การปลูกมะเขือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum
ชื่อสามัญ : มะเขือ
ชื่อสามัญอังกฤษ : Eggplant

ข้อมูลทั่วไป
มะเขือเปราะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล (Family) Solanaceae เป็นผักเมืองร้อนแบ่งได้เป็นประเภท พวกที่มีผลกลมยาว และพวกที่มีผลกลม สามารถปลูกได้ดีในดินทุกชนิดได้ผลดีที่สุดในดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศได้ดีและมีแสงแดดทั้งวัน มะเขือเปราะจะเจริญเติบโตไม่ดีในอุณหภูมิเย็นจัด โดยเฉพาะถ้าอากาศกลางคืนเย็นและกลางวันสั้นจะให้ผลผลิตต่ำ

วิธีการปลูก
· การเตรียมแปลงเพาะกล้า การเพาะกล้ามะเขืออาจทำได้ 3 วิธี
ตากดินระยะหนึ่งก่อนพรวนย่อยดิน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงในดิน แล้วทำการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลง จากนั้นจึงกลบด้วยดินร่วนผสมถ่านแกลบหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร หรืออาจโรยเป็นแถวโดยห่างกันแถวละประมาณ 15 เซนติเมตร ทำแถวให้ลึกประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร กลบด้วยดินร่วนผสมถ่านแกลบคลุมด้วยฟางบางๆ

