วิธีติดตั้ง LOAD CELL ไม่ให้พัง

เริ่มแรกก็ต้องเลือกเลือก ชนิดของ Load Cell ให้ตรงกับงานที่จะใช้งานซะก่อนนะจ๊ะ ว่าลักษณะงานเป็นแบบแรงดึง แรงกด หรือ แรงงบิด ซึ่งรูปแบบมีหลากหลายมากนะจ๊ะ พอเลือกได้แล้วต่อมาก็คำนึงถึงพิกัดของ Load Cell ที่จะใช้ หรือ เรียกหรูๆ ว่า Rated capacity (R.C.) แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าควรจะเลือกใช้ Rated capacity เท่าไรจึงจะเหมาะสมกับงาน

(น้ำหนักวัสดุ + น้ำหนักภาชนะ ) x Safety factor / จำนวน Load Cell

รูปแบบการติดตั้งโหลดเซลล์ประเภทต่างๆ

1. Single Point Installation

Single Point Load Cell - Installation

2. Single Point Installation

S Beam Load Cell - Installation3. Single Point Installation

Pan Cake Load Cell - Installation

4. Accessary สำหรับติดตั้งโหลดเซลล์ เพื่อความปลอดภัยและลดเวลาในการติดตั้ง

Accessary Load Cell - Installationต่อมาก็ต้อง ติดตั้ง Load Cell เข้ากับพวก  Bearing Plate ,Mounting Plate ,Height Adjustable Foot ,Rod End Ball Joint, Ball Bearing  เพื่อยึดกับฐาน หรือ แขวนตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของ Load Cell ที่ใช้นะจ๊ะ  อุปกรณ์พวกนี้สามารถออกแบบทำ หรือสร้างเองก็ได้ แต่ถ้าให้ดีหาซื้อ แบบสำเร็จรูปที่ออกแบบของตัวมันโดยเฉพาะจะได้มาตรฐานกว่านะจ๊ะ ที่สำคัญควรเลือก Load cell ที่ได้รับรองมาตรฐานต่างๆ ดังนี้ครับ

Bongshin Standard

ข้อควรระวังในการจะติดตั้ง ไม่ให้ Load Cell เสีย

  • คำนวณพิกัด Load Cell ให้ดีดี ถ้าใช้ น้ำหนัก เกินพิกัด Load Cell ก็มีโอกาสที่จะพังได้ ถ้าเอาชัวร์หน่อย Safety factor = 100% ก็ได้  แต่ถ้างานที่ใช้มีแรง g เข้ามาเกี่ยวควรเผื่อ ไว้มากหน่อยนะจ๊ะ
  • จ่าย Excitation ให้ Load Cell อย่างเหมาะสม  ไม่ควรเกิน Spec ของ Load Cell แต่ถ้าใช้ Indicator ของ Bongshin ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้เลย
  • ต่อสาย Load Cell เข้ากับตัว Controller ให้ ถูกต้องถูกขั้วตาม Code สีของ Load Cell ดัวยแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกันนะ ต่อผิด ชีวิตเปลี่ยน
  • Wiring Load Cell - Installationติดตั้งสาย Shield เข้ากับ ระหว่าง Bearing Plate กับ Mounting Plate เพื่อทำการ Bypass กระแสไฟฟ้าต่างๆ เพื่อลงกราวน์
  • ถ้าติดตั้ง Load Cell หลายจุด จะต้องทำให้ Load Cell สมดุลกันกันทุกจุด เพื่อไม่ให้ Load Cell ตัวใดตัวหนึ่งรับ น้ำหนักมากเกินไป

จากที่กล่าวมาท่านก็สามารถ ออกแบบและติดตั้ง Load Cell ของท่านได้ โดยที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือ มีวิธีป้องกันการเสียหายของ Load Cell เพื่อให้ใช้งานยาวนานคงทนได้นะจ๊ะ

สุดท้ายครับ…ห้ามลืมเด็ดขาด

ในการติดตั้งหรือจะซ่อมบำรุงเครื่องชั้งจะต้องมีการใส้ Dummy Load ที่มีขนาดเท่ากับโหลดเซลล์จริงที่ติดตั้งอยู่ หรือ Mechanical Over Load Protection หรือ Stopper เพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่ไม่คอดคิดที่จะเกิดขึ้นกับตัวโหลดเซลล์ครับ ข้างล่างเป็นรูปตัวอย่างครับ

Machanical Over Load Protection - Installation

Ball Bearing - Installation

หากต้องการทราบรายละเอียดสามารถติดต่อ บ.แอมด้า จำกัด ได้เรามีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษา แนะนำท่านเสมอจ๊ะ