แอลกอฮอล์เพื่อสาธารณสุข

แอลกอฮอล์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์มีสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ

 

แอลกอฮอล์ กับการเป็น disinfectant

กลไก: ขับน้ำออกจากเซลล์ รบกวนเยื่อหุ้มเซลล์โดยละลายไขมันที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้โปรตีนตกตะกอน

ข้อดี: ใช้ง่าย ราคาถูก

ข้อเสีย: ระคายเคืองผิวหนัง ระเหยเร็ว จุดเดือดต่ำ ติดไฟง่าย ทาให้โลหะเป็นสนิม เลนส์มัว พลาสติกแข็งหรือพองตัว

 

แอลกอฮอล์สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัสบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่มีโครงสร้างไขมันหุ้มอยู่ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ละลายไขมัน ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนสภาพ (protein denaturant) แต่ไม่มีผลต่อสปอร์

 

สารกลุ่มนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็น disinfectant และ antiseptic ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน แต่สามารถติดไฟ ได้ดี ระเหยได้ง่ายทำให้ติดบนพื้นผิวและออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานานไม่ได้ เมื่อละลายกับน้ำจะสามารถแพร่ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น จึงทำให้โปรตีนเสียสภาพและยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกและเข้าไปรบกวนระบบ metabolism ได้ด้วย แต่ถ้าเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์จะทำให้โปรตีนด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพได้ อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อยลงการออกฤทธิ์ก็จะลดลง ความเข้มข้นปกติที่นิยมใช้กัน จะอยู่ในช่วง 60−90% (ถ้าความเข้มข้นมากกว่านี้จะไม่สามารถเข้าเซลล์ได้) เช่น แอลกอฮอล์ผสมความเข้มข้นสูงของ 80% ethanol ร่วมกับ 5% isopropanol จะสามารถยับยั้งไวรัสที่มีเยื่อหุ้มเป็นลิปิดได้ด้วย (HIV ไวรัสตับอักเสบ B และ C) ส่วนการ disinfect บนพื้นผิวเปียกจะต้องใช้ความเข้มข้นมากขึ้น

 

นอกจากนั้นประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อผสม wetting agent เช่น dodecanoate (coconut soap) เช่น ของผสม 29.4% ethanol กับ dodecanoate จะออกฤทธิ์ได้ดี กับทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส

 

แอลกอฮอล์ขนาดเล็กอย่าง ethanol และ isopropanol ใช้เป็น disinfectant อย่างแพร่หลาย แต่ methanol ไม่ใช้เป็น disinfectant เพราะมีพิษอย่างยิ่งต่อคน ถ้าได้รับเกิน 10 mL ไป เมื่อย่อยเป็น formic แล้วจะมีผลทำลายประสาทตาจนตาบอดถาวรได้ และถ้าได้รับเกิน 30 mL อาจถึงตายได้

โดยทั่วไป ethanol ออกฤทธิ์ต่อไวรัสได้ดีกว่า isopropanol และนิยมใช้กันอย่าง กว้างขวางมากกว่า สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคและไวรัสพวก herpes, influenza, rabies ได้ แต่พวกไวรัสตับอักเสบและ AIDS ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยปกติจะไม่ใช้แช่เครื่องมือ เพราะจะทำให้เป็นสนิม แต่หากเติม NaNO2 (sodium nitrite) 0.2% จะช่วยป้องกัน การเกิดสนิมได้

 

 

ที่มา: สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข. กลุ่มพัฒนาระบบวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, มิถุนายน 2558.

 

 

ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์มีมากมีหลายรูปแบบ และมีวัตถุประสงค์การใช้งานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทการจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนี้

  1. ยา
  2. เครื่องสำอาง
  3. เครื่องมือแพทย์
  4. วัตถุอันตราย
  5. อาหาร

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการจดแจ้งประเภทวัตถุเสพติด

 

 

เจลล้างมือหรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องล้างน้ำออก มีทั้งชนิดเจล ของเหลว และสเปรย์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม มีส่วนประกอบสำคัญคือ แอลกอฮอล์ (alcohol) ในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 70 อาจมีสารฆ่าเชื้อ เช่น ไตรโคลซาน, สารที่ทำให้เกิดสภาพเจล (gelling agent) เช่น carbomer สารให้ความชุ่มชื้นลดการแห้งของผิว (emollients) เช่น ว่านหางจระเข้ (Aloe vera), tea tree oil และกลีเซอรอล, สีและน้ำหอมเป็นส่วนผสม หากผลิตภัณฑ์มีปริมาณแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และใช้กับผิวหนังมนุษย์ จะจัดเป็นยา เช่น แอลกอฮอล์ล้างแผล

 

เจลล้างมือเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถพกพาไปใช้ได้สะดวก ทดแทนการล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ ลดการน้าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ. 2554 และเมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, โรคมือเท้าปากเปื่อย เป็นต้น ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมคุณภาพด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่วางจ้าหน่ายทั่วไปในท้องตลาด แต่หากผลิตภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพในการลดเชื้อได้จริงแล้ว เมื่อน้ามาใช้อาจท้าให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้อีกด้วย

 

สมบัติทางกายภาพและการออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์

โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเจลล้างมือ คือ เอทานอล (ethanol หรือ ethyl alcohol) เป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหย ได้ดี แต่มีแอลกอฮอล์อีกชนิด นั่นคือ เมทานอล (methanol หรือ methyl alcohol ) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่มีพิษ ห้ามใช้กับร่างกาย ใช้ในสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ เมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะท้าให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ กรณีที่มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาอาจส่งผลท้าให้เยื่อบุตาอักเสบ หากสูดดมเข้าไปมากๆจะท้าให้เกิด การปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจล้าบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจท้าให้ตาบอดได้

 

การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์แบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส และเชื้อรา จึงนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป แอลกอฮอล์เป็นสารที่ท้าให้เกิดการคายน้ำ (strong dehydrating agent) ออกจากเซลล์ แล้วดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไปท้าให้เซลล์เมมเบรนถูกท้าลายและโปรตีนเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปรบกวนเมตาบอลิซึมและท้าให้เซลล์ถูกท้าลายในที่สุด

 

โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ท้าลายเซลล์ ขณะที่แอลกอฮอล์ 95% – 100% จะมีการระเหยรวดเร็วมากและมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะดูดซึมเข้าไปในเซลล์เมมเบรน แต่จะท้าให้เกิดการคายน้ำ ออกจากเซลล์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ฆ่า และเมื่ออยู่ในสภาวะเหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับน้ำเข้าเซลล์ จะสามารถคงสภาพเดิมได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการท้าลายจุลินทรีย์ลดน้อยลงมาก

 

การควบคุมตามกฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้านโอทอป รวมทั้งผู้ผลิตทั้งรายย่อยและรายใหญ่ผลิต ผลิตภัณฑ์ เจลล้างมือออกมาจ้าหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น โดยก่อนผลิตหรือน้าเข้า ให้ผู้ผลิตหรือผู้น้าเข้าเจลล้างมือจดแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสาธารณสุขจังหวัดได้

 

เนื่องจากเครื่องสำอางทุกชนิดจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุมตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ผู้ประกอบการผลิตหรือน้าเข้าจะต้องมาจดแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากผ่านการตรวจสอบเอกสารว่าส่วนประกอบในสูตรตำรับเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับต่างๆ คือ ไม่มีสารห้ามใช้หรือหากมีสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะได้ เลขที่รับแจ้ง ซึ่งจะต้องแสดง เลขที่รับแจ้งไว้ที่ฉลากของเครื่องสำอางด้วย และต้องจัดท้าฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อ และที่ตั้งแหล่งผลิต เดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ ค้าเตือน และเลขที่รับแจ้ง ในส่วนการแสดงสรรพคุณที่ฉลากหรือโฆษณานั้นสามารถกล่าวอ้างความสะอาดในชีวิตประจ้าวัน ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมคุณภาพด้านประสิทธิภาพการฆ่า/ ลดเชื้อโรคของผลิตภัณฑ์ เจลล้างมือที่วางจ้าหน่ายทั่วไปในท้องตลาด

 

การคุ้มครองผู้บริโภค

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่มีประสิทธิภาพ สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนาวิธีทดสอบประสิทธิภาพของเจลล้างมือในการลดปริมาณเชื้อปนเปื้อน โดยให้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือสัมผัสกับเชื้อ เป็นเวลา 1 นาที อ้างอิงตามวิธีมาตรฐาน BSEN 1276: 2009 ทดสอบกับเชื้อมาตรฐาน 4 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus ATCC 6538, Escherichia coli ATCC 10536, Enterococcus hirae ATCC 10541 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 15442 และใช้วิธีที่พัฒนาขึ้นนี้ ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่วางจ้าหน่ายในท้องตลาดจ้านวน 26 ตัวอย่าง พบว่า มีตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 8 ตัวอย่าง (ร้อยละ 30.8) ผลจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรฐานของประเทศไทยในด้านคุณภาพการลดเชื้อของผลิตภัณฑ์ เจลล้างมือ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และช่วยในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เจลล้างมือต่อไป

 

 

การใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ

1. หากใช้เป็นครั้งแรกควรทดสอบการแพ้ก่อน โดยการทาผลิตภัณฑ์ปริมาณเล็กน้อยที่บริเวณท้องแขนและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สังเกตความผิดปกติ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน บวม

2. เทผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ 2-3 มิลลิลิตร ใส่ลงในฝ่ามือ ถูให้ทั่วทั้งสองมือเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที และปล่อยให้แห้งในอากาศ

3. ควรเก็บผลิตภัณฑ์เจลล้างมือในภาชนะปิดสนิท ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด หรือบริเวณที่ร้อน เพราะจะท้าให้แอลกอฮอล์ระเหย และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อาจลดลงได้

 

 

ข้อควรระวัง

1. เจลล้างมือ มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก สามารถติดไฟไดหากทามือแล้ว ยังไม่แห้ง ควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ โดยเฉพาะ ผู้สูบบุหรี่ ควรระวังเป็นพิเศษ

2. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือกับเด็กทารก และบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา และบริเวณที่ผิวอักเสบ มีสิว มีบาดแผล หากสัมผัสแอลกอฮอล์บ่อยๆ อาจท้าให้เกิด การระคายเคือง และผิวหยาบกระด้าง

 

ที่มา: ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ. สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.