ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ เป็นปุ๋ยเคมีประเภทหนึ่งที่เรามักจะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่างของการเลือกใช้ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช มีทั้งชนิดที่เป็นของแข็ง หรือเรียกว่าปุ๋ยเกล็ด นั่นเอง และชนิดที่เป็นของเหลว เป็นปุ๋ยที่ละลายมาในลักษณะที่เข้มข้นเมื่อต้องการใช้ปุ๋ยน้ำทั้ง 2 ชนิดนี้ ต้องตวงแล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำตามคำแนะนำในเอกสารกำกับปุ๋ย และได้ระบุปริมาณของธาตุอาหารว่ามีอะไรบ้าง มีมากน้อยเพียงไร ซึ่งนอกจากจะมีธาตุหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แล้วอาจมีธาตุรองและจุลธาตุผสมอยู่ด้วย 

      การที่เราจะใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อความถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นค่ะที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งในเรื่องของ ดินปลูก พืชปลูก และความเหมาะสมของราคาค่าใช้จ่าย เช่น หากจะพิจารณาในเรื่องของดิน โดยปกติแล้วดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่พืชจะได้รับเป็นลำดับแรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการบำรุงดินให้มีธาตุอาหารบริบูรณ์ เป็นสิ่งที่จะต้องดูแลดินปลูกให้มีความสมบูรณ์ มีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารให้แก่พืชอย่างเพียงพอ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมีตามความเมาะสมบ้าง ครั้นเมื่อพบว่าพืชได้ธาตุอาหารไม่เพียงพอ แสดงอาหารขาดธาตุอาหาร การฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารเสริมเข้าไปเพื่อให้พืชก็จะเจริญเติบโตเป็น ปกติ ก็เป็นสิ่งที่เราควรจะหาปุ๋ยทางใบมาเสริม
  
      กรณีของการพิจารณาการให้ปุ๋ยทางใบแก่พืช มักจะนิยมใช้กับสวนผักและไม้ผลเป็นส่วนใหญ่สำหรับข้าวและพืชไร่นั้นใช้กัน ไม่มากเท่าไหร่ค่ะ และช่วงระยะเวลาของการใช้จะนิยมให้ปุ๋ยทางใบในช่วงฤดูแล้ง จะช่วยให้ผักไม่แกร็น และเจริญเติบโตดีขึ้น // ส่วนไม้ผล การให้ปุ๋ยทางใบมักให้แก่พืชก็ต่อเมื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตในบาง ช่วงอายุของพืช เช่น เพื่อให้การออกดอกและติดผลดีขึ้นก็จะทำการฉีดพ่นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของ ฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงก่อนออกดอก หรือการใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง เมื่อติดผลแล้วเพื่อให้ผลโตและรสชาติของไม้ผลดีขึ้น และสิ่งที่ต้องพิจารณาในขั้นต่อไปก็คือ ราคาของปุ๋ยทางใบทีมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับพืชปลูก และต้นทุนการผลิต รวมทั้งราคาของผลิตที่ควรจะได้รับ



     สำหรับจุดประสงค์หลักของการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบ ของผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงสาเหตุต่างๆ ดังนี้

     1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร : เราสามารถสังเกตได้ค่ะว่าพืชมีการขาดธาตุอาหารหลัก อาหารรอง หรืออาหารเสริมหรือไม่ เช่นหากเราปลูกในสภาพดินที่มีความเป็นด่างและไม่ได้ปรับสภาพดิน พืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo) วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุที่พืชขาดฉีดพ่นทางใบและพืช ก็เป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและได้ผลดี จุดประสงค์ที่ 2 คือ

     2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต : นั้นก็คือ เราจะคำนึงถึงธาตุอาหารหลักที่อยู่ในปุ๋ยว่า หากใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนสูง เมื่อนำมาใช้ในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของสารสีเขียวคลอโรฟิลล์ใน ใบด้วย….

     ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูง ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ และหากใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง จะเสริมให้แก่ต้นพืช ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น F/I…….



     และจุดประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบอีกข้อหนึ่งก็คือ เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนธาตุอาหารจากบางช่วงอายุของต้น พืช : เช่น ในช่วงของการผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดชะงักลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วยประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย

     สำหรับข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อให้มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคือ 

     1. ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือเร็วที่สุด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบอาจจะไม่เกิดผล
2. ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่ตามคำแนะนำ ไม่ควรผสมให้เข้มข้นเกินไป เพราะจะทำให้ใบพืชไหม้ได้
3. และสุดท้ายหลักสำคัญของการใช้ปุ๋ยทางใบ ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบก็เป็นได้

อ้างอิง : ศรีนรา แมเร๊าะ คณะทรัพยากรธรรมชาติ  งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม  ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่



ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืชเนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสารละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลาส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะจากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด
1) ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆมาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย
2) ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูก
ละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที


ปุ๋ยทางใบ(ข้อดีและข้อเสีย)

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช
6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว
7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม
(N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า
9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้


ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ

1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้
2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้องให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ
3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูงๆได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ(N+P2O5+K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว
5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ดเพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง (ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด)
6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการ      ผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด
7. ปุ๋ยน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต
8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้


1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของN+P2O3+K2O ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปุ๋ยน้ำและ 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปุ๋ยเกล็ด
2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุหรือหลายๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K
3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25-0.30 เปอร์เซ็นต์ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5-6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้
4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดควรเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต
7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูงไม่ชื้นง่ายและไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

อ้างอิง : สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12   กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900


ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
     กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
     กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
     กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน
                 โมลิบดินั่ม คลอรีน

          การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ   มีข้อจำกัดหลายประการ  แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ  ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำ ให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้   อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ   เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่า
และเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

                 1.   ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ   ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว   จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย  คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม
                2.   ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
                      2.1  พืชกลุ่มที่ 1  พวกแตงต่าง ๆ  ถั่วฝักยาว  ถั่วลันเตา  มะเขือต่าง ๆ  ผักกาดหอม   ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
                      2.2  พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกะหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
                      2.3  พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง
               3.   การกำหนดอัตรา    เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี  เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร  กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ใน ปัจจุบัน   ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้   ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า   การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ   ของเกษตรกรนั้น   ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ

     ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ใน รูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย



หลักการให้ธาตุอาหารพืชทางใบ

1เมื่อสภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเป็นกรดหรือด่างเกินไป หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เนื่องจากธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึงและปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย จึงต้องมีการปรับปรุดินกรดโดยการใส่ปูน ซึ่งต้องใช้เวลาปรับปรุงดินระยะหนึ่ง กว่าดินจะคืนสู่สภาพปกติ ในช่วงดังกล่าวเราจึงต้องช่วยเสริมธาตุอาหารให้กับพืชก่อน เพราะพืชกำลังขาดแคลนธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์อยู่ โดยการฉีดพ่นสารละลายธาตุอาหารเข้าสู่ใบพืช ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ชะงักการเจริญเติบโต

2 ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม หรือที่เรียกว่า ” จุลธาตุ ” นั้น โดยส่วนใหญ่หากใส่ทางดิน พืชจะดูดซึมไปใช้ได้ช้ากว่าฉีดพ่นทางใบ และพืชมักต้องการธาตุอาหารดังกล่าวในปริมาณไม่มาก ในดินที่เป็นด่างการใส่ธาตุอาหารรองธาตุอาหารเสริมทางดินจะให้ประโยชน์กับพืชน้อย เนื่องจากปุ๋ยทำปฏิกิริยากับดินและอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์

3 บางช่วงที่พืชขาดธาตุอาหารอยู่ในขั้นวิกฤต การฉีดพ่นธาตุอาหารเข้าทางใบจะช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วกว่าการให้ทางดิน ซึ่งในบางครั้งอาจไม่ทันการณ์ก็ได้

4 เมื่อระบบรากพืชถูกทำลาย เนื่องจากโรคและแมลงหรือสภาพความชื้นในดินมีจำกัด จะส่งผลต่อระบบรากของพืข ในภาวะเช่นนี้การให้ปุ๋ยทางดินจะทำให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย

5 พืชบางชนิดอาจตอบสนองต่อการให้ธาตุอาหารรองแต่ละชนิดแตกต่างกัน โดยปกติพืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบใหญ่มีพื้นที่ใบมาก จะดูดซึมธาตุอาหารเข้าไปได้มากและดีกว่าต้นพืชที่มีพื้นที่ใบน้อย ใบเล็กเรียวและใบตั้ง บางครั้งจึงต้องผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพเข้าไปฉีดพ่นพร้อมกับธาตุอาหาร ได้แก่สารจับใบ หรือ สารลดแรงตึงผิวต่างๆ เพื่อให้พืชดูดกินได้อย่างเต็มที่



6 ขนาดของฝอย ละอองของสารที่ฉีดพ่นออกไปก็มีผลต่อประสิทธิภาพของดูดซึมธาตุอาหารเหมือนกัน หากละอองของสารเล็กมากเท่าไหร่ย่อมกระจาย เกาะตามใบพืชได้มาก ทั้งผิวใบดานบน และด้านล่าง ไม่รวมตัวกันแล้วไหลไปรวมกันที่ปลายใบแล้วหยดลงสู่ดิน

7 น้ำที่นำมาใช้ในการละลายธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ต้องสะอาด มีสภาพเป็นกลาง หรือกรดอ่อน ส่วนธาตุอาหารที่นำมาใช้ต้องละลายน้ำได้ดี ควรเป็นปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยน้ำ จะดีที่สุด ส่วนปุ๋ยเคมีที่เป็นเม็ดที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปก็นำมาใช้ได้เป็นบางตัว แต่ประสิทธิภาพสู้ปุ๋ยข้างต้นไม่ได้

8 อัตราส่วนผสมของธาตุอาหาร และน้ำต้องไม่เข้มข้นจนเกินไป หากใช้กับพืชชนิดใหม่ที่ไม่มีคำแนะนำบนฉลากหรือเอกสาร ควรทดลองหาอัตราความเข้มข้นระดับต่างๆ ที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้กับพืชทั้งหมดที่ต้องการฉีดพ่นในแปลง ถ้าอากาศร้อนหรือในฤดูแล้งควรใช้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าอัตราปกติเล็กน้อย ถ้าอากาศชื้นอาจเพิ่มสัดส่วนขึ้นเล็กน้อย

สารคีเลต (Chelate) 

       สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์ มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้ ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คีเลชั่น (chelation) ซึ่งจะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาได้ เนื่องจากในกระบวนการผลิตธาตุอาหารสำหรับให้ต้นพืชนั้น มีการผลิตออกมาในสองลักษณะคือ ให้ทางราก กับให้ทางใบ  ดังนั้นคุณสมบัติการจับของโมเลกุลของธาตุอาหาร จะมีความแตกต่างกัน ธาตุอาหารบางชนิดที่มีประจุบวกได้แก่เหล็ก  สังกะสี  ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ 
       ธาตุอาหารเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ทางดินก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด  เนื่องจากลักษณะการดูดซึมของต้นไม้นั้น จะใช้วิธีดูดธาตุอาหารในรูปของ สารละลายจากน้ำ  โดยใช้กระบวนการปรับระดับความดันภายในต้นไม้  เพื่อให้สารอาหารสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของต้นไม้ได้ ด้วยการใช้วิธีการลดความดันยอดด้วยการคายน้ำออกทางใบทำให้แรงดันส่วนปลายลดลง  สารที่ละลายธาตุอาหารในดินจึงสามารถถูกดูดซึมผ่านขึ้นไปทดแทนแรงดันที่ลดลงนั้นตามระบบรากได้ 
        แต่เมื่อนำเรานำธาตุอาหาร (ปุ๋ยทางดิน) เหล่านั้น  มาละลายน้ำ และฉีดพ่นทางใบ  ปรากฎว่าโมเลกุลของธาตุอาหารบางประเภทมีประจุไฟฟ้าบวกอยู่ เมื่อไปกระทบกับประจุลบบริเวณใบ จึงเกิดการจับตัวกัน และพืชไม่ปล่อยให้ธาตุอาหารดังกล่าวซึมผ่านเข้าทางปากใบได้  จึงเกิดการตกตะกอนค้างอยู่บนใบ  รอวันฝนชะล้างลงดินละลายไปกับน้ำฝน แล้วซึมผ่านตามระบบรากปกติ  ดังนั้นในบางครั้งที่เราไม่รู้ เราก็ยังคงคิดว่ามันสามารถใช้ได้กับทางใบได้  ซึ่งในความเป็นจริงๆ  มันใช้ซึมผ่านเข้าต้นไม้ในทางใบ….ไม่ได้
         ดังนั้นเราจึงใช้สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์  มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้  ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คีเลชั่น (chelation)  ซึ่งจะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาได้ (ประจุต่างกันพบกันจะดูดกันไว้ ทำให้เกิดการตกตะกอน)   จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวกลายเป็นสารประกอบที่ไม่มีประจุไฟฟ้า  ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอน  และพืชสามารถปล่อยให้ผ่านเข้าทางปากใบ และเนื่องจากสารประกอบคีเลต สามารถละลายน้ำได้ดี  พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านราก  หรือปากใบ และสามารถนำสารธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว และใช้ได้ในทันที



