1. เครื่องวัด EC
มักพบว่าเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือถ่านมีกำลังไฟอ่อนทำให้ค่า EC ขึ้นช้าหรือ ต่ำกว่าค่าจริงของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกเช่นวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เป็นปร…ะจำได้ค่า EC เท่ากับ 1.3 แต่ผักที่ปลูกอยู่แสดงอาการเกร็งโตช้าเหมือนกับอาการผักที่ปลูกด้วย EC สูง ๆ แต่พอผู้เขียนใช้เครื่องวัด EC ของผู้เขียนวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารก็พบว่า EC ขึ้นไปสูงถึง 3.5 ซึ่งเป็น EC ที่สูงเกินไปสำหรับการปลูกผักสลัด EC ขนาดนี้จะทำให้ผักสลัดโตช้ามีรสขมและผักจะเเข็ง
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ทำฟาร์มคือ ทำน้ำผสมปุ๋ยไว้เช็คเครื่องวัด EC ก่อนใช้งานทุกวันโดยที่เราสมมุติผู้ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้น้ำประปาในการปลูกผักน้ำประปาในกรุงเทพฯ มีEC ประมาณ 0.2 เมื่อเราได้เครื่องวัด EC มาใหม่ให้เราเอาน้ำประปาประมาณ 1 ลิตร แล้วใส่ปุ๋ย A กับ B โดยปรับ EC ให้ได้ประมาณ 3.5 จากนั้นใส่ขวดเก็บไว้เราอาจเรียกน้ำผสมปุ๋ยนี้ว่าน้ำเทสท์เครื่องวัด EC โดยก่อนใช้เครื่องวัด EC ทุกเช้าเราจะต้องนำเครื่องวัด EC มาวัดน้ำประปาก่อน EC ที่ได้ต้องได้0.2+0.1 หลังจากนั้นเราก็นำเครื่องวัด EC ไปวัดน้ำเทสท์เครื่องวัด EC ค่าที่ได้จะต้องอยู่ที่ 3.5+0.1 หรือ 0.2 (เป็นค่าที่ยอมรับได้) จากการเช็คเครื่องวัด EC ที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาที่พบคือ ค่าน้ำประปา EC ขึ้นตรงคือ 0.2 แต่EC ของน้ำเทสท์เครื่องวัด EC จะขึ้นต่ำกว่า 3.5 ก็ให้ทำการ คาลิเบรทเครื่องวัด EC ใหม่แต่ถ้าคาลิเบรทแล้วอาการไม่หายอาจเกิดจาก 3 สาเหตุคือ ถ่านมีกำลังไฟฟ้าอ่อน แก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่าน หรือ ขั้วเครื่องวัด EC สกปรก แก้ไขโดยให้ใช้แปรงใส่ยาสีฟัน แปรงลงไปที่ขั้ว และ
ข้อสุดท้าย เครื่องเสีย
ผู้ปลูกควรมีเครื่องวัด EC ไว้2 ตัว เวลาไม่แน่ใจว่าตัวที่ใช้อยู่ยังดีอยู่หรือไม่ก็สามารถนำอีกตัวมาเทียบค่าได้เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผักอาจมีมูลค่ามากกว่าเครื่องวัด EC หลายเท่า โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่
2. เครื่องมือวัด pH
