แคลเซียม-โบรอน จำเป็นต่อพืชอย่างไร??

แคลเซียมโบรอน เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดและพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ประกอบด้วย แคลเซียม , โบรอน กรดอะมิโน 17 ชนิด และอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ขยายขนาดผล กระตุ้นการแตกตาดอก ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พืชแข็งแรง ใบเขียว ป้องการอาการก้นดำในมะเขือเทศ ไส้ดำในกะหล่ำปลี ทำให้โครงสร้างพืชแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี

พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่างๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน , ไฮโดรเจน , ออกซิเจน , ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส , โพแตสเซียม , แมกนีเซียม , กำมะถัน , แคลเซียม , เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน ,โมลิบดีนัมและคลอรีน โดยธาตุคาร์บอน , ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุแบ่งออกเป็นธาตุหลัก 6 ธาตุ และธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ดังนี้

ธาตุหลักและธาตุอาหารรอง 6 ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณมากที่มาจากดินคือ ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส , โพแตสเซียม , แมกนีเซียม , กำมะถัน , แคลเซียม

ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อยแต่พืชจะขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน , โมลิบดีนัม และคลอรีน
ปกติแล้วธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว แต่ในปริมาณที่น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนั้นเราจึงต้องมีการเสริมธาตุในดินทดแทน

“แคลเซียม โบรอน” มีความจำเป็นอย่างไรต่อการทำผลไม้นอกฤดู? ตลอดจนกระบวนการทำงาน

ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียม จะพบมากในบริเวณยอดใบที่เจริญใหม่ๆ หงิกม้วนงอและขาดเป็นริ้วๆ ตายอด
ไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ยอดอ่อนจะแห้งตายทั้งนี้แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน
นอกจากนี้แคลเซียมยังเกี่ยวข้องกับการคายน้ำเพราะฉะนั้นในสภาพอากาศที่ร้อนต้องให้แคลเซียมมากขึ้น “แล้วถ้าเกิดติดดอกมากในช่วงนอกฤดูความชื้นในอากาศมันต่ำกว่า มันก็ต้องคายน้ำออกเพื่อ การที่จะคายน้ำได้ดีก็ต้องใช้พลังมากไปเผาผลาญน้ำตาลจึงต้องใช้แคลเซียมโบรอนโดยเฉพาะการทำผลไม้นอกฤดูจึงจำเป็นมาก

ธาตุโบรอน มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดึงดูดธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสงการย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณค่าทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง ในขณะที่ช่วยการออกดอกและผสมเกสร ช่วยในการติดผล และเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายฮอร์โมนการใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนในการแบ่งเซลล์

หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคือ ส่วนยอดและใบอ่อน จะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหน้ากร้าน และตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น ตายอดตายแล้วมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายเหมือนกัน ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งก้านใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนาบางทีผลแตกเป็นแผลได้
อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย

“แคลเซียมเพิ่มความหวาน สร้างน้ำตาล แต่การเคลื่อนย้ายเกี่ยวข้องกับโบรอน แคลเซียมเผาผลาญไนโตรเจนเพราะฉะนั้นแคลเซียมกับไนโตรเจนจึงไปด้วยกัน ถ้าขาดแคลเซียม ไนโตรเจนก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทำไมถึงต้องใช้แคลเซียม-โบรอน ตามหลักวิชาการก็คือเราใช้ตอนที่ดินมันขาด หรือเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในช่วงที่ต้องใช้พลังงานเยอะ เพราะมันต้องเผาผลาญไนโตรเจน แล้วถามอีกว่าแคลเซียมเกี่ยวข้องอะไร ก็อย่างที่บอกว่าการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลเกี่ยวข้องกับโบรอน เพราะฉะนั้นจึงสำคัญมากในการทำผลไม้นอกฤดู”
นอกจากนั้นหลักการให้แคลเซียม-โบรอน จะต้องพิจารณาสภาพอากาศในช่วงนั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่าง ต้นไม้อาจจะเจอกับสภาพอากาศไม่เหมาะสม ดินมีธาตุอาหารที่เพียงพอที่พืชสะสมไว้ อย่างในช่วงที่ดอกกำลังจะบาน และช่วงผลจะติด หากพบว่าดอกกำลังตูมอยู่ในช่วงกำลังจะบานสามารถใช้แคลเซียม-โบรอนได้ เพราะจะไปช่วยให้รังไข่สมบูรณ์ขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อใช้แคลเซียมโบรอนในช่วงนี้ได้แคลเซียม และ โบรอน ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของโพแทสเซียมในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และเคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ผล จากนั้นให้แคลเซียมโบรอนอีกครั้งช่วงติดผล อย่างเช่นมะม่วง ครั้งแรกฉีดก่อนดอกบาน เมื่อดอกบานไปแล้วเว้นไว้ประมาณ 5-7 วัน แล้วจึงฉีดแคลเซียม-โบรอนอีกครั้ง

