ข้อควรระวังกับสารกำจัดศัตรูพืช(ยาฆ่าแมลง) ตอนที่ 5

อ๊อกซามิล

(oxamyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลง  ไร  และไส้เดือนฝอย  คาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม โดยผ่านทางรากและใบ  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5.4  มก./กก.  ชนิด  24%  แอล  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  37  มก./กก.  ชนิด  25%  แอล  มีพิษเฉียบพลันทางผิวหนัง  (กระต่าย)  2,960  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ไรแดง  ไรสนิม หนอนชอนใบและไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้                                   ยาสูบ  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มะเขือ  ฝ้าย  พริกไทย  สัปปะรด  มะเขือเทศ  อ้อย  ส้ม  ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 24%  แอลซี

อัตราการใช้                            แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช  เช่น  ส้ม  ใช้อัตรา  25-100  ซีซี ไม้ดอกไม้ประดับใช้อัตรา  200-400  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบพืชหรือใช้ราดโคลนหรือใช้จุ่ม

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  จมูก  คอ  ระคายเคือง  ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังจะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  ตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน แน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  ตาหรี่  ชีพจรเต้นช้า-ต่ำ  กล้ามเนื้อกระตุก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ฉีดแบบ  IV  ขนาด  1.2-2  มก.  ฉีดซ้ำได้ทุก  10-30  นาที  จนกว่าอาการจะดีขึ้น  ห้ามใช้มอร์ฟีน  (morphine)

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-21  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้ง  อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก

– เป็นอันตรายต่อปลา  นก  และสัตว์ป่า

– เป็นอันตรายเมื่อหายใจเอาละอองไอเข้าไป

– ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ใช้แช่หรือจุ่มรากพืชเพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยได้

 

อ๊อกซีดีมีตัน-เม็ทธิล

(oxydemeton-methyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  พร้อมกับมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษในตัว  cholinesterase inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  65-75  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 250  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  แมลงปากดูด  คือ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  เช่น  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะสมอ หนอนกระทู้  รวมทั้งหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว

พืชที่ใช้                                   ยาสูบ  อ้อย  ส้ม  ฝ้าย  กล้วย  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ชา กาแฟ  มันฝรั่ง  องุ่น  ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ผักต่าง ๆ

สูตรผสม                                 25%  อีซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  สารอ๊อกซีดีมีตันเม็ทธิล  จะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในกระแสน้ำเลี้ยงของต้นพืช  เป็นผลให้มีประสิทธิภาพตกค้างในต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้องเกร็ง  ท้องร่วง ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก  และหายใจหอบ

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษขึ้นในขณะที่ใช้อยู่  ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า  ทำความสะอาดร่างกาย  และให้ความอบอุ่นแก่คนไข้  ให้ดื่มน้ำสุกผสมถ่านยา  เพื่อช่วยดูดซับพิษ  อาจจะให้กินยาอะโทรปิน  ขนาด  0.5  มก. จำนวน  2  เม็ด  เพื่อช่วยลดอาการเกิดพิษก่อนก็ได้  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์ต่อไป สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้มีอาการไม่รุนแรง  ใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก. ฉีดแบบ  IV  ถ้าอาการรุนแรงให้ใช้  ขนาด  4  มก.  ฉีดซ้ำได้ทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  สำหรับยา  2-PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาแก้พิษที่อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-3  อาทิตย์

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง

– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– มีความเจาะจงในการป้องกันกำจัดแมลง  ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว

– ผสมกับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอื่น ๆ ได้  ยกเว้นพวกที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

 

พาราไดคลอโรเบ็นซีน

(paradichlorobenzene)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารรมควันพิษที่ใช้รมดินและผ้า

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  500  มก./กก.  อาจจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  โรคราสีน้ำเงิน  หนอนเจาะต้นไม้  หนอนผีเสื้อกัดกินหญ้า  กิ้งกือ  มด และทำเป็นสารขับไล่แมลงสาบ  แมลงสามง่าม  ตามตู้เสื้อผ้า  ตู้หนังสือและตามบ้านเรือน

พืชที่ใช้                                   ใช้รมแปลงเพาะกล้ายาสูบ  รมผ้า  และทำเป็นสารขับไล่แมลงในบ้านเรือน

ข้อควรรู้                                  – ทำให้ความงอกของเมล็ดพืชบางชนิดลดลงอย่างรุนแรง

– เป็นพิษต่อรากพืช  เมล็ด  และต้นกล้า  เมื่อใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในดิน

– ในทางอุตสาหกรรมใช้ป้องกันโรคราดำที่เป็นกับเสื้อผ้า

 

เปอร์มีธริน

(permethrin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์สังเคราะห์  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  500  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  (หนู)  4,000  มก./กก.  ทำให้ผิวหนังและดวงตา  เกิดอาการระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนกัดตายาสูบ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้หอม  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยอ่อน  และแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ  นอกจากนี้ยังใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูปศุสัตว์อีกด้วย

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ผักตระกูลกะหล่ำ  ถั่วฝักยาว  มะเขือเทศ  ฟักทอง  องุ่น  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ปาล์มน้ำมัน  ไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม                                 5% , 10%  อีซี  และ  25%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  10%  อีซี  เมื่อใช้กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  10-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับชนิดอื่น  ศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  ฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  แน่นหน้าอก  ตาพร่ามัว  ม่านตาหด น้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วงและปวดเกร็ง  ในช่องท้อง

การแก้พิษ                               ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ทันที  นานอย่างน้อย  15  นาที  ในกรณีถูกผิวหนังและเกิดอาการเป็นพิษขึ้น  ให้ถอดเสื้อผ้าออกทันทีแล้วล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  อย่าทำให้คนไข้อาเจียน  ควรไปหาแพทย์  สำหรับแพทย์  ควรล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarbonate  5% แล้วให้ยา  diazepam  ขนาด  2-4  มก.  แก่คนไข้ด้วยการฉีด  แบบ  IV  หรือ  IM ฉีดซ้ำได้ทุก  2  ชั่วโมง  ถ้าจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อผึ้ง  อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก

– เป็นอันตรายต่อปลาสูงมาก  อย่าปล่อยให้ปนเปื้อนลงไปในน้ำ

– อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไรเพิ่มขึ้น

– ออกฤทธิ์ได้เร็ว  ให้ผลในทางขับไล่แมลงได้

 

ปิโตรเลียม  ออยล์

(petroleum  oils)

การออกฤทธิ์                          เป็นน้ำมันที่นำมาใช้กำจัดแมลง  ไร  และไข่  โดยทางสัมผัส

ความเป็นพิษ                          ไม่เป็นพิษ  (โดยอนุโลม)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไข่เพลี้ยอ่อนและตัวแก่  ไข่ไรและตัวแก่

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  มะเขือเทศ  ข้าว  ข้าวฟ่าง  ถั่วเหลือง  องุ่น อ้อย  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 85-90%  น้ำมัน

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้                                  – ใช้ผสมกับสารกำจัดแมลงบางชนิด  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

– อย่าใช้ซัลเฟอร์ภายหลังการฉีดพ่นปิโตรเลียม  ออยล์  ในช่วงระยะ 2-3  สัปดาห์

– ทำลายชิ้นส่วนที่เป็นยางของเครื่องมือพ่นยา

– ห้ามใช้ภายหลังการใช้แคปแทน  หรือ  ฟัลแทน  60-90  วัน

– ห้ามใช้ร่วมกับคาร์บาริล

– ห้ามใช้ในขณะที่มีอากาศร้อน

 

