รู้จักกับตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุ , คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ ตัว C ที่เรานิยมเรียกกัน ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า โดยจะว่าไปแล้วตัวเก็บประจุทำหน้าที่คล้ายกับแบตเตอรี่ แต่จะเก็บกระแสไฟฟ้า ได้น้อยกว่าและจะจ่ายกระแสไฟฟ้าไฟฟ้าได้เร็ว กว่า
โดยตามโครงสร้างแล้วตัวเก็บประจุจะประกอบด้วยแผ่นตัวนำวางประกบกันโดยเว้นระยะห่างของแผ่นตัวนำโดยภายในจะมีสารไดอิเล็กตริกอยู่ เราจึงนิยมมักเห็นตัวเก็บประจุอยู่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสมอ นอกจากเราจะใช้ตัวเก็บประจุ เก็บและคายประจุให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แล้วเรายังใช้ตัวเก็บประจุ ในวงจรกรองความถี่ได้อีกด้วย หน่วยของตัวเก็บประจุเรียกว่า F (ฟารัส) 10uF(10ไมโครฟารัส) 0.01uF (0.01ไมโครฟารัส) เป็นต้น ซึ่งการอ่านค่าและ การแปลงหน่วยจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป
ชนิดของตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุเองนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดเช่น แบ่งตามการใช้งานตามขั้วไฟฟ้าจะมีตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว ( คือต้องต่อให้ถูกขั้วจึงจะทำงาน) และตัวเก็บประจุไม่มีขั้ว(จะต่อแบบใดก็ได้)
หรือจะแบ่งตามชนิดโครงสร้างก็สามารถแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลท์ ตัวเก็บประจุเซรามิค ตัวเก็บประจุแทนทาลั่ม ตัวเก็บประจุโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น
หรือแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงค่า สามารถแบ่งเป็นตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ ตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าได้(พบมากในเครื่องรับวิทยุ) และตัวเก็บประจุที่เลือกค่าได้(มีหลายตัวอยู่ในตัวเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีอีกมากมายแต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปร่างและการใช้งานพื้นฐานของตัวเก็บประจุที่เรามักจะพบเห็นเสมอในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ตัวเก็บประจุโพลี ตัวเก็บประจุชนิดนี้อาจแบ่งได้หลายแบบเช่น โพลีเอสเตอร์ โพลีคาร์บอนเนต โพลีโพไฟลีน ซึ่งรายละเอียดจะหามาลงในบทความต่อไป ค่าความจุจะอยู่ในช่วง นาโน – ไมโคร เช่นเดียวกับ ตัวเก็บประจุไมล่าการใช้งานแรงดัน อยู่ในช่วง 50V – 100 V หรือมากกว่าซึ่ง จะเขียนติดไว้ที่ตัวเก็บประจุอยู่แล้วและค่าตัวเก็บประจุ จะพิมพ์อยู่บนตัวเก็บประจุเลย โดยอาจจะเป็นค่า pF หรือ uF ขึ้นอยู่กับค่าความจุในการใช้งานส่วนมากจะใช้งานในระบบเสียง เสียง เครื่องเสียง ระบบความคุม เป็นต้น
การอ่านค่าตัวเก็บประจุ และการแปลงค่าของตัวเก็บประจุ
ดังที่กว่าไปแล้วว่าหน่วยของตัวเก็บประจุคือ F (ฟารัส) แต่ตัวเก็บประจุที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ จะมีค่าต่ำๆเป็น u(ไมโคร) n(นาโน) p(พิโก) ซึ่งหน่วยดังกล่าวสามารถแปลงกลับไปกลับมาได้ เช่น หากไปซื้อตัวเก็บประจุแล้วทาง ร้านบอกค่ามาเป็น n(นาโน) เราก็สามารถแปลงเป็น p(พิโก) ได้ หรือ การอ่านค่าตัวเก็บประจุบางชนิดซึ่งอาจจะอ่านเป็นค่า n(นาโน) เราก็สามารถแปลงมาเป็น p(พิโก) หรือ u(ไมโคร) ได้
การเทียบหน่วยของตัวเก็บประจุ
1 ฟารัส (1F) = 1,000,000 ไมโครฟารัส (1,000,000uF)
1 ไมโครฟารัส(1uF) = 1,000 นาโนฟารัส(1,000nF)
1 นาโนฟารัส (1nF) = 1,000 พิโกฟารัส(1,000pF)
การอ่านค่าตัวเก็บประจุแบบต่างๆ โดยทั่วไปแล้วตัวเก็บประจุชนิด เซรามิก หรือ ไม่ล่า จะเขียน โคด(code) รหัสแสดงการบอกค่าความจุของตัวเก็บประจุ โดยจะแสดงในรูปของจำนวนตัวเลข 3 ตัว เช่น 103 ในการแปลงค่า2หลักแรก(10) จะเป็นค่าคงที่ ส่วนหลักที่ 3(3) จะแทนจำนวนเลข ศูนย์(0) เท่ากับจำนวนนั้น และหน่วยที่ทำการ อ่านจากรหัสเหล่านี้จะเป็น พิโก (p) เสมอ เช่น
103 จะเขียนเป็น 10,000pF
221 จะเขียนเป็น 220pF
253 จะเขียนเป็น 25,000pF เป็นต้น
จากนั้นเราก็จะเแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ตามที่ต้องการ
แต่จะมีวีแปลงจากรหัสเหล่านี้ไปอยู่ในรูปของ ไมโคร (uF) ได้โดยเราจะมองที่หลักสุดท้ายคือ
ลงท้ายด้วย 1 จะเป็น 0.000 เช่น 231 จะเป็น 0.00023uF (230pF)
ลงท้ายด้วย 2 จะเป็น 0.00 เช่น 232 จะเป็น 0.0023uF (2300pF)
ลงท้ายด้วย 3 จะเป็น 0.0 เช่น 233 จะเป็น 0.023uF (23000pF)
ลงท้ายด้วย 4 จะเป็น 0. เช่น 234 จะเป็น 0.23uF(230000pF)
** แต่ในตัวเก็บประจุเซรามิคอาจจะเป็นตัวเลขตัวเดียว เช่น 1 2 แสดงถึงค่า 1pF 2PF ได้เลย