สูตรน้ำหัวผักกาด(หัวไชเท้า)คุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าว

คุณชวะฤทธิ์ ดอกพุดทา เกษตรกร หมู่ 6 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยคุณลุงมีพื้นที่ทำนาทั้งสิ้น 25 ไร่ เป็นที่ดินของตนเอง เป็นนาปรัง ทำได้ 2 ครั้งต่อปี เพราะใกล้แหล่งน้ำชลประทาน สามารถทำข้าวได้ 80 ถังต่อไร่ เป็นการใช้เคมีผสมกับชีวภาพ ชีวภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นน้ำหมักที่ลุงก็หมักใช้เองโดยการแนะนำจากเกษตรตำบล นอกจากนี้ยังมี สูตรน้ำหัวผักกาดคุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าวของคุณลุงอีกด้วย

สูตรน้ำหัวผักกาด(หัวไชเท้า)คุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าวของคุณลุงชวะฤทธิ์ที่ใช้อยู่

วัสดุที่ใช้มีดังนี้
น้ำหัวผักกาด (สีขาว) 1 ส่วน

ผงกลูโคส 1 ส่วน

น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ส่วน

วิธีทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักไว้ 1 คืน

วิธีใช้

ใช้ 7 วันครั้ง ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ในนาข้าวเมื่อข้าวยังเล็กเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้าหรือใช้ฉีดพ่นมะนาวหรือส้มโอให้ใบร่วง จากนั้นจะเริ่มออกดอกนอกฤดูกาลได้อีกด้วย

Read More

สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์

ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน

วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี

การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 – 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้

Read More

สารเร่ง พด.7 หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชสมุนไพร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

สรรพคุณ
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น

วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
สมุนไพร 30 กิโลกรัม
น้ำตาล 10 กิโลกรัม
น้ำ 30 ลิตร
สารเร่ง พด.7 1 ซอง (25 กรัม)

Read More

ยืดอายุกล้วยดิบ :
ผลกล้วยแก่จัดเมื่อตัดเครือลงมาจากต้นแล้วจะเริ่มกระบวนการสุกตามธรรม
ชาติทันที หากยังไม่ต้องการให้กล้วยสุกหรือยังคงเป็นกล้วยดิบอยู่อย่างนั้นให้นำผลกล้วยดิบที่ตัดเครือลงมาจากต้นใหม่ๆ ตัดแยกเป็นหวีๆ หรือทั้งเครือ ล้างน้ำทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง แล้วหมกในข้าวสารในโอ่งจนมิดเครือ ระหว่างที่ผลกล้วยถูกกลบด้วยข้าวสารนั้นจะไม่สุก หรือยังคงเขียวอยู่อย่างนั้นได้นานนับเดือน จนเมื่อนำขึ้นจากข้าวสารแล้วบ่ม ผลกล้วยก็จะสุกตามปกติ
ยืดอายุกล้วยสุก :
กล้วยสุกที่รับประทานไม่ทัน หรือต้องการยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น แนะนำให้นำผลกล้วยที่สุกพอดีๆแล้วตัดเป็นหวีๆ ลงแช่ในน้ำเดือดนาน 2-3 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาเก็บ (แขวนหรือวางตามปกติ)ผลกล้วยจะหยุดสุกต่อนาน15-20 วัน จากนั้นจึงจะสุกหรือสุกงอม

วัตถุดิบ

1. หน่อกล้วยความยาวไม่เกิน 1 เมตร      น้ำหนัก   50   กิโลกรัม

  1. กากน้ำตาล        15   ลิตร

วิธีการทำ

1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด

2. ผสมกากน้ำตาลกับหน่อกล้วยที่สับละเอียดแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุลงถังที่ฝาแคบปิดให้สนิท

3. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะได้จุลินทรีย์หน่อกล้วย มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม

การนำไปใช้
     1. สำหรับพืชผักที่กินใบ ใช้จุลินทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดหรือรดที่โคน 3-5 วันต่อครั้ง
     2. สำหรับไม้ที่กินผล ใช้จุลินทรีย์  5 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดหรือรดที่โคน 3-5 วันต่อครั้ง

Read More