ยาขึ้นฉ่าย 5L 23/3/2561
- คลอไพ+ไซเปอร์
- ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม
- แมนโคเซบ
- Zen 21-7-14 +TE
ยาขึ้นฉ่าย 5L 23/3/2561
การผสมสารเคมี มากกว่า 2 ชนิด จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
1. ฤทธิ์เพิ่มขึ้น (Synergistic effect) ความหมายคือ หลังจากที่สารเคมี 2 ชนิด ผสมกันแล้วเกิดปฏิกิริยาเคมีในทางที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น หรือทำให้เพิ่มฤทธิ์ในการฆ่าศัตรูพืชมากขึ้น เกิดจากการเพิ่มฤทธิ์ทางเคมี (ซึ่งแตกต่างจากการใช้สารเสริมฤทธิ์ (Adjuvants) ที่เสริมคุณสมบัติทางกายภาพทำให้สารเคมีแทรกซึมใบพืช หรือเข้าตัวแมลงได้ดี ซึ่งจะนำเสนอเรื่อง สาร Adjuvants ในโอกาสหน้า) การที่สารเคมีที่เพิ่มฤทธิ์กันได้นั้น ที่จริงแล้วต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นพิษโดยการทำการทดสอบ Bio-assay กับแมลงศัตรูพืชของสารเดี่ยวแต่ละตัวก่อน โดยหาอัตราหรือความเข้มข้นที่ทำให้แมลงตาย 50% (LD50 หรือ LC50) หลังจากนั้นนำสารเคมี 2 ชนิดนั้น มาผสมกัน (การผสมจะมีอัตราส่วนของสารออกฤทธิ์ เช่น 1:1 1:2 2:1 1:10 ฯลฯ) แล้วคำนวณค่าความเป็นพิษ ซึ่งการหาค่าระดับความเป็นพิษจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตรา(หรือความเข้มข้น)ของสารกับอัตราการตายของแมลง (Dosage-mortality) คำนวณตามวิธีการของ Finney (1971) ที่เรียกว่า Probit Analysis แล้วคำนวณให้ได้ค่า Co-toxicity Coefficient (CTC) ตามวิธีของ Sun และคณะ (1960) ซึ่งเป็นรายละเอียดเชิงลึก จะไม่ขอกล่าวในที่นี้
RS-485 หรือ RS485 คือ มาตรฐานการการรับส่งข้อมูล ที่กำหนดขึ้นมาโดย สมาคม TIA / EIA เป็นการสื่อสารแบบ Serial สำหรับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเป็นการรับส่งแบบ Half-Duplex โดยในระบบกำหนดให้มี Master 1 ตัวเพื่อคอยจัดคิวการสื่อสารใน Networkและ ให้อุปกรณ์ที่เหลือเป็น Slave โดย Slave แต่ละตัวจะมี Address ของตัวเอง เวลาที่ Master ต้องการจะสื่อสารกับ Slave ทำได้โดย ส่งโปรโตคอลออกไป โดยใน โปรดตคอล จะ ระบุ Address ของ Slave ที่ต้องการจะสื่อสารออกไป Slave ทุกตัวที่ต่ออยู่ใน Network จะรับข้อมูลแล้วเช็คดูว่า Address นั้นใน Address ของตัวเองหรือไม่ ถ้าเป็น Address ของตัวเองก็จะทำการตอบข้อมูลกลับ หรือ ทำงานตาม โปรโตคอลที่กำหนด ซึ่งการสื่อสารวิธีนี้ นิยมใช้กันใน งานอุตสาหกรรม ใช้สื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ เครื่องมือวัดต่างๆ, PLCหรือ ถ้าในงานอาคาร ที่พบเห็นได้ เช่น ระบบ Access control
การพ่นสารเคมีเกษตรไม่ว่าจะเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช เช่น สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าไร เชื้อไวรัส เอ็น พี วี (NPV) เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรากำจัดแมลง ปุ๋ย และฮอร์โมนพืช ล้วนมีเป้าหมายที่ต้นพืช แมลงศัตรูพืช เชื้อราสาเหตุโรคพืช ที่อาศัยอยู่บนส่วนต่างๆ ของพืช หรือภายในต้นพืช ขณะเดียวกันผิวของใบและต้นพืชซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะตกกระทบโดยตรงจะมีไขปกคลุมอยู่ซึ่งมากหรือน้อยจะขึ้นกับชนิดของพืช แม้แต่ผนังลำตัวของแมลงก็แบ่งเป็นชั้นๆ และมีคุณสมบัติมีไขมันเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น องค์ประกอบที่เป็นไขมันนี้จะไม่ละลายน้ำ หรือมีคุณสมบัติเป็น hydrophobic ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตมักจะทำรูปแบบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีส่วนผสมของตัวพาหะ (carriers)หรือส่วนที่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ (inert ingredient) ที่จะนำพาสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) ให้เข้าถึงเป้าหมายคือ ผนังลำตัวของแมลง หรือเซลล์ เนื้อเยื่อของพืช ซึ่งตัวนำพาจะต้องมีความสามารถในการแทรกซึมให้ถึงจุดเป้าหมาย( site of action) ในกรณีของสารฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตายส่วนมากก็คือให้สารออกฤทธิ์เข้าถึงระบบประสาทของแมลง โดยที่บริษัทผู้ผลิตมักผสมสารนำพาแตกต่างกันไปตามสูตร (formulations) เช่น สารอีมัลซิไฟเออร์ (emulsifiers), สารแพร่หรือแผ่กระจาย (dispersing agents, spreaders) เป็นต้น อย่างไรก็ตามสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดหลังจากการพ่นสารไปแล้วมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการคือ