คำแนะนำการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช

        คำแนะนำการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามเอกสารเผยแพร่ของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับการดูแลพืชตระกูลกะหล่ำและคะน้า เมื่อมีการระบาดของแมลงศัตรูผักแนะนำให้พ่นด้วยสารต่อไปนี้
ตารางที่ 1 สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ
แมลงศัตรู
สารเคมีป้องกันกำจัด
หนอนใยผัก
สารเคมีร้ายแรง
มาลาไทออน (มาลาไทออน เอสอี 57% EC) / เมโทมิล (แมกซีน 40% SP) / ไดโครโตฟอส (ไดฟอส 24% SC) / คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8% EC )
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูเอน (โปโล 25 % SC )
คลอร์ฟีนาเพอร์ (แรมเพจ 10 % SC )
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
ไซเปอร์เมทริน (น็อคทริน 35% EC)
หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้หอม
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูรอน (โปโล 25% SC)
เทบูฟีโนไซด์ (มิมิค 20%F)
คลอฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5% EC)
คลอร์ฟินาเพอร์ (แรมเพจ 10% EC)
ฟลูเฟนนอกซูรอน (แคสเคด 5% SC)
ไตรฟลูมูรอน (อัลซิสติน 25% WP)
หนอนคืบกะหล่ำ
 
สารเคมีร้ายแรง
เมโทมิล (แลนเนท 40% SP) / คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) / 
ไดโครโตฟอส (ไบทีน 33% EC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8% EC )
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูรอน (โปโล 25 % SC )
คลอร์ฟีนาเพอร์ (แรมเพจ 10 % SC )
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
ด้วงหมัดผัก
 
 
สารเคมีร้ายแรง
คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) / ไดโครโตฟอส (ไดฟอส 24% SC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
โพรฟิโนฟอส (ซูเปอร์ครอน 50% EC)
โพรไทโอฟอส (โตกุโทออน 50% EC)
ไธอะมีโทแซม (แอคทารา 25% WP)
อะเซทามิพริด (โมแลน 20% SP)
ที่มา : กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร (2551)
·         EC Emulsifiable concentrate (สารแขวนลอยละลายน้ำ)
·         WP Wettable powder (ผงละลายน้ำ)
·         SP         Soluble powder (ผงละลายน้ำ)
·         SC         Suspension concentrate (สารละลายน้ำ)
·         GGranules (เม็ด)
        จากตารางจะเห็นว่ามีเพียง 2 ชนิดคือ เมโทมิล และไดโครโตฟอส เท่านั้นที่มีการแนะนำให้ใช้ในการผลิตผัก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ใช้สารเคมีร้ายแรงนี้ ยังสามารถใช้สารเคมีอื่น ที่มีความปลอดภัยมากกว่าได้ (ตังตารางข้างบน) ส่วนคาร์โบฟูแรน และอีพีเอ็น (ในตาราง) ไม่อยู่ในคำแนะนำ แต่กลับพบตกค้างในผลผลิตที่ส่งออก จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การใช้สารคาร์โบฟูแรนในแปลงผักนั้น เกิดจากการเรียนรู้ของเกษตรกรที่ไปพบเห็นประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงในพืชชนิดอื่น จึงนำมาใช้กับผักคะน้าในลักษณะหว่านในแปลงก่อนปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูมาทำลายต้นคะน้าตั้งแต่ยังเล็ก อีกทั้งสารดังกล่าวมีขายในร้านค้าตลอดและราคาไม่แพงมากนักทำให้เกษตรกรหาซื้อได้ง่าย (สารเคมีสามัญประจำร้าน)  ส่วนสารอีพีเอ็นไม่พบการวางจำหน่ายหรือการใช้ของเกษตรกรเลย แต่เกษตรกรหลายรายให้ข้อมูลว่าเคยใช้นานมาแล้ว ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม

 

        นอกจากนี้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำมักจะมีราคาแพง เนื่องจากเป็นสารเคมีชนิดใหม่ๆ ประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยหรือฤทธิ์ตกค้างสั้น (ระยะเก็บเกี่ยวหลังการพ่นสารสั้น) และมีรายงานว่าเป็นพิษต่ำกับสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมาย (ตัวห้ำและตัวเบียน) เช่น อะเซทามิพริด และคลอร์ฟีนาเพอร์ หรือมีความเฉพาะเจาะจงกับแมลงเพราะเป็นสารที่มีผลต่อการเจริญเติบและทำให้แมลงตายเนื่องจากการลอกคราบไม่สำเร็จ เช่น ไดอะเฟนไทยูรอน คลอฟลูอาซูรอน ฟลูเฟนนอกซูรอน และไตรฟลูมูรอน เป็นต้น
        กรณีการใช้เชื้อจุลินทรีย์และวิธีทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมอก็สามารถควบคุมไม่ให้แมลงศัตรูผักระบาดได้ เช่น การควบคุมหนอนใยผักโดยวิธีใช้แตนเบียนไข่ จากการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ในอัตรา 60,000 ตัวต่อไร่ ทุก ๆ 10 วัน พบว่าสามารถควบคุมการระบาดของหนอนใยผักให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับการทำลาย แต่หากมีการระบาดของแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ อยู่ร่วมด้วย เช่น หนอนกระทู้หอม, ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะหยอดกะหล่ำ ควรพิจารณาการใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้เชื้อไวรัส NPV ควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้ ได้แก่ ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน/ครั้ง เมื่อพบหนอนระบาด   หรือการฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis เช่น เดลฟิน ดับบลิวจี อัตรา 40 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร หรือ เซนทารี ดับบลิวดีจี อัตรา 50 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น 5 วัน/ครั้ง จนกว่าการระบาดจะลดลง    และการใช้ไส้เดือนฝอย (Nematodic 22) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่ 20 ตารางเมตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดไส้เดือนฝอยบนแปลงปลูกผักเมื่อผักอายุได้ 15, 30, และ 45 วัน หลังหว่านเมล็ด และเชื้อ Bt. เช่น โนโวดอร์ เอฟซี โดยพ่นหรือราด ทุก 7 วันควบคุมการระบาดของด้วงหมัดผัก และบางครั้งอาจต้องใช้สารฆ่าแมลงหากมีการระบาดของหนอนเจาะยอดกะหล่ำเป็นต้น
        ส่วนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวนั้น พบว่า การป้องกันแมลงศัตรูข้าวที่เป็นแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ และพวกหนอนกอ มีการแนะนำให้ใช้สารคาร์โบฟูราน และสารเคมีที่มีฤทธิ์ดูดซึม (systemic insecticide) เป็นส่วนใหญ่ เพราะจะทำให้แมลงได้รับสารเมื่อมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว หรือในกรณีของหนอนกอที่กัดกินอยู่ภายในต้นข้าว สารเคมีที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2 สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว
แมลงศัตรู
สารเคมีป้องกันกำจัด
แมลงปากดูด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดหลังขาว
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว
เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก
เพลี้ยไฟ
สารเคมีร้ายแรง
คาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3% G)
ไดโครโตฟอส (คอมราด 33% SC)
คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) 
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
บูโพรเฟซิน (แอปพลอด 25% WP)
ไอโซโพรคาร์บ (แอปซิน 20% WP)
ไธอะมีโทแซม (แอคทารา 25% WP)
อิมิดาคลอพริด (แอดมาย 050 อีซี 5% EC)
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
หนอนกอข้าว
สารเคมีร้ายแรง
คาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3% G)
ไดโครโตฟอส (คอมราด 33% SC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 40% EC)
คาร์แทป+ไอโซโพรคาร์บ (พาแดน-มิพซิน 6 จี 3%+3% G)
เบนฟูราคาร์บ (ออนคอล 3% G)
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
อีโทโพรฟอส (โมแค็ป 10% G)
แมลงบั่ว
สารเคมีร้ายแรง
คาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3% G)
ไดโครโตฟอส (คอมราด 33% SC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
เบนฟูราคาร์บ (ออนคอล 3% G)
อีโทโพรฟอส (โมแค็ป 10% G)
เมฟอสโฟแลน (ไซโตรเลน 2% G)
โฟโนฟอส (ไดโฟเนท 5% G)
ไตรอะโซฟอส (ฮอสตาธีออน 5% G)
หนอนห่อใบข้าว
สารเคมีร้ายแรง
ไดโครโตฟอส (คอมราด 33% SC)
คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% EC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
เฟนนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50% EC)
เบนซัลแท็ป (แบนคอล 50% WP)
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร (2551)

การควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นควรหมั่นสำรวจตรวจนับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามโคนกอข้าวอย่างสม่ำเสมอ โดยให้พิจารณาศัตรูธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมในนาก่อนตัดสินใจใช้สารเคมี  ให้ทำการสุ่มสำรวจไร่ละ 10 จุด ๆ ละ 10 ต้น (นาหว่าน) ถ้าเป็นนาดำไร่ละ 10 กอ เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 1 ตัวต่อต้น หรือ 10 ตัวต่อกอ ควรใช้สารเคมีให้ถูกต้องตามคำแนะนำ และพ่นสารเคมีในจุดที่มีการระบาดเท่านั้น ในกรณีศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (มวนเขียวดูดไข่, Cyrtorhinus lividipennis Reuter) นั้น ถ้าหากพบน้อยกว่า 10 ตัว/ต้น ให้ทำการพ่นสารเคมีได้ แต่ถ้าพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 1 ตัวต่อต้น พบมวนเขียวดูดไข่มากกว่า 2-3 ตัว/ต้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี เพราะมวนเขียวดูดไข่มีศักยภาพที่จะควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เนื่องจากสามารถทำลายเหยื่อทั้งระยะไข่ และตัวอ่อน จนถึงตัวเต็มวัย มวนเขียวดูดกินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประมาณ 7-10 ฟองต่อวัน ตลอดอายุขัย (2-3 สัปดาห์) เพศเมียและเพศผู้สามารถทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เฉลี่ย 403 และ 232 ฟอง เมื่อเทียบกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาววางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์