สารคีเลต ที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภท คือ
     1. สารอินทรีย์จากธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และ กรดอะมิโน                                                             
     2. สารคีเลตสังเคราะห์ เช่น EDTA  ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด 
สารประกอบเหล่านี้ เรามักจะเรียกว่า “จุลธาตุ” เป็นกลุ่มธาตุอาหารที่เราให้ทางใบ
             ดังนั้น ในผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารทางเคมี  ที่มีคำเขียนกำกับไว้ว่า  “อยู่ในรูปสารประกอบคีเลต”  จึงเป็นธาตุอาหารที่พัฒนามาเพื่อใช้เฉพาะทางใบโดยเฉพาะ แต่ถ้าจะเอาไปใช้กับทางดินก็สามารถใช้ได้ แต่มันเปลือง
             ส่วนธาตุอาหารที่สร้างมาสำหรับใช้ทางดิน ไม่ได้ผ่านกระบวนการคีเลชั่น จึงไม่ได้เป็นสารประกอบในรูปของคีเลต  ที่จะสามารถนำมาใช้ทางใบได้  ถ้าเอาไปใช้จะเกิดการตกตะกอน และตกค้างอยู่ตามใบ รอเวลาฝนมาชะลงดิน
อ้างอิง :   http://www.gotoknow.org/blog/2012-01


หลากคำถามเรื่องปุ๋ยทางใบ (foliar fertilizer)


1.พืชสามารถ ดูดสารอาหารเข้าทางใบได้หรือไม่

   ตอบ อาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ จะได้มาจากการดูดซึมของระบบราก ในส่วนของใบเองจะมีหน้าที่รับแสง และสังเคราะห์แสง รับและคายน้ำ จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารต่างๆ สามารถซึมเข้าสู่ใบพืชได้เช่นกัน แม้จะไม่มากเท่ากับสารอาหารที่ได้มาจากระบบราก แต่ก็มีปริมาณที่มากพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้เกษตรกรอาจคุ้นเคยกับการทำงานของ ไกลโฟเสท หรือยาฆ่าหญ้า ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งสารไกลโฟเสทนี้ พืชดูดซึมผ่านทางใบ จะเห็นว่าใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

2.จริงหรือไม่ที่ ให้สารอาหารทางใบ ออกฤทธิ์ ได้เร็วกว่า การให้ผ่านทางระบบราก


  ตอบ จริง เพราะจริงๆ แล้วสารอาหารต่างๆ ที่พืช ดูดซึมมา จะต้องถูกลำเรียงมาที่ใบ เพื่อผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เป็นอาหาร จากนั้นอาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชอีกที ดังนั้นสารอาหารที่ให้ทางใบจะเข้าสู่กระบวนสังเคราะห์แสงทันที ที่เริ่มสัมผัสกับพืช จะเห็นว่าการให้สารอาหารทางใบจะเป็นการเพิ่มปริมาณสารอาหารบนใบพืช จากปกติที่ระบบรากของพืชสามารถหามาได้



3. ในเมื่อการให้อาหารทางใบ มีประโยชน์ เราสามารถ นำปุ๋ยเม็ดมาละลายน้ำ แล้วฉีดพ่นให้กับพืชได้หรือไม่

    ตอบ ไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบ ต้องเป็นสารอาหารที่พืชสามารถนำไปสังเคราะห์แสงได้ทันที ปุ๋ยเม็ดที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นเกลือของสารประกอบ ซึ่งต้องผ่านการคัดกรองโดยระบบรากเท่านั้น พืชจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ มิหนำซ้ำ ปุ๋ยบางชนิดอาจทำอันตรายพืช เมื่อให้ทางใบ

4. ทำไม การให้ปุ๋ยทางใบ จึงมีปริมาณสารอาหารเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการให้ทางราก

    ตอบ เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบ สารอาหารต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที สารอาหารจึงมีความบริสุทธิ์สูง และการให้ทางใบ มีการสูญเสียไปกับสภาพแวดล้อมต่ำมาก เมื่อเทียบกับการให้ทางราก สารอาหารบางตัว การให้ทางใบเพียง 1 กิโลกรัม จะให้ผลเท่ากับการให้ทางราก 20 กิโลกรัมทีเดียว

5.ทำไมสารอาหารทางใบจึงมีราคาแพง จะคุ้มค่าหรือไม่

    ตอบ เนื่องจากสารอาหารต่างๆ ที่จะให้ทางใบได้ จะต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการสลาย ให้อยู่ในรูปที่พืช สามารถดูดซึมทางใบ และนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้ทันที ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า แต่จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สารอาหารทางใบมีความบริสุทธิ์สูง จึงใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดิน หากมองผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นับว่าคุ้มค่ากว่ามาก

6.สารอาหารทางใบ ใส่ไปเพียงเล็กน้อย จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    ตอบ จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ที่พืชใช้ในการสร้างผลผลิต ยังคงมาจากระบบราก ซึ่งในการเพาะปลูกจริงปริมาณอาหารถูกจำกัดโดย ประสิทธิภาพของระบบราก ซึ่งจะดี ไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพดินและคุณภาพน้ำ รวมทั้งโรคต่างๆ ซึงการให้สารอาหารทางใบ จะให้สารอาหารกับพืชเพิ่มขึ้นจากที่ระบบรากหาได้ การให้โดยตรงที่ใบ จะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงที่เพิ่มขึ้น จะกระตุ้นให้พืชดูดน้ำมากขึ้น ทำให้ระบบรากนำพาสารอาหารเข้าไปในลำต้นมากขึ้นด้วย และการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นอีก คล้ายปฏิกริยาลูกโซ่ จึงส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

7.เมื่อให้สารอาหารทางใบแล้ว จำเป็นต้องให้ทางรากด้วยหรือไม่

    ตอบ จำเป็นต้องให้ทางรากด้วย เพราะจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การให้สารอาหารทางใบ เป็นการกระตุ้นให้พืชดูดสารอาหารทางรากมากขึ้น และลดข้อจำกัดของระบบรากในพืช แต่ปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมาจากระบบราก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

8.เราสามารถให้สารอาหารทางใบ กับพืชทุกชนิดหรือไม่

    ตอบ เกือบทุกชนิด แต่ประสิทธิภาพในการรับสารอาหารทางใบของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน พืชที่มีใบใหญ่ ปากใบกว้างและเปิดนานกว่า จะดูดซึมได้ดีกว่า ซึ่งในพืชบางชนิด อัตราการดูดซึมปุ๋ยทางใบ ไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่ม

9.เราควรฉีดพ่น อาหารทางใบให้กับพืชช่วงไหนดี

    ตอบ พืชจะดูดสารอาหารทางปากใบ เราจึงควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด ที่เหมาะสมจะเป็นช่วงเช้าของวัน หรือฉีดพ่นตอนเย็น เมื่ออากาศไม่ร้อนแล้ว

อ้างอิง :





การให้ปุ๋ยทางใบ 
(Foliar and Fertigation Application of Nutrients)
การให้ปุ๋ยทางดินนับว่าเป็นแนวทางที่สำคัญในการให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างพอเพียง และได้ผล
ผลิต ตามที่ต้องการ แต่บางครั้งไม่อาจให้ปุ๋ยทางดินได้ จำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยทางอื่นแทน เช่นการให้ปุ๋ยทางใบและทางระบบชลประทาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับปุ๋ยที่ใช้


การให้ปุ๋ยทางใบ (Foliar Application of Nutrients)
ใบพืชมีหน้าที่หลักในการสังเคราะห์แสง และเมตาโบลิซึมต่างๆ แต่ใบก็สามารถดูดธาตุอาหารจาก
สาร ละลายที่มาสัมผัสใบพืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดิน และสารละลายของดินโดยตรงรากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลา ส่วนใบพืชอยู่ในอากาศจะมีโอกาสดูดธาตุได้เฉพาะจาก
สารละลายที่มา สัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝน และน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้น และเร็วขึ้น ปุ๋ยเคมีราคาแพงขึ้น และมีปัญหาเกี่ยวกับมลพิษของแหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน หรือต้นทุนการผลิตที่สูงมาก ที่เป็นผลมาจากการใช้ปุ๋ยทางดินมากเกินไปโดยอาจแก้ไขได้โดยเทคโนโลยีการให้ ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ การให้ปุ๋ยทางใบเป็นทางหนึ่งในความเป็นไปได้เพื่อที่จะลดอันตรายต่อสิ่งแวด ล้อมน้อยที่สุด

1. หลักการให้ปุ๋ยทางใบ
1.1 เพื่อแก้อาการขาดธาตุอาหาร เช่น ในดินด่าง มักจะขาดธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี
แมงกานีส และโบรอน การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหล่านี้ในรูปเกลืออนินทรีย์ลงในดินก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างเต็มที่ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสม คือใช้สารละลายของเกลือที่ธาตุอาหารดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ จะแก้อาการธาตุอาหารได้เวลาที่เร็วกว่า

1.2 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ในไม้ดอกไม้ประดับนิยมใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของ ฟอสฟอรัสสูง จะช่วยให้คุณภาพของดอกไม้สมบูรณ์ขึ้น

1.3 เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากการให้ดอกให้ผลแล้ว โดยทั่วๆ ไป ช่วงที่ผลิดอกออกผล
เป็น เหตุให้รากได้รับอาหารน้อย จึงหยุดการเจริญของระบบรากแต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ในการดูดอาหารทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงที่มีประสิทธิภาพการทำงานของรากต่ำ ปริมาณธาตุอาหารที่ดูดได้จึงมีน้อย ต้นพืชจะแสดงอาการทรุดโทรม เช่น ใบเหลือง ร่วง จึงควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนสูง


1.4 ให้ปุ๋ยทางใบเพื่อบังคับให้พืชออกดอกนอกฤดู โดยใช้ประกอบกับการใช้สารเคมีอื่นๆ ตาม
ความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด
1.5 ให้ปุ๋ยทางใบกับพืชที่มีราคาแพง ให้ผลตอบแทนสูง ปลูกในโรงเรือน ซึ่งสามารถควบคุม ปัจจัยต่าง ๆ ได้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี


2. ข้อดี-ข้อเสียของการให้ปุ๋ยทางใบ
ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรโดยทั่วไปให้ใส่กับพืชทางดิน ทั้งนี้เพราะ เป็นการใส่ให้กับพืชทางระบบ
ราก ที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำ และธาตุอาหารพืชในดิน อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากระบบรากพืชแล้ว ส่วนอื่นๆของต้นพืชเหนือผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบพืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืชได้ และอัตราการดูใช้ธาตุอาหารพืชบางชนิดโดยทางใบก็เป็นไปอย่างรวดเร็วและ สมบูรณ์ไม่น้อยไปกว่าการดูดใช้ทางราก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้ปุ๋ยทางใบอย่างเดียวมาโดยตลอด หรือการให้ปุ๋ยเสริมทางดิน อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยทางใบสามารถทดแทนปุ๋ยทางดินได้บางส่วนเท่านั้น

ข้อดีของการให้ปุ๋ยทางใบ คือ 
1. ในกรณีที่ดินที่มีปัญหาต่างๆ
– ดินเหนียวสีแดงบางชนิดที่มีความสามารถในการตรึงฟอสฟอรัสสูง หรือดินอินทรีย์ เช่นดิน
พรุที่สามารถตรึงทองแดงไว้ได้ด้วยแรงที่สูงมาก ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยลง
– ดินที่มีการระบายน้ำที่เลว ระบบรากได้เสียหาย เนื่องจากโรค แมลง และการเตรียมดิน
– ดินทรายที่มีการชะล้างสูงและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ ดินที่ระดับ pH ที่ต่ำหรือสูงมาก
และดินในเขตน้ำฝน จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบในช่วงเวลาที่ฝนหยุดไม่ตก

2. ในกรณีสภาพอากาศมีปัญหา
– ในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็น และดินมีอุณหภูมิต่ำมากๆ เช่นในการปลูกพืชในเขตอบอุ่น
(temperate zone) รากพืชจะมีความสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืชในดินได้น้อยลงจนถึงระดับที่อาจไม่ เพียงพอต่อความต้องการของพืช ในกรณีเช่นนี้การให้ปุ๋ยทางใบจะมีส่วนช่วยทำให้พืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารพืช ได้ดีและมากขึ้น

3. ในกรณีพืชที่ปลูกพื้นที่กว้างที่มีการปลูกพืชในเนื้อที่มากๆ และปลูกในท้องที่ ที่ค่าแรงมีราคาแพง การให้ปุ๋ยทางใบร่วมกับสารเคมีควบคุมศัตรูพืชที่จำเป็นและสามารผสมเข้ากัน ได้ จะมีส่วนทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยและสารเคมีได้มากขึ้น
4. การให้ปุ๋ยทางใบในช่วงอาการขาดธาตุอาหารพืชชนิด
เหมาะที่จะใช้กับพืชที่แสดงอาการขาดธาตุอาหารพืชชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายๆ ชนิดอย่างรุนแรง
และ เฉียบพลันในระยะที่พืชมีอายุมากพอสมควรแล้ว และการให้ปุ๋ยทางดินอาจแก้อาการขาดธาตุอาหารพืชได้ทัน ในกรณีเช่นนี้การให้ปุ๋ยทางใบจะมีส่วนช่วยแก้อาการขาดธาตุอาหารพืชได้ในระยะ เวลาอันสั้น หรืออีกนัยหนึ่งสามารถแก้อาการขาดธาตุอาหารพืชได้ดีกว่าและเร็วกว่าการให้ ปุ๋ยทางดิน
5. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่มีราคาผลผลิตสูง
เช่น พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ผลต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่นปุ๋ย
ไนโตรเจน ในรูปสารละลายยูเรียกับพืชผัก ทั้งนี้เพราะพืชผักสามารถดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปยูเรียได้ดีและเจริญเติบโต รวดเร็วทันใจ และถึงแม้ว่าจะต้องมีการให้ปุ๋ยทางใบบ่อยครั้ง แต่เนื่องจากพืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชอายุสั้น (น้อยกว่า 4 เดือน) และสำหรับพืชที่มีราคาต่อหน่วยพื้นที่ค่อนข้างสูง การให้ปุ๋ยทางใบกับพืชชนิดนี้โดยทั่วไปให้ผลคุ้มค่าปุ๋ยและค่าแรงงานในการ ใส่ปุ๋ย
6. ในการปลูกพืชที่มีการควบคุมวัชพืชไม่ดีพอ
การให้ปุ๋ยทางดินอาจเกิดผลไม่เต็มที่ เพราะวัชพืชแย่งกันดูดใช้ธาตุอาหารในดินบางส่วน ในกรณี
เช่นนี้การให้ปุ๋ยทางใบอาจแก้ปัญหานี้ได้ไม่มากก็น้อย เพราะเป็นการให้ปุ๋ยกับพืชที่ปลูกโดยตรงโดยที่วัชพืชไม่มีโอกาสแย่งดูดใช้ได้

ข้อดีของปุ๋ยน้ำและปุ๋ยเกล็ดสำหรับการให้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้เร็ว
2. ใช้แก้อาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้ เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่นดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัย
แวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. ใช้ในการเสริมธาตุหลักคือไนโตรเจน ในรูปปุ๋ยยูเรีย และการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช
6. พืชสามารถดูดธาตุโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุ
อาหารได้เร็ว

ข้อเสียของการให้ปุ๋ยทางใบ คือ
1. การให้ปุ๋ยโดยการใช้ฉีดพ่นสารละลายที่มีธาตุอาหารให้กับพืชโดยทางใบ สามารถให้ธาตุอาหาร
แก่ พืชในแต่ละครั้งได้น้อยกว่าการใส่ปุ๋ยทางดินมาก ทำให้ต้องมีการใช้บ่อยครั้งจึงจะให้ธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของพืช (ถ้าไม่มีการให้ปุ๋ยทางดินร่วมด้วย) ซึ่งเป็นการสิ้นเปลื้องทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการใช้กับพืชที่ราคาผลผลิตต่ำเช่นพืชไร่ต่างๆ โดยทั่วไปอาจให้ผลไม่คุ้มค่า
2. การให้ปุ๋ยทางใบถ้าใช้สารละลายปุ๋ยที่มีความเข้มข้นมากเกินไป อาจทำให้ใบพืชเกิดอาการไหม้
หรือ ใบหงิกงอได้ ดังนั้นในการให้ปุ๋ยทางใบผู้ใช้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระดับความเข้มข้น วิกฤติของธาตุอาหารพืชที่มีในปุ๋ยทางใบแต่ละชนิด รวมทั้งความอ่อนไหวหรือความทนทานของพืชแต่ละชนิดต่อระดับความเข้มข้นของสาร ละลายปุ๋ยที่ใช้ด้วย

3. การให้ปุ๋ยทางใบโดยทั่วไปมีความยุ่งยากในการเตรียมการและการปฏิบัติงานมากกว่าการให้ปุ๋ย
ทาง ดินโดยใช้มือ ทั้งนี้เพราะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ผสมปุ๋ย เครื่องฉีดพ่นสารละลายปุ๋ย และในบางครั้งอาจต้องใช้สารบางอย่าง เช่นสารจับใบผสมลงในปุ๋ยด้วย นอกจากนั้นในการฉีดพ่นก็ต้องคำนวณหรือกะปริมาณน้ำและปุ๋ยที่จะต้องใช้ต่อ พื้นที่ให้ถูกต้อง รวมทั้งความเข้มข้นที่จะใช้อย่างมากเหมาะสมสำหรับปุ๋ยและพืชแต่ละชนิดด้วย

4. สำหรับพืชที่ปลูกตามฤดูกาลในเขตน้ำฝน ระยะเวลาการให้ปุ๋ยทางใบจะต้องมีการคาดคะเนให้ดี
ว่า จะไม่มีฝนตกในช่วงเวลาอันสั้นหลังการให้ปุ๋ย เพราะมิฉะนั้นจะทำให้ปุ๋ยที่ฉีดพ่นไว้ที่ใบพืชบางส่วนหรือส่วนใหญ่ถูกชะ ล้างออกไปจากใบพืช แต่ธาตุอาหารที่ถูกชะออกไป

3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย
ปัจจัยที่สำคัญที่แสดงถึงประสิทธิภาพของปุ๋ยทางใบก็คือ อัตราการดูดใช้ปุ๋ยโดยใบพืชและอัตราการ
เคลื่อน ย้ายภายในพืช การดูดใช้ธาตุอาหารพืชทางใบขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายรวมทั้งปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยทางใบมีรายละเอียด จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้ทางใบ

ผลของปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวนี้จะผันแปรไปตามสภาพปัจจัย และปัจจัยต่างๆ อาจมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันสูง
เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทางโภชนาการของพืช (Nutritional status) กับอัตราการใช้หรือความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ย เช่นถ้าพืชที่ปลูกมีสภาพทางโภชนาการไม่ดีเพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพของรากในการดูดใช้ธาตุอาหารพืชในดิน



การใช้ปุ๋ยในดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดหรือด่างจัด ธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีที่ใช้ เช่นฟอสฟอรัสมี
โอกาส เปลี่ยนรูปเช่น โดยถ้ามีการใช้ปุ๋ยในทางใบถ้าใช้ในระยะเวลาและอัตราที่เหมาะสมจะมี ประสิทธิภาพต่อการเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตพืชมากกว่าพืชที่มีสภาพทางโภชนาการที่ดีกว่าไปเป็นสารประกอบ ที่ไม่ละลายน้ำในปริมาณมาก ทำให้ส่วนใหญ่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้ปุ๋ยทางใบ แม้ว่าโดยทั่วไป
พืชจะดูดใช้ได้ดีกว่า การให้ทางดิน แต่จะต้องระวังในเรื่องปริมาณปุ๋ยที่ใช้มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้และต้องมีการฉีดบ่อยครั้งพืชจึงจะได้ธาตุอาหารเพียงพอ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองแรงงานและเวลา นอกจากนี้ปัจจัย อื่นๆ ดังตารางที่ 1 เช่น
          – แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความชื้นในดิน
          – อายุของใบ ลักษณะของใบ และพันธุ์พืช
          – สถานภาพของธาตุอาหารในพืช
          – องค์ประกอบ ของปุ๋ยและความเข้มข้น
          – สารเสริมประสิทธิภาพ (Adjuvant)
การเตรียมสารเคมีสภาพเหลว เพื่อฉีดพ่นที่ใบพืช จำเป็นต้องมีการเติมสารเสริมประสิทธิภาพที่
เหมาะสม (ภาพที่ 1) เช่น
         – อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers) เป็นสารที่ช่วยน้ำกับน้ำมันผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
         – สารป้องกันการตกตะกอน (Dispersants) ลดการจัดกลุ่มและตกตะกอน
         – สารช่วยให้ผิวใบเปือก (Wetting agents) ทำให้สารละลายเกาะผิวใบที่เป็นไข
         – สารช่วยกระจายตัว (Spreaders) ทำให้สารละลายกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วผิวใบ
         – สารเร่งการซึม (Penetrants) ช่วยให้สารเคมีซึมผ่านผิวเคลือบคิวตินได้เร็วขึ้น
         – สารจับใบ(Stickers) ช่วยให้สารเคมีที่ฉีดพ่นเกาะผิวใบได้แนบ จึงถูกชะล้างออกจากใบได้ยาก
         – สารจับใบ (Surfactants) ลดการตึงของหยดน้ำ ช่วยให้หยดน้ำแนบกับผิวใบได้สนิท
สำหรับปุ๋ยทางใบซึ่งมีลักษณะการละลายน้ำสูงมาก สามารถละลายในน้ำที่อุณหภูมิห้องได้อย่าง
สมบูรณ์ แต่ยังต้องมีการเติมเพิ่มประสิทธิภาพ (ภาพที่ 1) ลำดับแรกคือสารจับใบ ทั้งนี้เพราะสารจับใบช่วยลดแรงตึงผิว (Surface tension) ของน้ำ และสามารถจัดเรียงโมเลกุลเป็นชั้นเดี่ยว (Monomolecular layer) โดยด้านหนึ่งของโมเลกุลดูดแนบกับผิวใบ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างน้ำกับไขและผิวเคลือบใบ และเป็นการลดมุมสัมผัสระหว่างของเหลวกับผิวใบลงไป ผิวใบจึงเปียกอย่างทั่วถึง


4. โครงสร้างของใบพืชที่มีผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหาร
ใบพืช หมายถึงแผ่นใบของพืชแต่ละชนิดอาจมีความแตกต่างในเรื่อง ขนาด รูปร่าง และความหนา แต่
ประกอบด้วยชนิดของเซลล์แบบเดียวกัน (ภาพที่ 2) โครงสร้างของใบจะควบคุมสำหรับการดูดซับ
(Absorption) สารละลายต่างๆ ของใบพืชได้แก่ ปริมาณของชั้นไข การแพร่กระจาย และองค์ประกอบของชั้นไข จากการที่มีสารคิวตินที่ปรากฏอยู่ในชั้นคิวติเคิลนั้น จึงมีส่วนที่เป็นขั้ว (Polar) ปรากฏอยู่ในชั้นนี้ได้แก่polyesterified hydroxyl fatty acid จึงทำให้ชั้นไขมีลักษณะการชอบน้ำ(Hydrophilic) มากกว่าส่วนชั้นผิวด้านในสุดของชั้นคิวติเคิล (cuticle inner layer) ซึ่งประกอบด้วยสารพวกเพกติน เช่น Hemicellulose,pectinaceous ( e.g. polyuronides และ Gycan) ,โปรตีน และเส้นใยโพลีเซกคาร์ไลด์ ( Polysaccharidemicrofibrils)ซึ่งชั้นที่ติดกันจากชั้นผิวนอกของผนังเซลล์ (Cell wall) จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าว เป็นช่องทางสำหรับการเคลื่อนที่ของสารเคมีต่างๆ ได้ ชั้นคิวติเคิลจะถูกแยกออกจากผนังเซลล์โดยชั้นเพกติน(Pactic layer) และจากเหตุผลในเรื่ององค์ประกอบทางเคมีของผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นส่วนที่จะไม่ขัดขวางการเคลื่อนที่ธาตุอาหาร (ภาพที่ 2 )

5. โครงสร้างของส่วนเคลือบผิวใบ
ส่วนที่เคลือบผิวใบจะเป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดแร่ธาตุอาหาร ซึ่งประกอบด้วยสารสองชั้น ชั้นนอกจะ
เป็นสารคิวติน โดยฉาบด้วยไขผึ้งบนผิวหน้า ชั้นในจะประกอบด้วยสารเซลลูโลส และสารเพกตินแล้วห่อหุ้มด้วย
สารคิวตินไขผึ้งที่ห่อหุ้ม ส่วนประกอบอื่นของสารเคลือบใบ (สารเพกติน และโปรตีน) จะมีขีดความสามารถสูง
มากที่จะดูดซับน้ำ ดังนั้นจึงทำหน้าที่เป็นช่องทางสำหรับการเคลื่อนของน้ำและสารละลาย

6. ส่วนต่าง ๆ ของส่วนเคลือบผิวใบบนเนื้อเยื่อชั้นผิวใบ (Epidermis)
ชั้นบนสุดและชั้นล่างสุดคือ เนื้อเยื่อชั้นบน (Upper epidermis) และชั้นผิวล่าง (Lower epidermis)
ชั้นผิวทั้งสองด้านจะปกคุลมด้วยไข (Wax) และผิวเคลือบคิวติน (Cuticle) บางๆ ชั้นผิวประกอบด้วยเซลล์หลาย
ชนิด แต่หลัก ๆ ได้แก่ เซลล์ชั้นผิว (Epidermal cells) เซลล์คุม (Guard cells) และเซลล์ประกอบ (Subsidiarycells)
บางชนิดก็มีขนใบ (Trichomes) ส่วนปากใบ หมายถึง ช่องระหว่างเซลล์คุม
เนื้อเยื่อชั้นผิวใบนั้นจะมีสารต่าง ๆ ประกอบด้วย 4 ชั้น ดังนี้
1. ไขคลุมผิวเคลือบคิวติน (Epicuticular wax) องค์ประกอบหลักของไขคือแอลกอฮอล์ และคีโตน
โซ่ยาวกับเอสเทอร์ของกรดไขมันโซ่ยาว
2. ผิวเคลือบคิวตินแท้ (Cuticle proper) ประกอบด้วยคิวติน (Cutin) ซึ่งเป็นกรดไขมันโซ่ยาวหลาย
ชนิด สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของผิวเคลือบส่วนนอกและส่วนในต่างกัน กล่าวคือส่วนนอกจะไม่ชอบน้ำ
(Hydrophobic) ห รือ ช อ บ ไ ข มัน (Lipidphilic) ใ น ข ณ ะ ที่ส่ว น ด้า น ใ น ข อ ง ผิว ชั้น นี้จ ะ ช อ บ น้ำ
(Hydrophilic)มากกว่าผิวด้านนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ใกล้ถึงชั้นจะถึงชั้นถัดเข้าไป
3. ชั้นคิวติน ( Cuticule layer) เป็นชั้นหนาสุด ประกอบด้วยด้วยโครงสร้างเซลลูโลสและมีคิวติน ไข
และเพกตินสอดแทรกอยู่ทั่วไป
4. ชั้นเพกติน (Pectin layer) เป็นชั้นล่างสุดและอยู่ติดกับผนังเซลล์ เป็นโพลีแซกคาไรด์ชนิดหนึ่ง จึง
มีหมู่คาร์บอกซิลจำนวนมาก โดยจับอยู่กับหมู่เมทิล (ภาพที่1 ,2)

7. ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว (Cellulose layer)
ถัดจากผิวเคลือบลงมาก็ถึงชั้นผนังเซลล์ โดยส่วนล่างของผิวเคลือบกับส่วนล่างของผิวเคลือบกับ
ส่วนบนของผนังเซลล์มีความกลมกลืนกัน มิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด

8. เซลล์ใบ ได้แก่
– มีโซฟิลล์ (Mesophyll) เนื้อเยื่อชั้นนี้ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาซึ่งมี คลอโรพลาสต์จำนวน
มาก มีหน้าที่หลักในการสังเคราะห์แสง (ภาพที่1 )
– ลุ่มท่อลำเลียง (Vascular bundle)
– สิ่งปกคลุมใบและผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว

ภาพที่ 2 พื้นผิวใบ (Leaf surface) มีส่วนประกอบของ wax, cutin (สามเหลี่ยม), pectin (จุด), and
cellulose (ขีด) วางเรียงกันอยู่ ซึ่งแตกต่างกันไปตามชั้นต่าง ๆ ส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (Hydrophilic fraction)
(Pectin) อาจจะสร้างช่องว่างหรือรู (Pores) ที่ยอมให้สารประกอบที่ละลายน้ำได้ซึมผ่านได้เร็ว



9. ปัจจัยอื่นๆ
– การมีชั้นไข (Wax) เคลือบอยู่ใบพืชหรือผลของพืชในการให้ปุ๋ยทางใบจะมีประสิทธิภาพลดลง
เพราะ ชั้นไขนี้มีแรงตึงที่สูง ( ที่อุณหภูมิ 20 °C แรงตึงผิวระหว่างอากาศ-น้ำจะมีค่า 72.8 mN m-1) ซึ่งการให้ปุ๋ยทางใบทั่วไปนั้น จะฉีดพ่นพร้อมกับการฉีดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเกิดผลดีกว่าการฉีดพ่นสารเคมี เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การฉีดพ่นสารเคลือบมีการใส่สาร Surfactants ต่างๆ เพื่อให้เกิดการจับของสารเคมีต่างๆที่ฉีดพ่นไปจับที่ใบพืช

– พืชที่ต่างชนิดกัน และมีระบบการปลูกพืชที่ต่างกันจะใช้ปริมาณสารฉีดพ่นที่แตกต่างกันด้วย
เช่น กรณีไม้ผลปริมาตรสารละลายที่ใช้ฉีดพ่นจะใช้ตั้งแต่ 24-240 ลิตร/ไร่ ซึ่งการจัดการในพื้นที่อาจมี
ราย ละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าต้องการลดปริมาตรการฉีดพ่นหรือใช้จำนวนถังของสารเคมีให้น้อยลง แต่อาจจะต้องมีการเพิ่มความเข้มข้นของสารเคมีในแต่ละถัง แต่ต้องเป็นระดับความเข้มข้นที่ไม่เกิดผลเสียต่อพืช

– เมื่อสารละลายที่ถูกฉีดพ่นลงไปที่ใบพืชอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Reflection) หรืออาจจะค้าง
อยู่ใบพืช (Retention) ของละอองสารเคมี ส่วนที่สะท้อนหรือกระเด็นกลับ แล้วตกในส่วนของใบอื่นๆ หรืออาจ
ตกลง สู่ดิน การสะท้อนย้อนกลับของสารละลายนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวใบที่เปียกหรือแห้ง แต่อย่างไรก็ตามการสะท้อนกลับไม่ปรากฏในพืชพันธุ์บางชนิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเรียงตัวของใบ

– การใช้ฉีดพ่นสารเคมีในไม้ผล เช่น peach ( Prunus persica) หรือ plum (P. domestica) ที่
มีการเสริมกับ Epiticular wax ชัดเจน เป็นทราบกันดีว่าพืชเหล่านี้มีสมบัติในการสะท้อนของละอองของสารเคมีได้ดีเมื่อถูกฉีดพ่นสาร

– ลักษณะทางกายภาพที่มองเห็น (Morphology) และความหยาบ-ละเอียดในทางโครงสร้างใบ
(Fine structure) ของพืชมีความแตกต่างกันไป (ภาพที่ 3) จากผลดังกล่าวทำให้มีผลต่อปริมาณสารละลายที่ตกค้าง (Retention) อยู่บนใบพืชหรือส่วนผลของพืชโดยมีค่าประมาณ 5 – 30 μl cm-2 ( ภาพที่ 3)


ภาพที่ 3 ภาพ Scanning electron micrographs ของพื้นผิวใบของพืชต่าง ๆ (a) แอปเปิ้ล (b)
แพร์; surfaces of (c) แพร๋, (d) sweet cherry, and (e) มะกอก ที่มี trichome รวมอยู่ด้วยน; and (f)
พื้นผิวของผล grapefruit.
ที่มา: Bukovac et al., (2002)

– การใช้สารเคมีเพื่อลดแรงตึงผิว อาจจะพบว่ามีการเปียกของใบเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากทำให้เกิด
การ ลดแรงตึงผิวของใบพืช แต่ขณะเดียวกันเป็นการสูญเสียธาตุอาหารโดยกระบวนการ Run off ของปุ๋ยหรือสารเคมีเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ต้องมีการใช้สารในปริมาตรเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้นการเติมสารลดแรงตึงผิวบางครั้งอาจทำให้ไม่มีประสิทธิภาพการให้ปุ๋ย ทางใบเกิดขึ้นได้

– มีสารละลายบางส่วนเท่านั้นที่สามารถซึมซาบได้อย่างทันทีหลังการฉีดพ่นก่อนที่ใบจะแห้ง และ
ส่วน ที่ยังคงค้างอยู่ใบพืชนั้นจะแห้งตกตะกอนค้างอยู่บนใบพืช การซึมซาบของธาตุอาหาร อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งโดยเกิดจากสารที่ตกตะกอนค้างอยู่บนใบมีการละลายของ ปุ๋ยที่ค้างอยู่ในพืชนี้ ขึ้นอยู่กับสมบัติทางกายภาพของสารที่ตกตะกอนอยู่ (Physiochemical characteristics) และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในบริเวณใบพืชที่ได้รับการฉีดพ่น (Microenvironment) ด้วย
– ธาตุอาหารพืชชนิดต่างๆ สามารถที่จะเข้าสู่ต้นพืชและเป็นประโยชน์ต่อไปโดยผ่านการพ่นใบ
พืชโดยมีปัจจัยหลาย ๆ สิ่งประกอบการทำงานดังกล่าว เช่น
1. พื้นที่ใบพืชที่รับสารละลายจากการฉีดพ่น เช่น ดัชนีพื้นที่ใบ (Leaf area index, (LAI;
อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ใบต่อพื้นที่เพาะปลูก) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญสำหรับการให้ปุ๋ยทางใบ

2. ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ย
– ขนาดของตะกอน และการกระจายของตะกอนที่ค้างอยู่บนใบพืชที่เป็นผลมาจากการฉีดพ่น
นับ ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พืชได้รับโอกาสในการดูดใช้ธาตุอาหารอีกครั้ง หนึ่ง เมื่อตะกอนเหล่านี้มีการละลายอีกครั้ง (Resolubilized) และมีการซึมซาบเข้าสู่ใบพืชอีกครั้ง โดยกาละลายจะขึ้นอยู่กับค่า % ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ทำให้มีการละลายของตะกอนของเกลือของปุ๋ยต่างๆ (POD, point of deliquescence ) ที่ค้างอยู่บนใบพืชนั้นมีการละลายอีกครั้ง ดังนั้นถ้าค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีค่าสูงว่าค่า POD ก็จะทำให้ตะกอนปุ๋ยที่ค้างอยู่นั้นมีการละลายอีกครั้ง
 (ตารางที่ 2)
– อัตราตราการซึมซาบเข้าใบพืชจะลดลงเมื่อเวลาผ่านๆ ไป และนั้นหมายถึงความเข้มข้นของธาตุ
อาหารที่อยู่บนใบพืชก็จะลดลงด้วยเพราะอาจจะถูกพืชนำไปใช้และบางส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็จะถูกชะลงสู่ดิน

