1 สารคลอโรทาโลนิลจัดเป็นสารควบคุมโรคราน้ำค้าง ราแป้ง หรือใบจุด ในกุหลาบ โดยสารชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง
2. ฟอสอิทิลอะลูมิเนียม จัดเป็นสารควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า หรือโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราในใบ ข้อจำกัดคือห้ามพ่นในช่วงระยะออกดอก และผลอ่อน
3. สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และแบคทีเรีย เช่นโรคแคงเกอร์ ข้อจำกัดคือ ห้ามนำสารชนิดนี้ไปผสมกับสารอื่น
4. สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ สามารถควบคุมโรคได้กว้าง คุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติโตของเชื้อรา ข้อดีคือสามารถผสมเข้ากับสารตัวอื่นๆได้ และเมื่อละลายน้ำแล้วจะไม่มีตะกอน ขอแนะนำให้ฉีดพ่นเชิงป้องกันจะดีกว่าให้พืชแสดงอาการ
5. โรคใบจุดตากบในใบยาสูบ ขอแนะนำให้ใช้ คาเบนดาซิม สลับกับเบโนมิลหรือแมนโคเซบ จะดีกว่า ไม่ควรใช้สารคลอโรทาโลนิล เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของคลอไรด์ในใบขณะเก็บเกี่ยว
6. สารคาร์บอกซิม จัดเป็นสารควบคุมโรคในท่อนพันธุ์ ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าได้ดี ถ้าเป็นโรคราไยแมงมุมในแตงโม ขอแนะนำให้ใช้คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือคาร์เบนดาซิมจะดีกว่าครับ
7. สำหรับไรแดงนั้นแนะนำให้ใช้ อามีทราซ หรืออาบาเมกติน ก็พอเนื่องจากยังมีประสิทธิภาพดี ราคาถูก และหาซื้อได้งาย อีกทั้งไม่มีอาการเป็นพิษกับพืช ข้อสำคัญคือ อามีทราซยังสามารถเป็นสารคุมไข่ (Ovicide) ของไรได้อีกด้วย

สารเคมีชนิดผงเป็นสารเคมีที่เราใช้อยู่เป็นประจำสำหรับสวนมะนาวยกตัวอย่างเช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ในการป้องกันโรคแคงเกอร์ สารเคมีแบบนี้จะอยู่ในรูปไมโครไนซ์ ซึ่งมีอนุภาคเป็นผลึกและมีขนาดเล็กมากๆประมาณ 2-4 ไมครอน แต่สารเคมีแบบนี้ย่อมมีน้ำหนักในตัวเอง และสามารถยึดเกาะกับใบของมะนาวได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่มีเกษตรกรหลายท่านยังเข้าใจผิดและใช้สารจับใบเป็นตัวผสมเพื่อจะให้ตัวยายึดเกาะกับใบหรือต้นของมะนาว หากสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า เมื่อใช้สารจับใบผสมตัวอยาชนิดผงจะพบว่าใบของมะนาวเปียกทั่วถึงดีมากเนื่องจากสารจับใบจะช่วยลดแรงตึงผิวลง ทำให้สามารถน้ำและสารเคมีจะกระจายตัวไปเปียกบนใบและส่วนต่างของมะนาวอย่างทั่วถึง แต่ตัวสารเคมีชนิดผงนั้นจะเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนัก ดังนั้นจึงย่อมหนีไม่พ้นหลักการของแรงโน้มถ่วงคือ เฉพาะตัวสารเคมีร้อยละ 80 จะไหลไปกองรวมอยู่บริเวณส่วนที่ต่ำกว่าเสมอ จึงทำให้ตัวสารเคมีนั้นไม่ยึดเกาะแบบกระจายทั่วถึงแต่จะไปกองรวมกันอยู่ในส่วนที่ต่ำกว่า ลองให้เกษตกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นชนิดผงสังเกตดูได้ หากฉีดพ่นโดยไม่ใช้สารจับใบจะพบว่าในส่วนของใบหรือลำต้นของมะนาวนั้นจะมีตัวอยากระจายติดอยู่สม่ำเสมอ สารจับใบจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะสามารถใช้กับสารเคมีที่เป็นน้ำ เช่นอะบาแม๊กติน เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีน้ำจะสามารถทำละลายกับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วจะเปียกทั่วถึง

ดังนั้นสารจับใบควรเลือกใช้กับสารเคมีในรูปแบบและชนิดที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงมา การใช้สารจับใบควรใช้ในบริมาณที่กำหนดตามฉลาก อย่าใช้มากเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ใบมะนาวอ่อนๆเกิดอาการแพ้ได้และทำให้ใบใหม้หรือหงิกงอได้