พิษของกากน้ำตาล

ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา กับดินหรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาลกับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกันหากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน

 

เอนไซม์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำมะพร้าว 1 ส่วน + เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

เป็นเวลา 3-6 เดือนเพื่อสลายปูนขาวที่ติดมากับกากน้ำตาล ซึ่งเป็นตัวทำให้ดินแข็งกระด้าง เกิดการอุดตันของชั้นดิน และชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเชื้อราดำที่ราก ของพืช เกิดรากเน่ากากน้ำตาลจะสลายได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่ที่ความเปรี้ยวของการหมัก การที่เราใส่น้ำมะพร้าวลงไป เพราะเป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็น อาหารของยีสต์ส่วนเปลือกสับปะรด จะมีจุลินทรีย์ที่ตาสับปะรดจำนวนมากกว่าผลไม้อื่น เมื่อนำมาใช้ในการหมักจะทำให้เกิดน้ำส้มสายชูได้เร็ว จึงช่วยใน การสลายกากน้ำตาลได้เร็วยิ่งขึ้น

การขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล

นำเอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน

ขยายต่อได้ทุก 2 เดือนจะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วยเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตัวอย่างของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วนฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมายดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วยตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน

 

น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 3 เดือนจึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้ยังมีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้

ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือโมลาส

น้ำ
ซูโครส
ริดิวซิงชูการ์
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ
เถ้าซัลเฟต
ยางและแป้ง
ขี้ผึ้ง
20.65
36.66
13.00
50.10
15.00
3.43
0.38
ไนโตรเจน
ซิลิกาในรูป SiO2
ฟอสเฟต P2O5
โปแตสเซี่ยม K2O
แคลเซียม CaO
แมกนีเซียม MgO
0.95
0.46
0.12
4.19
1.35
1.12