การดูดใช้ปุ๋ยทางใบ
จากการศึกษาของ Franke (1967) แสดงให้เห็นว่าการดูดใช้ธาตุอาหารของใบ มี ส่วนร่วมกันอยู่
3 ขั้นตอนกล่าวคือ หลังจากแร่ธาตุอาหารตกลงบนผิวใบ ได้แก่
– แทรกซึมเข้าไปในส่วนเคลือบผิวใบ และผนังเซลล์อิพิเดอมิส ด้วยวิธีการแพร่กระจาย
– การดูดซึมเข้าไปในผิวหน้าเนื้อเยื่อพลาสมา
– ผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อพลาสมาโดยตลอด และเข้าไปในไซโตพลาส
1. กลไกการดูดใช้ธาตุอาหารทางใบ (Mechanism of Penetration of Foliar-Applied Nutrients)เนื่องจากการให้ปุ๋ยทางใบจำเป็นต้องให้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้ใบพืชไหม้ พืชจึงได้รับ
ธาตุ อาหารทีละน้อย จำเป็นต้องให้ปุ๋ยบ่อยๆ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ในการฉีดพ่นเป็นอย่างมากจึงควรทราบกลไกในการดูดธาตุอาหารทางใบของพืช เพื่อจะได้ฉีดพ่นปุ๋ยในช่วงที่ใบสามารถดูดซึมธาตุอาหารไว้ได้ดี

กลไกการดูดใช้ธาตุอาหารทางใบของพืชประกอบด้วยการดูดใช้ใน 2 ขั้นตอน คือ

1. ระยะแรกเป็นการดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยกระบวนการ Passive uptake ที่ไม่ต้องใช้พลังงานจาก
กระบวน เมตาโบลิซึมในพืช (Nonmetabolic process) เป็นการซาบซึมของธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นรูปไอออนหรือรูปโมเลกุลที่ไม่แตกตัว เช่น โมเลกุลของยูเรีย การเข้าสู่เซลล์ผิวโดยผิวใบโดยการแพร่กระจาย (Diffusion)และ/ หรือการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion exchange) การซึมซาบในระยะแรกนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการซึมซาบเข้าช่องว่างใน บริเวณผิวใบ (Apparent free space) ที่มีปริมาตรมากถึงประมาณร้อยละ 5-20 ของปริมาตรทั้งหมดของพืช
– Ectodesmata ซึ่งเป็นช่องว่างขนาดเล็กในผนังเซลล์ และ Cuticle การดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดย
กระบวนการ Passive absorption นี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในบริเวณมากกับธาตุอาหารในรูปไอออน
ประจุบวก และยูเรีย และจะเกิดขึ้นน้อย และช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอาหารพืชในรูปประจุลบ เช่น C,H2PO4, SO4 2- หลังจากธาตุอาหารพืชซึมซาบเข้าสูเซลล์ผิวใบในระยะแรกด้วยกระบวนการแพร่ กระจาย และ/หรือ การแลกเปลี่ยนประจุแล้ว
2. ขั้นต่อมาเป็นการซึมผ่านพลาสมาเมมเบรน (Plasma membrane) เข้าสู่เซลล์ผิวใบ โดย
กระบวน การ “Active uptake” ซึ่งเป็นกระบวนการดูดใช้ธาตุอาหารพืชเข้าสู่เซลล์ผิวใบที่ต้องใช้พลังงานที่ ได้จากกระบวนการเมตาโบลิซึม การดูดใช้ธาตุอาหารด้วยกลไก Active uptake ในระยะที่สองนี้ใช้เวลานาน และมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดูดใช้ธาตุอาหารประจุลบ เช่น ฟอสเฟต นอกจากนี้ยังขึ้นกับปัจจัย
สภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมรอบผิวใบ และภายในใบ พลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช เป็นต้น
– การซึมซาบของธาตุอาหารที่เกิดบนพื้นผิวของใบจะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของใบ และ
องค์ ประกอบทางเคมีที่อยู่บนพื้นที่ผิวของใบเป็นสำคัญ สิ่งที่อุปสรรคขัดขว้างการซึมซาบของสารเคมีหรือธาตุอาหารจะเป็นชั้นคิวติ เคิล (Cuticle) ที่มีอยู่หลายชั้น โดยชั้นคิวติเคิลจะประกอบด้วยสารที่เรียกว่าคิวติน (Cutin)และล้อมรอบด้วย Epicuticular wax ซึ่งสารนี้ จะมีสมบัติไม่ละลายในน้ำ (Hydrophobic) การที่โครงสร้างลักษณะนี้จะมีผลดีต่อพืชคือสามารถป้องกันการสูญเสียน้ำของ พืช

สรุปว่า เมื่อสารละลายปุ๋ยสัมผัสกับผิวใบ ไอออนต่างๆ และยูเรียจะแพร่กระจายผ่านสารที่เคลือบผิว
ใบ เข้าสู่ผนังเซลล์ผิวใบและเซลล์ที่อยู่ถัดลงไป นอกจากนี้ ธาตุอาหารจะถูกดูดผ่านเข้าทางปากใบด้วย ธาตุอาหารที่ใบพืชดูดเข้าไปเรียบร้อยแล้ว จะถูกสร้างเป็นอาหารโดยกระบวนสังเคราะห์แสง แล้วถูกเคลื่อนย้ายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ต่อไป
2. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการแทรกซึมผ่านส่วนเคลือบใบ
การซึมซาบของสารต่างๆ ผ่านชั้นคิวติเคิลเป็นกระบวนการแพร่ (Diffusive process) ตัวอย่างเช่น ถ้า
ฉีด พ่นน้ำลงไปที่ใบพืช ละอองของน้ำจะจับอยู่บนชั้นคิวติเคิลที่ระดับความเข้มข้นสูงกว่าพื้นที่ Apoplast และความเข้มข้นดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นเกิดขึ้น และก่อให้เกิดแรงผลักดันให้เกิดกระบวนการแพร่เกิดขึ้น
– สำหรับกลไกการซึมซาบของสารเคมีพวกอนินทรียสารนั้นผ่านชั้นคิวติเคิลจะเป็นที่มีลักษณะไม่มี
ขั้ว (Nonionic compounds) แต่เพราะปุ๋ยทางใบส่วนมากจะอยู่ในลักษณะเกลืออนินทรียสารเป็นส่วนใหญ่หรือ สารเคมีที่ไม่มีขั้ว (Nonionic compound) เช่น ยูเรีย สารสังเคราะห์คีเลต หรือพวก boric acid ที่เป็นกรดอ่อนๆ
– สารพวก Nonionic compound จะซึมซาบเข้าผ่านชั้นคิวติเคิลโดยกระบวนการแพร่ โดย
ความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านชั้นคิวติเคิลจะลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น แต่
ความสามารถดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
– จากการที่ปุ๋ยทางใบเป็นสารประกอบอนินทรียสารโดยเมื่อละลายน้ำอะตอมของธาตุต่างจะมี
โมเลกุล ของน้ำล้อมรอบ ทำให้สารประกอบดังกล่าวนี้มีความสามารถในการละลายน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมันในขณะที่ไขมันมีองค์ประกอบสำคัญ เช่น ส่วนของ Pectin และไข (Cuticular waxes) จึงไม่เกิดกระบวนการแพร่เหมือนสำหรับสารประกอบพวก Nonionic สำหรับการเคลื่อนที่ผ่านชั้นไขต่างจะเกิดขึ้นจากอะตอมของธาตุอาหารที่มี โมเลกุลล้อมรอบ (Hydrated ions) เหล่านี้ จึงต้องมีการเคลื่อนที่ผ่านส่วนที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ(Aqueous) ในการที่ผ่านชั้นคิวติเคิลเข้าไปสู่เซลพืชได้ โดยช่องดังกล่าวนี้จะมีลักษณะเป็นช่อง Aqueousporesโดยมีหมู่ COOH- ,OH- และ Ester ที่เป็นองค์ประกอบในส่วนของคิวติน (Cutin) นั้นเอง โดยรัศมีของช่องนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและสภาพแวดล้อม ภายนอก โดยเฉลี่ยแล้วจะมีขนาดเล็กกว่า 1 nm และความหนาแน่นประมาณประมาณ 10 10 ช่องต่อพื้นที่ 1 cm2 ช่องดังกล่าวนี้จะมีลักษณะที่ยืดหรือหดได้ขึ้นอยู่กับระดับความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงจะทำให้ช่อง Aqueous pores มีการเปิดเพิ่มขึ้น ทำให้ธาตุอาหารสามารถซึมซาบผ่านช่อง Aqueous pores ดังกล่าวนี้ได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะความชื้นทำให้ชั้นคิวติเคิลขยายตัวดังนั้น การแพร่ผ่านของอะตอมของธาตุอาหารต่าง ๆ ผ่านชั้นคิวติเคิลจะมีความสัมพันธ์ในทางผกผันรัศมีของอะตอมของสารประกอบอนิ นทรียสารดังกล่าว นอกจากนี้ธาตุอาหารต่างๆ สามารถเข้าสู่เซลล์พืชได้โดยผ่านทางปากใบ (Stomata) แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งถึงปริมาณธาตุอาหารที่ผ่านเข้าทางปากใบเมื่อเปรียบเทียบกับ ปริมาณทั้งหมดที่ผ่านทางใบ ส่วนของ Trichome ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ธาตุอาหารสามารถซึมซาบ ผ่านเข้าสู่ต้นพืชได้อีกทางหนึ่งเพราะว่าส่วนจะมีสารพวกคิวติเคิลอยู่ต่ำ สำหรับส่วนผลของพืชนั้นอาจจะต้องพิจารณาในส่วนที่เรียกว่า lenticles ซึ่งช่องทางผ่านของธาตุอาหารพืชได้

3.ปัจจัยที่มีผลต่อการซาบซึมของธาตุอาหาร
ความเข้มข้นของธาตุอาหารสามารถส่งผลกระทบต่ออัตราการซาบซึมของธาตุอาหารต่าง ๆ ในชั้นคิว
ติ เคิล โดยทั่วไปปริมาตรของสารละลายที่ฉีดพ่นมีปริมาตรสูง (160-240 ลิตร ต่อไร่) จะเพิ่มช่วงเวลาการเปียกของใบ และช่วยในการชะลอการตกตะกอนค้างอยู่บนใบ สำหรับในกรณีที่ใช้ปริมาตรของสารละลายน้อยกว่า
นั้นอาจจำเป็นต้องมี การใส่สารจับใบ (Surfacetance) หรือสารที่ช่วยในการดูดซึมในขั้นตอนของการฉีดพ่น ในกรณีที่ธาตุอาหารที่ยังคงค้างที่ใบนั้นเพราะมีความเข้มข้นของสารละลายที่ สูงและมีการตกตะกอนค้างอยู่ที่ใบนั้น จากงานทดลองต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าต้นแอปเปิลจะมีอัตราการดูดใช้ (Uptake)ไนโตรเจนในรูปของยูเรียได้ดีที่สุดในอัตรา 2 g l-1 ซึ่งมีการดูดใช้สูงกว่า 20 g l-1 และ 40 g l-1 จากตารางที่ 3 เป็นตัวอย่างของปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยทางใบ ตลอดจนอัตราความเข้มข้นที่แนะนำให้ใช้

แม้สารละลายปุ๋ยที่ฉีดพ่นทางใบจะมีลักษณะเจือจาง แต่หลังจากที่ใบถูกฉีดจนเปียกโชกแล้ว น้ำก็จะ
ระเหย ไปเรื่อยๆ ทำให้สารละลายปุ๋ยที่อยู่บนใบเข้มข้นขึ้น ใบจึงดูดธาตุอาหารจากสารละลายที่ค่อนข้างเข้มข้นใบพืชที่มีความสดและเต่ง เท่านั้น ที่ธาตุอาหารสามารถจะซึมผ่านสารเคลือบผิวใบเข้าไปได้เร็ว และจะถูกดูดเข้าไปในเซลล์ได้เร็วด้วย ถ้าต้นพืชขาดน้ำ ใบเหี่ยว สารเคลือบผิวจะหดตัวชิดกันเป็นอุปสรรคต่อการซึมของปุ๋ยจึงควรฉีดพ่นปุ๋ยทาง ใบในขณะที่ต้นพืชมีความสดชื่น อย่างไรก็ดี ถ้ามีฝนตกภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการให้ปุ๋ยทางใบ ธาตุอาหารในส่วนที่ตกค้างอยู่ตามผิวใบก็จะถูกชะลงพื้นดิน

