การทำงานของวงจรพัดลม

การทำงานของวงจร

1 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1

เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลท์ ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L 1 เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 ไหลไปผ่านสวิทซ์ S1 (สวิทซ์เบอร์ 1 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน ในจังหวะนี่เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มอยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน ) ไหลผ่านผ่าน L3 และ  L2 ผ่านสวิทซ์ S1 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 1 ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้าที่สุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL L3 และ L2 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานมากที่สุด กระแสจึงไหลได้น้อย ความเร็วในการหมุนจึงน้อยลงไปด้วย )

2 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 2

เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 2 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลท์ ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L1 และ L2  เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 และ L2  ไหลไปผ่านสวิทซ์ S2 (สวิทซ์เบอร์ 2 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน ในจังหวะนี่เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มอยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน ) ไหลผ่านผ่าน L3  ผ่านสวิทซ์ S2 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 2 ซึ่งเป็นความเร็วปานกลาง (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL และ L3 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยกว่า กระแสจึงไหลได้มากขึ้น ความเร็วในการหมุนจึงเพิ่มไปด้วย )

2 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 3

เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 3 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลท์ ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L1  L2 และ L3 เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1  L2 และ L3  ไหลไปผ่านสวิทซ์ S3 (สวิทซ์เบอร์ 3 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน ในจังหวะนี่เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มอยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน )   ผ่านสวิทซ์ S3 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 3 ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL เพียงอย่างเดียว ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยที่สุด กระแสจึงไหลได้มากขึ้น ความเร็วในการหมุนจึงมากที่สุด )

ต่อไป เป็นหลักการซ่อม  ปิดเครื่อง ถอดปลั๊กก่อนนะครับ

1 . ใช้โอมห์มิเตอร์ วัดที่ปลั๊กของพัดลม (วัดคร่อม ไลท์ นิวตรอน ) ให้กดสวิทซ์ เบอร์ 1  แล้ววัดค่าค่าความต้านทานจะต้องได้มากที่สุด กดสวิทซ์
เบอร์ 2 แล้ววัดค่าค่าความต้านทาน ค่าที่ว้ดได้จะต้องน้อยกว่าตอนกดสวิทซ์ เบอร์ 1  กดสวิทซ์เบอร์ 3 แล้ววัดค่าความต้านทานค่าที่วัดได้จะต้องได้น้อยที่สุด

ในเบื้องต้นค่าที่วัดได้จะต้องได้ประมาณนี้ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้น ให้เช็คอุปกรณ์ ดังนี้

1.1 สวิทซ์กดเลือกความเร็วพัดลมว่าปกติหรือไม่

1.2 สายไฟฟ้าว่าขาดหรือไม่

1.3 ฟิวส์ หรือ เทอร์โมฟิวส์ว่าขาดหรือไม่ ( ต้องแกะมอเตอร์ออกมาดู )

1.4 ขดลวด MAIN COIL ขาด ขดลวด L3 หรือ ขดลวด L2 ขาด

ถ้าใช้มิเตอร์โอมห์มิเตอร์ วัดที่ปลั๊กของพัดลมแล้วได้ค่าตามข้อที่ 1 แต่มอเตอร์ไม่หมุน ให้ทดลองหมุนดูว่ามอเตอร์ฝืดหรือไม่ ถ้ามอเตอร์ฝืดให้ ทำความสะอาด เช็คแกนมอเตอร์ บู๊ช หรือลูกปืนต่างๆ

ถ้ามอเตอร์ไม่ฝืด ให้ใช้มือหมุนใบพัดของพัดลม ถ้าหมุนแล้วพัดลมใช้ได้ ให้เปลี่ยน แคปสตาร์ท ( ก่อนเปลี่ยนต้องเช็คดูก่อนว่าเสียจริงไหม โดยการใช้ มิเตอร์วัดค่า C วัดดูว่าประจุลดลงหรือไม่ ) ถ้าแคปสตาร์ทไม่เสีย ให้ทำการเช็คสายไฟฟ้าในส่วนที่ต่ออยู่กับ แคปสตาร์ทว่าปกติหรือไม่

ถ้าใช้มือหมุนดูแล้วมอเตอร์ไม่หมุน ให้เช็คดังต่อไปนี้

1 เช็คขดลวด สตาร์ท โดยทำการถอด แคปสตาร์ทออก แล้ววัดโอมห์คร่อมขดลวดเส้นนั้น ค่าความต้านทานที่ได้จะต้องเป็นค่าความต้านทาน ของขดลวด L1 L2 L3 และ MAIN COIL ค่าความต้านทานจะต้องได้มากที่สุดประมาณ 900 – 1000 โอมห์ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้น แสดงว่าขดลวดชุดสตาร์ทขาด หรือสายที่ต่อกับขดลวดขาด ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ขดลวด L1 ขาด

วิธีการตรวจเช็คขดลวด L1 ให้ใช้มิเตอร์ เส้นหนึ่งจับที่ฝั่งขาออกของ แคปสตาร์ท อีกเส้นหนึ่งจับที่ สวิทซ์ S1 ถ้าขดลวดปกติจะต้องมีค่าความต้านทานขึ้น ถ้าขดลวดขาดจะไม่มีค่าความต้านทาน

วิธีการตรวจเช็ค ขดลวด MAIN COIL

1 การตรวจเช็คขดลวด MAIN COIL

ให้ใช้โอมห์มิเตอร์ สายเส้นหนึ่งจับที่ แคปสตาร์ทฝั่งที่ติดกับฟิวส์ อีกเส้นจับที่ สวิทซ์ เบอร์ 3  ค่าความต้านทานต้องขึ้น ถ้าไม่ขึ้นแสดงว่าขดลวด MAIN COIL ขาด

อ้อ อย่าลือมตรวจเช็คสายไฟที่ต่อกับเส้นลวดมอเตอร์ดูด้วยว่าไหม้หรือขาด หรือไม่

ก็น่าจะประมานนี้  ถ้าเครื่องมือครบ มีความรู้ด้านการทำงานกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ก็ลงมือทำเลยครับ

ลองอ่านดูก่อน จะซ่อมต้องรู้หลักการก่อน วิธีหาสายมอเตอร์ ก็มาจากการทำงานด้านบนนั้นหละ

ไม่ยาก ค่อยๆทำความเข้าใจดู  ไม่เข้าใจถามได้ เอาให้เพื่อนอ่านดูด้วยก็ได้