เครื่องมือวัด pH ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบว่ามีปัญหาบ่อยและทำความเสียหายให้กับผู้ปลูกเป็นจำนวนมากปัญหาที่พบ คือ บอกค่าไม่ตรงกับ pH ของสารละลายที่เป็นจริง ส่วนมากจะบอกค่า pH เป็นด่างแต่สารละลายที่ใช้ปลูกมีค่า pH เป็นกรด (กรด pH 1-6, กลาง pH 7 , ด่าง pH 8-14) ค่า pH ที่ใช้ปลูกที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ pH 6-7 บางครั้งเครื่องวัด pH วัดได้pH 7 แต่ผักแสดงอาการรากเน่าและเหี่ยวเฉาโตช้า เมื่อผู้ปลูกนำผักไปตรวจวินิจฉัยโรคก็พบเชื้อราพิเทียมที่รากพืช ก็ลงความเห็นว่าเป็นโรครากเน่าจากเชื้อราพิเทียม ก็แก้ปัญหาที่เชื้อราพิเทียม แต่แก้เท่าไรก็ไม่หาย จนมาปรึกษาผู้เขียน เมื่อผู้เขียนไปที่ฟาร์มผู้ปลูกและถามข้อมูลต่างๆ และผู้เขียนก็ทำการวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC พบว่า EC ปกติแต่เมื่อผู้เขียนวัดค่า pH ด้วยน้ำยาดรอปเทสท์( ดรอปเทสท์เป็นน้ำยาวัด pH โดยใช้แผ่นเทียบสีดังจะกล่าวในเรื่องต่อไป) ก็พบว่าค่า pH อยู่ที่4 เพราะฉะนั้นการรักษาโรครากเน่าที่ผ่านมาโดยเจาะจงไปที่เชื้อราพิเทียมจะไม่ได้ผล เพราะอาการรากเน่าเกิดจากค่า pH เป็นกรด แล้วรากก็เสียหลังจากนั้นเชื้อโรคก็เข้าทำลาย ถ้าเราไม่แก้ที่จุดเริ่มต้นของอาการรากเน่าก่อน เราก็จะรักษาไม่หาย ในเคสนี้ก็ให้ปรับค่า pH ให้ได้ค่าpHอยู่ที่ประมาณ 7 ก็จะทำให้ผักมีอาการดีขึ้น เชื้อราไตรโคเดอร์มาก็จะทำงานได้ดีขึ้น
สาเหตุที่ค่าของเครื่องวัด pH ขึ้นไม่ตรงตามจริง อาจมีสาเหตุดังนี้
– ถ่านไฟฟ้าอ่อน
– เครื่องเสีย
– ไม่ได้คาลิเบรทมานานแล้ว น้ำยาวัดค่า pH หรือดรอปเทสท์เราจะนำมาใช้วัดค่า pH แทนเครื่องมือวัดค่า pH น้ำยาวัดค่า pH จะใช้งานได้ยากกว่าเครื่องมือ แต่ค่า pH ที่ได้จะเที่ยงตรงกว่าเครื่องมือน้ำยาวัดค่าpH ไม่ต้องการการบำรุงรักษา ผู้ที่มีประสบการณ์สามารถใช้น้ำยาวัด pH ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำยาวัด pH ผู้ใช้จะต้องตาไม่บอดสีเพราะแผ่นเทียบค่าจะมีสีเป็นตัวบอกค่าของ pH การเก็บรักษาต้องใส่ในภาชนะที่ถูกต้อง (เป็นแก้วดีที่สุด) แผ่นเทียบสีจะต้องมีสีที่ตรงตามค่า pH ตามที่กำหนดและการใช้น้ำยาวัด pH จะต้องใช้น้ำยาที่เหมาะ สมกับสารละลายธาตุอาหารด้วย
การใช้น้ำยาวัด pH ก็คือ จะต้องเลือกน้ำยาให้เหมาะสมกับน้ำสารละลายธาตุอาหารของเราเมื่อ เลือกได้แล้วก็จะใช้น้ำยาวัด pH นั้นตลอดไป
2. ผักมีอาการใบเหลือง
ตามหลักการทั่วไปก็ว่าเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก แต่จากประสบการณ์ที่พบ ต้องแบ่งออกเป็นสองพวก คือ พวกโต๊ะปลูกใหม่และโต๊ะปลูกเก่า สำหรับโต๊ะปลูกใหม่ถ้าพบใบเหลืองจะมีสาเหตุดังนี้
– ผู้ปลูกไม่เคยปรับ pH หรือปรับไม่สม่ำเสมอ ทำให้pH ของสารละลายเป็นด่างสูง เหล็กที่ใส่ลงไป ตกตะกอนพืชนำไปใช้ไม่ได้ทำให้แสดงอาการขาดเหล็ก
– เนื่องจากเป็นผู้ปลูกรายใหม่จึงไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับคุณภาพของเหล็กคีเลทชนิดต่างๆ จึงใช้เหล็กคีเลทที่มีคุณภาพไม่ดีหรือไม่เหมาะสำหรับสภาพนั้นๆ