4. ชนิดของธาตุอาหารพืชและอัตราการดูดใช้ปุ๋ยทางใบ

4.1ชนิดของธาตุอาหารพืช
– พืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารทางใบได้ทั้ง 13 ชนิด แต่ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารพืชในแต่ละครั้ง
จะ มีปริมาณน้อยกว่าการใช้ทางดินมากทั้งนี้เพราะมีข้อมีจำกัดอย่างสำคัญคือการ ใช้ปุ๋ยทางใบโดยการฉีดพ่นในรูปสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป พืชจะเกิดความเสียหายเนื่องจากเกิดอาการใบไหม้ได้ง่าย
– ในระยะเวลาและปริมาณปุ๋ยที่เท่าๆ กัน ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารพืชทางใบจะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับสมบัติของธาตุอาหารพืชแต่ละชนิด (ตารางที่ 4)
– อาจจำแนกตามอัตราความเร็ว-ช้า ได้อย่างกว้างๆ คือ
1. ธาตุอาหารที่พืชดูดใช้ได้เร็ว ได้แก่ N, K, Zn
2. ธาตุอาหารที่พืชดูดใช้ได้เร็วปานกลาง ได้แก่ P, B, S
3. ธาตุอาหารที่พืชดูดใช้ได้ช้า ได้แก่ Fe, Zn, Mo
4.2 อัตราการดูดใช้ปุ๋ยทางใบ
ธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดใช้ได้เร็ว หมายถึง จำนวนธาตุอาหารทั้งหมดที่พืชดูดเข้าไปทางใบ
ครึ่ง หนึ่งถึงสองในสาม พืชสามารถดูดใช้ภายในระยะเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังการใส่ปุ๋ยทางใบ ในขณะที่ธาตุอาหารที่พืชดูดใช้ช้าอาจจะต้องใช้เวลาหลายวันอัตราการดูดใช้ ธาตุอาหารพืชขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างชนิดของธาตุอาหารและชนิดของพืช ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดง อัตราการดูดใช้ธาตุอาหารพืชต่างๆ ทางใบ และอัตราการดูดใช้ไนโตรเจนในรูปยูเรีย
ของ พืชชนิดต่างๆ จากตาราง จะเห็นได้ว่าธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ชนิด โดยเฉลี่ยพืชดูดใช้ N ในรูปปุ๋ยยูเรียได้เร็วกว่า K และ P ตามลำดับ สำหรับธาตุอาหารรองพืชดูดใช้ธาตุอาหาร Mg ได้เร็วกว่า Ca และ S ตามลำดับ ธาตุอาหารเสริมพืชดูดใช้ Fe และ Mo ได้ช้ามาก และจากตารางที่ 4 จะเห็นว่าพืชต้องใช้เวลานานถึง 10-20 วัน จึงจะดูดใช้ Fe ได้มากถึงร้อยละ 50
      การดูดใช้ธาตุอาหารทางใบของพืชจะเร็วหรือช้าอย่างไรขึ้นอยู่กับชนิดของพืช พืชที่ดูดใช้ N ได้เร็ว
ได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว (Pea) กล้วย มะเขือเทศ สัปปะรด ส้ม และแอปเปิ้ล พืชที่ดูดได้เร็วปานกลางได้แก่ ขึ้นฉ่ายและมันฝรั่ง ส่วนพืชที่ดูดใช้ได้ช้าได้แก่ ยาสูบ และอ้อย
      ข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูง แต่
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆ ด้วย
       4.3 เมตาบอลิซึมธาตุอาหารบางชนิดผ่านโดยให้ปุ๋ยทางใบ
ธาตุอาหารจะมีการซึมซาบผ่านชั้นคิวติเคิลและผ่านไปบริเวณช่องว่างของเซลล์ที่เรียกว่า Apoplast
ที่อยู่บริเวณภายนอกของ Mesophyll cells โดยธาตุอาหารเหล่านี้จะต้องมีการเคลื่อนที่ผ่าน Plasma
membrane และเข้าสู่บริเวณไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ในที่สุด แล้วจึงทำหน้าที่ของธาตุอาหารพืชแต่ละธาตุตามหน้าที่และบทบาทแต่ละธาตุไป
ไนโตรเจน ยูเรียเป็นสารเคมีที่ไม่ประจุไฟฟ้า (No electrically charge) การเคลื่อนผ่าน Plasma membrane จะเป็นไปด้วยกระบวนการแพร่ โดยอาศัยความเข้มข้นที่แตกต่างกันระหว่างบริเวณ Apoplast กับ Cytoplasm เมื่อยูเรียเข้าสู่บริเวณ cytoplasm แล้ว จะถูกไฮโดรไลซ์ย่อยอย่างรวดเร็ว โดยมีเอนไซม์ Urease แล้วเกิดเป็นNH4 ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการเมตาโบลิซึมของพืชต่อไป (GOGAT, Glutamate oxoglutarate aminotransferase pathway)

เหล็ก
Fe เป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่ต้องอาศัยลักษณะบางประการของเยื่อ Apoplast เป็นที่เกิดการที่ส่ง
Fe เข้าสู่ไซโตพลาสซึม โดยจะพบ Fe ที่บริเวณ Apoplast อยู่รูปที่ถูก Oxidized โดยอยู่ในรูป Fe3+ แต่เมื่อเคลื่อนที่ผ่าน Plasma membrane ไปแล้วจะอยู่ในรูป Fe2+ ทั้งนี้ภายในบริเวณ Apoplast นั้นมีสภาพ pH เป็นกรด และมี Organic acid จึงเหมาะสมที่จะ Reduced จาก Fe+3 ไปเป็น Fe2+ นอกจากนี้ถ้า Fe ไม่ถูกรีดีวซ์แล้วจะเกิดการสะสม Fe ที่บริเวณ Apoplast ดังนั้นในการฉีดพ่นสารสะลายที่มี pH ต่ำอาจจะทำให้เกิด Fe ที่สะสมในบริเวณ Apoplast ทำให้พืชมีปริมาณ Fe ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้นด้วยการกระจายตัวของธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชได้รับจากการให้ปุ๋ยทางใบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดกระบวน
Adsorption เกิดขึ้นนั้นจะมีการเคลื่อนที่ใน Phloem โดยไม่ถูกจำกัด ถ้าซึ่งมีผลเช่นเดียวมีการฉีดพ่นให้กับส่วนอื่น ๆ ของพืชเช่น ผล หรือดอก แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละชนิดของธาตุอาหารนั้นความสามารถในการเคลื่อนที่ ในPhloem จะแตกต่างกันไปโดย N (Amino acid), K และ P จะมีการเคลื่อนที่ได้ดีกว่า Fe, Ca และ Mn ปริมาณธาตุที่ถูกดูดซับโดยใบนั้นจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่น ๆของพืชแตกต่างกันไปตามระยะการเจริญเติบโตด้วย

5. ลักษณะปุ๋ยทางใบที่เหมาะสม
5.1 ชนิดปุ๋ยทางใบ
ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ทางใบโดยทั่วไปอยู่ในรูปปุ๋ยเกล็ดและปุ๋ยน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยที่นิยมใช้ทางใบ
กันมากได้แก่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรีย และธาตุอาหารเสริมที่ให้ธาตุ Fe, Zn, Mn และCu
ปัจจุบันปุ๋ยที่ใช้ทางใบมี 2 ชนิด

1.ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบประเภทเกลือ ไม่มีการ
เปลี่ยน แปลงไปอยู่ในรูปอื่น นอกจากการนำไปบดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อนำไปใช้เป็นแม่ปุ๋ยในการผลิตปุ๋ยผสม เกรดต่างๆ ปุ๋ยเกล็ดผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ เช่นแอมโมเนียมไนเตรท, โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต,ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต, โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต โปแตสเซียมไนเตรท โปแตสเซียมซัลเฟต มาผสมกันให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย และแตกตัวเป็นไอออน ยกเว้นยูเรียถึงแม้ว่าจะละลายน้ำแล้ว ก็มิได้แตกตัวเป็นไอออนเหมือนปุ๋ยชนิดอื่น
นูริต้า-เอ็กซ์
ชื่อสามัญ    Amino Acid+Zinc
สารออกฤทธิ์    
คุณสมบัติ    สามารถละลายน้ำได้และพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าทางรากและทางใบโดยใช้ร่วม กับแม่ปุ๋ย ประเภทฟอสเฟต และไนโตรเจน เหมาะสำหรับ พืชทุกชนิด เช่น ไม้ผล
ข้าว พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอก ไม้ประดับ
อัตราใช้    
การบรรจุ    25 x 1 กิโลกรัม, 25 กิโลกรัม
หมายเหตุ    ไม้ผล : มะม่วง ทุเรียน เงาะ ส้ม ส้มโอ มะนาว ลำไย กาแฟ ชมพู่ ฝรั่ง และไม้ผล
ชนิดอื่นๆ ใช้อัตรา 80-120 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ในระยะ
: ระยะเตรียมต้นเพื่อกระตุ้นการออกดอก (ใบเพสลาด)
: ระยะเพิ่มคุณภาพผลใกล้เก็บเกี่ยว
ผัก : หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดหัว กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ คื่นไช่ ตระกูลแตง มะเขือเทศ
พ่น 1-2 ครั้ง ใช้อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในช่วงบำรุงหน่อ บำรุงหัว และบำรุงผล
พืชไร่ : มันสำปะหลัง สับปะรด มันฝรั่ง ใช้อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง
ห่างกัน 15-20 วัน ในช่วงบำรุงหัวหรือเพิ่มคุณภาพผล
ไม้ดอก : เยอร์บีร่า แกลดิโอลัส คาร์เนชั่น เบญจมาศ ดาวเรือง กุหลาบ ใช้อัตรา 40 กรัม/น้ำ


2.ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นสูตรต่างๆ ตามที่ต้องการ
โดย ที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด ปุ๋ยน้ำมีทั้งที่อยู่ในสภาพของสารละลายภายใต้ความดันและไม่มีความดันปุ๋ยน้ำ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยประเภทไม่มีความดัน การใช้ปุ๋ยประเภทนี้ก็เพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไป ฉีดพ่นได้ทันที
– ยูเรียจัดได้ว่าเป็นปุ๋ยเคมีที่สามารถใช้ทางใบได้ดีและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างข้าง เพราะ N
ใน รูปปุ๋ยยูเรียอยู่ในรูปสารอินทรีย์ประเภท “ Non polar” ที่ไม่แตกตัวในสารละลาย ทำให้สามารถฉีดพ่นทางใบ ในระดับความเข้มข้นที่สูงกว่าปุ๋ย N ในรูปอนินทรีย์ไนโตรเจนได้ โดยไม่มีปัญหาทำให้ใบพืชเกิดอาการผิดปกติ เช่นอาการใบไหม้ ในขณะที่การใช้ (NH4)2SO4 หรือ NH4Cl ในอัตราที่ให้อัตราที่ให้ธาตุ N เท่าๆ กัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับพืชชนิดเดียวกันได้
– ปุ๋ยทางใบในรูปปุ๋ยเกล็ดเป็นนิยมใช้กันมากกว่าปุ๋ยน้ำ เพราะปุ๋ยเกล็ดเป็นปุ๋ยที่โดยเฉลี่ยมี
ปริมาณ ธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยน้ำมาก จากตารางที่ 5 และ 6 ปรากฏว่าปุ๋ยเกล็ดที่ใช้ในประเทศไทยมีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยน้ำประมาณ 2 เท่าตัว นอกจากนี้ปุ๋ยเกล็ดยังเป็นสูตรสูง ละลายน้ำได้ดี และสะดวกในการขนย้าย การเก็บรักษา และใช้ประโยชน์
– ส่วนปุ๋ยน้ำมีขีดจำกัดหลายประการ เช่นไม่สามารถผลิตปุ๋ยสูตรสูงได้เท่าปุ๋ยเกล็ดได้ เพราะเกิด
การ เจือจางของแม่ปุ๋ยลงไปอีก มีปัญหาการขนส่งเพราะจะต้องการบรรจุและขนย้ายมากกว่า นอกจากนี้การนำปุ๋ยน้ำไปใช้กับพืชยังต้องมีความระมัดระวังเพราะมีความดันแฝง อยู่ในภาชนะของปุ๋ยน้ำ
 เมตาโลเสท โพแทสเซียม 0-0-24

ชื่อสามัญ    Soluble Potash (K2O)………………………………..24.0%
สารออกฤทธิ์    
คุณสมบัติ    อยู่ในโครงสร้างร่วมกับกรดอะมิโน ช่วยให้ธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ครบถ้วน เคลื่อน
ย้ายในพืชได้ จึงเป็นประโยชน์สูงสุดกับพืชป้องกันการขาดธาตุโพแทสเซียมและเพิ่ม
ความสมดุลของธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตแก่พืช เมตาโลเสท
โพแทสเซียม 0-0-24 ละลายน้ำได้ดี และไม่เป็นพิษต่อพืชเมื่อฉีดพ่นโดยตรง
การบรรจุ    12 x 500 มล. , 2 x 5 ลิตร
หมายเหตุ  ไม้ผล : มะม่วง ทุเรียน เงาะ ส้ม ส้มโอ มะนาว ลำใย ชมพู่ องุ่น ฝรั่ง และไม้ผล
อื่นๆ ใช้อัตรา 30-60 มล./น้ำ


 เมตาโลเสท ซิงค์

ชื่อสามัญ    เมตาโลเสท ซิงค์
สารออกฤทธิ์    Zinc (Zn)……………6.8%
คุณสมบัติ    อยู่ในรูปโครงสร้างร่วมกับกรดอะมิโนจึงทำให้สังกะสีเข้าสู่พืชได้ดีและ เคลื่อนย้ายไปยังจุดเจริญได้รวดเร็วทั้งใบอ่อนและผล มีคุณสมบัติช่วยผลัดใบให้เร็วยิ่งขึ้นส่งเสริมโปรตีนและธาตุอาหารให้ช่วย กระตุ้นการเจริญเติบโตสำหรับพืชในตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ช่วยให้ดอกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเพิ่มปริมาณ และคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ต้นพืชหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตและก่อนที่ออกดอกใหม่ เมื่อใช้ธาตุ อาหารเสริมสังกะสีและอาหารเสริมโบรอนร่วมกันจะช่วยให้ใบใหม่เจริญเติบโตและ แข็งแรง สามารถป้องกันดอกร่วง และผลร่วงในฤดูการปลูกครั้งต่อไป
อัตราใช้    1 ขวด/ครั้ง
การบรรจุ    12 x 500 มล. , 2 x 5 ลิตร
หมายเหตุ    ไม้ผล : มะม่วง ทุเรียน องุ่น ส้ม ส้มโอ มะนาว ลำไย ใช้อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร
หรือ 120-240 มล./ไร่ พ่นในระยะ
: ระยะแตกใบอ่อน พ่น 1 ครั้ง
: ระยะใบเพสลาดหรือเตรียมพร้อมสะสมอาหารเพื่อกระตุ้นการออกดอก พ่น 1 ครั้ง
พืชไร่ : ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ระยะใบจริง 5-8 ใบ พ่น 1ครั้ง –ข้าว ระยะแตกกอ
: ระยะตั้งท้องพ่น 1 ครั้ง อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร
ผักต่างๆ : คะน้า ตระกูลกะหล่ำ ตระกูลแตง พริก มะเขือเทศ หอม กระเทียม พ่น 1
ครั้ง ในระยะ ติดผลอ่อน – ขยายขนาดผล พ่น 1-2 ครั้ง อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร
ไม้ดอก : กุหลาบ ดาวเรือง กล้วยไม้ และไม้ดอกอื่นๆ พ่นทุกๆ 15-20 วัน อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร



เมตาโลเสท แมกนีเซียม


ชื่อสามัญ    เมตาโลเสท แมกนีเซียม
สารออกฤทธิ์    
คุณสมบัติ    อยู่ในรูปโครงสร้างร่วมกับกรดอะมิโน จึงทำให้แมกนีเซียมเข้าสู่พืชได้ดี และเคลื่อนย้าย ไปสู่ส่วนต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะบริเวณสังเคราะห์แสงที่ใบ มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบพืชมีสีเขียวสด เจริญงอกงาม ช่วยเพิ่มความหอมและความหวาน
ของผลผลิต นอกจากนั้นธาตุอาหารเสริมแมกนีเซียมยังช่วยให้พืชติดดอก และผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้ธาตุอาหารเสริมแคลเซียมและแมกนีเซียมฉีดพ่นให้กับพืช จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
อัตราใช้    50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
การบรรจุ    12X1 ลิตร, 4X5 ลิตร และ 20 ลิตร
หมายเหตุ    ไม้ผล : มะม่วง ทุเรียน เงาะ องุ่น ส้ม ส้มโอ มะนาว กล้วย โกโก้ ใช้อัตรา 20-40
มล./น้ำ 20 ลิตรหรือ 120-240 มล./ไร่ พ่นในระยะ
: ระยะแตกใบอ่อน พ่น 1-2 ครั้ง
: ระยะขยายขนาดผล พ่น 1 ครั้ง
ผัก : คะน้า ตระกูลกะหล่ำ ผักชี คื่นไช่ พริก มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว บร็อคโคลี่ ใช้
อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะ 1-2 สัปดาห์ หลังปลูก
พืชไร่ : ข้าวโพด อ้อย ยาสูบ สับปะรด ใช้อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ 80-
160 มล./ไร่ พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ



5.2 สมบัติของปุ๋ยเกล็ดที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นปุ๋ยทางใบ
1. เป็นปุ๋ยสูตรสูง ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ยิ่งดี ทั้งนี้เพราะปุ๋ยสูตสูงมีข้อได้เปรียบกว่าปุ๋ยสูตรต่ำหลาย
ประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การเก็บรักษา และการใช้น้อยกว่าปุ๋ยสูตรต่ำ
2. ไม่ชื้นง่ายเมื่อเปิดถุงหรือภาชนะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ปุ๋ยชื้นง่ายหรือมีค่าความสัมพัทธ์วิกฤติต่ำไม่
สะดวกในการใช้เหมือนปุ๋ยที่แห้ง ไม่ชื้นง่ายและมีเนื้อร่วนไม่เปือกชื้น
3. ไม่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน หรือถ้าจะจับตัวกันเป็นก้อนก็ควรจับตัวกันเพียง
หลวม ๆ ไม่แข็งแน่นทึบ และสามารถบีบหรือทุบให้เป็นเม็ดผงได้เกร็ดเหมือนสภาพเดิมได้ง่าย
4. ควรเป็นปุ๋ยที่สามารถผสมเข้ากันได้กับยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หรืออย่าง
น้อยควรผสมเข้ากันได้กับยาฆ่าแมลงที่นิยมใช้กับพืช
5. ต้องมีสมบัติละลายน้ำได้และไม่มีกากเหลือตกค้างหลังการละลาย เพราะฉะนั้นปุ๋ยเกล็ดไม่ว่าจะ
เป็นปุ๋ยเดี่ยวหรือปุ๋ยผสม ควรเป็นปุ๋ยอยู่ในรูปสารประกอบริสุทธิ์หรือมีความบริสุทธิ์สูงเทียบเท่าสารเคมี
“ technical grade” มากกว่า “ commercial grade”
6. ปุ๋ยเกร็ดทางใบในรูปปุ๋ยผสมควรใช้แม่ปุ๋ยที่มีสมบัติมีเหมาะสม และผสมเข้ากันได้โดยตัวเนื้อปุ๋ยที่
ผสมได้ยังคงมีสมบัติต่างๆ ดี ดังภาพที่ 5

7. ควรเป็นปุ๋ยเกล็ดที่เมื่อนำมาละลายน้ำตามอัตราที่แนะนำแล้ว ได้สารละลายที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด
อ่อนคือมี pH อยู่ในช่วง 4.5-6.0 สารละลายปุ๋ยที่มี pH ในช่วงนี้เมื่อฉีดพ่นลงบนใบพืช พืชจะสามารถดูดใช้ธาตุ
อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นในการพิจารณาใช้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยทางใบ
นอกเหนือจากความทนทานของพืชต่อความเข้มข้นแล้ว ควรพิจารณา pH ของสารละลายปุ๋ยด้วย
8. ควรเป็นปุ๋ยที่มีสารจับใบ สารดูดซึม หรือสารอื่นๆ เช่น สารป้องกันใบไหม้ ผสมอยู่ในตัว ทั้งนี้เพราะ
จะทำให้สะดวกในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ การใช้ปุ๋ยทางใบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยทางดิน


ภาพที่ 4 การเข้ากันได้ของปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ สามารถผสมกันได้ = C (compatible), ผสมกัน
ได้ แต่ต้องรีบใช้ LC (limited compatibility) และไม่สามารถผสมด้วยกันได้เลย= NC (not compatible); AN, (ammonium nitrate); AS, (ammonium sulfate); MAP, (monoammonium phosphate); CAN,(calcium ammonium nitrate); CN, (calcium nitrate); MKP, (monopotassium phosphate); DAP,(diammonium phosphate); PA, (phosphoric acid); PN, (potassium nitrate); MOP, (muriate of potash,KCl)


5.3 อัตรา และระยะเวลาการใช้ปุ๋ยทางใบ
      ปริมาณการใช้ปุ๋ยทางใบขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น ชนิดปุ๋ย ชนิดพืช อายุพืช ระดับความรุนแรงในการขาดอาหารของพืช สภาพดิน ราคาปุ๋ย และประสิทธิภาพของปุ๋ยทางใบต่อการเพิ่มผลผลิตและหรือคุณภาพพืช
    – ปุ๋ยยูเรียจัดได้ว่าเป็นปุ๋ยทางใบที่ใช้ได้ผลดี และสามารถใช้ได้ในระดับความเข้มข้นที่สูงกว่าปุ๋ยเคมีชนิดอื่นๆ โดยปกติธาตุอาหารพืชในรูปสารอินทรีย์ เช่น ในรูปแอมโมเนียมไนโตรเจน (NH2-N) ที่มีในปุ๋ยยูเรียสามารถใช้ระดับความเข้มข้นที่สูงกว่าธาตุอาหารพืชใน รูปอนินทรีย์ไอออนได้ โดยธรรมชาติปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยประเภทไม่มีประจุ (Non polar) และไม่แตกตัวในสารละลาย ดังนั้นจึงสามารถซึมซาบผ่านผนังเซลล์ได้ง่าย จึงสามารถให้สารละลายปุ๋ยยูเรียทางใบได้ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าปุ๋ยเคมี ชนิดอื่นๆ ในรูปสารอินทรีย์
    – ระดับความทนทานของพืชชนิดต่างๆ ต่อการใช้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารพืชในรูปอื่นๆ ดังตารางที่ 5



5.4 ระยะเวลาการใช้และระยะการเจริญเติบโตของพืช
     – ต้องเหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของพืช สำหรับพืชล้มลุกระยะเวลาการใช้ปุ๋ยทางใบควรเป็น
ระยะที่พืชกำลังตั้งตัวหลังการชะงักงันเนื่องจากมีการย้ายปลูกใหม่ๆ (transplant stock) หรือระยะกำลัง
เจริญ เติบโตอย่างรวดเร็วและมีความต้องการธาตุอาหารสูง แต่เนื่องจากอาจมีปัญหาปัจจัยทางดิน ทำให้พืชไม่สามารถดูดใช้ทางอาหารได้ อาจเป็นดินทรายจัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีการชะล้างพังทลายสูง ดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี
   – แต่ในระยะการเจริญเติบโตบางช่วง ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารลดต่ำลง การใช้ปุ๋ยทางใบ
โดย เฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยที่ให้ธาตุ N, P , K และ S ในระยะนี้จะมีช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืชได้อย่าเด่นชัด เช่นพืชพวกธัญพืช (Cereal crop) และพืชน้ำมัน (Oil crop) เช่น ถั่วเหลือง การใช้ปุ๋ยทางใบที่ระยะกำลังพัฒนาเมล็ด (Seed- filling stage) มีผลอย่างมาก เพราะ ช่วงเวลานั้นถั่วมีการเคลื่อนย้ายแป้งจากการสังเคราะห์จากใบไปสู่เมล็ด มากกว่าราก ทำให้รากมีพลังงานที่จะใช้ในการดูดธาตุอาหารโดยกระบวนการ “ Active uptake” น้อยลง (ตารางที่ 6)

ระยะเวลาที่ควรใช้ในรอบวัน
       ช่วงเวลาที่เหมาะสมในรอบวัน โดยควรใช้ปุ๋ยทางใบในช่วงเวลาในรอบวันที่มีอากาศมีอุณหภูมิต่ำ
และ อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง โดยทั่วไปช่วงเวลาในตอนเช้าตรู่หรือตอนบ่ายมากๆ เวลาในช่วงนี้ยังไม่มีแสงหรือแสงแดดน้อย และกิจกรรมการปิดเปิดปากใบยังมีน้อย การใช้ปุ๋ยทางใบในช่วงอากาศไม่ร้อน จะทำให้สารละลายปุ๋ยที่จับผิวใบไม่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากนักหรือไม่มี ความเข้มข้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเกิดการสูญเสียน้ำโดยการระเหยออกไป สภาพเช่นนี้จะทำให้เกิดการไหม้ของใบพืช (Leaf burn) น้อยกว่าการใช้ในช่วงเวลาอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง
ดิเรก ทองอร่าม, วิทยา ตั้งก่อสกุล, นาวี จิระชีวี และอิทธิสุนทร นันทกิจ. 2542. การออกแบบและเทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืช.เจริญรัฐการพิมพ์ กรุงเทพ. 423 หน้า.
ธงชัย มาลา. 2546. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิต และการใช้ประโยชน์. สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ปิยะ ดวงพัตรา. 2538. หลักการและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.300หน้า.
สันติภาพ ปัญจพรรค์.2527. วิทยาการทางปุ๋ย. ภาควิชาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.265 หน้า.
Bukovac J.M, Cooper J.A, Whitmoyer RE, and Brazee RD (2002) Spray application plays a
determinant role in performance of systemic compounds applied to foliage of fruit plants.
Acta Horticulturae 594: 65–75.
EI-Fouly, M.M., Fawzi, A.F. and EI-Sayed, A. (1995). Optimiing fertilizer use in oranges through
fertigtion. International Symposium on Fertigation, Technion. Haifa, Israel.


