…..สาเหตุเกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกมักจะเป็นมากบนใบแก่ เริ่มแรกจะเกิดปื้นสีเหลืองอ่อนที่ใบ จากนั้นกลางแผลเนื้อเยื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน
หากไม่มีการควบคุมการระบาดของโรค เนื้อใบที่เกิดเป็นปื้นสีเหลืองอ่อนจะไหม้แห้งไปเป็นสีน้ำตาลทั้งใบ และถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
ขนาดแผลจะขยายกว้างขึ้น และแผลอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ทำให้เกิดอาการใบแห้งครับ

…..โรคใบไหม้นี้ทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของผลผลิตต่ำลง เพราะเมื่อเกิดโรคแล้วใบที่แสดงอาการโรคไม่สามารถส่งจัดจำหน่ายได้ โรคนี้เกิดได้ทั้งใบแก่ และใบที่ขยายขนาดเต็มที่แล้ว แต่ไม่พบในใบอ่อนครับ

<<< การป้องกัน >>>

…..หว่านเมล็ดให้พอเหมาะ เมื่อพืชเจริญขึ้นมาแล้ว ไม่แน่นหรืออัดกันมากเกินไป
…..แนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วย ดูมาร์ค (เตตระโคนาโซล) ในอัตรา 30-40ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

…..เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเปราะ โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ทำลายส่วนต่างๆของมะเขือเปราะ ตั้งแต่ระยะดอก โดยใช้ปากที่เป็นแท่ง เขี่ยเนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วจึงดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชทำให้บริเวณที่ถูกดูด มีลักษณะอาการเกิดรอยด้านที่ผล รอยแผลสีน้ำตาล เมื่อผลโตขึ้นทำให้คุณภาพผลผลิตต่ำ

…..การแพร่ระบาด เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี

<<< การป้องกันกำจัด >>>

…..แนะนำให้เกษตรกร พ่น อิมิดาคลอพริด 70% WG อัตรา 5 กรัม หรือ อะเซทามิพริด อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucinodes orbonalis Guenee

…..ลักษณะการทำลายหนอนเจาะผลมะเขือเปราะ หนอนเจาะชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่ยอดมะเขือเปราะเป็นประจำ ในบริเวณพื้นที่ปลูกมะเขือเปราะทั่วๆ ไป ในระยะต้นมะเขือเปราะกำลังเจริญเติบโต จะพบว่ายอดเหี่ยวเห็นชัดเวลาแดดจัด เพราะท่อน้ำท่ออาหารของพืชถูกทำลาย และเมื่อตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณไม่เกิน 10 ซม. จากปลายยอด หนอนจะกัดกินภายใน การทำลายต่อยอดบางครั้งสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ผลเสียคือ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกมามีขนาดเล็กกว่า และผลมะเขือเปราะที่เกิดมายังได้รับความเสียหาย โดยหนอนเจาะผลทำให้เสียคุณภาพ ส่งขายไม่ได้ราคาครับ

…..การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบการระบาดทั่วประเทศในบริเวณที่มีการปลูกมะเขือเปราะ และพบการทำลายยอดมากในฤดูฝน ส่วนผลถูกทำลายมากในฤดูแล้ง

<<< การป้องกันกำจัด >>>

1. ก่อนปลูก ควรทำการไถพรวน และตากดิน เพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่
2. ฉีดพ่นป้องกัน โดย อีมาเม็กตินเบนโซเอท 5% อัตรา 10-15 กรัม หรือ แลมบ์ด้า-ไซฮาโลทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร