สารเพิ่มความข้นและเพิ่มความคงตัวในทางเครื่องสำอาง

ประเภทสารเพิ่มความข้นและเพิ่มความคงตัวในทางเครื่องสาอาง

(The Type of Thickening Agents for Cosmetic)

2.jpg

          สารให้ความข้น (Thickening agent หรือ Thickener) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำสูตรเครื่องสำอาง เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมความข้นแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มความคงตัว การไหล และเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีในการใช้เครื่องสำอางอีกด้วย ดังนั้น ผู้ทำสูตรเครื่องสำอาง   จำเป็นจะต้องศึกษา Thickener ก่อนการนำมาใช้ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

          การจัดประเภทของ Thickener ในทางเครื่องสำอาง ณ ที่นี้ จะขอจัดเป็น 2 รูปแบบ คือ จัดตามการใช้งานในสูตร และตามแหล่งที่มา ตามตารางสรุปด้านล่าง

1. แบ่งตามการใช้งานในสูตร

– สารให้ความข้นที่กระจายตัวในน้ำ (Aqueous Thickeners)

– สารให้ความข้นที่ไม่กระจายตัวในน้ำ (Non-Aqueous Thickeners)

2. แบ่งตามแหล่งที่มา

– สารให้ความข้นที่ได้จากธรรมชาติ (Naturally Derived Thickeners)

– สารให้ความข้นที่ได้จากการสังเคราะห์ (Synthetic Thickeners)

Untitled.jpg

ตาราง 1 แสดงประเภทของ Thickener และตัวอย่าง Thickener ประเภทต่างๆ

นอกจากนี้ บางแหล่งข้อมูลยังแบ่งเพิ่มอีก 2 ประเภท ได้แก่

1.Mineral Thickener

ได้แก่ Silica, Bentonite และ Magnesium Aluminum Silicate ซึ่งสามารถใช้เพิ่มความข้นได้ทั้งในสูตรที่เป็นน้ำา และน้ำมัน

2.Ionic Thickener

ที่นิยมใช้หลักคือ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือ โดยมักน ามาใช้ในการปรับเพิ่มความข้นให้กับระบบ Surfactant ในเครื่องสำอางประเภททำความสะอาด

        ในการเลือกใช้ Thickener ให้เหมาะสม นอกจากจะต้องเรียนรู้ประเภทของ Thickeners เบื้องต้นแล้ว ผู้เตรียมสูตรควรจะศึกษาการใช้งานให้ลึกลงไปอีก เช่น ปริมาณที่เหมาะสม อุณหภูมิที่ต้องใช้ในการหลอมหรือกระจายตัว การNeutralization ที่จำเป็น ของ Synthetic Thickeners ที่กระจายตัวในน้ำบางชนิด และความเข้ากันได้กับสารอื่นๆในสูตร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถศึกษาได้จากเอกสารจากทางผู้ขาย ผู้มีประสบการณ์ หรือแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือต่างๆ ในที่นี้ ผู้เขียนจะขอแบ่งปันวิธีการใช้งานของ Thickener ที่นิยมใช้บางชนิดมาพอสังเขป ดังจะกล่าวต่อไป

c1.jpg

วิธีการใช้งานสารเพิ่มความข้นหรือเพิ่มคงตัวในทางเครื่องสำอาง

 

สารเพิ่มความข้นหรือเพิ่มคงตัวที่ต้องหลอมละลายก่อนใช้งาน

– ตัวอย่าง : Cetyl Alcohol, Cetearyl Alcohol, Stearic acid, Glyceryl Stearate, Lanolin Alcohol, Bee Wax, Candelilla Wax และ Carnauba Wax เป็นต้น

– การประยุกต์ใช้ : สารกลุ่มนี้ มักใช้เพื่อทำหน้าที่เพิ่มความคงตัวแก่ระบบอิมัลชันหรือเครื่องสำอางในรูปแบบครีม โลชัน รวมถึงรูปแบบแว็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ Synthetic Waxes ส่วนใหญ่ได้รับการคิดค้นให้สามารถทำหน้าที่เป็นตัวประสานน้ำและน้ำมันได้ไปในตัว

– วิธีการใช้งาน : ให้ความร้อนเพื่อให้สารหลอมละลาย แล้วจึงเติมลงในวัฏภาคน้ำ (Water phase) ที่อุณหภูมิใกล้เคียงกัน เพื่อก่ออิมัลชัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ จุดหลอมเหลวหรืออุณหภูมิที่แว็กซ์หลอมละลาย ความรู้สึกขณะใช้และหลังใช้ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

สารเพิ่มความข้นหรือเพิ่มคงตัวที่ต้องกระจายในน้ำอุณหภูมิห้อง

– ตัวอย่าง : Xanthan Gum, Guar Gum, Hydroxyethyl Cellulose (HEC)

– การประยุกต์ใช้ : เพิ่มความข้นและความคงตัวแก่ครีม โลชัน ยาสีฟัน ยาสีฟัน แชมพู เป็นต้น

– วิธีการใช้งาน : ค่อยๆ โรยขณะปั่น หรือกวนจนพองตัวเต็มที่ หรือได้สารละลายเข้ากันเป็นเเนื้อเดียว ไม่มีเม็ดหรือลิ่ม แล้วจึงให้ความร้อนเพื่อทำการผสมตามขั้นตอนต่อไป

สารเพิ่มความข้นหรือเพิ่มคงตัวที่ต้องทำให้เป็นกลาง

– ตัวอย่าง : Cabomers, Acrylates Copolymer

– การประยุกต์ใช้ : Cabomers มักใช้เพิ่มความข้นและความคงตัวให้กับครีม โลชัน และเพื่อทำเครื่องสำอางรูปแบบเจลใส เช่น เจลแต่งผม เป็นต้น ส่วน Acrylates Copolymer มักใช้เพื่อโอบอุ้มสารแขวนลอยในสูตร Surfactant base ไม่ให้ตกตะกอน เช่น สารเพิ่มมุก กลิตเตอร์ เม็ดสครับ เป็นต้น

– วิธีการใช้ : เมื่อผสมจนกระจายตัวหรือเข้ากันดีแล้ว จึงทำให้เป็นกลาง (Neutralize) โดยใช้สารละลายด่าง เช่น สารละลายโปแตสเซียมคลอไรด์ และ สารกลุ่ม ethanolamine ปรับ pH 6.5 – 7.5 เมื่อผสมจนเข้ากันดีแล้ว จะได้เจลใสที่ข้นขึ้น

          ท้ายสุด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความ “ประเภทสารเพิ่มความข้นและเพิ่มความคงตัวในทางเครื่องสำอาง” นี้จะสามารถเพิ่มเติมความรู้และเป็นแนวทางในการทำสูตรเครื่องสำอางได้ในระดับหนึ่ง แต่หากท่านต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอางแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดลองทำด้วยตนเอง เพื่อที่จะเข้าใจ และเกิดทักษะมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

1. Karsheva, M., Georgieva S. and Handjieva S. 2007. The Choice of The Thickener – Away to Improve The Cosmetics Sensory Properties. Available:

http://www.uctm.edu/journal/j2007-2/10-Kursheva_187-194.pdf. January 9, 2014.

2. Romanowski, P. 2011. Thickening Agents for Cosmetic Formulations. Available: 

http://chemistscorner.com/thickening-agents-for-cosmetic-formulations/.January 9, 2014.

3.Kacharia, A.N. Thickening Agents in Cosmetics. Available:

http://www.slideshare.net/anay_ict/thickening-agents-in-cosmetics. January 9, 2014.

4. Williams, P.A. 2006. Fluid Gels Based On Natural Polymers For Cosmetic Applications. Available:

http://www.cosmeticsandtoiletries.com/formulating/function/viscositymod/2672031.html. January 9, 2014.