· การเพาะในกระบะเพาะ โดยใช้กระบะเพาะพลาสติกขนาด 45 x 60 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตรแล้วนำดินผสมมาใส่กระบะ ดินผสมประกอบด้วย
ดินร่วน 1 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ถ่านแกลบ 1 ส่วน
นำดินผสมมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อจากนั้นปรับเกลี่ยให้เรียบแล้วทำแถวโรยเมล็ด กลบด้วยดินผสมดังกล่าวหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร
· การเพาะในถุงเพาะ ใช้ถุงเพาะขนาด 3 x 7 นิ้ว เจาะรูเพื่อให้มีการระบายน้ำ ใช้ดินผสมสูตรดังนี้
ดิน 5 ส่วน ถ่านแกลบ 3 ส่วน
ทราย 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15
คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ดินผสมลงในถุงเพาะให้เหลือจากปากถุงลงมาประมาณ 1 เซนติเมตร หยอดเมล็ดถุงละ 2 เมล็ด ใช้ดินผสมสูตรดังกล่าวร่อนให้ละเอียดโรยทับเมล็ดเพียงบางๆ การเพาะกล้าวิธีนี้ควรทำในแปลงเพาะกล้าที่มีมุ้งตาข่ายสีฟ้าคลุมเพื่อช่วยในการพรางแสงให้ต้นกล้า
การเตรียมดินปลูก
การเตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่ 2 ใช้ผาน 7 (การเตรียมแปลงปลูกขึ้นอยู่กับเครื่องมือของเกษตรกรแต่ละราย) หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตัน/ไร่ และปุ๋ยตรากระต่ายรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ใช้จอบหมุนผสมดินกับปุ๋ย และย่อยดินให้ละเอียด แต่งแปลงให้มีความกว้างบนแปลง 80 เซนติเมตร สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ร่องน้ำทางเดิน 80 เซนติเมตร เตรียมหลุมปลูกให้มีระยะระหว่างต้น 1 เมตร (ปลูกแบบแถวเดี่ยว)
การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อช่วยรักษาความชื้นและควบคุมวัชพืช
การย้ายกล้า
กล้าควรมีอายุ 30 วัน ก่อนการย้ายกล้าควรทำให้ต้นกล้าแข็งแรงก่อน เช่น ลดจำนวนครั้ง และปริมาณการให้น้ำแก่ต้นกล้าลง หรือในกรณีที่เพาะกล้าในถุงเพาะที่มีมุ้งตาข่ายสีฟ้าก็ควรเปิดออก โดยแรกๆ เปิดเพียงครึ่งเดียวก่อน ต่อมาก่อนย้ายกล้าประมาณ 5-7 วัน ควรเปิดออกให้หมด
ในกรณีที่เพาะในแปลงหรือในกระบะ การย้ายกล้าไปปลูกควรย้ายให้มีดินติดรากมากที่สุด และทำด้วยความระมัดระวัง การย้ายกล้าควรย้ายในเวลาบ่ายหรือเย็น
ก่อนย้ายกล้าไปปลูกควรให้น้ำที่หลุมปลูกให้ชุ่มก่อน เมื่อย้ายปลูกเรียบร้อยแล้ว
การให้น้ำ
ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงระยะการออกดอกและติดผล แต่ที่สำคัญอย่าให้น้ำขังเพราะรากจะเน่า การให้น้ำวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่
การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
· ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยตรากระต่ายรองพื้นตอนเตรียมแปลงปลูกสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
· ครั้งที่สอง ใส่เมื่อต้นมะเขือมีอายุได้ประมาณ 30 วันหลังจากย้ายกล้า หรือเมื่อมะเขือเริ่มออกดอก ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้อาจจะมีการให้ธาตุอาหารเสริม เช่น ปุ๋ยเกร็ด ปุ๋ยน้ำ โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของต้น
การตัดแต่ง
มะเขือจะมีลำต้นตั้งมีกิ่งสองกิ่งเป็นกิ่งกระโดงรูปตัว Y จะต้องมีการเด็ดแขนงล่าง ออกให้หมดเพื่อให้กิ่งกระโดงเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น สำหรับการเด็ดแขนงข้างล่าง จะทำเมื่อมะเขือมีอายุประมาณ 20 วัน หลังย้ายปลูก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับพันธุ์ และการเจริญเติบโตของมะเขือด้วย
เมื่อเก็บเกี่ยวมะเขือได้ระยะหนึ่ง ถ้าทรงพุ่มของมะเขือแน่นทึบควรมีการเด็ดใบที่อยู่ภายในทรงพุ่มออกบ้าง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง
เมื่อมะเขืออายุประมาณ 30 วัน หรือเมื่อมีกิ่งกระโดงเจริญเติบโตพอสมควรแล้ว ควรมีการทำหลักให้ต้นมะเขือ เพื่อให้ต้นแข็งแรง ไม่ล้ม โดยใช้ไม้รวกยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ปักไม้เอียงประมาณ 45 องศา ให้ปลายไม้รวกอยู่ระหว่างกิ่งกระโดงทั้งสองใช้เชือกฟาง ผูกที่ไม้รวกกับลำต้นให้ติดกัน
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันย้ายปลูกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 35-40 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ และเก็บเกี่ยวไปได้อีกประมาณ 10 เดือน (ต้องมีการตัดแต่ง, ให้ปุ๋ยและขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา, พันธุ์ ) ควรเก็บในระยะที่ผลพอเหมาะไม่ควรเก็บผลแก่ เพราะจะทำให้เสียรสชาติและคุณภาพไม่ดี
ความคุ้มค่าของการลงทุน
ค่าใช้จ่ายประเมินคร่าวๆ ต่อไร่
– ค่าเตรียมแปลง 2,360 บาท
– อุปกรณ์ในการเพาะปลูก 1,340 บาท
– ค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา 3,200 บาท
– ค่าแรง 18,000 บาท
รวมต้นทุน 24,9000 บาท
ผลผลิตต่อไร่
มะเขือยาวประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายประมาณ 8 บาทต่อกิโลกรัม
5,000 x 8 = 40,000 – 24,900 = 15,100 บาท
มะเขือเปราะประมาณ 6,000 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายประมาณ 7 บาท
6,000 x 7 = 42,000 – 24,900 = 17,100 บาท
มะเขือเป็นพืชทีเก็บผลผลิตได้นานถ้ามีการดูแลรักษาที่ดีจะได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นกว่านี้ และถ้าใช้แรงงานในครอบครัวค่าใช้จ่ายต้นทุนก็จะน้อยลง ผลตอบแทนจะสูงขึ้น อันนี้ขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดด้วย