ไบโอม(Biome) หรือ ชีวนิเวศ คือ ลักษณะของพืชที่พบเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกบนพื้นโลกแต่ละแห่ง โดยอาศัยเป็นตัวแบ่งโลกของสิ่งมีชีวิตในส่วนที่เป็นแผ่นดิน แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีพืชเด่นของแต่ละบริเวณ เช่น ป่าสน ป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย เป็นต้น
ชีวนิเวศในน้ำ (Aquatic ฺBiomes) ซึ่งสามารถจำแนกกว้าง ๆ ได้เป็น ชีวนิเวศน้ำจืด (freshwater) และชีวนิเวศน้ำเค็ม (marine)
การจัดจำแนก
1. แหล่งน้ำจืด (Fresh water biomes)
1.1 ทะเลสาบ (lake)
1.2 แม่น้ำลำธาร (stream)
2. แหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes)
2.1 พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland)
2.2 พื้นที่น้ำกร่อย (estuary)
2.3 เขตท้องทะเล (marine zone)
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ criteria:
- อุณหภูมิและความชื้นมีการเปลี่ยนแปลงน้อย จึงมีความสำคัญน้อย
– ระดับความลึกที่แสงส่องถึง
– องค์ประกอบทางเคมีของแหล่งน้ำ (salinity, nutrient availability)
– การเคลื่อนไหวของน้ำ (constant/seasonal)
สิ่งมีชีวิตในน้ำจำแนกได้ตามลักษณะการอยู่อาศัยในน้ำเป็น Nekton, Benthos (epifauna (sessile & demersal) & infauna), Plankton (phytoplankton & zooplankton), Floating plant, Submergent, Emergent, Periphyton, Neuston, Decomposer
ภาพลักษณะของแหล่งน้ำในโลก
ระบบนิเวศน้ำจืด (Freshwater Ecosystems)
-Salinity: น้อยกว่า 1% (amount of salt dissolved in water).
-Temperature : มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าทะเล
-มีโอกาสเสียสมดุลง่ายกว่าท้องทะเล
ภาพแสดงสัดส่วนของน้ำ
แหล่งน้ำจืด อาจแบ่งเป็น
1. แหล่งน้ำนิ่ง (Lentic) เช่น ทะเลสาบ บึง หนอง ปลัก สระแบ่งตามระดับความลึกได้เป็น
-เขตชายฝั่ง (Littoral zone) เป็นบริเวณที่แสงส่องถึง และมีความอุดมสมบูรณ์มาก
-เขตผิวน้ำ (Limnetic zone) เป็นเขตที่ห่างจากฝั่งออกไปจนถึงระดับที่แสงส่องไปเหลือความเข้มประมาณ 1% มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสมดุลกับการหายใจ ไม่มีส่วนของพื้นดิน ชนิดของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ แสง อาหาร ฯลฯ
-เขตก้นน้ำ (Profundal zone) แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้ใช้ออกซิเจนต่ำ
ภาพการแบ่งเขตนิเวศน้ำจืด
2. แหล่งน้ำไหล (Lotic) เช่น แม่น้ำ (Rivers) น้ำตก (Streams)
-มีการไหลของน้ำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพน้ำ
-มีผลผลิตขั้นปฐมภูมิสูงกว่าแหล่งน้ำนิ่ง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของแร่ธาตุจากต้นน้ำที่มีขนาดเล็กมารวมเป็นขนาดใหญ่ออกปากแม่น้ำ
-ออกซิเจนแพร่ลงสู่แหล่งน้ำได้ดีเนื่องจากมี overturn สิ่งมีชีวิตส่วนมากไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลง
การจำแนกทะเลสาบสามารถทำได้โดยดูจากปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ทำให้แบ่งทะเลสาบเป็น
1. Oligotrophic lakes (poor) small supply of nutrients. -มี primary productivity ต่ำ
-น้ำค่อนข้างใส
-มี phytoplankton และปลาน้อย
2. Eutrophic lakes (well-nourished) excessive supply of nutrients
-มี primaryproductivity สูง
-น้ำขุ่น
-มี phytoplankton จำนวนมาก
ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem) มหาสมุทร
– ครอบคลุมพื้นที่กว่า 71% ของผิวโลก
– เป็นแหล่งสำรองคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง
– เป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์
– เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์
มหาสมุทรมี 2 Life zones หลักคือ
1. Open sea
– plankton เป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานของ food chain สำหรับปลาและสัตว์อื่น ๆ
– ยิ่งลึกยิ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ
– บริเวณแนวปะการังเป็นที่มีความหลากหลายสูง
– มีตำแหน่งอยู่ใกล้กับ tropical oceans
พบว่ามีการอยู่ร่วมกันแบบ mutualism ระหว่าง polyps & algae
– ปะการังเป็นแหล่งของหินปูนที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง
– มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอาจเทียบได้ว่าเป็น tropical rain forests of ocean
– ปกป้องชายฝั่งจากพายุและคลื่นสูง
– แหล่งอนุบาลสัตว์
-มี primary productivity สูง
-แหล่งอนุบาลลูกปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ
-เป็นแหล่งจับคู่ผสมพันธุ์ของนกน้ำ ละสัตว์บางชนิด
-เป็นตัวกรองมลภาวะทางน้ำIntertidal zone
- เป็นบริเวณเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรกับพื้นดิน
- บริเวณส่วนใหญ่ได้รับแสงโดยตรงเกือบทั้งวัน
- คลื่นที่เกิดขึ้นทำให้สารอาหารถูกพัดพามา และมีออกซิเจนละลายมาก
- มีความหลากหลายของจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตสูง