ยาจับใบ

โดยทั่วไปสารจับใบ จะต้องมีสารตัวนี้ครับ
1. สารลดแรงตึงผิวของน้ำ มีหน้าที่ทำให้น้ำที่ผสมปุ๋ย หรือยา ลดแรงตึงผิวลง ทำให้สามารถที่จะกระจายตัวไปเปียกบนใบและส่วนต่าย ๆ ของพืชได้ดีขึ้นครับ
2 . สารตัวที่สองคือ สารที่ช่วยในการกระจายตัวของน้ำ ทำหน้าที่ในการแทรกซึมตามซอกมุมของพืชให้ยามีการสัมพัสกับส่วนต่าง ๆ ของพืชได้มากขึ้น อย่างในกรณีของหญ้าหรือ พืช ที่มีขนบางยี่ห้อที่ไม่มีสารตัวนี้ ก็จะทำให้ยาไม่สามารถซึมแทรกเข้าไปสัมผัสกับผิวที่แท้จริงของพืชได้
3. สารที่ช่วยในการยึดเกาะพื้นผิว ทำหน้าที่เป็นเสมือนกาว ช่วยลดการชะล้างสารเคมีหรือปุ๋ยจากการรดน้ำตามปกติ หรือจากน้ำฝนครับ ถ้าหากว่ายาจับใบที่ท่านใช้อยู่มีสารตัวนี้ ควรจะระมัดระวังอย่าให้เกินกว่าที่ฉลากระบุนะครับ เพราะอาจจะได้ผลเสียมากกว่าผลดี เพราะจะทำให้สารเคมีที่ใช้ไปจับ เป็นคราบขาว อาจทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลงได้

คุณสมบัติของสารจับใบ

-ลดแรงตึงผิวของละอองน้ำยา ทำให้น้ำยาแบนและแผ่กว้าง
-เพิ่มประสิทธิภาพของยาฆ่าแมลง,ยาฆ่าเชื้อรา,ปุ๋ย,และยากำจัดวัชพืช ทำให้จับใบแล้วดูดซึมเข้าใบหรือลำต้นได้ดี และเร็วขึ้น
-ทำให้ละอองน้ำยามีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี และแห้งเร็วกว่าปกติ
-ลดการสูญเสียของสารเคมี เนื่องการการชะล้างของฝนหรือน้ำ
ช่วยรักษาอุปกรณ์พ่นยา ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด
-ลดต้นทุนการใช้สารเคมี เนื่องจากลดจำนวนครั้งในการใช้สาร และความเข้มข้นที่ต่ำ
-ทำให้ต้นไม้ดูสวยงามไม่เป็นคราบที่เกิดจากปุ๋ยและยา

สรุป …..
ยาจับใบที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ และมีคุณสมบัิตตามนี้

1. ช่วยแผ่กระจายของสารให้ทั่ว (spreaders) สาร เปียกใบ หมายถึง สารที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวของสารละลายที่พ่นไปสัมผัสกับใบไม้ กิ่งก้าน ลำต้นของพืช หรือ ผิวของแมลง และจะทำหน้าที่ในการแผ่กระจายสารละลายให้ทั่วใบของพืช และผิวของแมลงศัตรูพืช

2. ช่วยในการจับยึดเกาะ (Stickers and Extenders) สารจับ ใบ มีหน้าที่ในการจับยึดเกาะ ป้องกันไม่ให้สูญเสียสารละลายที่ฉีดพ่นไป อันเนื่องจากกระแสลมและการชะล้างของน้ำฝนหรือน้ำค้าง ความแตกต่างกันของสารเปียกใบและสารจับใบ คือ สารเปียกใบทำหน้าที่แผ่กระจายให้ทั่วพื้นที่ของใบ สารจับใบ ทำหน้าที่ในการยึดติดแน่น ไม่ให้ลื่นไหลสูญเสียไป

3. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช (Activators) เมื่อ ฉีดพ่นสารเสริมประสิทธิภาพลงบนส่วนของใบพืชแล้วจะทำให้ฝุ่นละออง หรือสารกำจัดศัตรูพืชไม่ไปอุดตันปากใบของพืช พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้อย่างสมบูรณ์

4. ช่วยเพิ่มอำนาจการแทรกซึมสารกำจัดศัตรูพืช (Penetrants) สาร เสริมประสิทธิภาพนอกจากจะทำหน้าที่เปียกใบและจับใบแล้ว ยังเพิ่มความสามารถของน้ำและสารละลายให้ซึมผ่านผิวใบไม้ ผิวของลำต้น หรือส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช เปลือกหุ้มตัวของแมลง ทั้งตัวอ่อน ตัวเต็มวัย เชื้อสาเหตุของโรคพืช ทำให้สารเคมีเกษตรที่ฉีดพ่นสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในต้นพืช และสัมผัสถูกตัวแมลงต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืชได้โดยง่าย

