…..สาเหตุเกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกมักจะเป็นมากบนใบแก่ เริ่มแรกจะเกิดปื้นสีเหลืองอ่อนที่ใบ จากนั้นกลางแผลเนื้อเยื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน
หากไม่มีการควบคุมการระบาดของโรค เนื้อใบที่เกิดเป็นปื้นสีเหลืองอ่อนจะไหม้แห้งไปเป็นสีน้ำตาลทั้งใบ และถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
ขนาดแผลจะขยายกว้างขึ้น และแผลอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ทำให้เกิดอาการใบแห้งครับ

…..โรคใบไหม้นี้ทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของผลผลิตต่ำลง เพราะเมื่อเกิดโรคแล้วใบที่แสดงอาการโรคไม่สามารถส่งจัดจำหน่ายได้ โรคนี้เกิดได้ทั้งใบแก่ และใบที่ขยายขนาดเต็มที่แล้ว แต่ไม่พบในใบอ่อนครับ

<<< การป้องกัน >>>

…..หว่านเมล็ดให้พอเหมาะ เมื่อพืชเจริญขึ้นมาแล้ว ไม่แน่นหรืออัดกันมากเกินไป
…..แนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วย ดูมาร์ค (เตตระโคนาโซล) ในอัตรา 30-40ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

คึ่นฉ่ายจัดอยู่ในประเภทผักปรุงรสรับประทานได้ทั้งสุกและดิบ (สด) ในประเทศไทยปัจจุบันที่นิยมปลูกมีอยู่กันสองชนิด คือ ชนิดต้นเล็ก ซึ่งปลูกกันมาดั้งเดิมเป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนเรียกว่าคึ่นฉ่ายจีน หรือคึ่นฉ่ายเฉยๆ รับประทานได้ทั้งต้นและใบมีกลิ่น รส หอม ฉุน ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีขนาดของต้นสูงใหญ่กว่า ก้านใบยาวแข็ง เรียกว่าคึ่นฉ่ายเทศหรือคึ่นฉ่ายฝรั่ง เพิ่งนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เข้าใจว่าจะเป็นระหว่างสงครามเวียดนาม เนื่องจากระยะนั้นมีทหารต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการใน บริโภคสูงขึ้น ขณะนั้นยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งต้นทำให้มีราคาค่อนข้างสูง ต่อมาจึงได้มีผู้นำเอาเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกในแถบจังหวัดภาคเหนือ เช่น เพชรบูรณ์ และเชียงใหม่ ปรากฏว่าได้ผลดี จึงทำการปลูกติดต่อกันมาจนปัจจุบัน พวกนี้มีรส กลิ่นอ่อนกว่าชนิดแรก นิยมรับประทานเฉพาะส่วนที่เป็นก้านใบเท่านั้น อย่างไรก็ดีทั้งสองชนิดทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ต่างก็อยู่ใน species เดียวกันคือ Apium teolens var. dulce พวกต้นใหญ่เข้าใจว่าจะเป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากพวกที่มีต้นเล็กนั้นเอง ทำให้มีขนาดรูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม

สำหรับโรคของผักคึ่นฉ่ายทั้งสองชนิดก็คล้ายๆ กันคือมีทั้งโรคของต้น ใบ และราก แต่ที่สำคัญและจะกล่าวถึงก็ได้แก่

Read More