างน้ำที่จังหวัดสระ เเก้วที่ผมไปพบมากับตัวเองตอนไปเป็นวิทยากรกับอาจารย์ วีรพล ดังนั้นเราจึงต้องปรับ pH ก่อน แต่ก่อนอ่านวิธีปรับ pH ให้คุณอ่านในสมุดบันทึกหัวข้อที่ 29. น้ำอ่อน ก่อน
ในวิธีปรับนี้เราจะสมมติว่าผู้ปลูกมีโต๊ะปลูกที่เหมือนกันทุกอย่างอยู่ 2 โต๊ะ
วิธีปรับ pH
1.เราจะปรับโต๊ะที่หนึ่งก่อนโดยใส่น้ำเปล่าลงถังสารละลาย แล้วเดินน้ำให้ระบบทำงาน
2.ใช้น้ำยาวัด pH วัด pH ว่าอยู่ที่เท่าไร โดยใช้แก้วสีขาว ขุ่นไม่ควรใช้แก้วใส ใส่น้ำประมาณ 1-2 ซีซี แล้วหยดน้ำยา วัด pH ลงไป 2-3 หยด จากนั้นเขย่าเบาๆ แล้วนำไปเทียบสี กับแผ่นเทียบสีว่าสีตรงกับค่า pH เท่าไร ส่วนมากจะอยู่ที่ประ มาณ 7-8.5
3.หลังจากนั้นเริ่มเติมกรดไนตริกที่เจือจางแล้วด้วยน้ำ 50 ลิตร ต่อกรดไนตริก 1 ลิตร ควรเติมทีละน้อยๆ แล้ววัด pH ไปด้วยระหว่างนี้ให้จำปริมาณกรดที่ใส่ไว้ด้วยเพื่อความง่าย
ในการปรับครั้งต่อไปเมื่อใส่กรดแล้ววัด pH เราจะพบว่า pH จะต่ำลง ค่าจะต่ำลงจน pH อยู่ที่ 6.5 จึงหยุดเติมกรด ส่วน มากเราแนะนำให้มือใหม่ใช้ pH ที่ประมาณ 6.5
***ระวังอย่าใส่กรดที่ละมากๆให้ใส่น้อยๆไว้ก่อน***
4.การปรับ pH โต๊ะที่สองจะง่ายเพราะเรารู้ปริมาณกรด คร่าวๆ แล้วสมมติเราใช้กรดที่เจือจางแล้วไป 2,000 ซีซี กับโต๊ะที่หนึ่งโต๊ะที่สองก็จะใช้ใกล้เคียงกันเราก็ตักกรดมา
1,800 ซีซี ให้แบ่งใส่หลายๆ ครั้ง ยิ่งมากครั้งยิ่งทำให้ผัก ปลอดภัยจากรากเน่า ถ้าเป็นผมใส่ผมจะใส่กรด 5 ครั้ง โดย ไม่มีการวัด pH เลย คือเติมครั้งที่หนึ่ง 500 ซีซี ครั้งที่สอง 400 ซีซี ครั้งที่สาม 300 ซีซี ครั้งที่สี่ 200 ซีซี ครั้งที่ห้า 200 ซัซี แล้วเริ่มวัด pH หลังจากนั้นเติมครั้งละ 100 ซีซี แล้ววัด pH ทุกครั้งจน pH ได้ 6.5
เราจะปรับกรดในตอนเช้าและเย็น
***การปรับ pH ที่ผ่านมาเราเรียกว่าการปรับ pH กับน้ำใหม่ การปรับครั้งที่สองในถังที่หนึ่งจะใช้กรดน้อยลงกว่าเดิมมาก ถ้าผักต้นยังเล็กเพราะฉนั้นการปรับกรดครั้งที่สองจึงต้องเริ่ม ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ จะใช้ปริมาณกรดที่จำไว้ไม่ได้แต่ปริมาณที่ จำไว้สามารถใช้กับการปรับน้ำใหม่ครั้งต่อไปได้*****
5.การปรับ pH ครั้งต่อไปต้องเติมน้ำเปล่าในถังทดแทนน้ำ ที่ลดลงไปถ้าผักต้นใหญ่น้ำจะลดมากถ้าต้นเล็กน้ำจะลดน้อยหรืออาจจะไม่ลดเลยหลังจากนั้นค่อยปรับ pH
ที่มา : อาจารย์อรรถพร สุบุญสันต์