คื่นฉ่าย

ชื่ออื่นๆ                                  : –

ชื่อวงศ์                                 : Gramineae (Poaceae)

ชื่อสามัญ                             : Celery

ชื่อวิทยาศาสตร์                 : Apium graveolens L.

1.พันธุ์ :พันธุ์คื่นฉ่ายมีหลายพันธุ์ชนิดแบ่งขายเป็นกิโล หรือเป็นปี๊บ เช่น พันธุ์โพธิ์ทอง และพันธุ์อื่นๆ

2. การเตรียมดิน คื่นฉ่ายนับเป็นผักใน 20 ผักที่สามารถปลูกแล้วได้เงินล้านขึ้นอยู่กับจังหวะ ราคา และการดูแลรักษาที่ดี ตลอดจนพื้นที่ดี ดังนั้นการเนรียมดินควรพิถีพิถันมาก คือ เมื่อไถดินแล้ว ต้องตากดินเป็นเดือนขึ้นไป และป้องกันกำจัดวัชพืชให้ดี หรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ไม่ให้น้ำท่วมขังได้ ใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว พรวนดิน ยกร่องให้สวยงาม และดินละเอียดไม่แข็งก้อนใหญ่ เพราะเมล็ดพันธุ์คื่นฉ่ายเล็กมาก หากดินก้อนใหญ่แล้วเมื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ลงไป รดน้ำมากๆ ดินละลายก็ทับเมล็ดคื่นฉ่ายหนาก็จะงอกยาก

3. วิธีการหว่านเมล็ด ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกรายใหญ่ๆ จะใช้เครื่องหว่านเมล็ดพันธุ์ เพราะจะทำให้ไวขึ้น ให้ปริมาณมาก และสม่ำเสมอดี เมื่อหว่านลงแปลงแล้วคลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำด้วยสปริงเกอร์ให้เป็นฝอย โดยก่อนหว่านคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีและสารป้องกันกำจัดโรคพืชด้วย และพ่นยาคุมหญ้าด้วย Oxydiazon ก่อนหว่าน 1 วัน

4. การให้น้ำ จะให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ โดยปั่นน้ำให้เป็นฝอย เช้า-เย็น ทุกๆ วัน จนกว่าเห็นว่างอกดีแล้ว จากนั้นก็ให้วันละครั้งควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำช่วงอากาศร้อนๆ หรือเที่ยงวัน

5. การให้ปุ๋ย เมื่อเมล็ดพันธุ์ที่หว่านแล้วงอกขึ้นมา อายุประมาณ 1 เดือน ก็หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 บางๆ และคอยหว่านทุกๆ 15 วัน

6. การเก็บเกี่ยว เมื่อคื่นฉ่ายอายุได้ 60 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยรดน้ำก่อนถอน ถอนมาแล้วก็ลอกใบเหลืองๆ หรือใบล่างที่ไม่สวยออก มันด้วยยางวงเป็นมัดๆ นำไปล้างน้ำให้รากสะอาด บรรจุถุง หรือเข้าส่งตลาด

7. โรค ที่สำคัญคือ โรคใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรคเน่า ควรฉีดพ่นด้วย แมนโดเซป โพรคลอราช หรือไดฟีโนโคนาโซล ตัวใดตัวหนึ่งสลับกัน

8. แมลง ที่พบคือ หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี ไซเพอร์เมทริน คลอร์ฟลูอาซูรอน หรือคาร์โบซัลแฟน ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลงศัตรู