กล้วย

ชื่อท้องถิ่น               กล้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa sapientum L., Musaparadisiaca L. varsapientum (L.) O. Kutnze

ชื่อวงศ์                  Musaceae

ชื่อสามัญ               Banana, Cultivated banana

ชื่ออื่นๆ                  กล้วยกะลิอ่อง  กล้วยมะนิอ่อง  กล้วยไข่  กล้วยใต้ กล้วยนาก  กล้วยน้ำว้า  กล้วยเล็บมือ  กล้วยส้ม  กล้วยหอม  กล้วยหอมจันทน์  กล้วยหักมุก

                กล้วย  เป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป อาจกล่าวได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานในวันหนึ่งๆมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆในโลก

                กล้วย  ที่นิยมปลูกกันในประเทศไทย กล้วยที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันดีและนิยมปลูกกันแพร่หลายมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยพันธุ์ หนึ่งที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันในปัจจุบัน

                กล้วย    มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล้วยในปัจจุบันกลายพันธุ์ มาจากกล้วยป่าที่มีรสหวาน และได้สืบพันธุ์หน่อกล้วยกันออกไปต่อมาได้มีการคัดเลือกพันธุ์กล้วยที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

           ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 พันธุ์กล้วยหอมทองและกล้วยพันธุ์ค่อม  ได้ถูกนำมายังหมู่เกาะคาริบเบียน  รวมทั้งพันธุ์อื่น ๆอีกหลายพันธุ์ได้ถูกนำมาจากสวน Kew มารวบรวมไว้ที่ไดมินิกา เมื่อปี ค.ศ. 1902  ซึ่งเป็นเขตร้อนและมีการปลูกกล้วยหลาย ๆพันธุ์เพื่อใช้เป็นอาหาร

                กล้วยที่นิยมปลูกกันในประเทศไทย กล้วยที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันดีและนิยมปลูกกันแพร่หลายมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยพันธุ์ หนึ่งที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันในปัจจุบันและได้รับความนิยม จากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมาก

ฤดูปลูก  ควรเลือกช่วงฤดูฝนจะเหมาะที่สุดโดยเริ่มปลูกเมื่อแรกฤดูฝนมาเยือน

ลักษณะที่เหมาะในการเก็บเกี่ยว   เมื่อผลแก่เต็มที่

ส่วนที่ใช้บริโภค       ผล  , หัวปลี

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์  หน่อ หรือ รากเหง้า

อายุการเก็บเกี่ยว  ประมาณ 90  วัน

      ระบบราก  ระยะต้นกล้าจะพบมีรากแก้วปรากอยู่  ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรากฝอย  จะมีสีขาวและอวบ แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม  เส้นผ่าศูนย์กลางของรากประมาณ 5–8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ20-39 เซนติเมตรรากจะเกิดเป็น กลุ่ม ๆละประมาณ  4  ราก  อยู่บริเวณผิวของลำต้นใต้ดิน

                ต้น  เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกันจะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 2.5 เมตรกาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีปื้นดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน

                ใบ  ใบกล้วยที่อยู่พ้นลำต้นเหนือดินขึ้นมาจะอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับลำต้นแล้วค่อยๆลู่ลง ใบมีลักษณะใหญ่  ยาวรี  ขนาดของใบกว้างประมาณ 70 – 100 ซม.และยาวประมาณ 150 – 400 ซม. โดยความยาวจะเป็นประมาณ 2.0 – 4.5 เท่าของความกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุพันธุ์และสภาพแวดล้อม ใบจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อต้นมีขนาดอายุมากขึ้นและจะมีขนาดเล็กลงเมื่อกล้วยเริ่มให้ช่อดอก

                ดอก  ออกเป็นช่อห้อยลง มีกาบหุ้มสีแดงม่วงดอกย้อยติดกันเป็นแผง ฐานดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วยปลายเป็นดอกตัวผู้ เมื่อดอกตัวเมียเริ่มเจริญเป็นผล ดอกตัวผู้เริ่มร่วงหล่นไป ช่อดอกเจริญเป็นเครือกล้วย

               ผล   เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้วผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละ ประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นมีเหลืองงอมน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีรสหวาน ผลมีเหลี่ยม ก้านผลสั้นมีความยาวใกล้เคียงกัน เปลือกหนา แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียวแล้วตาย  ผลของกล้วยป่าจะต้องได้รับการผสมเกสรจึงจะติดเป็นผลได้  ผลแก่มีเปลือกเมล็ดแข็งสีดำอยู่มากมาย

                ส่วนในกล้วยปลูกจะเกิดผลโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมเกสร เนื้อของกล้วยที่รับประทานได้เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นนอกของช่องว่างภายในรังไข่  กล้วยที่ปลูกนี้ส่วนใหญ่จะมีเกสรตัวเมียเป็นหมัน  เมล็ดจะไม่มีการพัฒนาเพราะจะเหี่ยวและเป็นเพียงจุดเล็กๆสีน้ำตาลผลกล้วยทั้งหมดบนก้านดอกรวมเรียกว่า  เครือ  ส่วนผลกล้วยแต่ละกลุ่ม แต่ละข้อเรียกว่า หวี

ส่วนแต่ละผลเรียกว่า  ผลกล้วย

                สรรพคุณ   ยาง สมานแผลห้ามเลือด   ผลดิบ แก้ท้องเสีย  ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้   และแก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด

                ทางด้านอาหาร กล้วยหอม นิยมบริโภคสด   กล้วยน้ำว้า หากเป็นกล้วยดิบที่แก่จัด ก็สามารถนำมาเป็นกล้วยฉาบชนิดแว่น ชนิดแผ่น และแป้งกล้วยหากสุกมากก็ใช้แปรรูปเป็นกล้วยบด เพื่อเป็นส่วนผสมของขนม เช่น ขนมกล้วยหรือนำมากวนเป็นกล้วยกวนได้ กล้วยไข่ นิยมบริโภคสด และกล้วยไข่ที่ห่ามเกือบสุก จะนิยมทำกล้วยเชื่อมทั้งเปียก และแห้ง

           กล้วยหักมุก หากเป็นกล้วยหักมุกเขียวใช้ทำกล้วยฉาบชนิดแว่นหรือแผ่น ทอดแล้วเนื้อจะมีสีเหลือง และกรอบ ส่วนกล้วยหักมุกขาวหรือเหลือง นิยมทำกล้วยปิ้งหรือเผา กล้วยเล็บมือนาง นิยมบริโภคสด และอาจนำไปทำเป็นกล้วยตาก/อบ  กล้วยหิน มีลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกเขียว นิยมทำกล้วยฉาบ

                คุณค่าทางโภชนาการ  สำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก เพราะหัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมาก

                ใช้เป็นยา  ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจาจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

                กล้วยน้ำว้า   เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถทนทานสภาพดินฟ้า

อากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่าย การใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุก มีรสชาติหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้

 1.1 กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง

 1.2 กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง

 1.3 กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง

 1.4 กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

                กล้วยไข่   เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต  เครือเล็ก  ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่ สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

                กล้วยหอมทอง    เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูเครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลาผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนาผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาติหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด

                กล้วยหอมค่อม  เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ย หรือแคระ ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาติดี จึงมีชื่อว่า กล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย

                กล้วยหอมเขียว  เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายกล้วยหอมทอง แต่กล้วยหอมเขียวกาบใบชั้นในมีสีแดงสด ปลาย

ผลมน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

                กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลือง

เข้ม เนื้อแน่น รสชาติหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก หรือทำเป็นกล้วยตา เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร

                กล้วยหักมุขเป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลาง ลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวล ปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อมและชนิดของกล้วยอื่นๆอีก เช่น กล้วยตานี กล้วยหก  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยไล  กล้วยทองขี้แมง  กล้วยน้ำไท  กล้วยน้ำนม  กล้วยหอมสั้น ฯลฯ

                ดิน  ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี

                ความชื้น  พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย  ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง  50-100 นิ้ว/

ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชลประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย

                 ลม  พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว

การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก

  1.          ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ ความสูงของหน่อไม่มากเกินไป ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ  75 เซนติเมตร
  2.  เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลายโดยเฉพาะด้วงงวงเข้าทำลายมาก่อน
  3.  ส่วนเหง้าต้องไม่ถูกโรคแมลงทำลาย
  4.  เป็นแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งเกษตรกรได้มีการตรวจสอบประวัติของสวนแล้ว ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
  5.  กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีกด้วย

หน่อพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก

  1.  หน่ออ่อน เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงใบเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูกหน่อชนิดต่าง ๆ
  2.  หน่อใบดาบ เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร มีเหง้าขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการแยกไปเพาะปลูก
  3.         หน่อแก่ เป็นหน่อที่เจริญมาจากหน่อใบดาบ ใบเริ่มแผ่กว้างขึ้น อายุประมาณ 5-8 เดือน มีเหง้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาที่สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ได้หลายหน่อ
  4.  หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ลักษณะใบแผ่กว้างตั้งแต่ยังมีอายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก