พีทมอส

Peat= ซาก
Moss=ต้นมอสแหละครับ
รวมเป็นซากต้นมอส

มันเริ่มจากเมื่อก่อนมีนักเดินทางเดินทางผ่านป่าบนที่ราบสูงที่มีหิมะ
ปกคลุมปีละ6-8เดือน ส่วนอีก4-6เดือนเป็นป่าที่มีต้นสนและต้นมอสขึ้นเป็นผืนใหญ่โดยมีพืชอื่นขึ้นน้อยมาก ซึ่งการเดินทางผ่านต้องใช้เวลาพอสมควร นักเดินทางมักจะขุดหิมะเพื่อเอาดินแถบนั้นมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อสร้างความอบอุ่น

จากคุณสมบัติที่ดินแถบนั้นสามารถจุดไฟได้ง่ายและติดไฟได้นาน
มันแสดงให้เห็นว่าดินแถบนั้นมีความโปร่งมากทำให้ติดไฟง่ายและโครงสร้างต้องแน่นและทนพอสมควรจึงติดไฟได้นาน
เวลาผ่านไปจนมีนักเดินทางช่างสังเกตและมีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น รวมถึงมีมนุษย์เริ่มไปอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงและร่ำลือถึงป่าแห่งนั้นว่าไม่ค่อยมีพืชอื่นขึ้น จนทำให้เหล่านักพฤกษศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ไปสำรวจพื้นที่แห่งนั้น
แล้วพบว่า….. พื้นที่แห่งนั้นเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการตายทับถมกันของต้นมอสสายพันธุ์

สแปกนัมมอส(Sphagnum Sp.) ซึ่งเกิดทุกปีในฤดูร้อนและตายในฤดูหนาวและมีหิมะปกคลุมหนาในฤดูหนาว และการที่พืชอื่นไม่ขึ้นบนผืนซากมอสนั้นเพราะซากมอสนั้นมีpH ต่ำมาก ประมาณ 3 เท่านั้น ซึ่งทำให้ขึ้นได้แค่มอสและต้นสนและต้นไม้ประจำถิ่นบางชนิดที่ทนสภาพกรดได้ถัดจากนั้นก็มีนักธุรกิจหัวใสซึ่ง1ในนั้นคือ

Klasmann Delmann (ชื่อยี่ห้อ คลาสแมน ที่เรารู้จักกันนะแหละ)

ได้เข้ามาหาวิธีหาเงินจากกองซากมอสนี้โดยใช้หลักการทางวิชาการคือ

1.พีทมอสอยู่บนพื้นที่หนาวพอหิมะที่ปกคลุมตลอด6เดือนละลายน้ำก็จะชะเอาสารเคมีหรือสารเจอปนล้างลงไปในพื้นที่ที่ต่ำกว่า
2.พีทมอสมีสภาพเป็นกรด จะปลอดจากเชื้อโรคพืชเพราะเชื้อโรคพืชทนกรดไม่ได้จะมีแต่เชื้อที่ชอบกรดถึงอยู่ได้และแน่นอนว่าปลอดวัชพืชเพราะมันไม่มีอะไรงอกในพื้นที่นั้น แสดงว่าเป็นวัสดุที่สอาด…หากปรับpHให้เป็นกลางก็สามารถกำจัดเชื้อที่อยู่ในกรดได้หมด และเป็นวัสดุปลูกที่สะอาดมากทันที

2.สภาพพีทมอสเป็นอินทรีย์วัตถุและมีความโปร่งสูงมากและอุ้มน้ำได้ดี หากนำไปปลูกพืชพืชจะแตกรากได้ดีและเจริญเติบโตได้ดีแน่นอน
จากคุณสมบัติอุ้มน้ำเวลาอุณหภูมลดลงถึงติดลบ น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งและขยายตัว ทำให้พีทมอสซึ่งถ้าใช้กล้องขยายกำลังสูงส่องดู จะมีลักษณะเหมือนหลอดโดยเฉพาะพีทขาวหรือสแปกนัมสดที่ตากแห้งแต่เส้นใยยังเหนี่ยว เพราะสแปกนัมมอสเวลาตายจะเหลือโครงสร้างของต้นและใบที่เป็นโครงภายในโปร่งเหมือนหลอดไว้ และหลอดมีขนาดอล็กจะมีแรงดึงดูดแบบแคปพิลารี่สามารถดูดน้ำจากด้านล่างสู่ด้านบนได้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีของวัสดุปลูก

เอาแค่คุณสมบัติ2ข้อก็เพียงพอต่อการนำมาขายในวงการเกษตรแล้ว

ส่วนเทคนิคการเก็บเกี่ยว การทำความสอาด การปรับ pH การบรรจุ และลักษณะของพีทมอสแต่ละชั้นที่มีสีต่างกันความแน่นต่างกันการเดรนน้ำต่างกัน แยกเป็นพีทขาว พีทน้ำตาล พีทดำ

