ในการเริ่มต้นสำหรับการหาพื้นที่เพื่อทำการเกษตร หัวใจหลักที่เราต้องรู้ก่อนคือ สภาพดิน และ น้ำ ของพื้นที่ที่เราจะเริ่มต้น

ดินด่าง ถอยดีกว่า (วัดได้ด้วย pH meter)
ดินเค็ม กลับหลังหันลืมไปได้เลย (วัดได้ด้วย EC meter)

น้ำ…..ขอใช้ข้อมูลมาตรฐานคุณภาพน้ำ ของ กล้วยไม้ เป็นตัวเริ่มต้น
แหล่งน้ำในพื้นที่ที่เราเลือก จะต้องมีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี และแล้งต่อเนื่อง 2 ปีก็ยังมีน้ำพอใช้

ในกรณีที่เราจำเป็นต้องขุดบ่อเพื่อเก็บน้ำสำรอง คุณภาพดินตรงบริเวณบ่อจะเป็นตัวตัดสิน
ถ้าดินเป็นด่าง น้ำที่เอาเข้ามาเก็บ ก็จะมีฤทธิ์เป็นด่างไปด้วย ซึ่งตรงนี้จะส่งผลกับคุณภาพและประสิทธิภาพของ สารกำจัดศัตรูพืช และ ปุ๋ย ยิ่งเป็นด่างมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างปัญหามากเท่านั้น pH น้ำที่เหมาะสม คือ 5.5-6.5
ถ้าเป็นดินเค็ม น้ำที่เอาเข้ามาเก็บก็จะละลายเกลือที่มีอยู่ออกมา ในกรณีนี้ ก็วัดค่าการนำไฟฟ้า ECw ซึ่งจะบอกว่าน้ำนั้นควรใช้หรือไม่ ถ้าเป็นน้ำเค็มที่มีค่าการนำไฟฟ้า > 1,000 ไมโครซีเมนส์/ซม. ควรจะส่งน้ำเข้าไปวิเคราะห์หาชนิด ปริมาณของเกลือแต่ละชนิด เพื่อตัดสินใจว่าน้ำใช้ได้หรือไม่ จะสามารถปรับแก้ได้หรือไม่ คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

Read More

โดยทั่วไปปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช จะมีอายุการเก็บรักษา(shelf life) หลังจากการผลิต 3 – 5 ปี 
แต่มีอายุหลังจากผสมน้ำใช้ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพคือ ครึ่งอายุ (half life) หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ปุ๋ยหรือสารกำจัดศัตรูพืชจะเสื่อมไปครึ่งหนึ่ง เมื่อผสมน้ำ โดยทั่วไปปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชที่เราใช้มีฤทธิ์เป็นกรด ถ้าน้ำที่เราใช้ผสมมีฤทธิ์เป็นด่างก็จะเกิด hydrolysis ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ตย. เช่น

ไทอามีโทแซม…..ที่ pH 5.0 …..จะมีครึ่งอายุ 260 ชม.
………………………ที่ pH 7.0 …..จะมีครึ่งอายุ 63 ชม.
………………………ที่ pH 9.0 …..จะมีครึ่งอายุ 1.32 ชม.

มีปัญหาอีกอย่างที่มีผลกระทบ คือ ไบคาร์บอเนต (HCO3-) ปกติน้ำที่เราใช้มี pH เป็นด่าง 7.5 – 8.5 เมื่อปรับด้วยกรดไนตริก 50% อัตรา 3 – 5 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร pH จะลดลงมาอยู่ที่ 5.5 – 6.5 โดยประมาณ แต่ถ้า pH ลดลงเล็กน้อย แสดงว่าในน้ำนั้นมีปริมาณไบคาร์บอเนตสูง ซึ่งจะสร้างปัญหาทิ้งคราบหินปูนบนต้น ใบ ดอก ที่สำคัญไบคาร์บอเนตจะเข้าไปอุดตันในราก ทำให้รากชะงักไม่สามารถดูดน้ำดูดอาหารไปเลี้ยงต้น