 ……………………………….



ไบโอเจ็ท (Bio-Jet)
ไบโอเจ็ท  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ  ตายอด ตาดอก ตาใบ 

  • ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง  น้ำตาล  ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
  • ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป และพืชที่แพ้สารเคมีให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
  • สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด

•  พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี
•  สามารถใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงได้หลายชนิด 







โออาร์จี-1 (ORG-1)
ORG-1: Amino acid, The Other of Organic acid
เพิ่มพลังงาน เพิ่มความสมบูรณ์ภายในให้แก่พืช


คุณสมบัติ ORG-1
1. ไม่ใช่สารอินทรีย์ ไม่ใช่สารชีวภาพ แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในของพืช
 2. เป็นเนื้อสารเข้มข้นมีสารอาหารพืช สารสำคัญต่างๆ ครบถ้วนตามที่พืชต้องการรวมอยู่เป็นเนื้อสารเดียวกัน 
3. ดูดซึมได้รวดเร็ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที 
4. ไม่จับตัวตกตะกอนแข็งและไม่จับก้อนเป็นวุ้นเมื่อผสมร่วมกับสารอื่นๆ 
5. ไม่แนะนำให้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดแมลงและสารกำจัดโรคอื่นๆที่เป็นสารเคมี 
6. ใช้ได้กับทุกช่วงระยะการเจริญเติบโตของต้นพืช

หน้าที่ ที่สำคัญของORG-1
1. กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ และสังเคราะห์โปรตีน
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์    
3. การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน    
4. ช่วยให้พืชสามารถนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดีขึ้น และก็ช่วยให้การดูดซึมจุลธาตุอาหารทางใบดีขึ้น
     ช่วยปรับปรุงการดูดซึมธาตุอาหารทางราก
5. เพิ่มการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน 
6. กระตุ้นการสร้างดอก  ช่วยการผสมเกสร ติดผลดก ลดการหลุดร่วง
7. ช่วยขยายขนาดผล  เร่งการสุกของผล
8. ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
9. พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง
คุณประโยชน์ของ ORG- 1 
– ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย 
– ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
– ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก 
– ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
– ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้

วิธีใช้    ชนิดพืช   ระยะเวลา อัตราการใช้
ข้าว  ช่วงตั้งท้องและออกรวง จนกระทั่งช่วงข้าวเป็นน้ำนมฉีดพ่นทุก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
พืชไร่   ทุก7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
พืชผัก 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
พืชดอก ไม้ประดับ 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
ไม้ผล และไม้ยืนต้น 
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ก่อนดึงดอกและฉีดได้ต่อเนื่องจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน 7-10 วัน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 



ข้อแนะนำพิเศษ 
(1) ช่วยเพิ่มการสะสมอาหารไว้ที่ใบ และลำต้น ช่วยให้พืชออกดอกได้เร็วขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน ให้ทั่วทั้งต้นพืชสามารถดูดซึมเข้าภายในลำต้นได้ทุกส่วนทั้งทาง ต้น ใบ ราก 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
(2) ช่วยขยายขนาดผล   สร้างเนื้อเยื่อ สร้างแป้ง ขั้วเหนียว ผลไม่ร่วง สีผลสด ผลติดดก รสชาติดี มีน้ำหนักขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 
(3) ช่วยพืชที่ลงหัว เข้าสู่ระยะลงหัวได้เร็ว หัวใหญ่เร็ว ได้น้ำหนัก เปอร์เซนต์แป้งดี  เปอร์เซนต์น้ำตาล น้ำมันดี น้ำยางดี เก็บได้นาน เนื้อแน่น หัวไม่ฝ่อง่ายฉีดพ่นทุกๆ 7-10วัน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 ( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย




โออาร์จี:(ORG-2)
ORG-2: Amino acid, Monosaccharides  and Other Ingredients
สารอาหารพืชชนิดพิเศษ สารให้พลังงานสูง  บำรุงต้นและเพิ่มผลผลิต



คุณสมบัติ ORG-2  
เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช 
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด 
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช 
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์ 
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ 
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง 
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
– ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
– พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง

คุณประโยชน์ ORG-2
บำรุงด้วย ORG-2  เป็นประจำ จะทำให้พืช
1. ในช่วงสะสมอาหาร – ใบหนา  เขียวเข้ม  พร้อม ออกดอก
2. ช่วงเปิดตาดอก – ออกดอกเร็ว  ดอกสม่ำเสมอ  เกสรสมบูรณ์
3. ช่วงติดผล  – ขั้วเหนียว   ขยายผล  สร้างเนื้อ  เร่งสี
4. ช่วงเพิ่มคุณภาพ – ทำให้เนื้อดี สีดี รสชาติดี มีความหวาน  มีกลิ่นหอม
พืชที่แนะนำให้ใช้  
พืชผักกินฝักและผล แตงโม สัปปะรด ถั่วแระ ข้าวโพด มันฝรั่ง  มันสำปะหลัง หอม, กระเทียม พริก 
นาข้าว ลิ้นจี่ ส้มเปลือกบาง ยางพารา

อัตราการใช้  ORG-2
1. ผสม ORG-2  อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
2. ไม่สามารถใช้ผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง

( ความเครียดของพืช:  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อม กลไกในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้ ไม่ว่าจะเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าPH, ระดับอุณหภูมิสูง-ต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะต่างๆ หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อโรค โดนหนอนหรือแมลงเข้าทำร้ายต้นพืช อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชได้ เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล เป็นต้น)
ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณ
แอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช การฉีดพ่น อะมิโน แอซิดเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง
การใช้ในช่วงวิกฤติจะช่วยให้ อะมิโน แอซิดที่ให้กับพืช พืชได้รับอย่างมีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่พืชเครียดลง และลดผลลบจากภาวะเครียดลงไปด้วย





 ซูการ์-ไฮเวย์   (ZUKAR- Highway)
         ซูการ์ กรดอะมิโนเข้มข้น ละลายน้ำได้อย่างสมบูรณ์   พืชนำไปใช้ได้ทันที
และดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางราก ลำต้น กิ่งและใบ โดยเฉพาะในกรณีฟ้าปิด
1. ซูการ์  เป็นสารพลังงานสูงที่พืชสามารนำมาสร้างฮอร์โมน และเอ็นไซม์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผลของพืช
2. ซูการ์  ช่วยให้การพัฒนาดอก และผล มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ช่วยส่งเสริมการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงเพิ่มคุณภาพผล และปริมาณผลผลิต
3. ซูการ์  ช่วยพืชที่อยู่ในสภาพเครียด หรือโทรม ทำให้พืชมีสารอาหารและพลังงาน พร้อมในการติดดอกออกผล อย่างสมบูรณ์
4. ซูการ์  ช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เร่งความหวาน ทำให้ผลไม้มีรสชาติดี เนื้อดี เนื้อแน่น

Zukar คุณประโยชน์

        •  เหมาะสาหรับพืชในช่วงที่ต้องกา
รพลังงานมากกว่าปรกติ เช่น ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงการออกดอก ช่วงติดผล และช่วงเร่งความหวาน เป็นต้น
        •  ช่วยให้พืชทนต่อสภาพแห้งแล้งและหนาวเย็นได้ดี

คุณสมบัติพิเศษ
  
•  ให้พลังงานทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)ช่วยเพิ่มพลังงาน และ อาหารสะสมให้พืช
•  ช่วยปรับสมดุลของสารอาหารและฮอร์โมนภายในพืชตามหลัก “สมดุลยศาสตร์” ทำให้พืชสมดุลแข็งแรง เติบโตได้เร็ว ให้ผลผลิตที่ดี มีน้ำหนักสูง
•  พืชแข็งแรงดี จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่วิกฤตได้ดี อาทิ ความหนาวเย็น หรือความแห้งแล้ง
•  ก่อนพืชออกดอก ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน เพื่อกิจกรรมดังกล่าว และต้องเป็นแหล่งพลังงานที่พืชนำไปใช้ได้ทันที
•  มีธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลด์ อันทำให้ช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงให้ดีขึ้น
•  มีอะมิโน แอซิค ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที
•  มีธาตุอาหารหลักที่ช่วยในขบวนการขนถ่ายน้ำตาลไปสะสมที่ผล ทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี





 พาร์ทเวย์ ไอพีพี-เพาเวอร์ 5  (Pathway Ipp Power- 5)
สารตั้งต้นในกระบวนการชีวเคมีสำหรับพืช ช่วยสร้างสารสะสมต่างๆ ในพืช 
อาทิ  แป้ง น้ำมัน น้ำยาง น้ำตาล สารหอมระเหย  อื่น ๆ
คุณประโยชน์
         •  ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำมันและไขมัน ใช้เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันและ
             เหมาะกับการนำไปใช้เพิ่มผลผลิตแก่พืชให้น้ำมันทุกชนิด
         •  ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำยาง เพิ่มผลผลิตน้ำยาง เพิ่มคุณภาพร้ำยาง
             ให้ข้นขึ้นมีเปอร์เซ็นต์ยางสูงและมีโมเลกุลยาวมากขึ้น
         •  ช่วยเพิ่มการสะสมแป้งในพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก เป็นต้น
         •  ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำตาล เพิ่มผลผลิตให้กับอ้อย ช่วยเพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผลไม้ทุกชนิด
         •  ช่วยเพิ่มพลังงานช่วงพืชมีสภาพไม้สมบูรณ์หรือสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมจากความร้อนความแห้งแล้ง

คุณสมบัติที่เหนือกว่า
         •  เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำสารอาหารตั้งต้นที่พืชจะได้จากการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสารสะสมในพืชทุกชนิด มาให้กับพืชโดยตรง
         •  เพิ่มสารตั้งตันในขบวนการผลิตน้ำมันในพืชที่ให้น้ำมันทุกชนิด เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง  ทานตะวัน   
            ฯลฯ ในต้นยางสารตั้งต้นเหล่านี้จะถูกใช้ในการผลิตน้ำยางโดยตรง ทำให้น้ำยางที่ได้  มีขนาดโมเลกุลที่ยาวขึ้นและน้ำยางมีคุณภาพมากขึ้น
         •   เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารสะสมในพืชชนิดต่างๆ ได้ทุกชนิด เช่น พืชสะสมแป้ง พืชสะสม น้ำตาล
         •  ให้สารตั้งต้น โดยตรงแก่พืช ซึ่งในธรรมชาติจะไดสารนี้จากการสังเคราะห์โดยเฉพาะพืชชนิด C4 และ CAM  ในการเปลี่ยน Pyruvate และ cetyl-CoA ซึ่งเป็นจุดเริ่ม ต้นในการเปลี่ยนไขมัน น้ำมัน  น้ำยาง แป้ง น้ำตาล  ตามขบวนการสังเคราะห์ของพืชแต่ละชนิด
         •  สารตั้งต้นที่พืชจะสังเคราะห์ขึ้นหลังจากที่ได้ปุ๋ยไนโตรเจนไปและช่วยเพิ่มพลังงานทำให้พืชเจริญเติบโต
            และเพิ่มสารสะสมอย่างรวดเร็วยังมีแมกนีเซียมในรูป คีเลท และโปตัสเซียม ซึ่งช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
                                                                                                                                    
         •  และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำคัญในการต่อสายโมเลกุลของน้ำมันและน้ำยาง ทำให้เพิ่มคุณภาพของสาร
           สะสมต่างๆในพืช