การเติมคลอรีนในน้ำประปาเป็นวิธีการฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาที่นิยมใช้ที่สุด เนื่องจากวิธีนี้ได้ผลระยะยาว หลังจากเติมคลอรีนลงไปเชื้อโรคที่อยู่ในท่อจ่ายน้ำประปาจะถูกกำจัดขณะอยู่ในท่อน้ำ ส่วนวิธีการฆ่าเชื้ออื่นๆจะทำลายได้เฉพาะแบคทีเรียและไวรัสในน้ำที่ไหลผ่านเข้าไปในช่วงที่มีการฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น ถ้าแบคทีเรียหรือไวรัสเกิดขึ้นหลังจากขบวนการฆ่าเชื้อโรคมันจะแพร่กระจายตามปกติ
วิธีเติมคลอรีนมีข้อเสียเล็กน้อยคือ
- คลอรีนจะมีรสหลงเหลืออยู่เล็กน้อย
- ถ้าใช้คลอรีนจำนวนมากเกินไปจะมีผลต่อการกัดกร่อนของโลหะ
การเติมคลอรีน
ปริมาณคลอรีนที่เติมเพื่อจะฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ขึ้นอยู่กับส่วนผสม อุณหภูมิของน้ำ และเวลาที่กักเก็บ(เวลาที่น้ำสัมผัสกับคลอรีน) การเติมโดยทั่วไปใช้ 1.0-1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้เวลากักเก็บประมาณ 30 นาที
ปริมาณคลอรีนที่จะต้องเพิ่มขึ้นเมื่อ
- เวลากักเก็บน้อยกว่า 30 นาที
- จำนวนเหล็ก กำมะถัน แอมโมเนีย และสารอื่นๆยังคงมีอยู่
- อุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
- ค่า pH ของน้ำสูงกว่า 7
คลอรีนจำนวนเล็กน้อยสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ในขณะที่คลอรีนจำนวนมากกว่าสามารถฆ่าไวรัสได้ จำนวนที่เติมวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร หรือหนึ่งส่วนในล้านส่วน (ppm) 1 ppm เท่ากับคลอรีนเข้มข้น 1 ลิตรต่อน้ำล้านลิตร (1ลิตรต่อน้ำ 1ลูกบาศก์เมตร)
คลอรีนที่เติมลงไปในน้ำประปาบางส่วนจะทำปฏิกิริยากับโลหะ แร่ธาตุ เนื้อเยื่อและสารอินทรีย์ในน้ำ และจะเฉื่อยลง คลอรีนบางส่วนจะผสมกับแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำ ซึ่งจะบั่นทอนการฆ่าเชื้อโรคลง ส่วนคลอรีนที่เหลืออยู่และเป็นอิสระจะฆ่าแบคทีเรียได้ดีกว่าสารประกอบคลอรีนตกค้างอยู่ประมาณ 20 เท่า
คลอรีนอิสระที่เหลืออยู่จะต้องมีค่าอย่างน้อย 0.2-0.5 ppm โดยตรวจสอบหลังจากเวลากักเก็บเป็นเวลา 30 นาที ในน้ำที่ pH สูงสุดไม่เกิน 7 ถ้าค่า pH สูงกว่า 7 คลอรีนอิสระจะต้องมีค่าอย่างน้อย 0.8 ppm