ข้อควรระวังกับสารกำจัดศัตรูพืช(ยาฆ่าแมลง) ตอนที่ 4

เฮ็พตาคลอร์

(heptachlor)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  มีฤทธิ์อยู่ได้นานวัน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  147-220  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ปลวก  มด  ด้วงดิน  และแมลงที่อยู่ในดินอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ห้ามใช้กับพืชอาหาร  ผัก  ไม้ผล  ควรใช้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในการกำจัด  มด  ปลวก  และแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินเท่านั้น

สูตรผสม                                 32.3%  อีซี , 40%  ดับบลิวพี , 14%  ดีพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  สำหรับชนิด  40%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  50-200  กรัม  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ราดให้ทั่วพื้นดินที่ต้องการกำจัดแมลง  ถ้าใช้คลุกเมล็ดใช้อัตรา  10-25 กรัม  ต่อเมล็ดหนัก  10  กก.  คลุกเคล้าให้ทั่ว  สำหรับชนิดอื่น ๆ  ให้ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการหงุดหงิด  กระวนกระวาย  กล้ามเนื้อกระตุก  หดเกร็ง  โดยทั่วไปอาจมีอาการชัก  ถ้ากลืนกินเข้าไป  จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  1  แก้ว  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้ดื่มน้ำมาก ๆ  แล้วทำให้อาเจียน  ป้องกันอาการชักได้ด้วยการใช้ยาบาร์บิทูเรท  (barbiturates)

ข้อควรรู้                                  – เป็นสารกำจัดแมลงที่ห้ามนำเข้ามาจำหน่ายและใช้ทางการเกษตร

– มีความคงตัวอยู่ในดินได้นานประมาณ  5  ปี

– เป็นอันตรายต่อปลา

– ปัจจุบันทางราชการได้ห้ามนำเข้ามาจำหน่ายและใช้ในประเทศ

 

เฮ็พทีโนฟอส

(heptenophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  96  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  (หนู) 2,925  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  แมลงวันผลไม้  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยไฟ  และแมลงศัตรูภายนอกของสัตว์เลี้ยง  เช่น  เหา  หมัด  ไร  และเห็บ

พืชที่ใช้                                   ไม้ผล  พืชผัก  พืชไร่  พืชสวน  ไม้ดอกและไม้ประดับ  รวมทั้งสัตว์เลี้ยง  เช่น  วัว  ควาย แมว  แกะ  หมู  สุนัข

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก  โดยฉีดพ่นที่ใบเมื่อตรวจพบว่ามีแมลงกำลังทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ยาแก้พิษ                                 อะโทรปินซัลเฟท  ร่วมกับ  Toxogonin  โดยใช้ฉีดแบบ  IV  ถ้าจำเป็นอาจให้ออกซิเจนช่วยด้วย

ข้อควรรู้                                  – ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว  ฤทธิ์ตกค้างมีระยะสั้น

– แทรกซึมผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืชและเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างรวดเร็ว

 

เฮ็กซี่ไธอะซ๊อก

(hexythiazox)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไร  Thiozolidinone  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย และไม่ดูดซึม  (มีประสิทธิภาพในการกำจัดไข่และตัวอ่อนของไร  แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดตัวแก่)

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไข่และตัวอ่อนของไร

พืชที่ใช้                                   องุ่น  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  และไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม                                 10%  อีซี , 10%  และ  50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้  ควรใช้ในระยะต้นฤดูก่อนที่จะปรากฏ  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ยาแก้พิษ                                 ขณะนี้ยังไม่ทราบยาแก้พิษ  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                                  – ไม่เป็นอันตรายกับแมลงที่เป็นประโยชน์

– เป็นพิษต่อปลา  ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

– ไรถูกฉีดพ่นด้วยตัวยานี้  จะไม่ฟักเป็นตัว

 

อิมิดาโคลพริด

(imidacloprid)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงชนิดดูดซึมออกฤทธิ์กำจัดแมลงได้ทั้งทางถูกตัวตายและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  424  มก./กก.  (หนูตัวเมีย)  450-475  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หนอนชอนใบส้ม  แมลงวันผลไม้

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ฝ้าย  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  มะเขือเทศ  พริกไทย  แตงกวา ถั่ว  หอม  มะเขือ  ส้ม  ยาสูบ  มันฝรั่ง  และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 70%  ดับบลิวเอส , 50%  อีซี  และ  10%  เอสแอล

อัตราใช้และวิธีใช้                  สูตรผสม  70%  ดับบลิวเอส  ใช้คลุกเมล็ดในอัตรา  5  กรัมต่อเมล็ดพันธุ์  1  กก.ก่อนปลูก  สูตรผสม  50%  อีซี  ใช้อัตราส่วน  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ 20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด  สูตรผสม  10%  เอสแอล  ใช้อัตราส่วน  8-20  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบว่ามีศัตรูพืชระบาด

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการเซื่องซึม  กล้ามเนื้อเปลี้ย  หายใจขัด  ตัวสั่น  และอาจเป็นตะคริว

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่กับน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากินเข้าไป  ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือดื่มน้ำเกลืออุ่น  ห้ามให้นมหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

ไอโอโดเฟนฟอส

(iodofenphos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,100-2,500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ในบ้านเรือนใช้กำจัดแมลงวัน  ยุง  หมัด  เรือด  และแมลงสาป  ในทางการเกษตร  ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อชนิดต่าง ๆ  แมลงเต่าทอง  ในทางปศุสัตว์ใช้กำจัดไรไก่  เห็บ  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ใช้ในบ้านเรือน  โรงเรือนเลี้ยงสัตว์  และพืชผักต่าง ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี , 20%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลากข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– คงตัวอยู่บนผิวพื้นที่ฉีดพ่นได้ประมาณ  3  เดือน

– ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

 

ไอซาโซฟอส

(isazophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอยออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  40-60  มก./กก.  มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกัดรากข้าวโพด  หนอนกระทู้  แมลงเต่าทอง  เพลี้ยกระโดด หนอนเจาะลำต้น  หนอนแมลงวัน  แมลงอื่น ๆ  ที่อยู่ในดินรวมทั้งไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้                                   กล้วย  ข้าวโพด  ฝ้าย  ข้าว  ส้ม  ผักต่าง ๆ  และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 2.5%  จี  และ  50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

การแก้พิษ                               ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  PAM  หรือ  Toxogonin  ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

ข้อควรรู้                                  – อย่าใช้กับยาสูบและมะเขือเทศ

– เป็นพิษต่อปลา

 

ไอโซเฟนฟอส

(isofenphos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสฟอรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  สามารถดูดซึมได้ทางรากพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  28-38  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  162-315  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  กำจัดแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดิน  และแมลงกัดกินใบ  หนอนกัดรากข้าวโพด  บั่วต้นหอม  มวนสิงห์  หนอนใยผัก  และด้วงงวงกล้วย

พืชที่ใช้                                   กล้วย  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  หอม  อ้อย  ผักต่าง ๆ  และพืชทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี , 40%  ดีเอส

อัตราการใช้                            ชนิด  50%  อีซี  ใช้อัตรา  40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วราดบริเวณโคนต้นและดินโดยรอบ ต้นละ  5  ลิตร  ศึกษาวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก

อาการเกิดพิษ                          ผู้รับพิษจะมีอาการน้ำลายฟูมปาก  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง หายใจขัด  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  1-2  มก.  ฉีดแบบ  IV  และให้ซ้ำทุก  15-30  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลาและไส้เดือนปานกลาง

– ซึมผ่านผิวหนังได้รวดเร็ว

– มีประสิทธิภาพกับแมลงที่อยู่ในดิน

 

ไอโซโปรคาร์บ  หรือ  เอ็มไอพีซี

(isoprocarb  or  MIPC)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  485  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยจักจั่นชนิดต่าง ๆ  เช่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  และแมลงทั่ว ๆ ไป

พืชที่ใช้                                   ข้าว  มะม่วง  ฝ้าย  กาแฟ  มันฝรั่ง  อ้อย  ถั่วลิสง  ไม้ผลทั่วไป  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 2%  ดีพี , 50%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  2%  ดีพี  ใช้อัตรา  4  กก./ไร่  ชนิด  50%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา 40  กรัม  ผสมน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ชนิด  2%  ดีพี  พ่นให้ทั่วพื้นที่  สำหรับชนิด  50%  ดับบลิวพี  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          อาจช่วยให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง  นัยน์ตา  เยื่อบุจมูก  ถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย  เมื่อออกฤทธิ์  ร่างกายจะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้ อาเจียน  เหงื่อออกมาก  น้ำลายไหล  ม่านตาหรี่  ปวดท้องและมีอาการท้องเดิน กล้ามเนื้อบิดเกร็ง  ทำให้พูดและเดินลำบาก  ไม่รู้สึกตัวและอาจมีอาการชัก

การแก้พิษ                               ถ้ามีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  และรักษาตามอาการ  ไม่ควรใช้  2-PAM

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นอันตรายกับผึ้ง

– อย่าใช้ก่อนหรือหลังการใช้โปรพานิล  ภายใน  10  วัน

– ออกฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานปานกลาง

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ  ได้ยกเว้นชนิดที่มีสภาพเป็นด่าง

 

ไอโซซาไธออน

(isozathion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  112  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 450  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนใยผัก  หนอนชอนใบ  หนอนกระทู้ข้าวโพด  หนอนกินใบและดอกยาสูบ  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยกระโดด  ไร  แมลงเต่าทอง  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าว  ผักตระกูลกะหล่ำและผักอื่น ๆ  ชา  ไม้ผล ไม้ดอก  และไม้ประดับ

สูตรผสม                                 54.3%  อีซี

อัตราการใช้                            ใช้  15-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบศัตรูพืชรบกวน  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  วิงเวียน  อ่อนเพลีย  กล้ามเนื้อกระตุก  สั่น  ท้องร่วง  เป็นตะคริว  เหงื่อออกมาก  หัวใจเต้นช้า  หายใจลำบาก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปและมีอาการเป็นพิษเกิดขึ้น  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ใช้ยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.4-2.0  มก.  ฉีดแบบ  IM  หรือ  IV  และฉีดซ้ำทุก  15-30  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization พร้อมกับล้างท้องคนไข้  ถ้ามีอาการรุนแรงให้ใช้ยา  2-PAM  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  สำหรับผักและชา  ใช้เวลา  14-21 วัน

– เป็นพิษต่อปลา

– ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีสภาพเป็นด่าง

 

ลินเดน

(lindane)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  กินตาย และเป็นสารรมควันพิษได้ด้วย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  88-125  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 900  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดศัตรูพืชและปศุสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง  รวมทั้งแมลงที่อยู่ในดินด้วย  เช่น  มด  ปลวก  เหา  เห็บ  ไร  หมัด

พืชที่ใช้                                   ใช้คลุกเมล็ด  รมดิน  ฉีดพ่นไม้ซุง  สำหรับสัตว์เลี้ยงใช้กับวัว  ควาย หมู  ม้า

สูตรผสม                                 7.5%  ดับบลิวพี , 10%  อีซี  และ  20%  อีซี

อัตราการใช้                            ชนิด  7.5%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  30-40  กรัม  ผสมน้ำ  20  ลิตร ชนิด  10%  อีซี  ใช้  1  ส่วน  ผสมกับน้ำ  1,000  ส่วน  ในกรณีกำจัดศัตรูปศุสัตว์ และ  ใช้  80-120  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ในกรณีกำจัดมดและปลวก  ชนิด  20% อีซี  ใช้  1  ส่วน  ผสมน้ำ  99  ส่วน  เพื่อแช่ไม้ยางพารา

วิธีใช้                                       กำจัดมด  ปลวก  ใช้ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วราดตามในรัง  และตามทางเดินของมด  ในกรณีกำจัดศัตรูปศุสัตว์  ใช้ผสมน้ำแล้วใช้อาบหรือพ่นที่ตัวสัตว์

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  ตัวสั่น  หูอื้อ  และจะเป็นลม ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกกระตุ้นทำให้หงุดหงิด  กระวนกระวาย  ฉุนเฉียว  และอาจจะชักได้  ถ้ารับพิษเข้าไปมาก ๆ  จะมีไข้สูงและจะตายเนื่องจากระบบหายใจหยุดทำงาน

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ชาร์โคล  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ล้างท้องคนไข้ด้วยน้ำมาก ๆ  แล้วให้ยาถ่ายพวก  saline  cathartics  ห้ามใช้ยาถ่ายที่มีน้ำมันผสม  ถ้าคนไข้มีอาการชักให้ใช้ยา  Phenobarbitol  sodium  หรือ pentobarbital  sodium  ถ้ามีอาการรุนแรงห้ามใช้ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา  ผึ้ง  และสัตว์ป่า

– อาจเป็นพิษต่อลูกสัตว์มากกว่าสัตว์โต

– ไม่เข้ากับ  sulphur , lime  และ  calcium  arsrnate

– กัดกร่อนอะลูมิเนียม

– มีความคงทนอยู่ในดินได้นานมากกว่า  1  ปี

– ห้ามใช้กับสัตว์ปีกหรือโรงเลี้ยงสัตว์ปีก

– Lindane  คือ  BHC  gamma  ISOMER

 

แม็กนีเซียม  ฟอสไฟด์

(magnesium  phosphide)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารรมควันพิษกำจัดแมลงในโรงเก็บผลิตผลเกษตร  ออกฤทธิ์เมื่อถูกความชื้นในบรรยากาศ  โดยจะปล่อยแก๊สไฮโดรเจน  ฟอสไฟด์  (hydrogen phosphide)  ออกมา  แมลงจะตายเมื่อหายใจเอาแก๊สนี้เข้าไป

ความเป็นพิษ                          ถ้าหายใจเอาอากาศที่มีแก๊สไฮโดรเจน  ฟอสไฟด์  ผสม  200  ส่วนในล้านส่วนของอากาศเข้าไป  จะเป็นอันตรายถึงชีวิตทันที

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  มอดยาสูบ  มอดแป้ง  มอดข้าวเปลือก  มอดฟันเลื่อย  มอดฟันเลื่อยใหญ่  ด้วงงวงข้าว  ด้วงงวงข้าวโพด  ด้วงถั่วเขียว  ด้วงถั่วเหลือง  ด้วงกาแฟ  ด้วงขาแดง  ด้วงหนังสัตว์  ผีเสื้อข้าวสาร  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ผีเสื้อข้าวโพด  และแมลงศัตรูในโรงเก็บอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ผลิตผลพืชที่เก็บไว้ในโรงเก็บ  เช่น  ข้าว  ข้าวโพด  ยาสูบ  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  แป้งต่าง ๆ

สูตรผสม                                 ชนิดเม็ด  66.06%

อัตราใช้และวิธีใช้                  ผลิตผลที่เก็บในยุ้งฉางไซโล  ให้ใช้  2-5  เม็ดต่อต้น  ระยะเวลารม  3-5  วัน  ให้ศึกษารายละเอียดการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการของการได้รับผิดแตกต่างกันออกไปตามขนาดของแก๊สที่ได้รับ  คือ  1.ถ้าได้รับแก๊สพิษเพียงเล็กน้อย  จะมีอาการเมื่อย  คลื่นไส้  หูอื้อ  แน่นหน้าอก  อึดอัด  อาการเหล่านี้จะหมดไป  เมื่อได้รับอากาศบริสุทธิ์  2.ได้รับแก๊สระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก  จะมีอาการปวดเมื่อย  คลื่นไส้  ปวดท้อง  อาเจียน ท้องเสีย  เสียการทรงตัว  เจ็บปวดในทรวงอก  หายใจไม่สะดวก  3.ได้รับแก๊สที่มีความเข้มข้นมาก  จะเกิดอาการหายใจติดขัดอย่างมาก  ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ  กระวนกระวาย  ร่างกายอ่อนปวกเปียก  โลหิตขาดออกซิเจน  หมดสติ  และตาย

การแก้พิษ                               ถ้าคนไข้หายใจเอาแก๊สพิษเข้าไป  ให้นำคนไข้ออกจากบริเวณนั้น และให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์  ให้นอนนิ่ง ๆ  พร้อมกับให้ความอบอุ่น  ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป  ต้องทำให้ท้องว่างโดยให้อาเจียน  แล้วล้างท้องด้วยน้ำยาโปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต  ที่มีความเข้มข้นหนึ่งต่อพัน  จนกว่าน้ำยาที่ใช้ล้างท้องจะหมดกลิ่นคาร์ไบด์  หลังจากนั้นให้ยาประเภทคาร์บอนต่อไป

ข้อควรรู้                                  – ห้ามสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงานรมยา

– ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ  ในขณะที่มีการรมยาอยู่  (เพราะเป็นแก๊สที่ไวไฟ)

– เก็บในห้องที่มีอาการเย็น  แห้ง  และมีอากาศถ่ายเทได้ดี

– หลีกเลี่ยงอย่าให้ถูกน้ำหรือความชื้นใด ๆ

– ห้ามใช้กับสินค้าที่เป็นอาหารโดยตรง

– ภายหลังการใช้ให้เป่าอากาศบริเวณนี้ออกให้หมด

– แม็กนีเซียม  ฟอสไฟด์  แต่ละแผ่นจะให้แก๊สไฮโดรเจน  ฟอสไฟด์ประมาณ  33  กรัม

 

มาลาไธออน

(malathion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสมากกว่าทางการกิน  เป็นสารกำจัดไรได้ด้วย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,000-1,375  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  4,100  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  หนอนคืบ  หนอนใยผัก หนอนกระทู้  มวนแดง  มวนเขียว  แมลงหวี่ขาว  บั่ว  ไร  กำจัดแมลงศัตรูสัตว์เลี้ยงและในบ้านเรือน  คือ  เรือด  แมงมุม  แมลงสาป  ตัวสามง่าม  แมลงหางหนีบ แมลงวัน  หมัด  ไร  เห็บและเหา

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ละหุ่ง  ถั่วลิสง  หอม  พริก  ส้ม มะม่วง  องุ่น  ฝรั่ง  อ้อย  ชา  กาแฟ  ฟักทอง  แตงโม  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 57% , 83%  และ  84%  อีซี

อัตราการใช้                            ชนิด  83%  อีซี  ใช้อัตรา  10-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสียและปวดเกร็ง  ปวดศีรษะ  เซื่องซึม  อ่อนเพลีย  น้ำมูกไหล  น้ำลายฟูมปาก  แน่นหน้าอก  ม่านตาหรี่  ปวดและมีน้ำตาไหล  พูดไม่ชัด  กล้ามเนื้อกระตุก  หายใจอึดอัด

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท    Theophylline , Aninophylline  อาจใช้  2-PAM ร่วมกับอะโทรปินได้  ในกรณีที่ใช้ยาอย่างเดียวไม่ได้ผล  ห้ามใช้ยาพวกมอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  3  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  อย่าใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– ทำปฏิกิริยากับโลหะ  เช่น  เหล็ก

– ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไปได้

 

มีฟอสโฟแลน

(mephospholan)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  การแทรกซึมเข้าไปในต้นได้  โดยผ่านทางใบและลำต้น

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  9  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย) 28.7  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนสไปนี่  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนชอนใบ  หนอนกระทู้  หนอนกัดราก  หนอนหงอน  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบ  ไร  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  และแมลงหวี่ขาว

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ส้ม  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  อ้อย และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 2%  จี

อัตราการใช้                            โดยทั่วไปใช้  4-8  กก./ไร่

วิธีใช้                                       ใช้หว่านให้ทั่วพื้นที่ ๆ ต้องการกำจัดศัตรูพืช  หรือโรยระหว่างร่อง  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          มีอาการมึนงง  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  กระวนกระวาย  ปลายลิ้นและเปลือกตาจะมีอาการสั่น  ม่านตาหรี่และตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายและน้ำตาไหล  ชีพจรเต้นช้า  และกล้ามเนื้อเกร็ง

การแก้พิษ                               ถ้าเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  จะมีอาการของพิษเกิดขึ้น  ให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  แบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  15  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  แล้วรักษาตามอาการ  ห้ามใช้ยาที่มีมอร์ฟีนหรือส่วนผสมของมอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  4  สัปดาห์

– เป็นพิษมากในทางสัมผัส  ทางหายใจหรือกลืนกินเข้าไป

– ทำให้ผิวหนังระคายเคือง

– เป็นอันตรายต่อผึ้งและปลา

– เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง  ห้ามสัตว์เลี้ยงเข้าไปในพื้นที่ใช้สารนี้อย่างน้อย  1  วัน

– ห้ามใช้โดยการฉีดพ่น

 

เม็ทอัลดีไฮด์

(metaldehyde)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดหอยทาก  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  630  มก./กก.  (สุนัข)  2,510-10,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หอยทาก  และหอยอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   สวนผัก  สวนไม้ผล  สวนกล้วย  กล้วยไม้  แปลงเพาะชำ  แปลงกล้า และโรงเรือนเพาะชำ

สูตรผสม                                 5% , 6%  จี  หรือใช้ผสมกับเหยื่อ

อัตราใช้และวิธีใช้                  ชนิดที่เป็นเหยื่อสำเร็จรูป  ใช้  10-20  เม็ดต่อพื้นที่  3  ตารางเมตร หรือโรยตามผิวดินในพื้นที่ ๆ มีหอยชุกชุม

อาการเกิดพิษ                          ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตามเยื่อบุจมูก  ตา  และอาจจะมีอาการแสบ  น้ำตาไหล  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจะปวดท้อง  คลื่นไส้  วิงเวียน อาเจียน  ท้องเสีย  เป็นไข้  ชัก  และหมดสติ

การแก้พิษ                               ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของคนไข้  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้กลูโคสทางเส้นเลือดแก่คนไข้  แล้วรักษาตามอาการ ห้ามคนไข้รับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

 

เม็ทธิดาไธออน

(methidathion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  25-44  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  200  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อนส้ม  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไรแมงมุม  แมลงหวี่ขาว  มวนต่าง ๆ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะตา  หนอนชอนใบ  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ส้ม  ยาสูบ  ทานตะวัน  มะเขือเทศ  ข้าวฟ่าง  องุ่น  ไม้ผลและพืชทั่วไป

สูตรผสม                                 40%  อีซี

อัตราการใช้                            ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ                               ใช้ยาอะโทรปิน  หรือ  toxogonin  แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– อย่าใช้ในขณะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– การผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง  อาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง

– ประสิทธิผลตกค้างมีอยู่ได้  3-5  สัปดาห์

 

เม็ทธิโอคาร์บ

(methiocarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไร  คาร์บาเมท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  ใช้เป็นสารกำจัดหอยและสารขับไล่นกได้

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  100-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง (หนู)  มากกว่า  500  มก./กก.  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไรแดง  แมลงเต่าทอง แมลงวันทอง  หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ  หนอนกระทู้  นอกจากนี้ยังใช้กำจัด หอยทากและหอยศัตรูพืชอื่น ๆ ได้ด้วย

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  องุ่น  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี  และ  2%  จี

อัตราการใช้                            ชนิด  50%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  20-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร ชนิด  2%  จี  ใช้กำจัดหอยทาก

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการอ่อนเพลีย  วิงเวียนและปวดศีรษะ  ท้องเสีย  ม่านตาหรี่ หายใจขัด

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด พร้อมกับนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ควรรักษาคนไข้ด้วยการใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือดและฉีดซ้ำตามความจำเป็น จนกว่าอาการดีขึ้น

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  เป็นพิษต่อปลา  และค่อนข้างเป็นพิษต่อไส้เดือนฝอย

– อย่าผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น ๆ

 

เม็ทโธมิล

(methomyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  17-24  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  1,500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  หนอนเจาะผล  หนอนยาสูบ หนอนม้วนใบ  หนอนเขียว  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกัดกินใบ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  และแมลงศัตรูพืชอื่นๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ผักต่าง ๆ  หอม  พริก  มะเขือเทศ  มะเขือ  ยาสูบ มันฝรั่ง  หน่อไม้ฝรั่ง  แตงโม  แตงกวา  องุ่น  ส้ม  มะนาว  ไม้ดอกไม้ประดับ  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 90%  ดับบลิวพี , เอสพี  18%  เอสแอล  และ  1%  จี

อัตราการใช้                            ชนิด  90%  เอสพี  ใช้อัตรา  6-18  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิดอื่น ๆ  ศึกษาได้จากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตาลาย  จุกเสียด  แน่นหน้าอก  เหงื่อไหล  ม่านตาหรี่  กล้ามเนื้อกระตุก  ชีพจรเต้นเร็ว

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเข้าปากต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน 2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1-2 มก.  ฉีดเข้าเส้นทุก  10-30  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้  2-PAM  และ  Morphine

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  ผักและส้ม  ใช้เวลา  1-3  วัน  ถั่วเหลือง  ใช้เวลา  6-14  วัน  หอมสด  ใช้เวลา  28  วัน  องุ่น  ใช้เวลา  14  วัน  และถั่วลิสง  ใช้เวลา  21  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้ง

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

 

มีโธพรีน

(methoprene)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารควบคุมหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง  (insect  growth regulator)  และสารกำจัดลูกน้ำยุง

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  600  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  3,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อ  ด้วงยาสูบ  ด้วงแตง  มวนต่าง ๆ  หนอนชอนใบ ผีเสื้อยาสูบ  มด  หมัด  แมลงวัน  เหา  และยุง

การใช้                                     – ใช้กำจัดยุงในพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก  ข้าว  และทุ่งหญ้า

– ใช้กำจัดหนอนแมลงวันในหญ้าหมัก

– ใช้กำจัดศัตรูยาสูบและถั่วลิสงในโรงเก็บ

สูตรผสม                                 5%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก

ข้อควรรู้                                  – ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา  กุ้งและปู  อาจตายได้

– ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ  และน้ำมัน

– ให้ผลดีโดยเฉพาะในการใช้กำจัดแมลงวัน

– ใช้อัตราต่ำมากก็ยังได้ผลดี

– ทำให้แมลงไม่เป็นตัวแก่และสืบพันธุ์ต่อไปไม่ได้

– มีผลเล็กน้อย  ถึงไม่มีเลยต่อแมลงที่อยู่ในระยะตัวแก่หรือระยะดักแด้

– ในประเทศญี่ปุ่น  ใช้สารนี้กับหนอนไหม  เพื่อทำให้หนอนยืดระยะเวลาการผลิตไหมของมันออกไปอีกได้

 

เม็ทท๊อกซีคลอร์

(methoxychlor)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ที่ออกฤทธิ์ตกค้างได้นาน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  6,000  มก./กก.  ปริมาณที่ทำให้คนตายได้  ประมาณ  1  ปอนด์  โดยการฉีดเข้าไปในร่างกายเพียงครั้งเดียว

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ด้วงงวง  มอด  เพลี้ยกระโดด  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  เพลี้ยหอย มวนดอกรัก  แมลงวัน  เหา  เห็บ  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   แอสพารากัส  ถั่ว  กะหล่ำ  แตงโม  กะหล่ำดอก  มะเขือ  องุ่น  คะน้า ถั่วแขก  ถั่วลิสง  ฟักทอง  ข้าว  ถั่วเหลือง  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  ไม้ผล  ไม้พุ่ม  พืชผัก  วัวนม  วัวเนื้อ  และรอบ ๆ  โรงเรือน  (ยกเว้นโรงเลี้ยงสัตว์ปีก)

สูตรผสม                                 25% , 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้อาเจียนและให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการเป็นพิษ  ให้รีบล้างบริเวณที่ถูกด้วยน้ำนานประมาณ  15 นาที  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ นาน  15  นาที  แล้วไปหาแพทย์

ข้อควรรู้                                  – มีพิษต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นต่ำ  เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– อย่าให้ปะปนลงไปในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา

– ห้ามผสมกับผลิตภัณฑ์ที่ผสมกับน้ำมันไม่ได้

– ห้ามใช้ภายหลังการใช้  sulphur  หรือผลิตภัณฑ์ที่มี  sulphur ผสมอยู่ภายใน  14  วัน

– กำจัดเพลี้ยอ่อนและไรไม่ได้

– เป็นสารที่มีส่วนใกล้เคียงกับ  DDT  มาก  แต่มีพิษกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ต่ำกว่า  DDT  1/25 – 1/50  เท่า

– ผสมได้กับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอื่น ๆ  ยกเว้นชนิดที่มีความเป็นด่างสูง

 

เม็ทธิล  โบรไมด์

(methyl  bromide)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารรมควันพิษ  ใช้กำจัดแมลงศัตรูผลิตผลทางการเกษตรในโรงเก็บ  ใช้รมดินเพื่อกำจัดวัชพืช  เมล็ดวัดพืช  ไส้เดือนฝอย  แมลงและโรคบางชนิดที่อยู่ในดิน

ความเป็นพิษ                          เป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อหายใจเอาควันพิษเข้าไป  ผิวหนังหรือดวงตาจะไหม้เมื่อถูกกับเม็ทธิลโบรไมด์ที่อยู่ในลักษณะที่เป็นของเหลว

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ด้วงงวงข้าว  มอดแป้ง  มอดข้าวเปลือก  มอดฟันเลื่อย  มอดยาสูบ มอดฟันเลื่อยใหญ่  ด้วงถั่วเขียว  ด้วงงวงข้าวโพด  ด้วงกาแฟ  ด้วงขาแดง  ผีเสื้อข้าวสาร  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ผีเสื้อข้าวโพด  แมลงศัตรูในโรงเก็บอื่น ๆ  ไส้เดือนฝอยและวัชพืช

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ข้าวเปลือก  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  แป้งมันสำปะหลัง  เมล็ดถั่วต่าง ๆ  เมล็ดธัญพืชและพืชอื่น ๆ  ที่เก็บในโรงเก็บ

สูตรผสม                                 98%

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษาจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ  โดยปกติใช้อัตรา  1-4 ปอนด์/1000  ลบ.ฟุต

ข้อควรระวัง                           ภาชนะบรรจุต้องปิดมิดชิด  แน่นสนิท  เก็บในที่เย็นและมีอากาศถ่ายเทได้ดี  อย่าให้เข้าตา  ถูกผิวหนัง  เสื้อผ้าหรือหายใจเอาไอพิษเข้าไป  เมื่อมีการรมยาควรสวมใส่หน้ากากป้องกันไอพิษ

การแก้พิษ                               ย้ายคนไข้ออกไปให้อยู่ในที่โล่งแจ้งทันทีเมื่อได้รับพิษ  ให้คนไข้นอนลงพร้อมกับให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  ถ้ามีอาการหายใจขัด  ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  ในกรณีที่ถูกผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ นานอย่างน้อย  15  นาที

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ในการรมยา  24-48  ชม.หรือมากกว่านี้

– อย่ารมเมล็ดพืชที่มีความชื้นสูง

– เป็นแก๊สไม่ไวไฟ

– ผู้ที่จะใช้ควรได้รับการฝึกมาก่อน

– ในการใช้กำจัดเชื้อโรคพืช  จะต้องใช้อัตราเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่า

 

เม็ทธิล  พาราไธออน

(methyl  parathion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  ประมาณ  9-25  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  300-400  มก./กก.  (หนู)  20  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  เช่น  หนอนกอสีชมพู  หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนกินใบ  เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  บั่ว  ด้วงดีด  มวนต่าง ๆ  แมลงหวี่ขาวและแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ผัก  ข้าว  กาแฟ  ชา  ส้ม  อ้อย  ยาสูบ  กล้วย  ฝ้าย  สัปปะรด ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วลิสง  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  องุ่น  ไม้ผล  พืชสวน  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี  และ  3%  ดี

อัตราใช้                                   ชนิด  50%  อีซี  ใช้  10-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษาอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ภายหลังจากได้รับพิษเข้าไปแล้ว  1-4  ชม.  อาการจึงจะปรากฏโดยมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  แน่นหน้าอก  มึนงง  ปวดท้องเกร็ง  กล้ามเนื้อกระตุก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรรีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ฉีดแบบ  IV  ขนาด  2-4 มก.ฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM , PAM , 2-PAMM  และ Toxogonin  เป็นยาแก้พิษที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้  ห้ามใช้  morphine , Theophylline  และ  Aminophylline

