• ลักษณะทั่วไปของพืช
   – กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร
– ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะคือช่วง 15 – 35 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่ต่ำจะทำให้กล้วยแทงปลีช้า (การออกดอก)
– ควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60% ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม./เดือน
– ดินควรมีความสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และการหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่
ระหว่าง 4.5 – 7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่วๆไป ในพื้นที่แถบเอเชีย
– กล้วยน้ำว้าจะใช้ระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จำนวน 10 หวี/เครือ
ตั้งแต่ปลูก จนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะ เก็บเกี่ยว 110-120 วัน

Read More

สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) แยกตามการทำงานได้ 4 แบบ
— แบบสัมผัส (Contact) จะเกาะอยู่บนพืชในส่วนที่เราฉีดพ่นไปถูกเท่านั้น ใช้เป็นการป้องกัน (Preventive) ส่วนของพืชที่เจริญขึ้นมาใหม่ จะไม่ได้รับการคุ้มครอง ตย.
สารกลุ่ม M ออกฤทธิ์หลายจุด เช่น สารประกอบทองแดง กำมะถัน แมนโคเซป โพรพิเนป แคปแทน คลอโรทาโลนิล เป็นต้น
— แบบแทรกซึม (Translamina หรือ Penetrant) เมื่อฉีดพ่นบนด้านหน้าใบ สารจะแทรกซึมลงไปถึงด้านใต้ใบ ตย.
กลุ่ม E3 ไอโพรไดโอน โพรไซมิโดน
กลุ่ม C3 คริโซซิม-เมทิล ไตรฟลอกซีสโตรบิน
กลุ่ม H5 ไดเมทโทมอร์ป เป็นต้น

Read More