เฟนโธเอท

(phenthoate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  300-439  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 2,100  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง  เช่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  ไร  หนอนกระทู้  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะสมอ  หนอนชอนใบ  หนอนคืบ  หนอนใยผัก  และมวนต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  ถั่ว  ส้ม  กาแฟ  อ้อย  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ชา ยาสูบ  ไม้ผล  องุ่น  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงศัตรูอ้อยและฝ้าย  ใช้อัตรา  40-80  ซีซี  พืชอื่น ๆ ใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย  พูดไม่ชัด  ตาพร่ามัว  ปวดเกร็งช่องท้อง  กล้ามเนื้อกระตุกและอาจชักได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarbonate  5%  ยาแก้พิษที่ใช้คือ  อะโทรปินซัลเฟท ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  หรือ  IM  ฉีดซ้ำทุก  5-10  นาที  ตามความจำเป็น ห้ามใช้ยาที่มีมอร์ฟีนผสม

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลาและเป็นอันตรายต่อผึ้ง

– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง

– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

 

โฟเรท

(phorate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย  ใช้กำจัดไส้เดือนฝอยบางชนิดได้ด้วย

ความเป็นพิษ                        มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  2.5-6.2  มก./กก.  (หนูกิเนีย)  20-30  มก./กก.  ซึมผ่านผิวหนังและดวงตาได้อย่างรวดเร็ว

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดแมลงปากดูด  ได้แก่  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  แมลงหวี่ขาว  มวนเขียว  แมลงอื่น ๆ  คือ  หนอนขอนใบ  หนอนกระทู้ หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง  และไส้เดือนฝอยทำลายใบ

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ฝ้าย  ถั่วลิสง  มะเขือเทศ  ข้าว  ข้าวฟ่าง  ถั่วเหลือง  อ้อย มันฝรั่ง  ถั่วเขียว  ถั่วแขก  ยาสูบ  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 10%  จี

อัตราการใช้                            แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของพืช  ตั้งแต่  1.5-3  กก./ไร่  ก่อนใช้จึงควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ใช้โรยตามร่องหรือหยอดรองก้นหลุมพืชที่ต้องการปลูก  รากพืชจะดูดซึมเอาโฟเรทเข้าไปในต้นและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบ

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการปวดศีรษะ  ม่านตาหรี่  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  น้ำลายไหล  ท้องร่วง  แน่นหน้าอก  ปวดเกร็งช่องท้อง

การแก้พิษ                               ในกรณีเกิดพิษที่ผิวหนัง  เนื่องมาจากการสัมผัสถูกให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  ภายหลังจากที่คนไข้อาเจียนแล้ว  ให้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  จำนวน  2  เม็ด แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด 4-8  มก.  ฉีดแบบ  IV  หรือ  IM  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น  จนกว่าจะเกิดอาการ atropinization  ห้ามใช้มอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์

– ความร้อนอากาศแห้งแล้ง  จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้ทางดินลดลง

– เป็นพิษเมื่อถูกกับผิวหนัง  หายใจหรือกลืนกินเข้าไป

– เป็นอันตรายต่อปลา  เป็นพิษต่อผึ้ง

– ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ออกฤทธิ์คุ้มครองพืชได้  4-12  สัปดาห์  ภายหลังการใช้

 

โฟซาโลน

(phosalone)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  120  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 1,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  ไร  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนเจาะยอด  กะหล่ำ  ด้วงงวงข้าวโพด  แมลงดำหนาม  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  และไม้ผลทั่วไป  องุ่น  ยาสูบ  ฝ้าย  มะเขือ  พริก  แตง  มันฝรั่ง ชา  หอม  ผักตระกูลกะหล่ำ  ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  มะม่วง  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 35%  อีซี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงศัตรูฝ้าย  ใช้อัตรา  30-60  ซีซี  พืชอื่น ๆ  ใช้อัตรา  20-35  ซีซี  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบศัตรูพืช  ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  เยื่อบุจมูก  เกิดอาการระคายเคือง  ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย  จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายไหล  มีเหงื่อออกมาก  ปวดท้อง  ตาพร่ามัว  ชีพจรเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ  กล้ามเนื้อกระตุก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  และฉีดซ้ำทุก  30  นาที  จนอาการดีขึ้น

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-3  สัปดาห์

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  และเป็นพิษต่อปลา

– ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  lime  sulphur

– ใช้ในการป้องกันพืชได้ประมาณ  12-20  วัน

– สลายตัวในดินได้เร็วกว่า  พาราไธออน

– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

 