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้ง  ปลา  กุ้ง  และปู

– ห้ามบุคคลที่ไม่สวมใส่เครื่องป้องกันเข้าไปในพื้นที่ที่ฉีดพ่นแล้วอย่างน้อย  48  ชั่วโมง

– ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง

– ไม่มีความคงตัวในดิน

 

มีโทลคาร์บ

(metolcarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  268  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า 2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  แมลงปากดูดที่เป็นศัตรูข้าว  เช่น  เพลี้ยจักจั่น  และเพลี้ยกระโดด

พืชที่ใช้                                   ข้าว  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดได้จากฉลากข้างภาชนะบรรจุ

 

แม็กซาคาร์เบท

(mexacarbate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  สัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  15-19  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนกระทู้  หนอนชอนใบ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  และไร

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ไม้ดอกและไม้ประดับ  ไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี  ,  24%  อีซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงทั่วไปใช้  50-100  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ถ้าถูกกับผิวหนังหรือเข้าตา  จะเกิดอาการระคายเคือง  น้ำตาไหล  รูม่านตาเล็กลง  ตาพร่า  ถ้าสูดดมเข้าไป  จะหายใจลำบาก  ถ้ากลืนกินเข้าไป  จะปวดท้อง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  ท้องเสีย  เหงื่อออกมาก  ปวดศีรษะ  กล้ามเนื้อกระตุก  ชัก  หมดสติ  และตาย

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่  ให้กินไข่ขาวหรือดื่มน้ำมาก ๆ  แล้วรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  รักษาคนไข้  ห้ามใช้ยาพวก  sedative  และ  narcotic  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อผึ้งและปลา

– สามารถใช้เป็นสารกำจัดหอยทากได้  โดยทากจะหยุดกินอาหารภายหลังจากที่กินเข้าไป  และจะตายภายใน  2-3  วัน

– สามารถเข้ากับสารกำจัดแมลงชนิดอื่น ๆ ได้

– อย่าใช้กับพืชอาหารคนหรืออาหารสัตว์

 

นาเลด

(naled)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  สารตกค้างออกฤทธิ์เป็นสารรมควันพืชในระยะสั้น ๆ ได้ด้วย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  430  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  1,110  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  ไร  แมลงหวี่ขาว  หนอนกระทู้ฝักข้าวโพด หนอนคืบ  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะสมอ  มวนเขียว  มวนลำไย  มวนดอกรัก  ด้วงงวงกล้วย  หนอนใยผัก  ตั๊กแตน  แมลงวันผลไม้  ยุง  และแมลงวันบ้าน

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  คะน้า  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  คื่นฉ่าย  ส้มต่าง ๆ  แตง มะเขือ  องุ่น  กล้วย  ข้าว  ถั่วเหลือง  ยาสูบ  มะเขือเทศ  และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราการใช้                            ใช้  40-70  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้ละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงกำลังทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการม่านตาหรี่  ชีพจรเต้นช้าลง  เหงื่อแตก  คลื่นไส้ อาเจียน  ไม่มีแรง  ท้องร่วง  กลั้นปัสสาวะไม่อยู่  หัวใจวายกะทันหันและตายได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาอาจทำให้ดวงตาไหม้ จึงต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย  15  นาที  แล้วให้อยู่ในความดูแลของแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  ใช้  2-PAM  รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – ทำให้ผิวหนังระคายเคือง

– อย่าใช้ขณะที่มีอากาศร้อนเกินกว่า  32  องศาเซลเซียส

– ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– กัดกร่อนโลหะ

 

โอเม็ทโธเอท

(omethoate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  50  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  700 มก./กก.  (ภายใน  7  วัน)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  ไร  เพลี้ยแป้ง หนอนกอข้าว  หนอนชอนใบส้ม  หนอนแมลงวันชอนใบผัก  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าว  องุ่น  ส้ม  กาแฟ  อ้อย  มันฝรั่ง  ผักต่าง ๆ  ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี  และ  เอสแอล

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีการทำลายของแมลง  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการเวียนศีรษะ  มึนงง  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดินและปวดท้องเกร็ง  ม่นตาหรี่  หายใจขัด  เหงื่อออกมาก  เมื่อถูกผิวหนังและดวงตาจะมีอาการระคายเคือง  คัน  และอักเสบ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้คนไข้ดื่มถ่านยา  เพื่อดูดซับพิษ  แต่ถ้ามีอาการเกิดพิษรุนแรง  ควรให้คนไข้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.5  มก. จำนวน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้มีอาการรุนแรง  ควรฉีดด้วยอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.แบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  อย่าใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– อย่าผสมกับกำมะถัน  (sulfur)

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้