พีทมอส มีหลายชั้นแต่เราจะแบ่งกว้างๆไว้ 4 ชั้นในประเทศไทย

ชนิดที่ 1.ชั้นบน การกดทับน้อยมีลักษณะสีน้ำตาลออกขาวๆเวลาโดนแสงแดดจัดๆ เราเรียกพีทขาว
ลักษณะมีความโปร่งสูง เนื้อจะหยาบๆ ระบายน้ำดี เหมาะแก่การใช้เป็นวัสดุปลูกหรือวัสดุเพาะกล้ากับโรงเรือนที่ควบคุมน้ำได้ เพราะการแห้งของเนื้อพีทมอสจะทำให้เกิดช่องว่างอากาศและระบบรากจะเดินได้ดีกว่าชนิดอื่นเพรสะรากต้องการอากาศ แต่ถ้าปล่อยให้แห้งสนิทในสภาวะอากาศร้อนๆ ต้นกล้าที่บอบบางก็อาจจะแห้งตายได้
จุดขายคือ วัสดุปลูกทุกชนิดทำให้เปียกได้แต่ทำให้แห้งยาก

ชนิดที่ 2. พีทน้ำตาล เป็นชั้นที่ลึกลงมาอีกนิด ลักษณะจะมีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่าพีทขาว ลักษณะโปร่ง แต่จะเก็บน้ำได้ดีขึ้นกว่าพีทขาว การระบายน้ำยังคงดีอยู่ เหมาะกับโรงเรือนที่ควบคุมน้ำได้

ชนิดที่ 3.พีทชั้นกลาง Tray substrate มีสีน้ำตาลเข้มการละบายน้ำช้าลง แน่นขึ้นแต่ยังมีเศษพีทน้ำตาลปนอยู่บ้าง การดูแลจัดการน้ำง่ายขึ้น ระบบรากเดินดีปานกลาง

ชนิดที่ 4.พีทดำ เป็นพีทมีสีน้ำตาลเข้มออกดำ เนื้อมีความโปร่งน้อยกว่าชนิดอื่นๆ การอมน้ำดี เหมาะกับมือใหม่หรือมือสมัครเล่นที่มีการจัดการน้ำไม่ดี ระบบรากเดินพอใช้ได้ เป็นที่นิยมกว่าตัวอื่นเพราะเนื้อพีทดำจะหนัก จึงมักบรรจุมาขนาด70ลิตร จึงซื้อง่ายกว่าพีทขาวที่มักบรรจุมาแพ๊คใหญ่เพราะน้ำหนักเบากว่า

ส่วนใหญ่คนเข้าใจว่าพีทมอสคือดินที่อุ้มน้ำดี แต่จริงๆแล้วพีทมอสคือดินที่มีความโปร่งสูงและเก็บน้ำได้เพียงระดับนึงต่างหาก เพราะสัดส่วนของความชื้นและอากาศในพีทมอสเหมาะสมต่อการแตกราก จึงทำให้ระบบรากแข็งแรงแน่นอนรากแข็งแรงต้นก็แข็งแรง %การรอกชีวิตของต้นกล้าก็สูงกว่าการเพาะกล้าในดินแน่นๆ จึงเป็นที่มาของวัสดุเพาะกล้าที่ชื่อว่า พีทมอส นั่นเอง ๆ ๆ ๆ (ทำเสียงเอคโค่)

ส่วนเรื่อง % ความงอกสูงกว่านั้น จะเกี่ยวกับพีทมอสแค่ งอกออกมาแล้วไม่เจอเชื้อหรือไม่เจอความเค็ม(ECสูง) พีทมอสไม่สะสมเกลือและปลอดเชื้อโรค ทำให้กล้าเล็กๆที่งอกมาโตได้ จึงเห็นว่างอกเยอะกว่า
ในขณะที่ดิน7ถุง100 โปร่งเหมือนกัน แต่มีส่วนประกอบของแกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก และวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสที่ผสมปุ๋ยแล้วคลุกไม่ดี ดินอาจจะเค็ม หรือดินเป็นด่างจัด หรือวัสดุชนิดนั้นมีเชื้อโรคเจือปนมา ก็มีโอกาสที่ต้นกล้างอกออกมาแล้วตายในทันทีก็เป็นได้

ส่วนคู่แข่งพีทมอสในไทย

ส่วนใหญ่เป็นขุยมะพร้าวหมัก หรือจอกแหน หรือผักตบชวาตากแห้งแล้วเอามาปั่นละเอียด ข้อด้อยคือ

1.ขุยมะพร้าวเป็นที่รู้กันว่าสะสมความเค็ม ต้องหมักหรือแช่น้ำเพื่อล้างเกลืออกก่อนจึงใช้ได้ หากใช้ไปนานๆใส่ปุ๋ยให้พืชขุยใะพร้าวก็จะสะสมเกลือไว้เยอะจน ECสูง ทำให้ปลายรากพืชถูกดูดน้ำออกเกิดอาการปลายรากไหม้ดำและตายได้จึงต้องระวังให้ดี

2.ผักตบหรือวัสดุอื่นๆ ก็อาจจะมีเชื้อโรคพืชหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อรากพืชปนเข้ามา ทำให้ต้นกล้าเราตายได้

3.มอสในป่าพรุเขตร้อนในที่ลุ่มต่ำทางใต้ ข้อด้อยคือพื้นที่ลุ่มต่ำสะสมปุ๋ย สารเคมีที่ไหลมากับน้ำ และเชื้อโรคอื่นๆ ทำให้ไม่เหมาะในการเอามาใช้
พูดง่ายๆคือ มันไม่นิ่งเท่าพีทมอสครับ วัตถุดิบที่นำมาผลิตมีไม่มากพอและไม่นิ่ง ส่งผลให้พีทมอสครองแชมป์การเป็นวัสดุเพาะกล้าอยู่ในปัจจุบัน