ฟอสเม็ท

(phosmet)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  230  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า 4,040  มก./กก.  (กระต่าย)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะผลไม้  เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด  ด้วงหมัด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  และแมลงอื่น ๆ  รวมทั้งแมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  เหา  ไร  และโรคขี้เรื้อนสุกร

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  องุ่น  มะเขือเทศ  ไม้ผล  ใช้กำจัดโรคขี้เรื้อนสุกร  และ  วัวเนื้อ

สูตรผสม                                 20%  น้ำมัน , 18.8%  น้ำมัน  และ  12%  อีซี , 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  กำจัดขี้เรื้อนสุกร  ใช้โดยการเทราดฟอสเม็ทลงบนตัวสุกร  ในอัตรา  1 ซีซี  ต่อสุกรหนัก  10  กก.  ถ้าพบไรหรือขี้เรื้อนที่ใบหู  ให้ใช้แปรงทาสีชุบฟอสเม็ททา  บริเวณที่พบ  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษในสัตว์             โดยทั่วไป  สัตว์จะมีอาการซึม  ไม่มีแรง  น้ำลายไหล  และหายใจขัด สำหรับการรักษา  ให้ใช้ยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.2-0.5  มก./กก.  น้ำหนักตัว  ฉีดเข้าแบบ  IV  และ  IM  หรือ  SC  ให้ฉีดซ้ำทุก  3-6  ชั่วโมง

อาการเกิดพิษในคน               จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  กระวนกระวาย  มีอาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำตาและน้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ชีพจรเต้นช้า  กล้ามเนื้อเกร็ง  ในรายที่มีอาการรุนแรง  จะมีอาการหายใจลำบาก  ปอดบวม  ขาดออกซิเจน  ตัวเขียวคล้ำ  กล้ามเนื้อหูรูดไม่ทำงาน  ชักและตาย

การแก้พิษในคน                    ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้รีบล้างด้วยน้ำและสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยให้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ IM  และให้ซ้ำทุก  3-8  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้ยาพวก morphine  theophyline  aminophylline  barbiturates  phenotriazines  และ reppiratory  depressant

ข้อควรรู้                                  – ห้ามใช้กับลูกสัตว์และสัตว์ที่กำลังป่วย

– ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ห้ามใช้กับวัวนม

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– อย่าเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  45  องศาเซลเซียส

 

ฟ๊อกซิม

(phoxim)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโพรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  moderate  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,895  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง มากกว่า  1,000  มก./กก.  (หนู)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  – แมลงศัตรูในโรงเก็บ  เช่น  มอดข้าวสาร  มอดข้าวเปลือก  มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวโพด  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ด้วงงวงข้าว  ด้วงเจาะเม็ดถั่ว

– แมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  ไร  และโรคขี้เรื้อนสุกร

– แมลงศัตรูพืช  เช่น  เพลี้ยอ่อน  มวนดอกรัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาวกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนกระทู้หอม  เพลี้ยไฟ แมลงกะชอน  หนอนกอลายและสีชมพู  และด้วงดีด

พืชที่ใช้                                   เมล็ดพันธุ์พืช  ฝ้าย  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  กล้วย  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วลิสง  ที่เป็นปศุสัตว์  ได้แก่  สุกร

สูตรผสม                                 3%  ดี , 7.5%  และ  50%  อีซี , 80%  ยูแอลวี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ชนิด  3%  ดี  ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกในอัตรา  20-40  กรัม  ต่อ เมล็ดพันธุ์  100  กก.  ชนิด  75%  เอส  ใช้กำจัดไรและขี้เรื้อนสุกร  ใช้อัตรา  4 ซีซี  ต่อสุกรหนัก  10  กก.  ชนิด  50%  อีซี  ใช้กำจัดแมลงทำไปในอัตรา  20-30 ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงงและวิงเวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งในช่องท้อง  ท้องร่วง  ม่านตาหรี่  หายใจแรง  เหงื่อออกมาก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  ถ้ามีอาการหนัก ให้ใช้ขนาด  4  มก.  และฉีดซ้ำด้วยขนาด  2  มก.  ทุก ๆ  10-15  นาที  จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM  และ  Toxogonin  ใช้รักษาร่วมกับ  atropine ได้  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว

– พิษที่มีต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีน้อย

– สามารถใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

– อย่าใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– อย่าใช้กับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดดับบลิวพี  (WP)  ผสมกับสารนี้ในถังฉีดพ่น

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

 

ไพริมิคาร์บ

(pirimicarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม  ที่ใช้ในการกำจัดเพลี้ยอ่อนโดยเฉพาะ  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและเป็นสารรมควันพิษในตัว  สามารถแทรกซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบและรากได้  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  147  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  50  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ยาสูบ  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ผักตระกูลกะหล่ำ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  ดีจี , 50%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช  โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง  5-15  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายฟูมปาก  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย  ตาพร่า  หายใจลำบาก  อาจจะชักและหมดสติได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่หลายครั้ง  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากต้องทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยฉีดแบบ  IV  แล้วฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็นทุก  15  นาที  แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  วัน

– ออกฤทธิ์เร็ว  ฤทธิ์ตกค้างมีระยะสั้น

– ไม่เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ  ตัวเบียฬ  และผึ้ง  โดยอนุโลม

 

ไพริมิฟอส – เม็ทธิล

(pirimiphos – methyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,018  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  ไรสนิม  ไรแดง  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ รวมทั้งแมลงศัตรูในโรงเก็บ  และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์  เช่น  มอดข้าวสาร  มอดข้าวเปลือก  มอดสยาม  ผีเสื้อข้าวเปลือก  มอดแป้ง  มอดฟันเลื่อย  มอดหนวดยาว มอดข้าวโพด  ด้วงงวงข้าว  เหา  ไร  หมัด  มด

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  ส้ม  องุ่น  มะเขือเทศ  กาแฟ  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  แตกต่างกันออกไปตามชนิดพืชและวัตถุประสงค์  จึงควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  ชักกระตุก  ม่านตาหรี่ คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  ปวดท้อง  กล้ามเนื้อเกร็ง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบล้างท้องทันที  ยาที่ใช้แก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท และ  PAM

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– มีความคงตัวเมื่อฉีดพ่นบนผิวพื้นได้นานกว่าสารกำจัดแมลงอย่างอื่น ๆ

– ออกฤทธิ์เร็ว

– ผลการใช้จะดีถ้าเมล็ดพืชมีความชื้นถึง  15%  สำหรับเมล็ดที่แห้งเกินไปจะทำให้ความคงตัวของยาลดน้อยลง  อย่าใช้กับเมล็ดพืชที่มีความชื้นมากกว่า  18%

– ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง

 

โปรฟีโนฟอส

(profenofos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  358  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  472  มก./กก.  (กระต่าย)

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้ยาสูบ  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนคืบกะหล่ำ  ด้วงงวงเจาะสมอ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  ไรฝ้าย

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  อ้อย  มันฝรั่ง  ยาสูบ  ถั่วเหลือง  หอม  พริก  ผักตระกูลกะหล่ำ องุ่น  ข้าวโพด  และพืชอื่น

สูตรผสม                                 50%  อีซี , 25%  ยูแอลวี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงศัตรูพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  ม่านตาหรี่  ตาพร่า  คลื่นไส้ อาเจียน  เหงื่อและน้ำลายไหลมาก  ปวดท้องเกร็ง  ท้องเสีย  กล้ามเนื้อกระตุก พูดไม่ชัด  หายใจขัด  หัวใจเต้นช้า  ชักเกร็งและอาจหมดสติ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจนเกิดอาการเป็นพิษ  ควรรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2-4 มก.  ฉีดแบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ห้ามใช้มอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน

– กำจัดหนอนในระยะ  1  ถึง  3  ได้ดีกว่าระยะ  (instar)  อื่น ๆ

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

 

โปรมีคาร์บ

(promecarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  74-90  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า 1,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนชอนใบ  เพลี้ยอ่อน  ด้วงเจาะมันฝรั่ง  หนอนกัดรากข้าวโพด แมลงวันเห็บ  และหนอนผีเสื้อทั่วไป

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  ไม้ผลทั่วไป  รวมทั้งไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 25%  อีซี  และ  30%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ทั้งชนิด  25%  และ  30%  ใช้ผสมกับน้ำ  ตามอัตราส่วนที่กำหนดบนฉลาก  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ยาแก้พิษ                                 อะโทรปินซัลเฟท

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อผึ้ง

– อย่าใช้ผสมกับสารอื่นที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

โปรพาร์ไลท์

(propargite)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไร  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,200  มก./กก.  ทางผิวหนัง 10,300  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรแดง  ไรสนิม  ไรขาว  และไรที่ทำลายพืชชนิดอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   กล้วยไม้  ลิ้นจี่  กระเทียม  สตรอเบอร์รี่  ข้าว  แอปเปิ้ล  เชอร์รี่  องุ่น ฝ้าย  มันฝรั่ง  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  และไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม                                 20%  อีซี , 30%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ใช้อัตรา  20-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้ตัวยาละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีไรทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการปวดศีรษะ  ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้  อาเจียน  ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบหรือระคายเคือง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากให้ดื่มน้ำมาก ๆ  แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  ห้ามให้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ให้รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลา  ปลอดภัยต่อผึ้ง

– อย่าใช้ในขณะที่อากาศมีอุณหภูมิสูงกว่า  35  องศาเซลเซียส

– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  น้ำมันฉีดพ่น  หรือกับสารกำจัดศัตรูพืชที่ประกอบด้วยสารทำละลายปิโตรเลียมจำนวนมาก ๆ

– ใช้กำจัดไรที่อยู่ในระยะเคลื่อนไหวได้ผลดีที่สุด

– จะให้ผลดีเมื่อใช้ในขณะที่มีอากาศสูงกว่า  21  องศาเซลเซียส

 

โปรโพเซอร์

(propoxur)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสสูงและกินตาย  มีฤทธิ์น๊อคแมลงได้อย่างรวดเร็วและอยู่ได้นาน cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  70-200  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 500  มก./กก.  (กระต่าย)  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยไฟ  หนอนชอนใบ  หนอนผีเสื้อขาว  หนอนใยผัก  มวนเขียวข้าว  นอกจากนี้ยังใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน  เช่น แมลงสาบ  มด  แมลงวัน  ยุง  ไรและเห็บ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ข้าว  ผักต่าง ๆ  มันฝรั่ง  ฝ้าย  อ้อย  โกโก้  ถั่วเหลือง  สวนผลไม้  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 20%  อีซี  และ  50%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  20%  อีซี  ใช้อัตรา  25-75  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  50% ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  10-30  กรัม  ผสมน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชครั้งแรก  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียน  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ปวดเกร็งช่องท้อง  ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก  หายใจหอบ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.5  มก.  2  เม็ด  พร้อมกับนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  เป็นพิษต่อปลา

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

โปรธิโอฟอส

(prothiofos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  925  มก./กก  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  1,300  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อที่กัดกินใบพืช  เช่น  หนอนกระทู้หอม  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนม้วนใบ  แมลงศัตรูพืชอื่น ๆ  เช่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน  เช่น  ยุงและแมลงวัน

พืชที่ใช้                                   องุ่น  ส้ม  ยาสูบ  ชา  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ผักตระกูลกะหล่ำและผักทั่วไป  พริก  มะเขือ  ถั่วเขียว  กล้วยไม้  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  กำจัดแมลงทั่ว ๆ ไปใช้อัตรา  20-40  ซีซี  ต่อน้ำ  20  ลิตร  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้ อาเจียน  แน่นหน้าอก  ปวดท้องเกร็ง  น้ำตาและน้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ตัวเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากและมีอาการเป็นพิษ  ควรให้ผู้ป่วยกินยาอะโทรปินซัลเฟท ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  ก่อนแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  กับคนไข้  และฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที จนอาการดีขึ้น  2PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาแก้พิษที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– เมื่ออยู่ในดินจะสลายตัวได้เร็วกว่า  parathion