5. ป้องกันใบเหี่ยวเฉาจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การ ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีความเป็นด่างบางชนิดฉีดพ่นลงบนพืช เช่น ส้ม แตงโม อาจจะทำให้ใบของพืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาอยู่ในช่วงระยะหนึ่ง แต่เมื่อมีการใช้สารเสริมประสิทธิภาพ ก ที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง (pH ประมาณ 7) ผสมร่วมในการฉีดพ่น จะทำให้สารเหล่านี้ลดความเป็นด่างลง พืชจะลดอาการเหี่ยวเฉาหรืออาจไม่แสดงอาการเลย ทำให้พืชไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต หลังการฉีดพ่นสารเคมีเกษตรดังกล่าว

6. ช่วยให้สารกำจัดศัตรูพืชกระจายตัวในน้ำได้ดี โดย ปกติแล้ว สารกำจัดศัตรูพืชชนิดที่มีน้ำมันเป็นตัวทำละลาย หรือสารกำจัดศัตรูพืชชนิดที่เป็นผง จะรวมตัวกับน้ำได้ไม่ดี อาจมีการแยกชั้น หรือเกาะกลุ่มเป็นตะกอนได้โดยง่าย แต่เมื่อผสมสารเสริมประสิทธิภาพซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว (Non – ionic Serfactants) จะช่วยทำให้สารกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืช และสารกำจัดโรคพืชไม่เกิดเป็นตะกอน หรือแยกตัว แยกชั้นออกไป แต่จะมีการกระจายตัวในน้ำได้ดีและสม่ำเสมอ

7. ทำให้น้ำสามารถแทรกซึมผ่านชั้นดินที่แน่นทึบได้ดี สาร เสริมประสิทธิภาพช่วยให้เกิดการไหลซึมของน้ำลงสู่ดินชั้นล่างได้ แม้ในดินที่น้ำซึมผ่านยาก เพราะสารลดแรงตึงผิว (Non – ionic Serfactants) ทำให้ดินที่ปลูกพืชคลายความแน่นลง อนุภาคของเม็ดดินขนาดเล็ก แยกตัวออกจากกันไม่เกาะกันเป็นก้อนแข็ง น้ำจึงซึมผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างได้ง่าย และพืชสามารถหยั่งรากลึกลงดินและหาอาหารได้ดีขึ้น หรือแม้ในช่วงที่มีฝนตกหนัก น้ำฝนก็จะซึมผ่านลงดินได้เร็ว

8. ลดจำนวนครั้งและปริมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การ ใช้สารเสริมประสิทธิภาพสามารถช่วยให้เกษตรกรลดจำนวนครั้งในการฉีดพ่นสารเคมี เกษตร จาก 4 ครั้ง เหลือ 2 -3 ครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย นอกจากนี้จำนวนครั้งและปริมาณที่ฉีดพ่นน้อยลง ทำให้พืชไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต เพราะทุกครั้งที่เราฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช พืชจะรู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอม และอาจหยุดชะงักการเจริญเติบโตไประยะหนึ่ง นอกจากนี้การที่สารกำจัดศัตรูพืชเกาะยึดติดที่ใบได้ดี จะทำให้สามารถกำจัดศัตรูพืชได้ โดยไม่ต้องฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชมากครั้งเหมือนเดิม

9. มีความเข้มข้นสูง สาร เสริมประสิทธิภาพมีความเข้มข้นสูงและละลายน้ำได้ง่าย กระจายตัวในน้ำได้รวดเร็ว จึงทำให้ประหยัด โดยใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

10. สามารถผสมกันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด เนื่องจากเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุเป็นกลาง จึงสามารถผสมเข้ากันได้สารละลายที่เป็นกรด เป็นด่าง หรือเป็นกลางได้ทุกชนิด

11. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์การฉีดพ่นสารเคมีเกษตร และป้องกันการอุดตันของหัวฉีด สารเสริมประสิทธิภาพมีส่วนผสมของสารป้องกันสนิมและสารลดแรงตึงผิว (Non – ionic Serfactants) สามารถลดการเกิดสนิมของอุปกรณ์การฉีดพ่นสารเคมีเกษตรที่เป็นโลหะ และช่วยกระจายตัวของสารละลายต่าง ๆ ในน้ำ ไม่ทำให้เกิดตะกอน จึงไม่อุดตันต่อระบบท่อและหัวฉีดทุกประเภท

12. ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวนความรู้สึก และไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินระบบหายใจ สารเสริมประสิทธิภาพไม่มีกลิ่นฉุนที่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งจะปลอดภัยต่อสุขภาพ

13. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และถูกย่อยสลายได้ในธรรมชาติ สารเสริมประสิทธิภาพได้รับการเลือกสรร คิดค้น และพัฒนาจนได้ สารลดแรงตึงผิว (Non – ionic Serfactants) ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยตรง ที่สำคัญสารเสริมประสิทธิภาพไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถถูกย่อยสลายได้ในธรรมชาติ

ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีกับต้นไม้ควรจะผสมร่วมกับสารจับใบทุกครั้ง

ขอบคุณผู้เขียน

เขียนโดย Thanakorn Koomtritong