สารจับใบ คือสารที่ช่วยในการฉีดพ่นสารเคมี ให้เกาะติดใบพืชได้ง่ายขึ้น โดยปกติสารเคมี หรือปุ๋ย ที่ผสมน้ำแล้วฉีดใบพืช ส่วนใหญ่ใบพืชจะมีความมันและลื่น ทำให้น้ำยาที่ฉีดไม่สามรถเกาะใบพืชได้ หรือโดนน้ำค้างก็ไหลหล่นพื้นหมด ทำให้เสียสารเคมีโดยใช่เหตุ เรามีวิธีที่จะช่วยชาวเกษตรกรที่ ต้องการให้อาหารทางใบหรือฉีดสารเคมี น้ำหมัก อะไรก็แล้วที่ต้องการให้ติดใบพืช มีวิธีทำง่ายมากและประหยัดด้วย
-ใช้สารลดแรงตึงผิว เพื่อให้ผิวใบพืชที่มีความมันและลื่น ลดแรงตึงผิวลงมาและให้น้ำสามารถเกาะได้ง่ายขึ้น หลักการมีเท่านี้เอง สารที่ใช้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รุ้จักก็แนะนำให้เติมน้ำยาล้างจานลงไป ก็ใช้ได้ แต่ต้นทุนมันสุงกว่าเราทำใช้เองครับ
– สารลดแรงตึงผิว ในกลุ่ม Surfactancts เรียกว่า SLES 70% Sodium lauryl ether sulfate ผสมกับ Sodium Chloride
– โดยใช้ SLES 70% Sodium lauryl ether sulfate 1 ส่วนผสมน้ำ 3 ส่วน ปรับความข้นด้วย Sodium Chloride
– วิธีใช้ ส่วนผสมที่ 100 CC น้ำไปผสมน้ำได้อีก 20 ลิตร
– ต้นทุน SLES 70% Sodium lauryl ether sulfate ราคาปลีกประมาณ 75 บาท/KG (ถังแบ่ง 30 ก.ก.)ซื้อถังใหญ่ 165 KG/ถัง ราคาประมาณ 60 บาท ถ้าซื้อยกตัน ราคาประมาณ 50-60 บาท
– Sodium Chloride ราคา กิโลกรัมละ ประมาณ 25 บาทถ้าซื้อปริมาณมากราคาจะอยู่ประมาณ 15-20 บาท
คิดต้นทุนในการผลิตใช้เอง
– SLES 70% Sodium lauryl ether ราคา 75 บาท
– Sodium Chloride ราคา 25 บาท
ต้นทุนรวม 100 บาท
ทำได้ (1+3=4KG) 100/4 = 25 บาท/กิโลกรัม
ปริมาณการใช่ 100 กรัม /น้ำ 20 ลิตร เท่ากับต้นทุน 2.5 บาท
ส่วนผสม
1. N 70 1 กิโลกรัม (ราคา 80-90 บาท/กก.)
2. เกลือป่น 1 กิโลกรัม (ราคาไม่แน่ใจ ขโมยของแม่มา )-แต่บางรอบก็ไม่ได้ใส่ครับ ใช้ได้เหมือนกัน
3. น้ำสะอาด 13 ลิตร
วิธิีทาํ
1. ผสมเกลือ 1 กก. น้ำ 3 ลิตรคนให้ละลาย
2. กวน N70 อย่างน้อย 5 นาทีจนขึ้นนวล
3. เติมน้ำเกลือที่เตรียมไว้ครั้งละ 1 ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ 2 ลิตร
4. เติมน้ำสะอาดครั้งละ 1 ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ 10 ลิตร กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
5. เติมน้ำเกลือส่วนที่เหลือ 1 ลิตร เพื่อปรับสภาพ
วิธีใช้ ผสมสารจับใบที่ได้ 5-10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ครับ(ถ้าทำแล้วใช้ไม่ทัน เพราะใช้ครั้งละนิดเดียว แนะนำให้”แจก”ครับ)
ส่วนที่เคยซื้อใช้
-ของกิฟฟารีน ราคาประมาณ4-5ร้อยบาท/ลิตร
-แอมเวย์ 900กว่าบาท/ลิตร
ถ้าทำเอง ตกประมาณ 10กว่าบาท/ลิตร ครับ
NP 9 ราคาไม่เกิน 100 บาท ต่อกก ในกรณีซื้อแบ่งประมาณ30กก/ถัง
และราคาประมาณ 70-80 บาท/กก กรณีซื้อเป็น drum ใหญ่ (200 กก/ถัง)
หากจะลองหาคนขายก็ลองค้นจากอากู๋ หาคำว่า “nonylphenol ethoxylate np9 สารลดแรงตึงผิว”
ที่ผมลองใช้เป็นของ dow และลองลดความเข้มข้นด้วยน้ำสะอาดที่ np9:water v/v ที่ 1:1 และ 1:2
พบว่า 1:2 ยังเข้มข้นไปหน่อยด้วยเลยครับ อาจต้องถึง 1:3
การกวนผสมต้องช้าๆ (เร็วจะเกิดฟองมาก) แล้วค่อยบรรจุ หากการผสมที่ 1:3 ได้ผลก็จะทำให้สารจับใบยี่ห้อ “กวนเอง” นี้… ;Dน่าจะมีต้นทุนอยู่ที่ < 30 บาทต่อลิตร ใช้ 2 cc ผสมในถังพ่นสะพายหลังขนาด 20 ลิตรที่ชาวบ้านใช้ เห็นชาวบ้านและทีมงานท่ีใช้บอกว่าดูได้ผลดีนะครับชอบใจกันใหญ่บอกว่าหัวพ่นไม่ค่อยตันอีกต่างหาก ดีกว่าไปซื้ออะไรก็ไม่ทราบที่ร้าน นี่ส่วนที่เหลือ กะว่าจะเอามาลุยกับแปลงมันสัมปะหลังตอนเข้าแล้งเพราะเพลี้ยมาแน่นอนกะให้ผสมลงในถัง 1000 ลิตรรวมกับจุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและน้ำหมัก ลากท้ายรถไถลุยพ่นเหมือนหน่วยดับเพลิงซะเลย
อ้อ..แรกๆที่ผมลองก็เอา np9 สดๆ pureๆ ไปทาบนใบไม้ในสวนตรงๆเลย ผ่านไป 2 วันก็ไม่เห็นเป็นอะไร ก็เลยเป็นที่มาของการลองไปเรื่อยๆครับ
ถ้าเป็นสารจับใบ ใช้แค่ TWEEN80 หรือ AMMONIUM LAURY SULFATE ก็น่าจะพอครับ เราไม่ได้ต้องการซักล้างอะไร อาจจะต้องผสมเยอะกว่าหน่อย แต่คำนวณแล้วสุดท้ายน่าจะถูกกว่าด้วยซ้ำ