สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่ง พด.7 เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการย่อยสลายพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้ของเหลวสีน้ำตาลใส ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิดในปริมาณสูง รวมทั้งสารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ และสารไล่แมลงที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูพืช
สารเร่ง พด.7
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
|
|
|
|
|
|
|
|
ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.7 |
|
|
ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์ |
|
แบคทีเรียผลิตเอนไซม์เซลลูเลสย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส |
|
แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก |
|
|
|
|
วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร) |
|
1.
|
พืชสมุนไพร |
30
|
กิโลกรัม |
|
2.
|
น้ำตาล |
10
|
กิโลกรัม |
3.
|
น้ำ |
50
|
ลิตร |
4.
|
สารเร่ง พด.7 |
1
|
ซอง (25 กรัม) |
|
|
|
ชนิดพืชสมุนไพร |
|
|
สมุนไพรที่ใช้ป้องกันพวกเพลี้ย ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล สาบเสือ หนอนตายหยาก บอระเพ็ด กระทกรก และข่า เป็นต้น |
|
สมุนไพรป้องกันหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หางไหล ตะไคร้หอม เปลือกแค สาบเสือ หนอนตายหยาก สะเดา ว่านเศรษฐี และว่านน้ำ เป็นต้น |
|
สมุนไพรที่ป้องกันและเป็นพิษต่อแมลงวันทอง ได้แก่ หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดเงาะ ยาสูบ พริกไทยดำ ขิง และพญาไร้ใบ |
|
สมุนไพรที่ใช้ไล่แมลงไม่ให้วางไข่ ได้แก่ คำแสด มะกรูด ตะไคร้ เมล็ดละหุ่ง มะนาว พริก และพริกไทย เป็นต้น |
|
|
|
|
วิธีทำ |
|
1.
|
สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก ทุบหรือตำให้แตก |
2.
|
นำพืชสมุนไพรและน้ำตาลใส่ลงในถังหมักผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน |
3.
|
ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 50 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที |
4.
|
เทสารละลายสารเร่ง พด.7 ใส่ลงในถังหมักคลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง |
5.
|
ปิดฝาไม่ต้องสนิท และตั้งไว้ในที่ร่มใช้ระยะเวลาในการหมัก 20 วัน |
|
|
|
|
การพิจารณาลักษณะที่ดีทางกายภาพในระหว่างการหมักเพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช |
|
การเจริญของจุลินทรีย์ |
–
|
เกิดฝ้าของเชื้อจุลินทรีย์เจริญเต็มผิวหน้า หลังจากการหมัก 1-3 วัน |
การเกิดฟองก๊าซ CO2 |
–
|
มีฟองก๊าซเกิดขึ้นบนผิวและใต้ผิววัสดุหมัก |
การเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์ |
–
|
ได้กลิ่นแอลกอฮอล์ฉุนมาก |
ความใสของสารละลาย |
–
|
เป็นของเหลวใสและมีสีเข้ม |
|
|
|
|
การพิจารณาสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่สมบูรณ์แล้ว |
|
|
การเจริญของจุลินทรีย์ลดลง |
|
กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง |
|
กลิ่นเปรี้ยวเพิ่มสูงขึ้น |
|
ไม่ปรากฎฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) |
|
ความเป็นกรดเป็นด่างของสารป้องกันแมลงศัตรูพืชมี pH ต่ำกว่า 4 |
|
|
|
คุณสมบัติของสารป้องกันแมลงศัตรูพืช |
|
1.
|
มีสารออกฤทธิ์ที่สกัดได้จากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น สารอะซาดิแรคตินA , สารโรติโนน , pinene , neptha , quinone , geraniol citronellal , limonene และ phellandrene เป็นต้น |
2.
|
มีสารพวก repellant สามารถไล่แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น alkaloid , glycoside , saponin , gum , essential oil , tannin และ steroid เป็นต้น |
3.
|
มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติก กรดฟอร์มิก และกรดอะมิโน เป็นต้น |
4.
|
มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตไคนิน โดยเฉพาะจิบเบอร์เรลลิน |
5.
|
มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 3 – 4 |
|
|
|
อัตราการใช้ |
|
|
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สำหรับพืชไร่ และไม้ผล |
:
|
น้ำเท่ากับ 1:200 |
|
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สำหรับพืชผัก และไม้ดอก |
:
|
น้ำเท่ากับ 1:500 |
|
|
|
|
วิธีการใช้ |
|
|
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 50 ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก |
|
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 100 ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในไม้ผล |
|
โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง |
|
|
|
ประโยชน์ของสารเร่ง พด.7 |
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น |
|