บทบาทสำคัญของแคลเซียม โบรอน กับผลไม้นอกฤดูทิ้งท้ายไว้ว่า แคลเซียม ช่วยในการคายน้ำ พืชที่ต้องออกดอก ออกผลในช่วงที่อากาศไม่เป็นใจเพราะฉะนั้นแคลเซียมจึงมีส่วนสำคัญ เช่น พืชคายน้ำจากใบพืช 1 ซีซี จะสามารถลดอุณหภูมิได้ 15 องศาเซลเซียส จากผิวใบซึ่งเป็นหลักทั่วๆ ไปของพืช เมื่อใบสังเคราะห์แสงทั้งวันสมมุติที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้ใบไหม้แต่หากมีการสะสมแคลเซียมที่เพียงพอจะช่วยไม่ให้ใบไหม้ได้

ด้าน โบรอน เป็นตัวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาลให้กับพืช ที่เป็นสารพลังงานซึ่งเป็นโปรดักส์ที่ได้จากโพแทสเซียม เพราะฉะนั้นในช่วงที่ต้องคายน้ำมาก ต้องใช้พลังงานมาก โบรอนจึงทำหน้าที่จูงสารพลังงานมาให้ “เหมือนเตาเชื้อเพลิง ถ้าเชื้อเพลิงหมด ก็เผาผลาญไม่ได้” ดังนั้น แคลเซียมโบรอน จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการทำผลไม้นอกฤดู
“ฉีดแคลเซียมโบรอนช่วงก่อนดอกบาน เพื่อช่วยในการขยายเซลล์ อย่างเช่นในมะม่วง หนึ่งก้านจะติดดอกจำนานมาก ทำให้เกิดการแข่งขันใช้เซลล์ แต่ต้องระวังหากใช้ผิดจังหวะมีผลเสียแน่นอน เพราะจะทำให้ธาตุอาหารไม่สมดุลกัน อย่างฉีดในช่วงที่ดอกบานมันอาจเสียหายได้ หรือยกตัวอย่างเมื่อมีฝนตกหนักดินบริเวณนั้นๆ จะเป็นกรด เมื่อได้รับแคลเซียมโบรอนเข้าไปอีกก็กลายเป็นกรดไปเลย เป็นต้น”

แคลเซียมโบรอน นับเป็นธาตุอาหารพืช ที่เกษตรกรใช้กันมาก เพราะนอกจากจะช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงแล้วยังช่วยพืชออกดอกออกผลได้ง่าย ขั้วเหนียว สีสวย เนื้อแน่น รสชาติดี ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี หากแต่เกษตรกรต้องใช้หลักความรู้ความเข้าใจให้มากในกระบวนการใช้

Cr. Taweesak Panpoca

วิธีการทำ แคลเซียม-โบรอน ขนาด6ลิตร

ส่วนประกอบหลักก็มี แคลเซี่ยมไนเตรท 400 g กับ กรดบอริค 100 g แล้วก็สี (สีที่เราใช้จะเป็นสีเหลืองให้ธาตุอาหารเหล็กแก่พืชด้วย)

มาเริ่มทำกันเลย
เตรียมขวดขนาด6 ลิตร เติมน้ำสะอาดครึ่งขวด
เทกรดบอริคลงไป แล้วเขย่าให้ละลายให้หมด
เมื่อกรดบอริคละลายหมดแล้ว ถึงจะเทแคลเซี่ยมไนเตรทและสีลงไป เขย่าให้ละลาย เติมน้ำให้เติม6 ลิตร

อัตราการใช้ 1-2 cc ต่อน้ำ 1 ลิตร