Flavonoid / ฟลาโวนอยด์

ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) หรือไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นเมทาบอไลต์ที่สองของพืชกลุ่มหนึ่ง เป็นสารประกอบฟินอล (phenolic compounds) ประเภทพอลิฟีนอล (polyphenol) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวนแอโรมาติก (aromatic ring) ที่มีจำนวนหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) รวมอยู่ในโมเลกุล ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป ในทางเคมี,มีโครงสร้างที่มี 15 คาร์บอนโดยประกอบด้วย 2 วงฟีนิล(A และ B) และ 1 Heterocyclic ring เขียนย่อได้ว่า C6-C3-C6 ตามการเขียนของ IUPAC

สามารถละลายในน้ำได้ ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกับน้ำตาล ในรูปของสารประกอบไกลโคไซด์ (glycoside) สารประกอบ flavonoids ได้แก่ flavonol, flavonone, flavone, isoflavone, flavonol catechin และ anthocyanins

Flavonoid

สารฟลาโวนอยด์ที่พบในพืช

  • naringin เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่ให้รสขมในเปลือกของผลไม้พืชตระกูลส้ม (citrus fruit)
  • catechin พบในใชชาพบมากในชาเขียว

สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ จัดเป็น nutraceutical มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยทำหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยวหรือเป็นสารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) จึงช่วยหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้

แหล่งของอาหารที่พบฟลาโวนอยด์มาก ได้แก่ พืช ผักและผลไม้ เช่น ยอ ถั่วเหลือง กระชายดำ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชา และไวน์เป็นต้น

ฟลาโวนอยด์เคยถูกเรียกว่า วิตามินพี อาจเนื่องจากผลต่อสภาพให้ซึมผ่านได้ของหลอดเลือดฝอย) ระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง 1950 แต่หลังจากนั้นไม่ใช้แล้ว