– รากเน่าทำให้พืชดูดธาตุเหล็กไม่ได้
– ใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนอยู่มาก คลอรีนจะทำให้เหล็กคีเลทสลายตัว
– ไม่ค่อยเปลี่ยนน้ำสารละลายธาตุอาหาร
– ถังสารละลายธาตุอาหารโดนแดดส่อง (ไม่ได้ปิดฝา) ทำให้ธาตุเหล็กสลาย
– การปรับ pH ด้วยกรดที่มีความเข็มข้นสูงๆ
– ในสูตรปุ๋ยมีธาตุเหล็กน้อยเกินไป
สำหรับโต๊ะปลูกเก่าก็มีสาเหตุเหมือนโต๊ะปลูกใหม่แต่จะมีเพิ่มอีกคือ
– ธาตุอาหารที่ตกตะกอนอยู่ก่อนตามรางปลูก จะเป็นตัวล่อทำให้ธาตุเหล็กตกตะกอนมากขึ้นและเร็วขึ้น
3. น้ำที่ใช้ปลูกมีคุณภาพไม่ดี
น้ำมีค่า EC สูง และโซเดียม(Na)สูง ทำให้การปลูกผักไม่ได้ผล โตช้า เป็นโรคได้ง่าย มีวิธีการจัดการดังนี้
– เพิ่มธาตุอาหารรองในสูตรปุ๋ยให้มากกว่าสูตรปุ๋ยปกติประมาณ 50-100% เพราะน้ำที่มีEC สูงจะใส่ปุ๋ยได้น้อยกว่าน้ำที่มีEC ต่ำทำให้ธาตุอาหารรองในสารละลายธาตุอาหารมีน้อย เมื่อเราเพิ่มธาตุอาหารรองเข้าไปในสูตรปุ๋ยก็จะไปชดเชยในส่วนที่น้อยได้
– ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหาร
– ถ่ายน้ำบ่อยๆ เพราะในสารละลายธาตุอาหารเราใส่ปุ๋ยไปน้อยทำให้ปุ๋ยหมดไว
– ต้องเลี้ยงผักที่ EC ปกติคือ ถ้าน้ำที่ดีมีEC 0.2 เราใส่ปุ๋ยลงไป 1.0 เราก็จะได้EC 1.2 ซึ่งเหมาะกับการปลูกผักสลัด แต่ถ้าน้ำไม่ดีมีEC อยู่ที่0.7 เราจะใส่ปุ๋ยเข้าไป 1.0 เท่ากับน้ำดีค่า EC ก็จะเป็น 1.7 ซึ่งมากเกินไปในการปลูกผักสลัด เพราะฉะนั้นเราจะใส่ปุ๋ยได้แค่0.5 เมื่อรวมกับน้ำ0.7 ก็จะเป็น 1.2 ก็จะเป็นได้ว่าน้ำไม่ดีจะใส่ปุ๋ยได้น้อยกว่าน้ำดี
– เราจะต้องพรางแสงด้วยสแลนมากหน่อยเพราะโซเดียมที่ติดมากับน้ำจะทำให้ผักเหี่ยวง่าย เมื่อผักเหี่ยวผักก็จะสร้างยาง ทำให้ผักมีรสขม
– ควรจะสเปรย์น้ำช่วยเมื่ออากาศร้อน
4. ผักเป็นโรคใบจุด
โดยผักสลัดที่ปลูก ใบจะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กและใหญ่ตามใบ ทำให้ผักโตช้าและไม่สวย ถ้าเป็นมากๆ ใบก็จะแห้งตายเกือบทั้งต้น สาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายตัว เช่น เซอร์คอสเปอร์ร่า โครีนีสเปอร์ร่า และอัลเทอร์นาเรีย หลายฟาร์มแก้ไขโดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราฉีดพ่น ก็จะแก้ไขได้ระยะหนึ่ง
หลังจากนั้นเชื้อราก็จะพัฒนาดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาที่แรงขึ้นจนในปัจจุบัน ยาฆ่าเชื้อราใช้ไม่ได้ผลเพราะเชื้อดื้อยาแทบทุกตัวที่มีขายอยู่แต่เรามีวิธีการจัดการโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา คือ เมื่อผักเริ่มแสดงอาการโรคใบจุด ใบผักใบล่างๆ จะมีจุดขึ้นมาก่อน ให้ตัดใบผักใบล่างๆ ออกก่อนเพื่อป้องกันเชื้อราสร้างสารพิษ(ท็อกซิน)
เรามาทำความเข้าใจหลักการทำลายของเชื้อราตัวนี้ก่อน คือ เราปลูกผักสลัดไว้ที่โต๊ะปลูกเมื่อมีลมพัดมาหรือมีฝนตก ก็จะนำพาสปอร์ของเชื้อราตกลงมาที่ผัก ซึ่งสปอร์ของเชื้อราจะกระจายอยู่ทั้งต้น เช่น ที่ยอด ใบอ่อน ใบแก่แต่สปอร์มักจะงอกได้ที่ใบแก่เท่านั้น ใบอื่นๆ จะงอกไม่ค่อยได้หรืองอกไม่ได้เลย เพราะการเกิดโรคจะเกิดกับส่วนที่อ่อนแอและมีภูมิต้านทานต่ำก่อน ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ใบแก่จะมีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานสูง โรคจึงไม่สามารถเข้าทำลายได้เมื่อเชื้อราสาเหตุของโรคงอกที่ใบแก่มันก็จะส่งสารพิษผ่านใบแก่ไปที่ลำต้นและกระจายไปที่ส่วนอื่นๆ เช่น ที่ยอด ที่ใบอ่อน เมื่อส่วนอื่นๆ ได้รับสารพิษก็จะอ่อนแอ และ
จากนั้นเชื้อราที่อยู่ที่ส่วนอื่นก็จะงอกและก็ทำลายต้นผักต่อไป เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันโรคใบจุดต้องทำดังนี้
– ตัดใบที่เป็นจุดออกเพื่อป้องกันการสร้างสารพิษ
– ลดความชื้นของแปลงปลูกตอนแดดอ่อนๆ และตอนค่ำด้วยพัดลม เพื่อให้ความชื้นต่ำไม่เหมาะแก่การงอกของเชื้อรา
– เพิ่มธาตุอาหารรองเพื่อเสริมความแข็งแรงของผัก
– ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค
– สเปรย์น้ำปกติ
– พรางแสงเวลาแดดร้อน
– ฉีดพ่นยีสต์หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาในตอนเย็น
การปลูกผักที่EC สูงไปต่ำ
เมื่อประมาณปลายปี2545 ผู้เขียนเริ่มเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์จากอาจารย์หลายท่านดังมีรายนามต่อไปนี้
– ผศ.ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี
– รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ
– อ.วีรพล นิยมไทย
การสอนการปลูกจะสอนให้ผู้เขียนเพาะเมล็ดที่น้ำเปล่า 3 วัน หลังจากนั้นให้ปุ๋ยอ่อนๆ EC ประมาณ 0.6-0.8 พอต้นกล้าอายุได้ประมาณ 14 วัน แล้วย้ายลงรางปลูกจึงให้EC ประมาณ 1.2 ผู้เขียนทำวิธีนี้มาจนกระทั่งได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้กับวิทยาลัยการเกษตรของกรมอาชีวะที่บางพูน ประมาณปี 2547 โดยการเชิญของ รศ.ดร.ดิเรก ทองอร่าม หลังจากนั้นก็รับเป็นที่ปรึกษาการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ให้กับที่บางพูน แล้วทำการศึกษาระบบที่บางพูนใช้ปลูกอยู่พบว่ามีการปลูกที่ไม่เหมือนกับผู้เขียน โดยเขาปลูกผักช่วงแรกที่ EC ประมาณ 2.2 แล้วไม่มีการเติมปุ๋ยอีกเลยเติมแต่น้ำเปล่า ผู้เขียนจึงทำการทดลองปลูกด้วยวิธีที่ผู้เขียนเรียนมาเปรียบเทียบกับของเขา โดยการเริ่มที่ EC 0.6-0.8 พบว่าช่วงแรกๆ ของเขาโตดีกว่าของผู้เขียนมาก แต่พออายุมากขึ้นของเขาจะโตช้าลง แต่ของผู้เขียนโตนำไป ผู้เขียนก็เห็นว่าตอนผักอายุน้อย เลี้ยงEC สูงโตดีกว่า EC ต่ำแต่พออายุมาก EC ต่ำโตดีกว่า EC สูง
ผู้เขียนกลับมาทำการทดลองที่ฟาร์มโดยการปลูกผักดังนี้
โต๊ะที่ 1 EC 2.2 จนถึงเก็บเกี่ยว
โต๊ะที่ 2 EC 0.8 แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 1.2
โต๊ะที่ 3 EC 1.8 แล้วลดลงเรื่อยๆ จนถึง 1.2
– พบว่าช่วงแรกๆ โต๊ะที่1 และโต๊ะที่3 โตนำโต๊ะที่ 2
– แต่พออายุมากขึ้นโต๊ะที่ 1 เริ่มหยุดโต แต่โต๊ะที่3 ยังโตนำโต๊ะที่1 และ 2
– พออายุมากขึ้นอีกโต๊ะที่2 ก็โตแซงโต๊ะที่1 แต่ไม่สามารถโตแซงโต๊ะที่3 ได้
และผู้เขียนพบว่า โต๊ะที่3 สามารถเก็บผักได้เร็วกว่าโต๊ะที่2 ประมาณ 3-4 วัน ทำให้เราลดระยะเวลาการปลูกลงได้ทำให้ลดค่าใช้จ่าย แรงงาน ปุ๋ยและไฟฟ้า หลังจากนั้นที่ฟาร์มของผู้เขียนจะเพาะเมล็ดด้วยปุ๋ย EC 1.8 แล้วค่อยๆ ลด EC ลงมาเรื่อยๆ จนผักใหญ่ถึงวันเก็บผัก EC อยู่ที่ประมาณ 1.0-1.2
การทำแบบนี้จะทำให้ผักไม่ขม การที่เราปลูกผัก EC ต่ำแล้วน้ำที่ใช้ปลูกมีคุณภาพไม่ดีเราควรเสริมธาตุอาหารรองลงไปในบางช่วง โดยการนำธาตุอาหารรองใส่ลงไปในถังสารละลายธาตุอาหารโดยตรงครั้งละประมาณครึ่งช้อนชาทุกๆ 2-3 วัน ในช่วงที่ผักต้นใหญ่หรือช่วง EC ต่ำกว่า 1.4
การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้pH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู
การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้pH ที่แตกต่างกันเพราะ pH ที่ 5.2 จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดีแต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย
เชื้อราที่เป็นโทษต่อผัก เช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ pH ค่อนข้างต่ำแ ละเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ pH ค่อนข้างสูงถ้า pH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้น
เพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้pH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ
1) การปลูกผักที่ pH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆ สารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ
2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน pH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่า ในฤดูฝนควรปลูกผักที่ pH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ pH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ pH ต่ำได้
1. น้ำยาวัด pH
-บำรุงรักษาเครื่องไม่ถูกวีธีทำให้อายุการใช้งานน้อยลงและเสียเร็วดูเพิ่มเติม