– คุมศัตรูพืชได้ประมาณ  12-20  วัน

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

 

โปรโธเอท

(prothoate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  ไร  และแมลงอื่น ๆ ที่เป็นศัตรูไม้ผล

พืชที่ใช้                                   ไม้ผล  มะม่วง  ฝ้าย  อ้อย  ยาสูบ  องุ่น  ส้ม  พืชผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 40%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้

ข้อควรรู้                                  – ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง

– เป็นพิษต่อปลา

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

– ใช้กำจัดแมลงปากดูดได้ดีกว่าอย่างอื่น

 

ไพริดาเบ็น

(pyridaben)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไร

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  435  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  หอม  กระเทียม  ทุเรียน  และไม้ผลต่าง ๆ

สูตรผสม                                 20%  ดับบลิวพี

 

ควินนัลฟอส

(quinalphos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  62-71  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) 1,750  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกระทู้ผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนผีเสื้อขาว  หนอนใยผัก  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  ไร  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ส้ม  ยาสูบ  องุ่น  ถั่วลิสง  มันฝรั่ง  ข้าว  ชา  พืชผัก  และอื่น ๆ

สูตรผสม                                 1.5%  ดี , 5%  จี , 25%  อีซี , 27.6%  ยูแอลวี

อัตราการใช้                            แตกต่างกันออกไปตามชนิดของสูตรผสม  ชนิด  25%  อีซี  เมื่อใช้กำจัดแมลงทั่วไป  ใข้อัตรา  20-40  ลิตร  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  5%  จี  ใช้อัตรา  3  กก./ไร่  ชนิดอื่น ๆ  ให้ศึกษาอัตราการใช้จากฉลาก

วิธีใช้                                       ชนิด  25%  อีซี  ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น  ชนิด  5%  จี  ใช้หว่านให้ทั่วพื้นที่

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  กระวนกระวาย  ปลายลิ้นและเปลือกตามีอาการสั่น  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำตาและน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ชีพจรเต้นช้า  กล้ามเนื้อเกร็ง

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากและมีอาการเป็นพิษ  ให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท ขนาด  1/100  เกรน  ต่อ  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  ให้กับคนไข้และฉีดซ้ำทุก  10-15 นาที  จนกว่าคนไข้จะมีอาการดีขึ้น  อาจใช้  2-PAM  รักษาร่วมกับอะโทรปินได้ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-21  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้งและปลา

– ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

ซาลิไธออน  หรือ  เฟนฟอสโฟริน

(salithion  or  fenphosphorin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงกลุ่ม  organic  phosphate  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  125  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกอข้าว  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกระทู้  แมลงวันผลไม้  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอฝ้าย  ด้วงงวงสมอฝ้าย  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง

พืชที่ใช้                                   แอปเปิล  ฝ้าย  ชา  ยาสูบ  องุ่น  ข้าว  ผักต่าง ๆ

อัตราใช้และวิธีใช้                  ตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้เมื่อมีแมลงศัตรูพืชปรากฏให้เห็น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ห้ามผสมใช้ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ไม่เป็นพิษต่อพืชเมื่อใช้ตามคำแนะนำ

 

ซีบูฟอส

(sebufos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไส้เดือนฝอยและแมลง  ในกลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟท

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  679  มก./กก.  (หนูตัวเมีย)  391 มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  155  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไส้เดือนฝอยรากปมและอื่น ๆ  รวมทั้งสามารถกำจัดปลวก  มด  หนอนกัดกินราก  หนอนกัดลำต้น  หนอนกอ  หนอนเจาะลำต้น  แมลงด้วงนูน  และหนอนกัดกินหัว

พืชที่ใช้                                   พริกไทย  พลู  สัปปะรด  กล้วย  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มันฝรั่ง  ยาสูบ

อัตราใช้และวิธีใช้                  อัตราการใช้แตกต่างกันออกไปตามพืชที่ปลูก  ศึกษาจากฉลากให้ละเอียดก่อนใช้  และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

อาการเกิดพิษ                          ในระยะที่แพ้จะมีอาการรุนแรงคือ  อ่อนเพลีย  ท้องร่วง  ตาพร่า  และหายใจขัด

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  อย่างน้อยนาน  15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ดื่มน้ำ  1-2 แก้ว  และทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในรายที่หมดสติห้ามทำให้อาเจียน สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  ให้ซ้ำทุก  5-10  นาที  จนกระทั่งผู้ป่วยแสดงอาการ  atropinization อาจให้  2-PAM  ร่วมกับอะโทรปินได้

 

ซัลโปรฟอส

(sulprofos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  107-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  820  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนกระทู้หอม  หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะลำต้น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยกระโดด  ไร  แมลงหวี่ขาว  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าวโพด  ยาสูบ  มะเขือเทศ  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง

สูตรผสม                                 72%  อีซี

อัตราใช้                                   กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูทำลายพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  ท้องร่วง ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ดื่มน้ำ  1  แก้ว  พร้อมกับถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  เพื่อดูดซับพิษหรือจะให้ผู้ป่วยกินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.5  มก.  2 เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  กับคนไข้และฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น ยา  2-PAM  หรือ  Toxogonin  อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลา

– กำจัดแมลงได้ดีโดยเฉพาะกับหนอนผีเสื้อทุกชนิดที่อยู่ในระยะ (instar)  ที่  1-3

 

ทีปูฟีโนไซด์

(tebufenozide)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งหรือควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง  หนอนแมลงที่กินยานี้เข้าไปไม่ลอกคราบและตายไปในที่สุด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกระทู้หอม  หนอนม้วนใบข้าว  หนอนปลอกข้าวและหนอนกอข้าว

พืชที่ใช้                                   องุ่น  ข้าว  ผักต่าง ๆ

สูตรผสม                                 20%  เอฟ  (F)

อัตราใช้และวิธีใช้                  มีอัตราการใช้แตกต่างกันไปตามชนิดพืชตั้งแต่  5-25  ซีซี  ผสมกับน้ำ 20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด

อาการเกิดพิษ                          อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตาและผิวหนัง

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าผู้ป่วยหมดสติอย่าให้กินหรือดื่มอะไร  นำผู้ป่วยส่งแพทย์  เพื่อทำการล้างท้องและรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ตัวหนอนของแมลงที่กินสารนี้เข้าไปจะตายช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของหนอนแต่ละชนิด  แต่โดยทั่วไปจะตายภายใน  2-4  วัน

– มีพิษต่อแมลงตัวเต็มวัยเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

– ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดไร  และไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

 

ทีมีฟอส

(temephos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม  มีความเจาะจงในการกำจัดแมลงและมีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,030  มก./กก.  ทางผิวหนัง  1,300-1,930  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดลูกน้ำยุงและริ้น

สถานที่ใช้                              สระน้ำ  หนอง-บึง  ตุ่มหรือโอ่งน้ำ  ตลอดจนที่มีน้ำขังทั่วไป

สูตรผสม                                 1%  เอสจี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ใส่ลงไปในน้ำที่ต้องการกำจัดลูกน้ำยุง  ตามอัตราส่วนที่กำหนดบนฉลาก

การแก้พิษ                               ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท

ข้อควรรู้                                  – กุ้งหรือปูอาจตายได้ถ้าใช้ในพื้นที่ ๆ มีน้ำขึ้นน้ำลง

– เป็นพิษต่อปลา  นก  และผึ้ง

– ใช้กำจัดลูกน้ำยุงได้ดีกว่าตัวแก่

– ส่วนใหญ่นิยมใช้ในทางสาธารณสุข

– ใช้กำจัดเหาคนได้